หมวด
การปรับร่างกาย
การหลับตา
การปรับใจ
การวางใจ
การนึกนิมิต
การใช้คำภาวนา
ความใจเย็น
การดู
การเห็น
ความหยุดนิ่ง
ฟุ้ง
เครียด-ตึง
ง่วง-หลับ
อยาก-ลุ้น
มืด
ติดลมหายใจ
นิมิตนอกตัว
นิมิตเลื่อนลอย
ขี้เกียจ-ท้อแท้
กลัว-กังวล
สงสัย
ความไม่ต่อเนื่อง
คำถามปกิณกะ

หลวงปู่วัดปากน้ำสอนวิธีการทำใจให้หยุดนิ่งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ จากเบื้องต้นจนถึงกายธรรม ไว้อย่างไรบ้าง

    

หมวด คำถามปกิณกะ



   ท่านย้ำตลอดชีวิตของท่านว่า “หยุด เป็นตัวสำเร็จ”  คือ  ใจจะต้องมาหยุดอยู่ตรงนี้  ตรงฐานที่  ๗ เป็นเขตที่ปลอดความคิดไม่ให้มีความคิดใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม  หยุดนิ่งอยู่ที่ตรงนี้  แต่ถ้าหักห้ามความคิดที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันไม่ได้  ท่านแนะนำดังนี้
       ๑) ให้กำหนดบริกรรมนิมิต  คือ เปลี่ยนแนวทางในการคิด  ให้มาคิดในสิ่งที่จะทำใจให้บริสุทธิ์ โดยนึกถึงวัตถุที่บริสุทธิ์ ท่านก็กำหนดเอาไว้มี  ๒ อย่าง  คือ
       ๑.๑) กำหนดนึกถึงความบริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้า  โดยมีพระพุทธรูป หรือพระพุทธปฏิมากรนี้ เป็นตัวแทนความบริสุทธิ์ของพระบรมศาสดาเมื่อห้ามความคิดในชีวิตประจำวันไม่ได้  ท่านก็ให้มาคิดถึง พระพุทธเจ้าแทน  โดยนึกถึงพระพุทธรูป  พระพุทธรูปที่ทำด้วยเพชร แกะสลักด้วยเพชร ให้ใสบริสุทธิ์  นั่งเจริญสมาธิภาวนาอย่างนี้แหละ  อยู่ในกลางตัวของเรา  ขนาดใหญ่ เล็ก แล้วแต่ใจเราชอบ  กำหนดนึกถึงพระแก้วขาวใสบริสุทธิ์  ตัวแทนของพระบรมศาสดา  ให้นั่งขัดสมาธิภาวนา เช่นเดียวกับกายหยาบนีแหละ  อาราธนาให้สิงสถิตอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่  ๗
       ๑.๒) หรือจะนึกถึงดวงธรรมตัวแทนของ  ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์  เป็นดวงกลม ๆ ใส ๆ คล้าย ๆ กับดวงแก้วก็ได้ กำหนดให้กลมรอบตัวเป็นดวงใส ๆ สะอาด บริสุทธิ์ ประดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว  ไม่มีขีด ไม่มีข่วน  ไม่มีรอยตำหนิ  โตเท่ากับแก้วตา  ให้กำหนดขึ้นมา  
       การกำหนดบริกรรมนิมิตก็คือแทนที่จะคิดเรื่องอื่นให้มาคิดเรื่องนี้  จะเป็นองค์พระก็ได้ หรือจะเป็นดวงแก้วก็ได้ นึกเพื่อให้ใจมีที่ยึดเกาะ  จะได้ไม่ซัดส่ายไปนึกเรื่องอื่น  และก็นึกให้ต่อเนื่องกันไปอย่างสบาย ๆ อย่าให้ตึงจนกระทั่งมึนศีรษะ หรือปวดศีรษะ  อย่าหย่อนไปจนกระทั่งเผลอมีภาพอื่นเข้ามาแทนที่ 
       ให้นึกถึงพระแก้วใส ๆ หรือดวงแก้วใส ๆ แทนดวงธรรมทั้งหลายก็ได้ อย่างใดอย่างหนึ่งนะ  อย่าเอา  ๒ อย่างนะ เอาอย่างเดียว  แต่ถ้านึกอย่างเดียวแล้วภาพเกิดขึ้นมา ๒ อย่างก็ไม่เป็นไร  ก็นึกเรื่อยไป  นี่คือสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือดวงธรรมคำสอนของพระองค์ท่าน  
       ๒) ถ้านึกแค่นี้ ยังมีความฟุ้งอีก  ท่านก็ให้ภาวนา  สัมมาอะระหัง  สัมมาอะระหัง เรื่อยไปเลย  อย่าให้เร็วนัก อย่าให้ช้านัก  ให้พอดี ๆ ไม่เหนื่อย ไม่มีความรู้สึกว่าออกแรงในการภาวนา  ไม่มีความรู้สึกว่าต้องใช้กำลังในการภาวนา เป็นเสียงที่ละเอียดอ่อนเป็นสำนึกลึก ๆ คล้าย ๆ เสียงเพลงที่ร้องในใจ  แต่ให้ดังมาจากศูนย์กลางกายฐานที่ ๗   หรือจากบริกรรมนิมิตที่เป็นองค์พระหรือเป็นดวงแก้วใส ๆ ก็ได้  ให้ทำอย่างนี้ เรื่อยไปเลย  
       ๓) การทำอย่างนี้จะทำให้ใจของเราก็วนเวียนอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่  ๗  ไม่ไปที่ไหน  ใจจะมาอยู่ที่หลักของใจ  ที่ยึดของใจ  วนเวียน นัวเนีย คลอเคลีย อยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่  ๗ ตรงนี้ด้วยการนึกภาพขององค์พระ ดวงแก้ว แล้วก็คำภาวนาแทนคน สัตว์  สิ่งของ  หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่เป็นเหตุให้ใจหยุดนิ่ง  ใจจะคลอเคลีย จะนัวเนีย อยู่กับองค์พระแก้วใส ๆ หรือดวงแก้วใส ๆ กับคำภาวนา  ก็จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ 
       ๔) ถ้าหากเราทำด้วยใจที่เยือกเย็นใจสบาย  ไม่ช้า  ภาพนิมิตที่ลัว ๆ ลาง ๆ   ก็จะค่อย ๆ ชัดเจนขึ้น  ชัดเจนขึ้นมาเรื่อย ๆ ทีละเล็กทีละน้อย  จนกระทั่งถึงจุดที่ชัดเจนเท่ากับลืมตาเห็น  เป็นจุดที่เรามีความพึงพอใจ และในภาวะตอนนี้ คำภาวนา  สัมมาอะระหัง  ก็จะเลือนหายไป  ในใจเราก็จะมีแต่องค์พระหรือดวงแก้วใส ๆ บริสุทธิ์ ปรากฏเกิดขึ้นในกลางกายฐานที่  ๗   
       ๕) องค์พระหรือดวงแก้ว  ใหม่ ๆ ที่เราเห็นจะดูไม่มีชีวิตชีวา  มันก็ทึบ ๆ เป็นแก้วใสที่ทึบ ๆ  ดวงธรรมที่ใสทึบ ๆ เมื่อมันยังทึบอยู่นั้น  ความสุขมันยังไม่เกิดขึ้น  มันมีแต่ความเฉย ๆ คือ ไม่สุข  และก็ไม่ทุกข์  ถึงตอนนี้บางท่านอาจสงสัยว่า  ทำไมเห็นองค์พระเห็นดวงแก้ว แล้วไม่เห็นมีความสุขอย่างที่คนอื่นเขามีกันเลย  ก็เพราะว่าดวงแก้วและองค์พระนี้ยังเป็นจุดเบื้องต้นอยู่  กำหนดขึ้นมาเป็น  อุคคหนิมิต  นิ่งแต่ว่ายังกระด้างอยู่  ก็อย่าได้กังวลใจเลย  ให้ดูไปเรื่อย ๆ สบาย ๆ  การดูต่อไป คือการทำใจให้หยุดนั่นเอง  ใจจะถูกประคองให้หยุด อยู่กับองค์พระหรือดวงแก้วที่ยังทึบ ๆ  ที่ความสุขยังไม่ปรากฏเกิดขึ้นมา  ให้หยุดอย่างนั้นเรื่อยไปก่อน  ดูไปอย่างสบาย ๆ ไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น  ไม่ต้องคิดให้ชัดขึ้น ใสขึ้น หรือสว่างขึ้น  ไม่ต้องคิดอะไรเลย  ให้ดูเฉย ๆ  เป็นผู้ดูที่ดี  อย่าไปเป็นผู้กำกับ  ให้เป็นผู้ดูที่ดี  คือ  มีอะไรให้ดูเราก็ดูไป  ดูไปเรื่อย ๆ อย่างสบาย ๆ  โดยไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น  ให้เป็นเขตปลอดความคิด  ปลอดคำถาม  ปลอดความสงสัย  ดูไปเรื่อย ๆ 
       ๖) ยิ่งดูไปเรื่อย ๆ ใจก็ยิ่งตั้งมั่นยิ่งขึ้น  นิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ และก็แน่นขึ้น  ในใจ แน่นทีเดียวพอถึงตอนนี้เราจะมี ความรู้สึกว่า  ร่างกายของเราขยายออกไป เช่นเดียวกับนิมิตภายในก็ขยายตามไปด้วย  มันจะค่อย ๆ ขยาย  องค์พระขยาย  ดวงแก้วนั้นขยาย  ความรู้สึกของร่างกายก็ขยายออกไป  
       ตอนที่ความรู้สึกขยายนั่นแหละ  ความสุขจะเริ่มเกิดมาทีละน้อย  เป็นความรู้สึกแปลกที่เราไม่เคยเจอมาก่อน  มันจะมีอาการโล่ง ๆ โปร่งและเบาสบาย  มาพร้อมกับอาการขยายของกายและของใจ  อาการขยายนี่แหละ เขาเรียกว่าเบิกบาน  คล้าย ๆ อาการบานของดอกไม้  ที่แต่เดิมมันหุบ  มันยังตูมอยู่  เมื่อถึงขีดถึงคราวเข้ามันก็คลี่กลีบดอก ของมันขยายเบ่งบานออกมา  ใจของเรายิ่งหยุดแนบแน่นเข้าไปเท่าไร อาการขยายก็จะบังเกิดขึ้น  คือ  รู้สึกตัวค่อย ๆ โตขึ้น  กว้างขึ้น  ขยายออกไปรอบด้าน  ถึงตอนนี้อย่าไปตกใจ ให้ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ  ที่ใจขยายเพราะ มันหยุดนิ่ง  
       ๗) เมื่อหยุดนิ่ง ถูกส่วนแล้ว  เกิดอาการคลี่คลาย ขยายออกไปเรื่อย ๆ จากขยายทีละน้อยก็เป็นขยายมากขึ้น มากขึ้นไปเรื่อย ๆ เลย  จนกระทั่งเรารู้สึกว่า  ร่างกายกับจิตใจ  กำลังจะหลอมเป็นหนึ่งเดียว ถึงตอนนี้ความรู้สึก ที่ร่างกายจะหมดไป  ค่อย ๆ หมดไปทีละน้อย  จนกระทั่งหมดไปโดยสิ้นเชิง คือความรู้สึกที่กายมนุษย์มันไม่มีเลย  มันจะโล่ง  ขยาย  กว้างไป เหมือนตัวเรากลืนกับบรรยากาศ  โตใหญ่ไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีขอบเขต  นิมิตในตัวก็จะขยาย ตามไปเรื่อย ๆ เลย ใจก็ยิ่งมีความสุข  ทีนี้สิ่งที่จะมาพร้อมกัน  คือ  อาการขยายความสุข  มีปีติที่เกิดขึ้นมา  แล้วแสงสว่างน้อย ๆ ก็ค่อย ๆ เรืองรองขึ้นมา  นี่มันมาพร้อมกันอย่างนี้นะ  แสงสว่างน้อย ๆ ก็ค่อย ๆ เจิดจ้าขึ้นมาเหมือนดวงอาทิตย์ตอนตีห้าในฤดูร้อน  ตอนรุ่งสาง 
       ๘) ยิ่งใจหยุดนิ่งเท่าไรปลอดความคิด  ปลอดความกังวล  ปลอดคำถาม  ปลอดความสงสัยใด ๆ ทั้งสิ้น  ไม่ฝืนประสบการณ์  ไม่หวาดหวั่นวิตกกับอาการที่ขยาย ไม่ตื่นเต้นยินดีกับแสงที่เกิดขึ้น  ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ใหม่ ที่เราไม่เคยเจอมาก่อนมากเท่าไรแสงนั้นก็จะยิ่งสว่างขึ้นไปเรื่อย ๆ ราวอาทิตย์  ๖ โมงเช้า  ๗ โมง  แปดโมง  เก้าโมง  สว่างจ้าขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นแสงที่นวลและก็เย็นตาเย็นใจแสงที่นวลเย็นตาเย็นใจ มาพร้อมกับอาการขยายของใจ  มาพร้อมกับความสุข  มาพร้อมกับความบริสุทธิ์ของใจเรา  จะรู้สึกว่าใจเราเกลี้ยง        ใจมันเกลี้ยงเกลา  ไม่ติดในคน  ในสัตว์ ในสิ่งของ ในสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้น ใจจะอยู่ที่แสงสว่างซึ่งตอนนี้ค่อย ๆ หลอมเป็นหนึ่งเดียวกับใจของเรา แสงก็จะเจิดจ้าขึ้นไปเรื่อย ๆ กระทั่งถึงตอนอาทิตย์เที่ยงวัน  เป็นความสว่างที่กระจ่างกันไปทั่วไปหมด จะมาพร้อมกับความสุข ความโล่ง  ความโปร่ง  เบาสบาย  ขยายบริสุทธิ์  เกลี้ยงเกลา  เป็นหนึ่งเดียว มีความสุขมาก มีปิติ  และจะยิ้มอยู่ภายในลึก ๆ เป็นความสุขอย่างประหลาดที่เราไม่เคยเจอมาก่อน  เริ่มรักในการปฏิบัติธรรม  มีความรู้สึกเห็นคุณค่าของการปฏิบัติ  ใจยิ่งบริสุทธิ์เท่าไรยิ่งมีความสุขเพิ่มขึ้นเท่านั้น  
