หมวด
การปรับร่างกาย
การหลับตา
การปรับใจ
การวางใจ
การนึกนิมิต
การใช้คำภาวนา
ความใจเย็น
การดู
การเห็น
ความหยุดนิ่ง
ฟุ้ง
เครียด-ตึง
ง่วง-หลับ
อยาก-ลุ้น
มืด
ติดลมหายใจ
นิมิตนอกตัว
นิมิตเลื่อนลอย
ขี้เกียจ-ท้อแท้
กลัว-กังวล
สงสัย
ความไม่ต่อเนื่อง
คำถามปกิณกะ

การวางใจเบาๆ สบายๆ ฟังดูมันง่าย แต่ทำไมยังทำไม่ได้สักที

    

หมวด การวางใจ



   ที่จริงเรารู้นะว่าตอนไหนมันสบายหรือ ตอนไหนไม่สบาย ถ้าสบายเราจะมีความพึงพอใจในอารมณ์นั้น แม้ไม่เห็นอะไร มันนิ่ง ๆ นุ่ม ๆ ละมุนละไม ถ้าไม่สบาย เราก็รู้ เราไม่ค่อยชอบหรอก มันมึน มันซึม มันตึง เรารู้ แต่เราไม่แก้ไขแล้วก็นั่งทื่อ ๆ มันก็ไปอย่างนั้นแหละ 
       เพราะฉะนั้น เราต้องสังเกตว่า อ้อ นี่เราตึงไป ตึงก็รีบลืมตาเลย ไปล้างหน้าล้างตา ดูนั่นดูนี่ เอามือจับขมับ  ขยับเนื้อตัว ปรับให้มันสบาย ดูนกดูไม้ ดูอะไร พอสบายใจก็มานั่งใหม่  มันไม่ยากหรอก ถ้าวางเบา ๆ  อย่าไป มุ่งเรื่องการเห็นภาพมากเกินไป แล้วก็อย่าเอาประสบการณ์ของเราไปเทียบกับคนอื่น เขาเห็นโน่นเห็นนี่ เราไม่เห็นสักที แหม มันก็ไม่ใช่อิจฉา หรือหมั่นไส้ แต่เราก็หงุดหงิด เอ๊ะทำไมเขาทำได้ เราทำไม่ได้ มันเลยนั่งแบบโมโห โทโส อย่าไปทำอย่างนั้น เพราะผิดวิธี ให้ดีใจกับเขาเถิด ชื่นใจ ว่า เขาทำถูกแล้วและไม่ต้องน้อยใจ ว่า แหมเราทำผิด เราก็ ปรับอารมณ์ใหม่ให้สบาย นึกไม่ออก ก็อย่าไปนึก ถ้านึกแล้วตอนนั้น กะโหลกบาน สติเฟื่องนะ  อย่านึก คิดไม่ออก ให้ออกจากความคิด อย่าไปคิดต่อ คิดไม่ออกต้องออกจากความคิดก่อนแล้วมาทำใจเฉย ๆ พอใจสงบ เดี๋ยวเราก็พบทางออก นี่เรื่องจริง ๆ ฟังดูเหมือนเล่นคำ แต่เป็นอย่างนี้จริง ๆ  คิดไม่ออกให้ออกจากความคิด พอจิตสงบมันก็พบทางออก 
       เพราะฉะนั้นวางใจเฉย ๆ ไว้เถิด ของมันมีอยู่แล้ว เราไม่ใช่ไปทำให้มันมี แล้วก็วางนิ่ง ๆ นุ่ม ๆ สบาย ๆ เหมือนเราเอาเข็มเย็บผ้าค่อย ๆ วางบนผิวน้ำมันลอยได้ หรือ เราเอาเข็มกรีดบนใบบัวเบา ๆ ถ้ากดแรง ก็ทะลุ กรีดเบา ๆ มันก็เป็นรอย เหมือนขนนกค่อย ๆ ลอยลงมาสัมผัสผิวน้ำ ไม่จมมันก็นิ่ง เบา ๆ อย่างนั้น เบา ๆ สบาย ๆ เดี๋ยวความสบายก็เพิ่มมากขึ้น  ความนิ่งก็จะเพิ่มเป็นซุปเปอร์นิ่ง นิ่งขึ้น ๆ  แม้มันไม่เห็นอะไร แล้วก็นิ่ง นิ่งไปก่อน ดูไป ดูไปเรื่อย ๆ อย่างสบายโดยไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น ไม่ให้มีคำถามอะไรเลย ให้นิ่ง ๆ เพราะเรากำลังจะฝึกหยุดฝึกนิ่ง 
      



คำถามในหมวดเดียวกัน
     -  ที่ว่าการทำสมาธิทำใจหยุดนิ่งเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง หมายความว่าอย่างไร ?
     -  การวางใจมีกี่ลักษณะ ?
     -  จะรู้ได้อย่างไรว่าวางใจเบาเกินไป หนักเกินไป หรือพอดี ?
     -  วางใจอย่างไร จึงถูกวิธี ?
     -  การวางใจถูกวิธีสังเกตได้อย่างไร ?
     -  สังเกตอย่างไรว่าเราวางใจดีแล้ว ?
     -  สังเกตได้อย่างไรว่านั่งผิดวิธี ?
     -  เครื่องมือตรวจวัดว่าเราทำสมาธิถูกต้องหรือไม่ คืออะไร ?
     -  การวางใจเบาๆ สบายๆ ฟังดูมันง่าย แต่ทำไมยังทำไม่ได้สักที ?
     -  การปรับใจเพื่อรักษาใจให้ละเอียดต่อเนื่อง ควรปรับใจอย่างไรได้บ้าง ?
     -  ทำใจหลวมๆ เป็นอย่างไร ?
     -  นั่งแล้วไม่มีอะไรให้ดูเลย จะทำใจอย่างไร ?
     -  การปล่อยใจที่ถูกวิธี เป็นอย่างไร ?
     -  ทำอย่างไรใจจะเคลื่อนเข้าไปข้างในโดยไม่มีอุปสรรคขัดขวาง ?
     -  เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราทำใจได้ถูกต้องกับประสบการณ์ภายในต่าง ที่เกิดขึ้น ๆ ?
     -  นั่งสมาธิแล้ว อารมณ์จะสว่าง ๆ แล้วก็นิ่ง ๆ ใส ๆ และในอารมณ์นั้นจะได้กลิ่นดอกไม้ หอมมากเลย แต่พอลืมตามา กลิ่นดอกไม้ก็หายไป ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไ ?
     -  เวลาเริ่มนั่ง ทำใจสงบนิ่งเป็นกายละเอียดเลย นี่ข้ามขั้นตอนมากใช่ไหม ?
     -  ก่อนเลิกนั่งสมาธิ ควรทำใจอย่างไรบ้าง ?
     -  ก่อนนอนและตื่นนอน ควรฝึกวางใจอย่างไร ?
     -  ทำอย่างไรใจจึงจะหยุดได้ ?
     -  วิธีฟังเทปนำนั่งสมาธิควรปฏิบัติอย่างไร ?
     -  การปรับใจเข้าสู่ภายในมีแนวทางอย่างไรบ้าง ?

กลับหน้าสมาธิ
Bookmark and Share  
บันทึกผลการปฏิบัติธรรม