มหาธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

มหาธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย คืออะไร ธรรมยาตรา คำนี้ หลายคนอาจไม่เคยได้ยิน แต่คำนี้มีมานานแล้ว โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อปฏิบัติสมาธิในท่าเดิน ฝึกสติ และสืบทอดธรรมเนียมที่มีมาแต่โบราณกาล คือ การเดินจาริก "ธรรมจาริก" https://dmc.tv/a17257

บทความธรรมะ Dhamma Articles > เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
[ 13 ม.ค. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18288 ]

ธรรมยาตรา

มหาธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย

ธรรมยาตรา

มหาธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

ธรรมยาตราต้อนรับปีใหม่
มหาธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย เพื่อฟื้นฟูศีลธรรมโลก

ธรรมยาตรา

     ในเดือนมกราคมของปีนี้ก็เป็นอีกปีหนึ่งที่ชาวไทยได้เริ่มต้นปีใหม่ ด้วยการสร้างบุญต้อนรับพระธุดงค์จำนวนนับพันกว่ารูป ซึ่งพระสงฆ์หมู่คณะนี้ธรรมยาตราในโครงการธุดงค์ธรรมชัย คำว่า "ธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย" หลายคนอาจเพิ่งเคยได้ยิน แต่จริงๆแล้วคำว่า "ธรรมยาตรา"  มีใช้มานานแล้ว เช่น ธรรมยาตราลุ่มน้ำลำประทาว ธรรมยาตรามีวัตถุประสงค์ที่เหมือนกัน คือ เพื่อฝึกสติ ปฏิบัติสมาธิในท่าเดิน และสืบทอดธรรมเนียมที่มีมาแต่โบราณกาล คือ การเดินจาริก

     ธรรมยาตรา อาจมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันบ้าง เช่น จัดขึ้นเพื่อสร้างความตื่นตัวเกี่ยวกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ได้แก่ ธรรมยาตราลุ่มน้ำลำประทาว ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ธรรมยาตราลุ่มน้ำลำประทาวได้มีการจัดมาตลอดต่อเนื่องยาวนานจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2556) นับเป็นครั้งที่ 14 ธรรมยาตราลุมน้ำลำประทาวมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ ลุ่มน้ำ ต้องการกระตุ้นให้ชาวบ้านเกิดความตื่นตัวว่าสิ่งแวดล้อมกำลังมีปัญหา ป่าถูกทำลาย ลำประทาวกำลังเน่าเสีย จะได้ร่วมกันแก้ไข รวมทั้งเป็นโอกาสในการปฏิบัติธรรม คือเดินอย่างมีสติ  การธุดงค์จึงมุ่งเข้าไปในป่า แต่แม้กระนั้นก็เกิดคำถามเช่นเดียวกันว่า ทำไมต้องเดิน และเดินไปเพื่ออะไร แต่นั่นก็คือจุดที่ผู้คนจะได้มาค้นหาคำตอบ

ธรรมยาตราต้อนรับปีใหม่
ธรรมยาตราลุ่มน้ำลำประทาว

     ส่วนธรรมยาตราเพื่อฟื้นฟูศีลธรรม เพื่อนำธรรมะกลับไปสู่ใจผู้คน เส้นทางของการธุดงค์จึงมีความแตกต่างไปจากธรรมยาตราที่เคยมีมาก่อน แต่ไม่ได้ผิดต่างไปจากในสมัยพุทธกาล เรียกว่าถูกต้องตามแนวทางของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ พระธุดงค์ต้องเข้าไปสู่แหล่งชุมชน เพื่อหยิบยื่นธรรมะให้กับผู้คน อันได้แก่ ธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย ซึ่งในปีนี้ (พ.ศ.2557) จัดมาเป็นปีที่ 3 แล้ว

