หมวด
การปรับร่างกาย
การหลับตา
การปรับใจ
การวางใจ
การนึกนิมิต
การใช้คำภาวนา
ความใจเย็น
การดู
การเห็น
ความหยุดนิ่ง
ฟุ้ง
เครียด-ตึง
ง่วง-หลับ
อยาก-ลุ้น
มืด
ติดลมหายใจ
นิมิตนอกตัว
นิมิตเลื่อนลอย
ขี้เกียจ-ท้อแท้
กลัว-กังวล
สงสัย
ความไม่ต่อเนื่อง
คำถามปกิณกะ

สมาธิแบ่งตามฐานที่ตั้งของใจมีกี่ชนิด

    

หมวด คำถามปกิณกะ



   ๑) สมาธิที่เกิดขึ้นนอกตัว  ถ้าเป็นกสิณก็นึกดิน  น้ำ  ลม ไฟ  ไว้อยู่ข้างหน้า นึกว่าอยู่ข้างหน้าเป็นกสิณ   เป็นสมาธินอกตัว  เวลาเกิดสมาธิมักจะเป็นดวงสว่าง  สว่างข้างนอกตัวอย่างนี้   ไม่ว่าเจริญ  ๔๐ วิธี แบบไหน   อย่างสมาบัติของฤาษีชีไพรเขาก็จะเป็นสมาธินอกตัว  ในการเข้าฌาน  ก็เป็นฌานหรือสมาธิที่เกิดขึ้นนอกตัวเหมือนกัน  ก็มีฤทธิ์  มีอานุภาพระดับหนึ่งทีเดียว
       ๒) สมาธิที่ตั้งไว้อยู่ในตัว แต่ว่าวางไว้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย  ส่วนมากที่เราพบเจอกันมากๆ  ในประเทศไทยก็คือ  การกำหนดอิริยาบถ  ยกหนอ  ย่างหนอ  ซ้ายหนอ  ขวาหนอ  กินหนอ  ให้ใจกำหนดอยู่ที่อิริยาบถของร่างกายของเรา  ที่แขนที่ขา  ขวาย่างหนอ  ซ้ายย่างหนอ  ขวาย่างหนอ  ซ้ายย่างหนอ  บางทีก็ไว้ที่ผนังท้องนะ  บางทีก็ไว้ที่ปากช่องจมูก แต่ลมหายใจจะเป็นพวกอานาปานสติ  กำหนดลมหายใจ เอาไว้ที่ปากช่องจมูก  ปากช่องจมูกตรงนี้ก็จะเป็นทวารตามฐานที่ตั้งแห่งใจ  ที่อยู่ในร่างกาย  ส่วนหนึ่งส่วนใดของอวัยวะของร่างกาย
       ๓) เป็นวิธีที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ  ท่านค้นพบ  คือ  ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗  เหนือสะดือขึ้นมา ๒ นิ้ว  ซึ่งตรงนี้เป็นจุดที่มั่นคงที่สุด อย่างที่พวกเราทราบอยู่แล้ว  นานและก็มั่นคงที่สุดและใจที่จะมั่นคงได้ต้องวางไว้ ที่ศูนย์กลางกายเหมือนกับแมงมุม  เวลามันชักใยแล้วมันจะต้องอยู่ตรงศูนย์กลางของรังใช่ไหม   ทำไมมันต้องอยู่ศูนย์กลาง  เพราะมันเป็นจุดที่สามารถรับรู้สิ่งต่างๆ  ได้เร็วที่สุด  มีอะไรมาติดในข่ายของมัน มันจะรู้ได้เร็วที่สุด  ตรงศูนย์กลางกายก็เหมือนกัน  ถ้าเราเอาใจวางไว้สติมันจะเกิดขึ้นรอบตัวมากที่สุดเลย  ถ้าไปไว้ส่วนอื่นมันยังไม่เข้าเซ็นเตอร์ตรงนี้  มันก็จะรู้เฉพาะตรงนั้น  จะได้ตรงมือก็รู้ๆ  เฉพาะตรงมือ  ไว้ตรงขาก็รู้เฉพาะตรงขา  แต่ถ้าไว้ที่ศูนย์กลางกาย  สติจะเกิดขึ้นรอบตัวเลยตรงศูนย์กลางกายนี้แหละ
      
      



คำถามในหมวดเดียวกัน
     -  การปฏิบัติธรรมนั้น งานหยาบต้องฝึกได้ดี ธรรมะละเอียดจึงจะดีใช่หรือไม่ ?
     -  เทคนิคการฝึกสติ ๒ วิธี คืออะไร ?
     -  วิธีบันทึกผลการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไร ?
     -  วิธีการเข้าถึงพระธรรมกายมีกี่วิธี ?
     -  อุปสรรคในการเข้าถึงธรรมมีอะไรบ้าง ?
     -  หนทางที่จะเข้าถึงปฐมมรรคมีกี่แบบ อะไรบ้าง ?
     -  นิวรณ์ ๕ เป็นอย่างไร ?
     -  นิวรณ์ ๕ เป็นอย่างไร ?
     -  การทำสมาธิ ๔๐ วิธีมีอะไรบ้าง ?
     -  การทำสมาธิเพื่อให้เข้าถึงธรรม มีกี่วิธี ?
     -  สมาธิแบ่งตามฐานที่ตั้งของใจมีกี่ชนิด ?
     -  นิวรณ์คืออะไร มีอุปมาอย่างไรบ้าง ?
     -  หัวใจของสมาธิคืออะไร ?
     -  เคยทราบมาว่าการเข้าถึงพระนิพพานมี ๔๐ วิธี แล้ววิชชาธรรมกายเข้าถึงได้ อยากทราบว่าอีก ๓๙ วิธีสามารถไปถึงนิพพานได้ไหม ?
     -  หมายความว่าทุกวิธี พอปฏิบัติได้ถึงจุดหนึ่งแล้ว จะกลายเป็นดวงใช่ไหม ?
     -  กายมนุษย์ละเอียดหรือกายอื่นๆ แตกต่างจากกายหยาบของเราอย่างไร ?
     -  หลวงปู่วัดปากน้ำสอนวิธีการทำใจให้หยุดนิ่งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ จากเบื้องต้นจนถึงกายธรรม ไว้อย่างไรบ้าง ?

กลับหน้าสมาธิ
Bookmark and Share  
บันทึกผลการปฏิบัติธรรม