หมวด
การปรับร่างกาย
การหลับตา
การปรับใจ
การวางใจ
การนึกนิมิต
การใช้คำภาวนา
ความใจเย็น
การดู
การเห็น
ความหยุดนิ่ง
ฟุ้ง
เครียด-ตึง
ง่วง-หลับ
อยาก-ลุ้น
มืด
ติดลมหายใจ
นิมิตนอกตัว
นิมิตเลื่อนลอย
ขี้เกียจ-ท้อแท้
กลัว-กังวล
สงสัย
ความไม่ต่อเนื่อง
คำถามปกิณกะ

เคยทราบมาว่าการเข้าถึงพระนิพพานมี ๔๐ วิธี แล้ววิชชาธรรมกายเข้าถึงได้ อยากทราบว่าอีก ๓๙ วิธีสามารถไปถึงนิพพานได้ไหม

    

หมวด คำถามปกิณกะ



   มันไม่ใช่อย่างนั้นนะจ๊ะ ๔๐ วิธีน่ะ เป็นวิธีฝึกใจให้หยุดนิ่งเท่านั้นแหละ เขาเรียกสมถะ ๔๐   
       สมถะแปลว่า หยุด แปลว่านิ่ง แปลว่า สงบระงับ วิธีที่จะทำใจให้หยุดนิ่งนี่ จริง ๆ แล้วมันมี ตั้งหลายสิบวิธีนอกเหนือจากนี้เยอะ แต่ที่เขารวมเอาไว้นี่มีอยู่ ๔๐ วิธี เป็นวิธีฝึกใจให้หยุดนิ่งอย่างเดียว ให้มันหยุดมันนิ่ง แต่หนทางที่จะไปสู่พระนิพพาน น่ะ มีเส้นเดียว มีทางเดียว เหมือนมือ มันมีห้านิ้ว นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย ทั้งหมดนี้มันมาถึงตรงนี้ คือข้อมือ เห็นไหมเส้นเดียว อันนี้เหมือนเป็นวิธีการ ๔๐ วิธีนี่ กสิณ ๑๐  อสุภะ ๑๐ อาหาเรปฏิกูลสัญญา อนุสสติ ๑๐ จตุธาตุวัฏฐาน  พรหมวิหาร ๔ อรูป ๔ อะไรนี่ ที่เราได้เคยอ่านศึกษามานี่ เป็นวิธีฝึกใจให้นิ่ง นิ่งมานิ่งตรงนี้ ยกตัวอย่าง เช่น อานาปานสติซึ่งเราจะได้ยินบ่อย ๆ แปลว่า เอาสติจับลมหายใจเข้าออก คือมารู้เรื่องลมเข้า ลมออก เข้าออก เข้าออก  เข้าออก    พอเรามีสติอยู่อย่างนี้เข้า ใจมันก็นิ่ง มันก็ไม่ไปคิดเรื่องอื่น มันไม่ไปคิดเรื่องการศึกษา เรื่องครอบครัว เรื่องบ้าน เรื่องคนโน้น เรื่องคนนี้ อะไรก็มาอยู่ที่ลมนี้ เข้าออกเข้าออก  เข้าออกเข้าออก  ไปจนกระทั่งพอใจของเราอยู่กับลมจริง ๆ ตลอดเวลาอย่างสบาย ๆ ถึงจุด ๆ หนึ่งลมมันหยุดเหมือนไม่ได้หายใจเลย เหมือนเราจับลมอยู่แล้ว ตอนแรกจับไม่อยู่ เข้าออกเข้าออก เข้าออก พอจับอยู่เขาเรียก อานาปานสติ สติจับลมอยู่  พอจับลมอยู่ ลมมันก็จะอยู่นิ่ง ๆ เหมือนเราไม่หายใจ ลมหยุด เมื่อไหร่ใจก็หยุดเมื่อนั้นแหละ ใจมาอยู่ที่ลมนิ่ง ๆ ถึงตรงนั้นร่างกายหายไปแล้ว  ใจมันก็หยุดนิ่งนี่เห็นไหม มันมาอยู่ตรงนี้ แต่ยังไปนิพพานยังไม่ได้ 
       ทีนี้ อสุภะแปลว่า ไม่งาม ซากศพ คนที่ตายแล้วน่ะ เขาก็จะไปดูซากศพ เพื่ออะไร เพื่อให้ติดตา ติดใจ ว่าง ๆ ไปดูดอกไม้ของ ดอกไม้พระที่โรงพยาบาลตำรวจนะ จะมีดอกไม้
       พระ ดอกไม้พระคืออะไร ดอกไม้พระคือสิ่งที่พระดูแล้วสดชื่น ใจไม่ฟุ้งซ่าน มีประการเดียว คืออสุภะ เหมือนพระราชาเข้าสู่ราชอุทยาน เห็นดอกไม้แล้วสดชื่น พระเห็นซากศพก็สดชื่นเพราะไม่ฟุ้งซ่าน สิ่งที่ทำให้ใจพระไม่สดชื่น คือความฟุ้งซ่าน ใจมันกระจาย ทีนี้ไปดูเพื่ออะไร ให้จำติดตาติดใจ เพราะฉะนั้นเวลาหลับตาจะเห็นซากศพ โอ้โหอาจารย์ใหญ่ลอยมาเลย จนกระทั่งเห็นชัด เห็นเหมือนลืมตาเห็นเลย ซากนั้นก็จะนิ่ง ไม่ว่าจะดูเขียว จะขึ้นอืด หรือจะเปลี่ยนแปลงอะไร มันจะนิ่ง แล้วดูต่อไปเรื่อย ๆ ซากศพนั้นจะเปลี่ยนสีสัน จากทึบมาเป็นสีใส เป็นซากศพแก้ว แล้วภาพสุดท้ายใจมันจะหยุดเป็นดวง เหมือนลมหายใจ พอหยุดเป็นดวงเหมือนกัน ซากศพก็เป็นดวงก็มาอยู่ตรงนี้ 
       ถ้ามาทางกสิณ ๑๐ เช่น กสิณดิน น้ำ ลม ไฟ อะไรต่าง ๆ เหล่านั้นนะ เอ้า ยกตัวอย่างกสิณดิน เขาจะเอาดินมาตั้งข้างหน้า ดูหลับตา xerox ดินเข้าไปไว้ในใจนะ xerox ภาพดินเอาไว้ในใจ หลับตาแล้วก็เห็นแต่ภาพดินที่กลม ๆ กลม ๆ แบน ๆ ติดอยู่ในใจ ติดตาติดใจ อยู่ตลอดเวลาเลย แทนดวงแก้วองค์พระไงล่ะ เพราะฉะนั้นพอภาพนี้ติดตาติดใจนี่ ดูไปเรื่อย ๆ มันจะเป็นดินแก้ว แล้วตอนสุดท้ายจากดินแก้ว ใจมันก็จะหยุดนิ่งตรงนี้ เป็นดวงแก้ว 
       เห็นไหมนี่ยกตัวอย่างนะ อานาปานสติมาทางนิ้วโป้ง อสุภะนิ้วชี้  กสิณดิน  นิ้วกลาง 
       อนุสสติ ๑๐ เช่น พุทธานุสติ ธรรมมานุสติ สังฆานุสติ เป็นต้น คือเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอารมณ์ คือนึกคิด คิดถึงว่า กว่าจะมาเป็นพระพุทธเจ้าเป็นยังไง คิดเรื่องราวของท่านเพื่อให้ใจมันสงบ เรื่องของพระพุทธเจ้ากว่าจะมาเป็นพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร สร้างบารมีอย่างไร นั้นแหละ  เขาเรียกพุทธานุสติ พอใจสบาย ตอนสุดท้ายก็จับภาพองค์พระให้อยู่ในใจ ใจจะได้ไม่ไปคิดเรื่องคน เรื่องสัตว์ เรื่องสิ่งของ เรื่องอะไรสารพัด ใจก็จะนิ่ง ๆ เพราะฉะนั้นเราก็จะได้ภาพองค์พระทึบ ๆ และภาพสุดท้ายขององค์พระคือ พระแก้วใส ๆ พอใจนิ่ง แต่เป็นพระแก้วใส ๆ ที่เห็นแล้วมันก็ยังไม่ได้เกิดความสุขอะไร เห็นก็เห็นธรรมดาเหมือนพระแก้ว แต่ว่าเรา xerox เข้าไปไว้ในใจ พอใจมันหยุด  กึ๊ก ภาพนั้นหายไป เป็นดวงใส ๆ มาอยู่ตรงนี้อีกแล้ว เห็นไหม 
       ทั้ง 40 วิธี นั้น มาสิ้นสุดภาพสุดท้าย คือ ดวง ต่อจากนี้ไปคือ การเดินทางไปสู่อายตนนิพพาน ในเส้นทาง สายกลาง กลางดวงธรรมนั้นแหละ ไปเรื่อย  แล้วหลังจากนี้ไปก็เข้าถึงธรรมกาย ใช่ไหม เห็นดวงธรรม เห็นกายมนุษย์ละเอียด เห็นกายทิพย์กายพรหม กายอรูปพรหม เห็นกายธรรมเข้าถึงวิชชาธรรมกาย ไปนิพพานไปเรื่อยเลย 
      



