ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ลำนำชีวิต ชี วิ ต นี้ เ ป็ น ข อ ง เ ธ อ / ศ.สุนัย


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
ไม่มีการตอบกลับในกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 23 November 2006 - 03:52 PM

การดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบัน

โดยดุษฎีแล้ว
ความเอื้ออาทร
ความเห็นอกเห็นใจ
การให้ความช่วยเหลือ
ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในสังคมที่แสวงหาความเจริญ


ชีวิตหนึ่งชีวิต
วิถีทางแห่งชีวิตย่อมมีต่ำสุดสูงสุด
เพื่อนมนุษย์ผู้อดอยาก ยากไร้ ลำเค็ญ
ล้วนเป็นผู้ที่น่าให้ความช่วยเหลือเจือจาน


มีดวงอาทิตย์
โลกย่อมต้องพึ่งพา
ดวงดาวบริวารทั้งหลายในระบบสุริยะจักรวาล
ต้องพินอบพิเทาทอดความอาทรขอความช่วยเหลือ


ถ้าปราศจากความเกื้อกูล
เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน
ความหิวโหยจักมีมากขึ้น
เป็นธรรมดาของความเจริญสูงสุด

ดวงอาทิตย์จักเย็นลงเมื่อพลบค่ำ
ดวงเดือนแลดวงดาว
จักพร่างพรายแสงนวลฉายนามราตรีกาลเยี่ยมเยือน


มนุษย์ทุกครอบครัวจักเป็นสุข
เมื่อเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างเพื่อนบ้านใกล้เคียง
แนวรั้วพร้อมที่จะเปิดรับอาคันตุกะทีผ่านมา
ถ้าเราเป็นผู้เปิดใจแห่งประตูบ้านก่อน

หากแม้ว่าประตูรั้วยังปิด ใจยังปิด
พระอาทิตย์แห่งดวงใจ
ย่อมที่จะรุ่มร้อนทุรนทุราย
ในโลกมายาเป็นธรรมดา


แก่นสารแห่งความเป็นจริง
ก็แล้วอะไรล่ะ!
ที่เป็นแก่นสารแห่งความต้องการแท้จริงของชีวิต

อะไรคือแก่นสารของชีวิต ?

ขอให้สังเกตดูพฤติกรรมต่าง ๆ ในชีวิตของเราให้ดี
ตั้งแต่เช้าจวบจนเย็น
การกระทำต่าง ๆ ทั้งหมด
ล้วนแต่เป็นไปเพื่อการแก้ปัญหา ที่บีบคั้นให้เรา
เป็นทุกข์ทรมานทั้งสิ้น ใช่หรือไม่


เพราะเรากลัวว่า ถ้าหิวจะไม่มีอาหารอร่อย ๆ กิน
กลัวว่า ถ้าเจ็บป่วยจะไม่มีใครพยาบาลดูแลรักษา
กลัวว่า ถ้าไม่มีวัตถุเครื่องแสดงถึงฐานะอันมั่งคั่งต่าง ๆ
จะถูกผู้อื่นดูหมิ่นเหยียดหยาม
ฯลฯ


ความบีบคั้นเป็นทุกข์ จากความกลัว จากความกังวล
และจากปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ผลักดันให้เรากระเสือกกระสน
ดิ้นรนแสวงหาทรัพย์สินเงินทองต่าง ๆ

โดยตั้งอยู่บนความเชื่อ และความหวังที่ว่า
เงินทองเหล่านี้จะเป็นหลักประกันในการช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ
ที่เราจะต้องเผชิญในชีวิตได้


โดยแท้จริง เงินจึงเป็นเพียงวิถีทางหนึ่ง
ในการแก้ปัญหาของชีวิตเท่านั้น
มิใช่เป็นสิ่งที่มีจุดหมายสมบูรณ์ในตัวของมันเอง

ถ้าสำคัญมั่นหมายผิด
หลงจับฉวยเอาตัวเครื่องมือ หรือวิถีทาง มาเป็นเป้าหมาย
บ่อยครั้ง นอกจากจะไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาของชีวิตได้แล้ว
ยังทำให้เงื่อนปมของปัญหา ขมวดแน่นขึ้นไปอีก

ด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า
แก่นสารของชีวิต ก็คือปัญหาหรือความทุกข์

กิจกรรมของชีวิต คือกิจกรรมของการเผชิญหน้ากับปัญหา
หรือแก้ทุกข์เหล่านั้น

อารยธรรมตลอดจนวิทยาการความรู้ต่าง ๆ ที่มนุษย์พัฒนาขึ้น
ก็คือภาพสะท้อนของกระแสแห่งความพยายาม
มนการตอบโต้กับปัญหา และเป็นความพยายาม
ในการแก้ปัญหาของมนุษย์


จากจุดยืนใดจุดยืนหนึ่ง
มิติใดมิติหนึ่ง
แง่มุมใดแง่มุมหนึ่ง
ตลอดจนในระดับใดระดับหนึ่ง


ซึ่งพุทธศาสนาเรียกสาระของความจริงในชีวิตข้อนี้ว่า

ชี วิ ต นี้ เ ป็ น ข อ ง เ ธ อ


ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม