หมวด
การปรับร่างกาย
การหลับตา
การปรับใจ
การวางใจ
การนึกนิมิต
การใช้คำภาวนา
ความใจเย็น
การดู
การเห็น
ความหยุดนิ่ง
ฟุ้ง
เครียด-ตึง
ง่วง-หลับ
อยาก-ลุ้น
มืด
ติดลมหายใจ
นิมิตนอกตัว
นิมิตเลื่อนลอย
ขี้เกียจ-ท้อแท้
กลัว-กังวล
สงสัย
ความไม่ต่อเนื่อง
คำถามปกิณกะ

นิวรณ์ ๕ เป็นอย่างไร

    

หมวด คำถามปกิณกะ



   ๑) ความตรึก  นึกในสิ่งที่เพลิดเพลินใจ  เย้ายวน  ( กามฉันทะ )  เพลินใจในอดีต  ขัดขวางไม่ให้เราเห็น สภาพความเป็นจริงของเรา  สภาพความเป็นจริงของสัจธรรม  คือ  การตั้งอยู่และดับไป   คนโง่เท่านั้น   ที่ปรุงแต่งขึ้นมาให้ เพลิดเพลิน  อาลัยอาวรณ์ และคิดซ้ำๆ  ซากๆ  ในเรื่องที่ไม่ได้ประโยชน์  ถ้าเราทิ้งสิ่งเหล่านี้ได้  ไม่ข้องแวะ   ใจจะเป็นอิสระ  เป็นไท  พ้นโทษ  ทำให้เราเข้าถึงธรรมได้  
       ๒) โมโหง่าย  หงุดหงิด  ใจร้อน  มักโกรธ   วู่วาม  ร้อนรน   ถ้ารู้สึกหงุดหงิดจนร้อนปุดขึ้นมา   ให้ศึกษาขั้นตอนให้ดีว่า อาการโกรธมันเกิดขึ้นจากอะไรก่อน
       ๒.๑ ไม่พอใจ 
       ๒.๒ ขัดใจ   ลมหายใจแรงขึ้น  หยาบขึ้น  ตาแข็ง  เริ่มพูดเสียงดัง  
       ๒.๓ โกรธ
       ๒.๔ เดือด  หัวใจเต้นแรง   หน้าเขียว  หน้าแดง  อะไรใกล้ก็มืดไปเลย
       ๒.๕ ทำไม่ได้  แต่ผูกโกรธ  ไม่มองหน้า   ผูกโกรธไว้คนเดียว  ใจไม่สบาย  ใจไม่เป็นอิสระ  มีเหตุขัดใจอยู่ภายในใจ ต้องรู้จักให้อภัยกัน  อดกลั้น  นำสมาธิไปใช้   อุปนิสัยที่เคยติดมาข้ามชาติ  ก็จะค่อยๆ  ละลายหายไป
       ๓) โงกง่วง  ซึมเซา  ง่วงเหงา  หาวนอน  นั่งสมาธิทีไร  หลับทุกที  โงกทุกที  จิตตกศูนย์  แตขาดสติ  โอกาสเข้าถึงธรรมยาก  ต้องฝึกสติให้อยู่พร้อมสมบูรณ์  ฝึกประคองสติให้ดี
       หาสาเหตุการง่วง
       ๑. นอนไม่พอหรือไม่  ต้องพักผ่อนให้พอ  
       ๒. อิ่มเกินไปหรือไม่
       ๓. นิสัย  วาสนาที่เคยชิน  ต้องฝึกอย่ายอมแพ้   ก่อนวูบต้องรู้สึกก่อน  จังหวะนี้ต้องคุมให้ได้   ลืมตาสำรวจดู   นั่งตัวตรงไหม
       ๔. บางคนตั้งใจมากไป  เส้นคอตึง  จะหลับง่าย   แหงนคอจะทำให้เส้นคลาย   
       วิธีแก้ง่วง
       ๑.ไปล้างหน้าล้างตา  นวดตรงปลายประสาทกระบอกตา  ประสาทจะตื่นไม่ง่วง    
       ๒. หายใจยาวๆ  ลึกๆ  อัดลมหายใจให้เต็มที่  กำหมัดเหมือนชก  จะกระตุกปลายประสาทให้หาย  ง่วง  
       ๓. ลุกขึ้นยืน  เปลี่ยนอิริยาบถ  
       ๔. กำหนดแสงสว่าง  ให้สว่างในท้อง  
       ๕. เดินจงกรม   
       ๖. ให้นอนแบบสีหไสยาสน์  คือ  ตะแคงขวา  ใจกำหนดในศูนย์กลางกายตลอดเวลา  แล้วพักไป     มีสติรู้ตัวว่าจะนอนพักสักครู่  แล้วจะลุกขึ้นมาปฏิบัติธรรม
       ความง่วงเป็นความมืด  เป็นกิเลสนิวรณ์  เป็นม่านมืดที่มาคลุมดวงธรรมไว้  พอคลุมดวงธรรมแล้ว  จะทำให้ง่วงซึม   เรากำหนดความสว่างให้ทะลุดวงขึ้นมาเลย  ไม่ให้มีอะไรมาครอบให้สว่างในท้อง  ทั้งท้องสว่างไปหมด
       ๔) ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ   เช่น  เรื่องงาน ให้เตือนตนเองว่า เราปลีกตัวเองจากภายนอก  เป็นอิสระ จากโลกภายนอก  ไม่มีอะไรทั้งสิ้น  ไม่มีใครเลย  มีแต่ตัวเราคนเดียว  ไม่มีคนที่เราต้องไปห่วง  คิดว่าเราตายไปจากโลกนี้ชั่วคราว  และตอนนี้  เราไม่มีอะไรอีกแล้ว นอกจากนั่งสมาธิอย่างเดียว   เพราะตอนนี้คิดไปก็ไม่มีประโยชน์  เสียเวลา  ไม่ต้องห่วงอะไรทั้งนั้นในโลก  ห่วงเพียงว่า  ตายไปตอนนี้  เราจะไปนรกหรือสวรรค์  เราดับจิตไปตอนนี้  สติเราสมบูรณ์ไหม  ถ้าไม่สมบูรณ์  อบายเป็นที่ไป  นรกเป็นที่ไป  ให้ดูตัวเราเอง  หรือถ้าเราตายตอนนี้  คนข้างหลังจะอยู่ได้ไหม  อยู่ได้เขามีบุญของเขา  ไม่ต้องห่วง  ตอนนี้เราก็อยู่ด้วยบุญของเรา  และกรรมของเรา  ไม่ต้องห่วงทั้งสิ้นในโลกนี้   ขณะนี้เรามาทำใจหยุด  ใจนิ่ง ให้ใสสว่าง  ไม่ใช่มาคิดเรื่องงาน เรื่องเรียน  ผิดวัตถุประสงค์   การคิดถึงความตาย  (มรณานุสติ )  จะได้หายฟุ้ง  นึกมากๆ  มีอานิสงส์มหาศาล  เป็นบุญใหญ่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ให้เจริญมรณานุสติ  ทุกลมหายใจเข้าออก  นี่คือ  คลังมหาสมบัติที่พระองค์มอบให้
       ๕) ความลังเลสงสัย  เกิดความสงสัยว่า  เรามานั่งอย่างนี้เสียเวลาเปล่าไหม   ไม่ได้อะไรเลย  ไม่สว่างสักที ถูกทางไหม  ผิดไหม   ฝึกเบื้องต้น  ตามคำสอนไปก่อน  ได้ดวงปฐมมรรคแล้ว  จึงจะเห็นอย่างนั้น  พบอย่างนั้น  และหลุดพ้นด้วยวิธีนั้น  เหมือนหัดเขียน  ก ข  ค  ก่อน  แล้วหัดผสมจนอ่านได้  เขียนได้  อีกหน่อยเราก็แต่งกวีนิพนธ์ได้   
       ถ้าเราตัดนิวรณ์ ๕  ได้จะสว่างโล่งเลย
      