       ๙) แสงที่กระจายกันกว้างไปทุกทิศทุกทาง  เริ่มมีจุดที่สว่างกว่าแสงทั้งปวงอยู่ตรงกลางของความสว่างนั้น เหมือนจุดโฟกัสของเลนส์ขยายที่แสงอาทิตย์ส่องผ่านเลนส์นั้น  จะมีจุดสว่างที่สว่างกว่าแสงสว่าง ที่กระจายไปทุกทิศทาง  จุดสว่างนั้นเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ 
       ๑๐) ตอนนี้นิมิตองค์พระก็ดี  นิมิตดวงแก้วที่เรากำหนดตอนแรกมันจะหายไปพร้อมกับอาการขยายของตัว  จะมีจุดสว่างที่สว่างมากกว่า ความสว่างที่กระจาย บังเกิดขึ้น
       ๑๑) เมื่อใจของเราหยุดนิ่งหนักเข้าไปเรื่อย ๆ คือดูไปเฉย ๆ ดูปรากฏการณ์ของจุดสว่างที่สว่างมาก ๆ ด้วยใจที่เป็นปกติ  พอสว่างจากจุดนั้นก็ค่อย ๆ โตขึ้น  โตขึ้นมาเรื่อย ๆ จากดวงดาวในอากาศ  ก็เท่ากับ พระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ  จากพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญก็เท่ากับพระอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน  แสงทั้งหมดก็จะรวมกันเป็นดวง ดวงธรรม  ใสบริสุทธิ์  ที่มาพร้อมความสุขที่ไม่มีประมาณ  เป็นความสุขที่ละเอียดอ่อน  มีความเกลี้ยงเกลาของดวงจิต  มีอานุภาพ มีความสว่างไสว  มีกำลังใจในการสร้างความดี  มีความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์  มหากรุณาก็เกิดขึ้นในใจ  วิญญาณกัลยาณมิตรจะเกิดขึ้นตอนนี้แหละ  ตอนที่เรากับดวงธรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  
       เราจะมีความปรารถนาอยากให้ผู้ที่ข้างเคียงเรา ที่เคียงข้างเราได้มารู้มาเห็นอย่างนี้  มาเข้าถึงอย่างนี้ อยากให้เพื่อนบ้านมาถึง อยากให้ทั่วประเทศ ทั่วโลก ได้เข้าถึงจุดแห่งความสว่าง  ความบริสุทธิ์  ที่รวมตัวเป็นดวงธรรมใสบริสุทธิ์  และกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับใจของเรา  กับกายของเรา  เป็นหนึ่งเดียว ตอนนี้นะเป็นความสุขมากๆ มหากรุณามาจากตอนนี้แหละ  ใจจะเกลี้ยง  จะมีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มากขึ้น  จะเห็นคุณค่าของชีวิต ของการปฏิบัติธรรมเพิ่มเติม  เห็นคุณค่าของเวลาที่จะสูญเสียไปกับสิ่งไร้สาระ อยากจะสงวนเวลาเอาไว้สำหรับการทำหยุดนิ่ง  จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับดวงธรรม  สดใสบริสุทธิ์  
       ๑๒) ยิ่งใจนิ่งแน่นเข้าไปเท่าไร  ดวงธรรมนั้นก็ยิ่งขยายกว้าง และก็จะมีดวงธรรมดวงใหม่ผุดเกิดขึ้นมา  ทีละดวง ๆ  ผุดซ้อนขึ้นมาทีละดวง ดวงธรรมต่าง ๆ ที่ผุดเกิดขึ้นมานั้น  ใสยิ่งขึ้น  โตใหญ่ยิ่งขึ้น  มาพร้อมกับความสุข  มาพร้อมกับความบริสุทธิ์  มาพร้อมกับความรู้แจ้ง  ทีนี้เราจะเริ่มรู้แล้ว  รู้จักแล้ว  ดวงธรรมดวงใหม่ที่ผุดเกิดขึ้นมานั้น  เป็นที่รวมของธรรมอะไรบ้าง  
       ๑๓) ดวงธรรมเหล่านี้มาพร้อมกับความสุขที่ไม่มีประมาณ  ความบริสุทธิ์  ความรู้แจ้ง  พลังใจที่จะสร้างความดี ไม่มีประมาณ  มหากรุณา  มีความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์  จะมาพร้อม ๆ กันไปเลย  และในกลาง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็จะเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด  เราจะเห็นตัวของเรานั่งขัดสมาธิทำสมาธิภาวนาอยู่ในกลาง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ  เป็นกายที่สวยงามกว่ากายหยาบ  แต่ลักษณะยังละม้ายคล้ายกับกายหยาบของเรา  ดูก็เห็นว่าเป็นตัวเรา แม้นั่งนิ่ง ๆ ก็รู้ว่ามีชีวิตอยู่ไม่เหมือนตุ๊กตา  ซึ่งนั่งนิ่ง ๆ เราก็รู้ว่าไม่มีชีวิต  แต่กายมนุษย์ละเอียด หรือตัวเราที่อยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น  เห็นแล้วเราก็รู้ว่ามีชีวิต  กายนั้นคือตัวของเรา และก็เกิดความรู้แจ้งว่า กายที่แท้จริงที่เราเพิ่งรู้จักใหม่ ๆ นี่คือกายมนุษย์ละเอียดนี่เอง ส่วนกายหยาบเหมือนเสื้อผ้าที่เราอาศัยอยู่ชั่วคราว เกิดความรู้แจ้งขึ้นมาในใจ เพราะเห็นแจ้ง เห็นกายมนุษย์ละเอียด  
       เมื่อเราหยุดนิ่งแน่นหนักเข้า  ดูกายมนุษย์ละเอียดไปอย่างสบาย ๆ ด้วยวิธีการเดิม ไม่ช้าเรากับกายมนุษย์ ละเอียดนั้นจะถูกหลอมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  กลืนกันไปเลย  มีชีวิตจิตใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นกายมนุษย์ ละเอียดที่ใสบริสุทธิ์กว่ากายมนุษย์หยาบ  แต่ยังมีความละม้ายคล้ายกายมนุษย์หยาบอยู่ ท่านหญิงก็จะเหมือนกับ ท่านหญิง  ท่านชายก็จะเหมือนกับท่านชาย  นั่งสมาธิหันหน้าออกไปทางเดียวกับตัวเรา  จะเห็นว่าอิริยาบถของผู้ที่เข้าถึง ความสุขภายใน  ความรู้แจ้งภายในนั้น และความเกลี้ยงเกลาของใจนั้นจะอยู่ในอิริยาบถนั่ง ไม่มียืน  ไม่มีเดิน  และไม่มีนอน  นั่งเจริญสมาธิภาวนา เพราะหยุดเป็นตัวสำเร็จ  หยุดอย่างเดียว  อยากจะหยุดเข้าไปเรื่อย ๆ 
       ๑๔) พอใจกายมนุษย์ละเอียดหยุดถูกส่วน  ที่ศูนย์กลางกายฐานที่  ๗ ก็เกิดปรากฏการณ์เหมือนเดิม  แต่ว่าละเอียดกว่า  ประณีตกว่า  ขึ้นมาแทนที่  เข้าถึงดวงธรรมอีก ๖ ดวง อีกหนึ่งชุด  และกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ของกายมนุษย์ละเอียด ก็เข้าถึงอีกกายหนึ่งที่สวยงามกว่าเดิม คือกายทิพย์  เกิดกายทิพย์ขึ้นมา  คือกายละเอียดที่สวยงาม ลักษณะเริ่มแตกต่างจากกายมนุษย์ละเอียดไปแล้ว  ร่างกายไม่มีข้อ  ไม่มีปุ่ม ไม่มีกระดูก มองไม่เห็นแล้ว  เริ่มเกลี้ยง  นอกจากใจจะเกลี้ยงเกลาแล้ว  ร่างกายก็ยังเกลี้ยงกลมกลึงกันไปยิ่งขึ้น  แถมมีเครื่องประดับติดตัวไปอีก  เป็นเครื่องประดับที่ติดตัวแต่ว่าไม่พะรุงพะรัง  ไม่มีห้อยระโยงระยางแบบนั้น  สวยงามทีเดียว  ก็เกิดความรู้แจ้งขึ้นมาว่า กายทิพย์ก็คือตัวเราอีกเหมือนกัน  แต่ว่าเป็นกายที่ละเอียดกว่ามีจิตใจ ที่ประณีตกว่า  มีชีวิตที่ประณีตกว่า  
       เมื่อเราเข้าถึงกายทิพย์แล้ว เกิดความรู้แจ้งว่า กายที่แท้จริงกว่าคือกายทิพย์ ส่วนกายมนุษย์ละเอียดสักครู่นี้ เหมือนเสื้อผ้าอาศัยอยู่ชั่วคราว  
       ๑๕) เมื่อกายและใจของเราหลอมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับกายทิพย์  ถูกส่วนเข้าในศูนย์กลางกายฐานที่  ๗   ก็เกิดดวงธรรมอีกชุดหนึ่ง ๖ ดวงเหมือนกัน  ดวงธรรมสุดท้ายคือวิมุตติญาณทัสสนะ  ก็เห็นอีกกายหนึ่ง นั่งเจริญสมาธิภาวนาเหมือนกัน  สวยงามคล้าย ๆ กายทิพย์  แต่ประณีตกว่า  มีรัศมีสว่างกว่า  โตใหญ่กว่าละเอียดกว่า  เครื่องประดับก็ดีกว่า  เกิดขึ้นมา  เรียกว่า กายรูปพรหม กายนี้แตกต่างจากกายหยาบโดยสิ้นเชิงทีเดียวแม้เปลือกนอก ของกายหยาบของเราจะเป็นผู้หญิง  แต่พอถึงกายรูปพรหมแล้วเราจะเห็นว่า  มันเปลี่ยนไปแล้ว  ไม่เหมือนกายหยาบ  แต่เราก็รู้แจ้งอีกนั่นแหละว่า  นั่นคือตัวของเราที่ซ้อนอยู่ภายใน  เมื่อหลอมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว  ก็เกิดความรู้แจ้งขึ้นมาว่ากายรูปพรหมนี้ เป็นกายที่แท้จริงกว่ากายทิพย์  
       ๑๖) และเมื่อหยุดนิ่งต่อไป  พอถูกส่วนก็จะเข้าถึงดวงธรรมอีกชุดหนึ่ง ๖ ดวงเหมือนกัน  ดวงสุดท้ายคือ วิมุตติญาณทัสสนะ  ก็เข้าถึงอีกกายหนึ่งคือ กายอรูปพรหม  ลักษณะคล้าย ๆ กายรูปพรหม แต่เพราะว่าไม่ใช่ ถึงเรียกว่าอรูปพรหม  อะ แปลว่าไม่ใช่  แต่ว่ามันคล้ายกันมากทีเดียว  มันละเอียดแตกต่างกัน  ดูเผิน ๆ เหมือนรูปพรหม  แต่ว่าพอเพ่งพินิจด้วยการหยุดนิ่ง  ไม่ใช่  เพราะละเอียดกว่า  ลักษณะภายนอกคล้ายกัน  เครื่องประดับก็ประณีตกว่า  โตใหญ่กว่า  สวยงามกว่า  ความรู้เห็นญาณทัสสนะกว้างไกลกว่า 
       ๑๗) เมื่อหลอมกันเป็นอันเดียวกับกายอรูปพรหม  ถูกส่วนเข้าก็จะเข้าถึงดวงธรรมอีก 6 ดวง  ในทำนองเดียวกัน  กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ  ก็เข้าถึงกายที่สำคัญ คือกายธรรม หรือพุทธรัตนะ  กายแห่งการตรัสรู้ธรรม  ประกอบด้วยธรรมล้วน ๆ บริสุทธิ์ล้วน ๆ เกลี้ยงเกลาทีเดียว  ลักษณะเรียบง่าย  แต่สงบเสงี่ยม สง่างาม  สวยงามกว่ากายอรูปพรหม  แตกต่างตรงเกตุ มีเกตุดอกบัวตูม  บนพระเศียรท่านตรงที่ตั้งบนจอมกระหม่อม  มีเกตุดอกบัว เหมือนดอกบัวตูม ๆ ประดิษฐานอยู่บนจอมกระหม่อม  สวยงามมากทีเดียว  กายนั้นหย่อนกว่า ๕ วานิดหน่อย  กายนี้แหละเรียกว่า “กายธรรมโคตรภู” กายธรรมโคตรภู เป็นกายตรัสรู้ธรรม  เป็นหลักของพุทธศาสนา  ที่เราสวดมนต์บูชาไหว้พระทุกวันก็เพราะต้องการขอถึงกายนี้แหละ 
       ๑๘) บัดนี้เราเข้าถึงกายนี้แล้วเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกายธรรมโคตรภู อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ ก็แตกต่างจากกายอรูปพรหม จากกายรูปพรหม  จากกายทิพย์  จากกายมนุษย์ ละเอียด และจากกายมนุษย์หยาบ แตกต่างกันไปเลย  มีความรู้สึกว่าเป็นพระ  ใจที่สงบนิ่ง  มุ่งอย่างเดียวอยากจะเข้าไปให้ถึงที่สุด อยากหลุดพ้นจากกิเลส  จากอาสวะ  มีนิพพานเป็นอารมณ์  จะมุ่งไปสู่อายตนนิพพานนั้นอย่างเดียว  ไม่มีความคิดจะถอยหลังกลับ  อยากจะมุ่งหน้าไปเรื่อย ๆ เข้ากลางไปเรื่อย ๆ เข้าไปสู่ภายใน  นี่แหละกายตรัสรู้ธรรมของตัวเรา  
      