    ในระหว่างของธรรมยาตรา ชาวบ้านหรือชุมชนมีโอกาสทำบุญกับพระได้คราวละหลายๆ รูป ได้ฟังเทศน์ ฟังธรรม สวดมนต์ทำวัตร นั่งสมาธิ ตักบาตร โปรยดอกไม้ต้อนรับพระ และล้างเท้าพระ  สิ่งเหล่านี้เป็นประเพณีที่จะช่วยปลูกฝังศีลธรรมให้กับชุมชน คนวัยหนุ่มสาวและเด็กๆ ได้เรียนรู้วิถีชาวพุทธ ซึบซับวัฒนธรรมที่ดีงาม เพิ่มพูนความมีน้ำใจ และความอ่อนน้อม มีความรักในพระพุทธศาสนา และพร้อมที่จะสืบทอดสิ่งดีๆ เหล่านี้ต่อไป

ธรรมยาตราต้อนรับปีใหม่
มหาธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย


มหาธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย คืออะไร

      มหาธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย มาจาก 5 คำหลัก คือ คำว่า มหา + ธรรม + ยาตรา + ธุดงค์ + ธรรมชัย

มหา     แปลว่า ใหญ่ หรือ มาก
ธรรม    แปลว่า เพื่อธรรม, โดยธรรม
ยาตรา     แปลว่า ความเป็นไปหรือการดำเนินไป
ธุดงค์     แปลว่า การกำจัดกิเลสด้วยข้อวัตร  
ธรรมชัย    แปลว่า ชนะโดยธรรม (มิใช่ชนะโดยอธรรม)

     เมื่อนำคำทั้งห้าคำมารวมกันจึงเป็น มหาธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย ซึ่งหมายถึง การเดินไปเป็นหมู่ใหญ่ของพระภิกษุเพื่อเผยแผ่ธรรม และปฏิบัติธุดงควัตรอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่ง และเพื่อชนะกิเลสด้วยธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่ชนะด้วยวิธีอื่น

ธรรมยาตราหมายถึงอะไร

     คำว่า ธรรมยาตรา นี้ ไม่มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก แต่เป็นคำที่มาจากการนำคำว่า "ธรรม" และ "ยาตรา" มาประกอบกัน คำว่า ธรรม นั้น ในคัมภีร์พุทธศาสนา และในพจนานุกรมฉบับต่างๆ ได้ให้ความหมายไว้หลายอย่าง เช่นว่าหมายถึง สภาพที่ทรงไว้, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจธรรม, ความจริง,ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ, ความยุติธรรมเป็นต้น ส่วนคำว่า ยาตฺรา เท่าที่ปรากฏเฉพาะในพระไตรปิฏก 45 เล่ม ก็มีถึง 48 หน้า และในคัมภีร์ขยายความพระไตรปิฎก เช่น อรรถกถา เป็นต้นอีกหลายแห่ง  ทั้งหมดได้ให้ความหมายของคำว่า ยาตฺรา ไว้ว่า ความเป็นไปแห่งชีวิต, ความเป็นไปแห่งอิริยาบถ, ความดำรงอยู่แห่งชีวิต, ความออกไปหรือหนีไป(จากทุกข์) เช่น ในประโยคว่า...ยาตฺรา   จ   เม   ภวิสฺสติ   อนวชฺชตา  จ  ผาสุวิหาโร  จาติ. ที่พระโบราณาจารย์นำไปเป็นส่วนหนึ่งของบทสวดมนต์ทำวัตรที่พระภิกษุสามเณรสวดพิจารณากันทุกๆ วัน

ธรรมยาตรา การเดินไปของภิกษุเผื่อแผ่ธรรม
ธรรมยาตรา การเดินไปของภิกษุเพื่อเผยแผ่ธรรม


     ส่วนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายไว้ว่า ยาตร, ยาตรา [ยาด, ยาดตฺรา] ก. เดิน, เดินเป็นกระบวน. (ป., ส.). และที่เป็นคำสมาสก็มีหลายคำ เช่นที่คุ้นเคยกันก็คือ พยุหยาตรา [ยาดตฺรา] น. กระบวนทัพ, การเดินทัพ  เช่น ยก พยุหยาตรา. ก. ไปเป็นกระบวนทัพใหญ่. เป็นต้น ซึ่งให้นัยยะความหมายเพียงอย่างเดียวคือการเดิน และอธิบายว่า เดินอย่างเป็นกระบวนหรือขบวน

     ฉะนั้น เมื่อรวม ธรรม+ยาตรา เป็น ธรรมยาตรา แล้วจึงแปลว่า การดำเนินไปด้วยธรรม,หรือ การออกไปด้วยธรรม ซึ่งมีความหมายว่า  การดำเนินออกไปจากทุกข์ทางกายและทางใจด้วยธรรมะของพระผู้มีพระภาคเจ้า คือเมื่อมีเปลี่ยนอิริยาบถด้วย

ธรรมยาตรา การดำเนินไปด้วยธรรม

     การเดินไปซึ่งเป็นเหมือนการเดินจงกรมไปด้วย อัตภาพร่างกายก็แข็งแรง ทุกข์ทางกายก็เป็นอันบรรเทาหายไปด้วย และเมื่อเดินไปไม่อยู่ติดที่ติดเสนาสนะที่อยู่อาศัย อกุศลธรรมบางเหล่าที่เกิดขึ้นเพราะการอยู่ประจำในเสนาสนะก็เป็นถูกบรรเทาทำให้ไม่เกิดขึ้นได้ ทุกข์ทางใจอันเกิดจากการถูกกิเลสบีบคั้นก็เป็นอันหนีหายไปด้วย และการเดินไปโปรดชาวโลกก็เป็นอันประกาศพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปด้วย การเดินธุดงค์ไปจึงชื่อว่าได้สร้างประโยชน์เกื้อกูลอันใหญ่หลวงให้เกิดขึ้นแก่สรรพสัตว์โดยทั่วหน้ากัน ความหมายพระบาลีในพระไตรปิฏกและอรรถกถา จึงให้นัยที่ครบถ้วนและให้ความสำคัญทั้งประโยชน์ตนเองและผู้อื่นไปด้วย


ธรรมยาตรา
ธรรมยาตรา ธรรมจาริก ประกาศธรรม


     ยังมีอีกคำหนึ่งที่ใกล้เคียงกับ ธรรมยาตรา และมีการใช้กันค่อนข้างแพร่หลายในทางพระพุทธศาสนาและสังคมไทยได้รับรู้กันมายาวนาน คือ  ธรรมจาริก หมายถึง เที่ยวไปหรือเดินทางเพื่อประกาศธรรม ยาตฺรา กับ จาริก มีความหมายเหมือนกัน คือ การเดินทางไป แต่จาริกจะมีความหมายในรายละเอียดคือจะไป 1 เดียว 2 รูป 3 รูปหรือมากกว่านั้นเป็น ร้อย พัน หมื่น แสนเป็นต้นก็ได้ ไม่ได้ผิดอะไร คำว่าจาริก นี้เริ่มต้นปรากฏครั้งแรกในทางพุทธศาสนา เมื่อครั้งพระโพธิสัตว์เจ้า ตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธองค์ทรงจาริกไป

      “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจาริกไปโดยลำดับ ถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี เข้าไปหาพวกภิกษุปัญจวัคคีย์ พวกภิกษุปัญจวัคคีย์เห็นเราเดินทางมาแต่ไกล...

     วัตถุประสงค์ในการจาริกไปในครั้งนั้นก็เพื่อโปรดปัญจวัคคีย์กระทั้งได้บรรลุธรรมตามพระพุทธองค์


     เมื่อบรรลุธรรมแล้ว พระพุทธองค์ก็ทรงมีรับสั่งให้ จาริก แก่พระปัญจวัคคีย์ผู้เป็นพระสาวก เพื่อทำหน้าที่บำเพ็ญโลกหิตประโยชน์คือประประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลก และแม้พระพุทธองค์ก็ต้องบำเพ็ญหน้าที่นี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งมีปรากฏในพระวินัยปิฎกเล่มที่ 4 มหาวรรค ภาคที่ 1 ความว่า

      “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   เราพ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง   ทั้งที่เป็นของทิพย์  ทั้งที่เป็นมนุษย์ แม้พวกเธอก็พ้นแล้วจากบ่วงทั้งปวง   ทั้งที่เป็นของทิพย์    ทั้งที่เป็นของมนุษย์ พวกเธอจงเที่ยวจาริก  เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก  เพื่ออนุเคราะห์โลก   เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์   พวกเธออย่าได้ไปรวมทางเดียวกันสองรูป     จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น     งามในท่ามกลาง งามในที่สุดจงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์    สัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย    มีอยู่    เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม   ผู้รู้ทั่วถึงธรรม   จักมี   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย   แม้เราก็จักไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  เพื่อแสดงธรรม