คำถามในหมวดเดียวกัน
     -  การปฏิบัติธรรมนั้น งานหยาบต้องฝึกได้ดี ธรรมะละเอียดจึงจะดีใช่หรือไม่ ?
     -  เทคนิคการฝึกสติ ๒ วิธี คืออะไร ?
     -  วิธีบันทึกผลการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไร ?
     -  วิธีการเข้าถึงพระธรรมกายมีกี่วิธี ?
     -  อุปสรรคในการเข้าถึงธรรมมีอะไรบ้าง ?
     -  หนทางที่จะเข้าถึงปฐมมรรคมีกี่แบบ อะไรบ้าง ?
     -  นิวรณ์ ๕ เป็นอย่างไร ?
     -  นิวรณ์ ๕ เป็นอย่างไร ?
     -  การทำสมาธิ ๔๐ วิธีมีอะไรบ้าง ?
     -  การทำสมาธิเพื่อให้เข้าถึงธรรม มีกี่วิธี ?
     -  สมาธิแบ่งตามฐานที่ตั้งของใจมีกี่ชนิด ?
     -  นิวรณ์คืออะไร มีอุปมาอย่างไรบ้าง ?
     -  หัวใจของสมาธิคืออะไร ?
     -  เคยทราบมาว่าการเข้าถึงพระนิพพานมี ๔๐ วิธี แล้ววิชชาธรรมกายเข้าถึงได้ อยากทราบว่าอีก ๓๙ วิธีสามารถไปถึงนิพพานได้ไหม ?
     -  หมายความว่าทุกวิธี พอปฏิบัติได้ถึงจุดหนึ่งแล้ว จะกลายเป็นดวงใช่ไหม ?
     -  กายมนุษย์ละเอียดหรือกายอื่นๆ แตกต่างจากกายหยาบของเราอย่างไร ?
     -  หลวงปู่วัดปากน้ำสอนวิธีการทำใจให้หยุดนิ่งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ จากเบื้องต้นจนถึงกายธรรม ไว้อย่างไรบ้าง ?

กลับหน้าสมาธิ
Bookmark and Share  
บันทึกผลการปฏิบัติธรรม