      สังเกตร่างกายว่ามีตึงหรือเครียดไหม ให้สังเกตให้ดีโดยเฉพาะบริเวณลูกนัยน์ตา เปลือกตาหัวคิ้วนี่ บริเวณนี้มักจะตึงง่าย เพราะเวลาปฏิบัติจริงๆ แล้วมักอยากเห็น เราก็ติดความเป็นมนุษย์ มักใช้ตามนุษย์ดูวัตถุ ทำให้เกิดการกดตาของเราไปดูในท้อง ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนี้ตึง เราจึงต้องลืมธรรมชาติของมนุษย์ชั่วคราว
      
       2.  ถ: การหลับตาที่ผิดวิธีเป็นอย่างไร ?
      ต: หลับตาไม่เป็นคือ หลับแบบบีบหัวตา ปิดเปลือกตาอย่างสนิททีเดียว กล้ามเนื้อบริเวณหัวคิ้วเหมือนมีแม่เหล็กติดไว้คนละขั้ว ขั้วเหนือ ขั้วใต้ ดูดเข้าหากัน คิ้วขมวดเข้าหากัน ปรากฏว่ายิ่งนั่งหน้ายิ่งเครียด ยิ่งเหี่ยว ยิ่งแก่ลงไป และถ้าพยายามที่จะไปเค้นเอาภาพ นิมิตดวงแก้วหรือองค์พระ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ ยังนึกไม่ออกว่าใครในโลกจะไปเค้นเอาภาพให้มันเกิดขึ้นได้ แต่ก็ไปฝืนทำวิธีแบบนี้ต่อเนื่องกันมาจนกระทั่งติดเป็นนิสัย แล้วก็เป็นความเครียดสะสม กล้ามเนื้อบริเวณศีรษะก็ตึงมึนอยู่ตลอดเวลา ลืมตาก็ตึง หลับตาก็ตึง เป็นอย่างนี้แล้วไม่ได้ผล 
      
      
      
      
       3.  ถ: หลับหลอกๆ  เป็นอย่างไร ?
      ต: ทำเบาๆ  เหมือนใกล้จะหลับ  เหมือนเคลิ้มๆ  ถ้าเรารักษาอารมณ์นั้นให้มันต่อเนื่อง  เดี๋ยวก็วื๊บไป  คล้ายๆ  เคลิ้มๆ  แต่ไม่ใช่เคลิ้ม  มันไม่ใช่หลับ  แต่ให้ทำเหมือนคล้ายจะหลับ  เคลิ้มๆ นิ่งๆ ตรงเบาๆและพยายาม  รักษาอารมณ์ตรงนั้นให้ต่อเนื่อง  เดี๋ยวมันจะวูบเลย  เมื่อวูบแล้ว  หูตาจะสว่าง  มีชีวิตชีวา  ใจมันจะขยาย
      
      
      
      
      
      
      
      
      
      
      
      
      
      
      
      
      
      
      
      
      
      
      
      
      
      
        การปรับใจ
      
      ความสบาย / ผ่อนคลาย
      
       1.  ถ: เราสามารถจัดระดับหรือขั้นตอนของความสบายได้อย่างไรบ้าง ?
      ต: ความสบาย มี 2 ระดับ คือ
      1.  สบายเบื้องต้น หมายถึง   ไม่ลำบาก  ไม่เกร็ง   ไม่ตึง  นิ่ง  เฉยๆ   ไม่สุข  ไม่ทุกข์
      เหมือนเดินฝ่าเปลวแดด  มานั่งใต้ร่มไม้  ยังไม่ถึงกับสบายเลยทีเดียว  เอาแค่นั้นก่อน   แล้วรักษาอารมณ์นิ่งๆ  ให้ต่อเนื่อง  สม่ำเสมอ    ตรงจุดนิ่งๆ เฉยๆไม่สุขไม่ทุกข์นี้เป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ  ต้องทนให้ได้แล้วจะดีมาก ให้เฉย ๆ ในจุดที่เราพอใจ  จากนั้นอาการโล่ง   โปร่ง  เบา  ก็จะเกิดขึ้น  แล้วเข้าสู่ “สบายแท้จริง”
      2. สบายแท้จริง มีความชุ่มฉ่ำ  ตอนนี้อย่าให้ความทะยานอยากมาครอบงำ  อย่าให้เกิดความอยาก   “อยากให้ชัดกว่านี้  อยากให้ดีกว่านี้”  เกิดขึ้นในใจ    ต้องเอาชนะความอยากเหล่านี้ให้ได้   ถ้าเอาชนะไม่ได้  ใจจะถอน  แล้วต้องนับหนึ่งกันใหม่   ทำใจให้เป็นปกติ  เหมือนตอนเริ่มต้น     วิธีการที่ถูกต้อง  จะนำไปสู่ประสบการณ์ที่ดี   ต่อไปแสงสว่างจะเกิดขึ้น  เหมือนฟ้าสว่าง    อรุณรุ่ง  ยามสาย    จนถึงเที่ยงวัน  ตอนนี้ให้รักษาใจให้ปกติ   โดยไม่คำนึงถึงความสว่างที่เกิดขึ้น  ให้ใจเย็นๆ    พอละเอียดขึ้นๆ  ก็จะมีภาพ ลัวๆ ลางๆ  ให้ใจเย็นๆ  ตามใจท่านไปก่อน   ท่านมีให้ดูแค่ไหนก็ดูไปก่อน  อย่าทำตาหยี  หรี่ตาดู
      
       2.  ถ: ความสบายเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
      ต:  1. ทำให้สบาย  นึกถึงเรื่องที่ทำให้ใจสบาย  เช่น  บุญ  ความดี  หรือธรรมชาติ    ถ้าอารมณ์ยังหยาบอยู่  นึกไม่ทัน ให้ทำเฉยๆ  พอใจละเอียด   ประสบการณ์ภายในจะมาเอง    วิธีลัดที่สุด  คือ  ปรับกาย  ปรับใจ  ปรับลมหายใจเข้า-ออก  ให้ลมหายใจเข้าออกยาวสม่ำเสมอ   รักษาอารมณ์ให้ต่อเนื่อง  จะรู้สึกมีอารมณ์เบาสบายมากขึ้น  ผลที่ตามมาคือ  การนั่งสมาธิของเราจะเป็นไปโดยธรรมชาติ  ไม่ต้องฝืนนั่ง  ความพอใจจะปรากฏที่ใบหน้า  ความรู้สึกยิ้มจะขยายไปสู่ระดับต่างๆ ถ้าได้อารมณ์นี้  ความคิดอื่นจะไม่เข้ามา  เมื่ออารมณ์สบาย  การนึกจะต่อเนื่องเป็นธรรมชาติ  ลมหายใจเรากับลมหายใจจักรวาล   เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  หายใจออกครั้งเดียวก็ถึงดวงดาว  ดวงอาทิตย์  หายใจเข้า ก็จุดดวงอาทิตย์มาไว้ในตัว    นี่คือสบายเบื้องต้น  ก่อนเข้าถึงธรรมกาย
      2. สบายเอง ( จริงๆ)  เมื่อเข้าถึงธรรมกาย  กายจะโปร่งขึ้น  เบาขึ้น  ละเอียดขึ้น   เหมือนไม่มีตัว  ไร้น้ำหนัก   ไร้ความรู้สึกในตัว  จนกระทั่งเข้าถึงความรู้สึกของธรรมกาย
       3.  ถ: สบายกับฟุ้งซ่านต่างกันอย่างไร ? 
      ต: การปล่อยใจให้เผลอไปในที่อื่น ไม่ใช่สบายนะ  นั่นมันฟุ้งซ่าน  สบายคือ  มันอยู่ตรงนั้น  อย่างเบาๆ  คือ  อยู่ตรงนั้น  อย่างเบาๆอย่างมีสติ  ไม่ตึง ไม่ปวดหัวเลย  
      
       4.  ถ: ทำอย่างไรจึงจะรู้สึกผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ ? 
      ต: กายและใจสัมพันธ์กัน  ถ้าหากกายผ่อนคลาย  ใจเราจะผ่อนคลายไปด้วย แต่สำหรับบางท่านแม้ร่างกายไม่สบาย  แต่ถ้าสามารถผ่อนคลายใจให้เบาสบายได้  ร่างกายก็จะสามารถผ่อนคลายไปด้วย  สิ่งที่สำคัญควรฝึกสมาธิทุกวัน  อย่างน้อยหลังตื่นนอน  ก่อนเข้านอน  และตลอดทั้งวัน  ให้รักษาอารมณ์สบาย  อย่าเก็บอารมณ์ที่อึดอัดไว้  ให้เรียนรู้วิธีปล่อยวาง  เมื่อเราเรียนรู้การปล่อยวางได้  เหมือนวางของหนักๆ ลง  ใจจะหลุดจากความอึดอัดคับแคบ  กายและใจจะโล่งว่าง  ให้ประคองอารมณ์นั้นให้ต่อเนื่อง ให้ได้นานที่สุด  ในไม่ช้าเราก็จะเข้าถึงจุดเบาสบายที่เราพึงพอใจ
      
       5.  ถ: ทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ที่มีอารมณ์ดีและอารมณ์สบายได้ตลอดเวลา ? 
      ต:จงตั้งพรหมวิหารธรรมขึ้นมาในใจ ให้มีความรู้สึกเป็นมิตรและปรารถนาดีต่อเพื่อนสหธรรมิกและทุก ๆ คน แม้ว่าเพื่อนสหธรรมิกนั้นอาจจะพลาดพลั้งล่วงเกินเรา โดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม  ก็ให้อภัย  ไม่ถือสา  ไม่สนใจในการล่วงเกินหรือข้อบกพร่องพลาดพลั้งของเพื่อนสหธรรมิก  รักษาอารมณ์ดี  อารมณ์สบายให้ได้ตลอดทั้งวันทั้งคืน  ทั้งหลับทั้งตื่น  ทั้งนั่งนอนยืนเดิน  มีความรู้สึกเป็นมิตรและปรารถนาดีต่อทุก ๆ คน  แล้วอารมณ์ดีอารมณ์สบายที่เรารดน้ำพรวนดินอย่างสม่ำเสมอในจิตใจของเราทุกวันนั้นก็จะเป็นเครื่องเกื้อหนุน  สนับสนุนการประพฤติปฏิบัติธรรมให้เราเข้าถึงธรรมได้ง่ายขึ้น
      