ธรรมยาตราต้อนรับปีใหม่
ธรรมยาตราเพื่ออนุเคราะห์โลก


     จะเห็นได้ว่า การจาริกไปในทุกครั้งนั้น เพื่ออนุเคราะห์โลก   เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมวลมนุษย์และความสุขอย่างแท้จริง ซึ่งจะมีได้ก็ด้วยการแสดงหรือประกาศธรรมที่งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ เพราะสัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยคือผู้มีศรัทธาและปัญญานั้นมีอยู่ เมื่อไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อมหายจากประโยชน์สุข เมื่อได้ฟังธรรมแล้วผู้รู้ทั่วถึงธรรมบรรลุธรรมจักมี


วัตถุประสงค์ของธรรมยาตรา หรือจาริกไปโดยธรรมคือ

     เพราะฉะนั้นการจาริกไปแต่ละครั้งนั้น พระพุทธองค์ได้วางวัตถุประสงค์ไว้ 3 ประการคือ

     1.) เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน  อนุเคราะห์ชาวโลก และเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ คือ การจาริกแต่ละครั้งทุกคนได้ประโยชน์แม้กระทั้งเทพเทวาด้วย
     2.) ต้องแสดงธรรมหรือประกาศธรรมจะมากน้อยก็ได้ แต่ต้องงามในเบื้องต้น  งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ 
     3.) สัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย มีอยู่ เพราะไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี   หมายถึงคนที่มีศรัทธาและปัญญามีบุญบารมีพอดีจะบรรลุธรรมนั้นมีอยู่ ถ้าไม่มีการจาริกไม่มีการแสดงธรรมก็จะเสื่อมเสียจากประโยชน์สุข สำหรับคนที่ยังไม่เลื่อมใสและมีปัญญาน้อยไม่ได้ถือเป็นประมาณ แต่ก็จะได้เป็นอุปนิสัยติดตัวต่อไปในภายภาคเบื้องหน้า  

   

ธรรมจาริกครั้งแรก


ธรรมยาตราต้อนรับปีใหม่
ธรรมจาริกคือการเที่ยวไปเพื่อประกาศธรรม

 

"ธรรมจาริก คือ การเที่ยวไปเพื่อประกาศธรรม"

    ครั้งแรก การจาริกหรือธรรมจาริกนั้น พระพุทธองค์ใช้คำว่า จรถ  ภิกฺขเว จาริกํ  เป็นต้น โดยเนื้อความ คือ ธรรมจาริกคือการเที่ยวไปเพื่อประกาศธรรม ในครั้งแรกๆ นั้นพระพุทธองค์ท่านรับสั่งห้ามไปทางเดียวหลายรูป เพราะยังมีพระสาวกผู้ประกาศธรรมยังจำนวนไม่มาก แต่ต่อมาเมื่อมีพระสาวกเพิ่มจำนวนมากขึ้น จะมีการธรรมจาริกไปเป็นหมู่เป็นคณะมากมายเท่าไหร่ก็ได้ เมื่อมีการใช้คำว่า จาริกเพื่อแสดงธรรม ในครั้งพุทธกาล ต่อมาในสมัยปัจจุบัน คำว่า ธรรมจาริก การเที่ยวไปเพื่อประกาศธรรม จึงได้เกิดขึ้นมาและได้รับความนิยมตามลำดับ

     จากวัตถุประสงค์ให้การธรรมจาริก 3 ประการข้างต้นนั้น พระพุทธองค์ทรงให้สำหรับพระที่บรรลุธรรมหมดกิเลสอาสวะแล้ว จึงหมายถึงว่าเมื่อทำประโยชน์ตนแล้วก็ทำประโยชน์ผู้อื่นต่อไป ครั้นถึงสมัยกลางพุทธกาลและปลายพุทธกาล การจาริกไปเป็นหมู่คณะที่เกิดขึ้น บางทีก็เพื่อบ่มบำเพ็ญบารมีของผู้จาริกให้แก่รอบหรือสั่งสมอุปนิสัยบารมีให้เต็มเปี่ยม เพียงพอที่จะบรรลุธรรม ส่วนใหญ่ในพระไตรปิฏกจะมีเรื่องราวการจาริกของพระพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวกไปในที่ต่างๆ แล้วมีการแสดงธรรมโปรดเหล่ามนุษย์และเทวาบ้าง บางครั้งระหว่างทางก็ตรัสสอนหมู่ภิกษุไปด้วยบ้าง หรือบัญญัติพระวินัยบ้าง

