หมวด
การปรับร่างกาย
การหลับตา
การปรับใจ
การวางใจ
การนึกนิมิต
การใช้คำภาวนา
ความใจเย็น
การดู
การเห็น
ความหยุดนิ่ง
ฟุ้ง
เครียด-ตึง
ง่วง-หลับ
อยาก-ลุ้น
มืด
ติดลมหายใจ
นิมิตนอกตัว
นิมิตเลื่อนลอย
ขี้เกียจ-ท้อแท้
กลัว-กังวล
สงสัย
ความไม่ต่อเนื่อง
คำถามปกิณกะ

หลักการทำใจหยุดใจนิ่งเป็นอย่างไร

    

หมวด ความหยุดนิ่ง



   สรุปง่าย ๆ ทำใจให้หยุดนิ่งอยู่ในกลาง มีอะไรให้ดูเราก็ดูไป ดูไปเรื่อย ๆ อย่างสบาย ๆ โดยไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น อย่าให้มีคำถามเกิดขึ้นในช่วงที่เรากำลังฝึกใจให้หยุด ให้นิ่ง อย่าให้มีความคิดอะไรเกิดขึ้น แม้ว่าความคิดนั้นจะเป็น สิ่งที่ดีงามก็ตาม เพราะเรากำลังจะฝึกไม่คิด ฝึกทำใจหยุดนิ่งซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่คุ้นเคย 
       เมื่อตอนเรายังเป็นเด็กเล็ก ๆ อายุยังน้อย ใจยังอินโนเซนท์ (innocent) ชีวิตในช่วงวัยทารกวัยไร้เดียงสานั้น เรามีความสุข เพราะเป็นวัยที่ปลอดความคิด แต่พอเราเริ่มโตขึ้นมาเรื่อย ๆ สิ่งแวดล้อมที่หล่อหลอมชีวิตเรา  ทำให้เรา ต้องค่อย ๆ คิดขึ้นมา คิดมากขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งอายุเรามากขึ้นภารกิจมากขึ้น มีพันธนาการของชีวิต ชีวิตถูกหล่อหลอม ถูกกำหนดกฏเกณฑ์ให้มีการแข่งขันกัน ให้มีความรู้สึกว่าจะต้องไปเป็นหนึ่ง เกิดการแข่งขัน เกิดการปกป้อง ความคิด ก็ยิ่งมีเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ ชีวิตถูกหล่อหลอมด้วยระบบของความคิด ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอน แม้หลับก็ยังคิด ทั้งตื่น ทั้งหลับ ทั้งฝัน ตกอยู่ในอิทธิพลของความคิดทั้งนั้น ชีวิตจึงมีแต่ความทุกข์ทรมาน ไม่มีความสุข มีความเครียด สั่งสมอยู่ตลอดเวลา  เมื่อเรามาปฏิบัติธรรม จะฝึกใจเข้าไปสู่แหล่งกำเนิดแห่งสันติสุขภายใน แหล่งของสติ แหล่งของ ปัญญา แหล่งของอานุภาพภายใน แหล่งแห่งความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ สรรพสัตว์ทั้งปวง แหล่งแห่งความ สมปรารถนา วิธีการจึงกลับตาลปัดกัน เราจะต้องย้อนยุคไปสู่วัยที่เรายังไร้เดียงสาอยู่ จะต้องค่อย ๆ ผ่อนความนึกคิด ที่มีมากให้ลดน้อยลง ที่มีน้อยให้มันหมดไป ด้วยวิธีการกำหนดบริกรรมนิมิต กับบริกรรมภาวนา 
      



คำถามในหมวดเดียวกัน
     -  ความเข้าใจ คำว่า “หยุด” ๓ ระดับ เป็นอย่างไร ?
     -  ความแตกต่างระหว่างหยุดภายนอก และหยุดภายในคืออะไร ?
     -  จิตนิ่งคืออะไร ?
     -  อาการของการนิ่งมีกี่ระดับ ?
     -  อยากทราบว่าถ้าถึงระยะที่หยุดนิ่งจริงๆเราจะได้ยินเสียงที่มาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกหรือเปล่า ?
     -  หลักการทำใจหยุดใจนิ่งเป็นอย่างไร ?
     -  ทำอย่างไรใจจะกลับสู่ภายใน และเข้าถึงความหยุดนิ่งไปตามลำดับได้ ?
     -  การเข้าถึงธรรมะภายในตั้งแต่ปฐมมรรคเป็นลำดับไปมีกี่วิธี ?
     -  การเข้ากลางเป็นอย่างไร ?
     -  ดวงสว่างในท้องขนาดประมาณหนึ่งวา ไม่ไปไหนมาไหนสักทีแต่รู้สึกมีความสุข พอออกจากสมาธิก็อยากจะยิ้มกับทุกสิ่ง มีความสุขมาก แต่ดวงสว่างเท่าเดิม ยังไม่ไปไหน ทำอย่างไรดี ?
     -  เวลานั่งสมาธิเห็นดวงแก้วผุดขึ้นมาเป็นวงกลม ผุดขึ้นมาตลอด แต่รู้สึกว่ามันไม่พัฒนาขึ้น และบางทีเวลานั่งสมาธิดวงแก้วจะผุดขึ้นทีละหลายดวงพร้อมกันควรเข้ากลางดวงแก้วดวงไหนดี ?
     -  ได้มาปฏิบัติธรรมต่อเนื่อง นั่งสมาธิมีความสุขมาก ใจอยู่ที่ศูนย์กลางกายตลอดเวลา องค์พระ-ดวงแก้ว ชัด ใส สว่าง เมื่อกลับไปที่บ้านจะมีวิธีการอย่างไรจึงจะทำให้มีความสุขอย่างนี้อีก ?
     -  อานิสงส์ของการฝึกหยุดนิ่งได้แก่อะไรบ้าง ?

กลับหน้าสมาธิ
Bookmark and Share  
บันทึกผลการปฏิบัติธรรม