       6.  ถ: เหตุแห่งการเข้าถึงธรรมได้ง่ายมีอะไรบ้าง ?
      ต: อารมณ์ดีและอารมณ์สบาย เป็นอุปกรณ์อย่างสำคัญที่จะทำให้สติกับความสบายของเราเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง  ส่วนอารมณ์ที่ขุ่นมัว  ไม่ว่าจะเป็นด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม  ย่อมทำให้ใจเราฟุ้งซ่าน  ขุ่นเคือง  เร่าร้อน  และเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงธรรม  เพราะฉะนั้น  ให้รักษาอารมณ์ดีและอารมณ์สบายเอาไว้  เพื่อจะได้เข้าถึงธรรมได้ง่ายขึ้น
      
       7.  ถ: อยากได้วิธีลัดที่ทำให้อารมณ์สบาย เป็นอย่างไรบ้าง ?
      ต: วิธีที่ทำให้อารมณ์สบายนั้น วิธีที่ลัดและเร็วที่สุด  คือ ไม่ต้องไปทำอะไร  การทำเฉย ๆ   เป็นวิธีที่ดีที่สุดเลย  ไม่ว่าจะคิดเรื่องธรรมชาติ  คิดเรื่องบทของธรรมะ  คิดเรื่องอะไรสารพัด  ก็ไม่ดีเท่ากับไม่ต้องคิดอะไรหรือทำเฉย ๆ นี่เป็นวิธีลัดที่สุดเลย  อย่าไปแสวงหาว่าต้องคิดเรื่องภูเขา น้ำตก ทะเล เรื่องธรรมะ  แต่คนทั่วไป ไม่คุ้นกับการไม่คิดอะไร  ก็ต้องเริ่มจากความสบาย อย่างนั้นไปก่อน  วิธีที่ลัดที่สุด  คือทำเฉย ๆ นิ่ง ๆ นิ่งเบา ๆ เดี๋ยวมันก็สบายเอง  และก็ไปถึงจุดที่  ค่อย ๆ ละเอียด มันก็จะค่อย ๆ หลุดจากหยาบไป  เริ่มจากไม่ค่อยรู้สึกที่ร่างกาย แล้วก็ละเอียดไป นั่งนิ่ง  นิ่ง นิ่ง นิ่ง นิ่ง แม้ไม่เห็นอะไร นอกจากความสว่างก็ นิ่ง นิ่ง นิ่ง ไปเรื่อย ๆ  เดี๋ยวมันก็มาเองนั่นแหละ  เราไม่ต้องไปคิดว่า เอ๊ะ ขนาดนี้แล้วทำไมไม่เห็นมาให้ชื่นใจเลย  ไม่ต้องไปคิด
      
       8.  ถ: ทำอย่างไรจึงขยายใจให้ละเอียดอ่อนได้ ?
      ต:  1. ทำใจให้ขยายด้วยการแผ่เมตตา ให้ใจขยาย, ให้ใจเบิกบาน แช่มชื่น โดยทำใจของเราเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง เป็นแหล่งกำเนิดของความบริสุทธิ์  ความสุข  ความปรารถนาดี แล้วขยายไปทุกทิศทุกทาง ทีละน้อยๆ จนสุดขอบฟ้า จนไม่มีขอบเขต ตัวเราจะคล้ายๆ นั่งอยู่กลางอากาศโล่งๆ เหมือนอยู่คนเดียวในโลก ทำใจให้หยุดนิ่ง เบา สบาย ให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้
      2. เมื่อได้อารมณ์สบายแล้ว ให้รักษาไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ จนเราเกิดความพร้อมที่จะนึกถึงดวงธรรมหรือองค์พระใสๆ ได้อย่างง่ายๆ สบายๆ โดยไม่ต้องใช้ความพยายาม ไม่ฝืนใจนึก ไม่กดใจนึก ทำจนกว่าไม่มีความรู้สึกอย่างนี้ หรือจะรักษาอารมณ์สบายไปเรื่อยๆ ที่กลางหยุด กลางนิ่ง เหมือนเราเป็นศูนย์กลางของจักรวาลไปเรื่อยๆ ก็ได้
      3. ภาวะที่ใจละเอียดที่สุด บริสุทธิ์ที่สุด ใจจะเคลื่อนเข้าไปสู่ภายใน หรือมีสิ่งที่อยู่ภายในเคลื่อนขึ้นมา อะไรเกิดขึ้นมา ให้ดูเฉยๆ และไม่ต้องกังวลกับศูนย์กลางกายมากเกินไป ให้เอาสภาวะที่หยุดนิ่งนั้นเป็นหลัก เอาความเบาสบายเป็นหลัก เดี๋ยวดวงธรรม องค์พระ จะปรับเข้าสู่ศูนย์กลางกายโดยอัตโนมัติ เมื่อใจหยุดนิ่งอย่างเบาสบาย
      
        9. ถ:  เวลาไม่ได้นั่งสมาธิ เวลาคุยหรือขับรถหรือทำอย่างอื่น เราจะมีความรู้สึกสุขลึก ๆ สุขมาก  ไม่ทราบว่ามันมาจากไหน รู้แต่ว่ามันอยู่ในท้อง แต่เวลานั่งสมาธิกลับไม่ค่อยได้ความรู้สึกเช่นนี้ เพราะอะไร ? 
      ต: เวลานั่งสมาธิเราไม่ค่อยได้ความสุข เพราะว่าเรา ทำท่านั่งสมาธิ ไม่ค่อยได้ผลหรอก ทำท่านั่งซะ แต่พอเราขับรถนี่เรา “ทำสมาธิ”  ความสุขก็เลยเกิดขึ้น ตอนนี้ “ทำนั่ง” ถ่ายภาพสวย ออกมาภาพสวย แต่ขับรถ “ทำสมาธิ” มันก็เย็นลึกๆ สุขลึกๆ นี่ถ้าหากไปถึงแหล่งกำเนิดของความสุข เป็นดวงใสๆ มันจะพรั่งพรูมีความสุขกว่านี้
      