     ต่อเมื่อพระภิกษุสงฆ์เพิ่มจำนวนมากขึ้นๆ บางครั้งจะพบได้ว่า พระพุทธองค์รับสั่งให้พระสาวก เป็นผู้นำธรรมจาริกไป และจะเห็นเรื่องราวมากมายในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ที่ปรากฏเรื่องคณะพระภิกษุ เมื่อบวชแล้ว ศึกษาธรรม ธุดงค์องค์กัมมัฏฐานแล้ว ก็จะเดินทางจาริกไป เพื่อประพฤติปฏิบัติขัดเกลากิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไป และได้เทศนาสอนธรรมแก่ชาวประชาตามระหว่างทางหรือตามหมู่บ้าน ตำบล เมืองต่างๆ มากมายทั่วแว่นแคว้นอินเดีย


การจาริกหรือธรรมจาริกในสมัยต่อมา

ธรรมยาตรา
ธรรมยาตรา

"การ จาริกในปัจจุบันมีเป้าหมายเพื่อทั้งฝึกฝนอบรมตนเองด้วยและอบรมผู้อื่นด้วย คือ
ทั้งสอนตนและสอนคนอื่นไปพร้อมกัน
การเดินแบบนี้เรียกว่า เดินธุดงค์
"

     ธรรมจาริกครั้งต่อๆ มาจึงมีเพื่อฝึกฝนอบรมตนเองไปด้วยเป็นวัตถุประสงค์เพิ่มขึ้นมา  ทำให้ได้เห็นขบวนพระภิกษุ เป็นจำนวนนับสิบนับร้อย เดินทางธรรมจาริกบ้าง บางทีก็เรียกว่าเดินธุดงค์หรือเดินไปเพื่อธุดงค์บ้าง เพราะการจาริกในปัจจุบันมีเป้าหมายเพื่อทั้งฝึกฝนอบรมตนเองด้วยและอบรมผู้อื่นด้วย คือทั้งสอนตนและสอนคนอื่นไปพร้อมกัน การเดินแบบนี้เรียกว่า เดินธุดงค์ ซึ่งก็เป็นการธรรมจาริก คือจาริกและบำเพ็ญธุดงค์ไปพร้อมกัน  จึงเป็นที่คุ้นตาชาวพุทธว่า ในฤดูกาลออกพรรษาจะเห็นพระแบกกลดเดินมา รูปเดียวบ้าง เป็นจำนวนสิบ หรือเดินมาเป็นขบวนไปในที่ต่างๆ มาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล แต่ต่อมาในยุคปัจจุบัน ถึงจะเรียกต่างกันว่า ธรรมจาริก ธรรมยาตรา เดินธุดงค์ แต่โดยความหมายก็มีอย่างเดียวกันคือ การเดินเผยแผ่ธรรมะ ขัดเกลานิสัยตนเองอบรมบ่มบารมีเพื่อประโยชน์สุข แก่ตนและชาวโลกนั่นเอง

 

ธรรมยาตรา
ธรรมยาตรา เผยแผ่ธรรมะ ขัดเกลานิสัยตนเองอบรม บ่มบารมีเพื่อประโยชน์สุขแก่ตนและชาวโลก

 

บทความเกี่ยวกับธรรมยาตรา

     มหาธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางพระผู้ปราบมาร
     ถาม-ตอบ มหาธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางพระผู้ปราบมาร
     มหาธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
    เริ่มแล้วธรรมยาตราต้อนรับปีใหม่ พระธุดงค์ 1,129 รูป

บทความโครงการธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ผ่านมา

     ธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 1 2-25 มกราคม พ.ศ.2555 365 กิโลเมตร
     ธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 2 2-27 มกราคม พ.ศ.2556
    ธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 3 2-28 มกราคม พ.ศ.2555 459.6 กิโลเมตร

    ธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 4 2-30 มกราคม พ.ศ. 2558

บทความน่าอ่าน..เกี่ยวกับธุดงค์ธรรมชัย

     ปลื้มธุดงค์ธรรมชัยปีที่ 3 เผยแผ่ธรรมเชิงรุก ตามแนวทางพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
     ธุดงค์ กับ ดอกไม้
     ธุดงค์ เป็นวัตร แต่ไม่เป็นศีล
   
    พระธุดงค์มาโปรดแล้ว
    ถาม-ตอบ ธุดงค์ธรรมชัย
    ธุดงค์ธรรมชัย ปลูกฝังศีลธรรม บ้าน วัด โรงเรียน
    ธุดงค์ธรรมชัย ทุกย่างก้าวบำเพ็ญสมณธรรม
    Inside ธุดงค์ธรรมชัย ตอน ฝึกตน บำเพ็ญสมณธรรม
    การเดินธุดงค์ของพระมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

ความจริงเกี่ยวกับธุดงค์ธรรมชัย

     ชี้ “ธุดงค์ธรรมชัย” ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนา

     ป.ธ.๙ ราชบัณฑิตแจง ธุดงค์ธรรมชัยกลางกรุงไม่ผิดพระธรรมวินัย
     หน่วยงานราชการ ภาครัฐ เอกชน ให้การสนับสนุนธุดงค์ธรรมชัย
    ธุดงค์ธรรมชัยชอบด้วยพระธรรมวินัย โอวาทสมเด็จวัดปากน้ำ

เสียงสะท้อนจากธุดงค์ธรรมชัย

     ชาวกรุงปลื้ม ขานรับธุดงค์ธรรมชัย
     ปลื้ม ! ธุดงค์ธรรมชัย ปีที่  2
     ความประทับใจที่มีต่อธุดงค์ธรรมชัยปีที่ 3

ภาพสวยๆ จากธุดงค์ธรรมชัย

     Wallpaper ธรรมยาตราสวยๆ
     E-Card ภาพสวยๆ ของธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 3
     E-Card ภาพสวยๆ ของธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 4

ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมต้อนรับพระธุดงค์ เสริมสิริมงคลต้อนรับปีใหม่


http://goo.gl/EubsBn


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      เพลงวันสงกรานต์
      สารมุทิตา จากคณะกรรมการที่ปรึกษา มูลนิธิมาลาลา เซเกรา ศรีลังกา เนื่องในวาระอายุวัฒนมงคล 80 ปี หลวงพ่อธัมมชโย
      สารมุทิตา จากประธานสหพันธ์พุทธนานาชาติ อินเดีย เนื่องในวาระอายุวัฒนมงคล 80 ปี หลวงพ่อธัมมชโย
      สารมุทิตา จากสมเด็จสังฆนายกบังคลาเทศ องค์ที่ 29 แห่งบังคลาเทศ เนื่องในวาระอายุวัฒนมงคล 80 ปี หลวงพ่อธัมมชโย
      สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง ประกาศผลสอบบาลีสนามหลวง ประจำปี 2567
      คำขวัญวันเด็ก 2567 รวมคำขวัญวันเด็กทุกปี
      โอวาทหลวงพ่อธัมมชโย เนื่องในวันเข้าพรรษา
      พระประวัติ "สมเด็จพระสังฆราช” องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      โทษภัยของบุหรี่ ทำไมต้องมีกิจกรรมเทเหล้าเผาบุหรี่
      วัดพระธรรมกาย เชิญชวนประชาชน ร่วมสวดธรรมจักร ถวายพระกุศลแด่สมเด็จพระสังฆราช ในเวลา 19.00 น. พร้อมกันทั่วโลก
      โครงการธัมมจักกัปปวัตตนสูตร [ประวัติความเป็นมาของโครงการ]
      วันสงกรานต์ 2567 ประเพณีวันสงกรานต์ ประวัติความเป็นมาวันสงกรานต์
      สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง ประกาศผลสอบบาลีสนามหลวง ประจำปี 2566