พระราชภาวนาจารย์ (เผด็จ ทตฺตชีโว)

ประวัติพระราชภาวนาจารย์ (เผด็จ ทตฺตชีโว) ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย อุปสมบทเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ณ พัทธสีมา วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ https://dmc.tv/a18858

บทความธรรมะ Dhamma Articles > มหาปูชนียาจารย์
[ 30 ก.ย. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18285 ]
View this page in: English
ประวัติพระราชภาวนาจารย์ (เผด็จ ทตฺตชีโว)
 
พระราชภาวนาจารย์ (เผด็จ ทตฺตชีโว)
พระราชภาวนาจารย์  (เผด็จ ทตฺตชีโว)

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง

     - รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย

     - President of Dhammakaya International Society of North America and Europe

     - รองหัวหน้าพระธรรมทูต สาย 8

• เกิดเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2483 ณ จังหวัดกาญจนบุรี

• สำเร็จการศึกษาด้านกสิกรรมและสัตวบาลบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขนและ Diploma of Dairy Technology จาก Hawkesbury College, Australia

• อุปสมบทเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ณ พัทธสีมา วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร โดยมีท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ (ช่วง วรปุญโญ ป.ธ.9) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพวรเวที  เป็นพระอุปัชฌาย์  ท่านได้รับฉายาว่า ทตฺตชีโว แปลว่า ผู้ถวายชีวิตแล้วแด่พระศาสนา
 
• ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระภาวนาวิริยคุณ เมื่อปี พ.ศ. 2535
 
• ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระราชภาวนาจารย์ วิ. ในปี พ.ศ. 2556
 
ภาพมุทิตาพระราชภาวนาจารย์ (เผด็จ ทัตตชีโว)
ภาพมุทิตาสักการะพระราชภาวนาจารย์ ณ อุโบสถวัดพระธรรมกาย

เส้นทางการสร้างบารมีของพระราชภาวนาจารย์ (เผด็จ ทตฺตชีโว)

      ต่อไปนี้เป็นคำบอกเล่าของพระราชภาวนาจารย์ (เผด็จ ทตฺตชีโว) ที่เกี่ยวกับเส้นทางในการสร้างบารมีของท่าน ตีพิมพ์ในหนังสือมุทิตาสักการะในวาระ 60 ปีทองของการสร้างบารมี 21 ธันวาคม พุทธศักราช 2543 และจากบันทึกที่ท่านเขียนไว้ในเรื่อง “ผจญมาร” ในหนังสือ “เดินไปสู่ความสุข” พิมพ์เมื่อปีพุทธศักราช 2512 ซึ่งมีข้อคิดน่าสนใจ จึงขอนำเนื้อหาบางส่วนมาถ่ายทอด ดังนี้...

       “...เมื่ออาตมามีอายุย่างเข้าวัยรุ่นนั้น อาตมารักการฝึกสมาธิ(Meditation)มาก เริ่มต้นมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2497 - 2498 ขณะเรียนหนังสืออยู่ชั้นมัธยม 4 แรกทีเดียวเป็นเพราะได้อ่านวิธีการฝึกสมาธิในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งรจนาโดยพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อประมาณ พ.ศ.900 ที่เจอเพราะรักการอ่านหนังสือเป็นชีวิตจิตใจนั่นเอง อาตมาอ่านหนังสือทุกประเภท อ่านดะไปหมด อ่านจนหมดห้องสมุดประจำจังหวัดกาญจนบุรี พออ่านคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้วก็อยากฝึกสมาธิ แต่ฝึกเองไม่ได้ผล จึงดั้นด้นค้นหาอาจารย์สอนสมาธิ ให้บังเอิญไปพบอาจารย์ที่ฝึกสมาธิเพื่อประโยชน์ทางอิทธิฤทธิ์เข้าก่อน จึงเลยเป็นไปตามฤทธิ์หนุ่ม คือ ฝึกวิชาหนังเหนียว รูดโซ่ ลุยไฟ สะเดาะกลอน สารพัด ใจมันอยากจะเป็นอย่างขุนแผนกับเขาบ้าง ตอนนั้นไม่รู้เลยว่าวิชาเหล่านี้เป็นวิชามาร คิดว่าเป็นวิชาพระ เพราะมีคาถาประกอบเป็นบทสรรเสริญพระพุทธคุณบ้าง บทสรรเสริญพระโมคคัลลาน์อัครสาวกผู้มีฤทธิ์บ้าง...อาตมาคิดแต่ว่า จะเอาวิชานี้ไปทำประโยชน์ให้ประเทศชาติเท่านั้น ยิ่งตอนหลังเกิดหนังเหนียว อยู่ยงคงกระพันขึ้นมาจริงๆ ก็เลยหลงคิดว่ามาถูกทางแล้ว…

