หลักวินิจฉัยว่าใครคือพุทธเถรวาท

หัวใจของพุทธศาสนาคือ พระรัตนตรัย เกณฑ์การวินิจฉัยว่าใครเป็นพุทธเถรวาทหรือไม่จึงอยู่ที่ว่า เขาเคารพบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือไม่ https://dmc.tv/a21772

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ธรรมะสอนใจ
[ 22 ส.ค. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18270 ]
หลักวินิจฉัยว่าใครคือพุทธเถรวาท

โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (สมชาย ฐานวุฑโฒ)
 

ถามว่า...

     - ชาวพุทธที่เคารพบูชาเจ้าแม่กวนอิมด้วย เป็นพุทธเถรวาทหรือไม่
     - ชาวพุทธที่ตั้งศาลพระภูมิในบ้าน เป็นพุทธเถรวาทหรือไม่
     - ชาวพุทธที่เชิญพราหมณ์มาประกอบพิธีในวาระโอกาสต่างๆ เป็นพุทธเถรวาทหรือไม่
     - ชาวพุทธที่เคารพบูชาศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ต่างๆ เป็นพุทธเถรวาทหรือไม่
     - ชาวพุทธที่สักยันต์ ดูหมอ ใบ้หวย นับถือกุมารทอง นางกวัก แม่ย่านาง ปลัดขิก บูชาราหู เป็นชาวพุทธเถรวาทหรือไม่

     แล้วถ้าตัดชาวพุทธเหล่านี้ออกหมด จะเหลือชาวพุทธไทยถึง 5% หรือไม่

     หัวใจของพระพุทธศาสนาคือพระรัตนตรัย

     หลักวินิจฉัยว่าใครคือพุทธเถรวาทหรือไม่อยู่ที่

     1. เขาเคารพบูชาพระพุทธเจ้าหรือไม่

     2. เขาเคารพบูชาพระธรรม ยอมรับคำสอนในพระไตรปิฎกหรือไม่

     3. เขาเคารพพระสงฆ์ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบหรือไม่

     ถ้าเขายึดถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด เขาก็คือพุทธเถรวาท แม้จะเคารพเจ้าพ่อ เจ้าแม่ อื่นๆบ้างก็ตาม

     ในครั้งพุทธกาล เพียงแค่นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์เปล่งวาจาขอถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ 3 รอบ ก็สำเร็จเป็นพระภิกษุแล้ว แม้ปัจจุบันก็สำเร็จเป็นสามเณร

    การถึงไตรสรณาคมน์ คือ จุดชี้ขาดความเป็นชาวพุทธเถรวาท

     แม้ภิกษุก็เช่นกัน ขอเพียงถึงไตรสรณาคมน์ และผ่านการอุปสมบทถูกต้องตามพุทธบัญญัติก็เป็นพระภิกษุเถรวาท แม้บางรูปอาจมีสักยันต์บ้าง พระทางเหนือมีห้อยลูกประคำบ้างก็ตาม

     หากมัวแต่คิดกีดกันคนที่คิด เชื่อบางอย่างไม่เหมือนตน ว่าไม่ใช่พุทธเถรวาท สุดท้ายจะเหลือแต่ตัวเองคนเดียว เพราะคนอื่นๆทุกคนจะต้องมีบางประเด็นที่คิดเชื่อต่างจากเราเสมอ ขนาดพระอรหันต์ยังมีบางประเด็นเห็นไม่ตรงกันเลย ใครไม่เชื่อลองไปเปิดพระวินัยปิฎกแปล (ฉบับ มจร) เล่ม 7 ข้อ 441 หน้า 382 ว่าด้วยเรื่องสิกขาบทเล็กน้อย ในคราวสังคายนาครั้งที่ 1 ของพระอรหันต์ 500 รูป

     แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง คือ ทางมาแห่งความสามัคคี ความสงบร่มเย็น ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนามาแต่โบราณ

     การแสวงจุดต่าง พยายามแบ่งแยก ถือเขา ถือเรา คือทางมาแห่งความทะเลาะเบาะแว้ง แตกความสามัคคี ความเสื่อมของพระพุทธศาสนา

     หลักวินิจฉัยว่าใครคือพุทธเถรวาท

     ตอบแบบย่อ...

     เกณฑ์การวินิจฉัยว่าใครเป็นพุทธเถรวาทหรือไม่จึงอยู่ที่ว่า เขาเคารพบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือไม่

     ใครก็ตามที่เคารพบูชาพระพุทธเจ้า เคารพบูชาพระธรรม ยอมรับคำสอนในพระไตรปิฎก เคารพบูชาพระสงฆ์ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ

     เขาผู้นั้นคือชาวพุทธเถรวาท แม้บางคนอาจจะเคารพเจ้าแม่กวนอิมด้วย บูชานางกวัก กุมารทอง ปลัดขิก พระราหู ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ต่างๆ สักยันต์ ดูหมอ ใบ้หวย เชิญพราหมณ์มาประกอบพิธีกรรม เช่น พิธีแรกนาขวัญบ้างก็ตาม

     อย่าเอาจุดต่างที่เขาเคารพบูชาบางอย่างไม่เหมือนเรามากีดกันว่าเขาไม่ใช่พุทธเถรวาท ไม่อย่างนั้นชาวพุทธเถรวาทไทยอาจเหลือไม่ถึง 5 % เป็นชนส่วนน้อยในประเทศไทย





พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ชวนต่างชาติให้สนใจ ทาน ศีล ภาวนา
      อยากผอม
      บุญกับวาสนา
      เกิดเป็นขอทาน
      คิด พูด ทำ อย่างไหนบาปที่สุด
      คิดในกรอบกับคิดนอกกรอบ
      วิบากกรรมกระดูกพรุน
      เด็กชอบกัดเล็บ
      นอนกัดฟัน
      ชีวิตที่คุ้มค่า
      ดาราซึมเศร้า
      กำลังใจในหน่วยงาน
      ดูแลพระอรหันต์ในบ้าน




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related