      



คำถามในหมวดเดียวกัน
     -  การปฏิบัติธรรมนั้น งานหยาบต้องฝึกได้ดี ธรรมะละเอียดจึงจะดีใช่หรือไม่ ?
     -  เทคนิคการฝึกสติ ๒ วิธี คืออะไร ?
     -  วิธีบันทึกผลการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไร ?
     -  วิธีการเข้าถึงพระธรรมกายมีกี่วิธี ?
     -  อุปสรรคในการเข้าถึงธรรมมีอะไรบ้าง ?
     -  หนทางที่จะเข้าถึงปฐมมรรคมีกี่แบบ อะไรบ้าง ?
     -  นิวรณ์ ๕ เป็นอย่างไร ?
     -  นิวรณ์ ๕ เป็นอย่างไร ?
     -  การทำสมาธิ ๔๐ วิธีมีอะไรบ้าง ?
     -  การทำสมาธิเพื่อให้เข้าถึงธรรม มีกี่วิธี ?
     -  สมาธิแบ่งตามฐานที่ตั้งของใจมีกี่ชนิด ?
     -  นิวรณ์คืออะไร มีอุปมาอย่างไรบ้าง ?
     -  หัวใจของสมาธิคืออะไร ?
     -  เคยทราบมาว่าการเข้าถึงพระนิพพานมี ๔๐ วิธี แล้ววิชชาธรรมกายเข้าถึงได้ อยากทราบว่าอีก ๓๙ วิธีสามารถไปถึงนิพพานได้ไหม ?
     -  หมายความว่าทุกวิธี พอปฏิบัติได้ถึงจุดหนึ่งแล้ว จะกลายเป็นดวงใช่ไหม ?
     -  กายมนุษย์ละเอียดหรือกายอื่นๆ แตกต่างจากกายหยาบของเราอย่างไร ?
     -  หลวงปู่วัดปากน้ำสอนวิธีการทำใจให้หยุดนิ่งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ จากเบื้องต้นจนถึงกายธรรม ไว้อย่างไรบ้าง ?

กลับหน้าสมาธิ
Bookmark and Share  
บันทึกผลการปฏิบัติธรรม