      ...อย่างไรก็ดี บุญเก่าของอาตมาคงมีอยู่ไม่น้อย จึงทำให้ได้พบหลวงพ่อธัมมชโย ( พระเทพญาณมหามุนี เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย) เสียก่อนที่จะหลงทางเลยเถิดไปไกล... ซึ่งตอนนั้นยังเป็นนิสิตรุ่นน้องปี 4 อาตมาจำได้แม่นยำว่าเป็นวันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน  พุทธศักราช 2509 ซึ่งเป็นวันลอยกระทง ...”

     หลังจากที่คุณเผด็จ (หลวงพ่อทัตตชีโว) ได้ทราบว่านิสิตรุ่นน้อง คือ คุณไชยบูลย์ สุทธิผล (หลวงพ่อธัมมชโย) ผู้นี้ถือศีล 5 ไม่ดื่มสุรา และเป็นผู้ปฏิบัติธรรม ท่านจึงสนใจและได้ติดตามทำความรู้จัก พอได้พูดคุยก็รู้สึกถูกอัธยาศัย จึงอยากจะถ่ายทอดวิชาที่เรียนมาให้ โดยได้ขอทดสอบภูมิความรู้ทางธรรมก่อน เนื่องจากคุณเผด็จอ่านตำรามามาก คำถามจึงเยอะ ถึงขนาดเปิดพระไตรปิฎกถามนิสิตรุ่นน้องท่านนั้นข้ามวันข้ามคืน ต้อนคำถามไปเท่าไร ตอบได้หมดไม่เคยจนมุมคำถามเลย ที่เคยตั้งใจจะรับเป็นลูกศิษย์ ท่านก็ชักลังเลเพราะภูมิความรู้ทางธรรมของคุณไชยบูลย์เหนือกว่ามาก พอถามเรื่องนรก-สวรรค์ คุณไชยบูลย์ได้ให้คำตอบอย่างชัดถ้อยชัดคำและยืนยันด้วยความมั่นใจว่ามีจริง ผู้ที่สามารถไปได้ยังมีชีวิตอยู่ เป็นศิษย์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เป็นแม่ชีนามว่า คุณยายอาจารย์จันทร์ ขนนกยูง

      “...ในช่วงก่อนที่หลวงพ่อธัมมชโยจะพามาพบคุณยาย อาตมาพยายามพูดอวดอ้างความวิเศษของวิชามารให้ท่านฟังบ่อยๆ ก็อย่างที่บอกแล้ว ตั้งใจจะรับท่านเป็นลูกศิษย์ แต่ท่านไม่สนใจเลย กลับชี้ให้เห็นโทษว่าวิชาเหล่านี้เป็นเดรัจฉานวิชา จะนำความเดือดร้อนมาให้ภายหลัง  แล้วสรรเสริญวิชาที่คุณยายจะสอนให้ทุกวัน อาตมาก็สนใจแต่เรื่องนรก-สวรรค์เท่านั้น ..."

     วันหนึ่ง คุณเผด็จอยากจะลองวิชา “ดับพิษน้ำมัน” จึงนัดให้เพื่อนๆ มาดูกัน โดยทุกครั้งเมื่อเอามือจุ่มลงไปในกระทะกล้วยทอดที่มีน้ำมันร้อนๆ ท่านเคยเอามือจุ่มลงไปได้โดยมือไม่พองไม่ร้อน แต่สังเกตว่าครั้งใดที่มีคุณไชยบูลย์อยู่ด้วย พอยื่นมือเข้าไปใกล้ๆไอร้อน ก็รู้สึกร้อนจัดจนต้องหดมือกลับ ทำให้สงสัยว่าคุณไชยบูลย์ต้องมีอะไรดี ต่อมาคิดที่จะประลองฤทธิ์โดยเสกปรอทใส่มือคุณไชยบูลย์ ก็ทำไม่สำเร็จ ภายหลังจึงทราบว่าคุณไชยบูลย์ เป็นนักปฏิบัติธรรมของสำนักวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ และฝึกจนบรรลุธรรมกาย

     แม้แต่อาจารย์ผู้ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือในวิชามารนั้น เมื่อมีการทดลองวิชาทั้งหมดต่อหน้าคุณไชยบูลย์ ก็แสดงฤทธิ์ไม่ออก วิชาทั้งหลายก็เสื่อมหมดไม่มีอิทธิฤทธิ์อย่างใดเลย สู้อำนาจวิชชาธรรมกายไม่ได้

     “...ตั้งแต่นั้นมาก็เลยเชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าวิชาพระพุทธเจ้าดีกว่า และยังรู้เพิ่มเติมอีกว่า วิชามารทำให้ตกนรกได้ เลยเลิกวิชามารเด็ดขาด ยกตำราให้คุณยายอาจารย์เผาทิ้ง...”

      “...คำอธิบายสั้นๆ ของคุณไชยบูลย์ คือ คนเราถ้าจะเปรียบแล้วก็เหมือนตู้วิทยุ สมาธิเหมือนเครื่องรับวิทยุ ภายในตู้ ถ้าเครื่องรับดีก็จะสามารถรับคลื่นเสียงได้ชัดเจน ทั้งคลื่นสั้นคลื่นยาวทั้งในระยะไกลและใกล้ ส่วนจะเลือกรับคลื่นที่ส่งมาจากมารหรือจากพระนั้น แล้วแต่ผู้ฟังหรือจิตของเราเองว่าจะฝักใฝ่ไปในทางใด...”

     ตั้งแต่นั้นมา คุณเผด็จก็ติดตามคุณไชยบูลย์ไปศึกษาธรรมปฏิบัติกับคุณยายอาจารย์จันทร์ ขนนกยูง ที่บ้านธรรมประสิทธิ์ในวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ต่อมาท่านได้เป็นกำลังสำคัญท่านหนึ่งในหมู่คณะที่ร่วมบุกเบิกสร้างวัดพระธรรมกาย โดยรับนโยบายจากพระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนี หรือ หลวงพ่อธัมมชโย (นามเดิม ไชยบูลย์ สุทธิผล)  เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และคุณยายอาจารย์จันทร์ ขนนกยูง เป็นครูบาอาจารย์และที่ปรึกษา

      หลังจากเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ ท่านได้รับมอบหมายรับผิดชอบด้านงานเทศน์สอนและอบรมสร้างพระให้เป็น “พระแท้” สร้างคนให้เป็น "คนดี" ทำให้มีโครงการอบรมพระภิกษุสามเณรธรรมทายาท, โครงการอบรมทหาร ตำรวจ ครู ข้าราชการในหน่วยราชการต่างๆ ตลอดจนบริษัทเอกชนอีกมากมายหลายแห่ง อีกทั้งขยายงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ศูนย์สาขาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตั้งแต่ปีแรกจวบจนปัจจุบันนี้ แม้มีสิริอายุ 72 ปี ท่านก็ยังทำงานตลอดมา

    พระราชภาวนาจารย์ (เผด็จ ทตฺตชีโว) มีปกติวิสัยแห่งความเป็นครูผู้เปี่ยมล้นคุณธรรม ทั้งมีจิตกอปรด้วยความเป็นกัลยาณมิตร  อุทิศตัวทุ่มเทให้งานอบรมเทศน์สอนและงานเขียนหนังสือธรรมะที่เป็นผลงานอันทรงคุณค่ามากมายประมาณกว่า 136 เล่ม ทั้งนี้ได้มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษอีกหลายเล่ม รวมทั้งที่จัดทำเป็นเทปและวีดีโอเทปอีกมากมาย ตัวอย่างชื่อผลงานหนังสือที่เป็นที่รู้จัก และใช้เป็นคู่มือการดำเนินชีวิต เช่น มงคลชีวิต 38 ประการ, พระแท้, หลวงพ่อตอบปัญหา,  เสขิยวัตร (ต้นบัญญัติมารยาทไทย), ก่อนไปวัด, คนดีที่โลกต้องการ, แด่นักสร้างบารมี, แม่แบบคนดี, รัฐศาสตร์เชิงพุทธ, เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ, คัมภีร์กู้วิกฤตชาติ, ครอบครัวอบอุ่น, บทฝึกลูกรัก, ศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครู และ อัตชีวประวัติของพระเผด็จ ทตฺตชีโว ในหนังสือเล่าเรื่องยาย เป็นต้น
 
 
พิธีมุทิตาสักการะพระราชภาวนาจารย์  วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556
 
 

http://goo.gl/yZVaK2


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      พิธีหล่อรูปเหมือนทองคำคุณยายฯ เพื่อประดิษฐาน ณ อาคาร 100 ปี
      ขอเรียนเชิญร่วมตอกเสาเข็มสถาปนาอนุสรณ์สถานบางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐม
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related