        10.  ถ: การนำใจมาหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายอย่างสบาย  ทำได้อย่างไรบ้าง ?
      ต:  1. หยุดนิ่งอย่างสบาย ๆ  ความสบายเป็นเหตุให้ใจหยุดนิ่ง  ปรับให้ดีทุกส่วน   ขยายความสบายไปทั่วร่างกายของเรา  ตั้งแต่ศีรษะเรื่อยลงมาให้ทุกส่วนได้รับกระแสแห่งความสบายนั้น  ขยายออกไปเป็นปริมณฑล  ให้ตัวเราเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง  ขยายเป็นปริมณฑล  คล้ายๆ  กับดวงแก้วใสๆ  บางๆ  ขยายออกไปทุกทิศทุกทาง  จนสุดขอบฟ้า ไม่มีขอบเขตจำกัด  ให้เราเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง   เป็นแหล่งกำเนิดแห่งความสบาย  ความสุข  ความดี   ความปรารถนาดีทั้งหลาย จนกระทั่งตัวเรา  เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับกระแสแห่งความสบายนั้น   
      2. เมื่อใจสบายดีแล้วเราก็หยุดนิ่ง  ตรงจุดที่เรามีความรู้สึกว่าสบาย  โดยไม่ต้องกังวลกับศูนย์กลางกายเกินไป  แค่รักษาความสบายไว้   สบายตรงไหน  ก็เอาใจหยุดตรงนั้นไปก่อน  
      3.ปรับความพอดี ให้เกิดขึ้น  ความพอดีของใจเรา  คือ  ความพอใจ  เรามีความพอใจที่จะวางอารมณ์สบายๆ  อย่างนี้  ตรงนี้   นั่นคือ  ความพอดี คือความถูกส่วน ให้รักษาตรงนี้ไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้
      4.เลื่อนมาไว้กลางกาย  จากจุดที่สบาย  ถ้าเลื่อนความสบายมาตั้งไว้ที่กลางกายได้  ก็ให้เอามาตั้งไว้ตรงกลาง  ความสบายตรงนี้แหละ  คือ  ฐานที่ 7    ทำใจหยุดนิ่งตรงนี้   ให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้  แม้ว่าจะยังไม่เห็นอะไรก็ตาม   เอาใจหยุดนิ่งอยู่ตรงนี้  อย่างสบายๆ  ให้ต่อเนื่อง  อย่าเผลอ  อย่าให้ขาดตอน
      
       11.  ถ: หากเราเคยนั่งธรรมะดีมาก่อนและตอนนี้ก็ยังนั่งมาเรื่อย ๆ  แต่นั่งไม่ดีเท่าเมื่อก่อน  ธรรมะของเราถอยหลังไหม และควรปรับใจอย่างไร ? 
      ต: ธรรมะไม่ถอยหลัง  ธรรมะยังละเอียดเหมือนเดิม  แต่ใจของเราหยาบออกมา  อาจเป็นเพราะเราตั้งใจมาก  อยากได้อย่างนั้นอีก  จึงใช้ความพยายาม  จิตก็เลยหยาบและไปไม่ถึงจุดนั้น  สิ่งที่เราควรทำ คือ  ทำใจสบาย ๆ ใจเย็น ๆ ลืมของเก่าไป เหมือนกับเราไม่เคยเจอมาก่อนเลย  แล้วทำให้เหมือนเริ่มต้นใหม่ทุกอย่าง ง่าย ๆ สบาย ๆ  ไม่ช้าก็จะได้อย่างนั้นอีก  และดีกว่าเดิมด้วย
      สัปปายะ 4 คือ  อาหาร  สถานที่  บุคคล  ธรรมะ  ที่เป็นสิ่งแวดล้อมที่ดี   มีความจำเป็นสำหรับจุดเริ่มต้น  แต่ถ้าเราทำใจหยุดใจนิ่งเป็นแล้ว รู้วิธีการแล้ว จะอยู่ที่ไหนก็ทำได้ จะอยู่ในทะเลทราย บนภูเขา  แม่น้ำ ในอวกาศ  ตรงไหนก็ได้  วิธีการคือ  ต้องหยุดกับนิ่งอย่างสบาย ๆ เท่านั้น ไม่มีวิธีอื่น
      
      
      
      
      
      
      
      การวางใจ
      
       1.  ถ: ที่ว่าการทำสมาธิทำใจหยุดนิ่งเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง หมายความว่าอย่างไร ?
      ต: ศิลปะคือการรู้จักทำ รู้จักใช้ เหมือนอย่างแม่ครัว ผู้มีศิลปะในการปรุงอาหาร ที่รู้จักปรุงอาหารให้น่าเคี้ยวน่ากิน ใจของเราก็เช่นกัน ควรปรับปรุงศูนย์กลางกายให้ยอมรับ โดยให้ใจป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้ศูนย์กลางกาย ศูนย์กลางกายก็จะคุ้นเคย และยอมรับใจของเราได้ อย่ากังวลว่าเราจะต้องเห็นความสว่าง ดวงแก้ว หรือ องค์พระ แม้ว่าเราต้องการเห็นก็ตาม ให้ดูเฉยๆ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ให้พอใจกับสิ่งที่เห็น ไม่ว่าจะ ลางๆ หรือไม่ชัดก็ตาม ให้มองเฉยๆ โดยไม่มีการคิด  มองอย่างเดียว มองอย่างสบายๆ
      ถ้าไม่ฝึกจรดใจที่ศูนย์กลางกายตลอดเวลา เวลานั่งใจจะรวมได้ช้า ต้องมัวปัดของเก่าออก ทำให้เสียเวลา
      ให้หมั่นตรวจดูตัวของเราเองอย่างสม่ำเสมอ อย่าให้สิ่งที่เศร้าหมองเข้ามาเคลือบแคลงแฝงในจิตใจของเรา ให้ใจเราใส เยือกเย็น เข้มแข็ง มีกำลังอย่างไม่มีสิ้นสุด
      ต้องสังเกตไว้ให้ดีว่า ทำอย่างไรถึงจะเข้าถึงตรงจุดที่สบาย โล่ง โปร่ง เบา สังเกตแล้วทำให้ได้
      ให้หมั่นสังเกตว่าเรามีข้อบกพร่องอะไร ทำไมใจถึงไม่หยุด พบแล้วต้องปรับปรุงแก้ไ



คำถามในหมวดเดียวกัน
     -  การปฏิบัติธรรมนั้น งานหยาบต้องฝึกได้ดี ธรรมะละเอียดจึงจะดีใช่หรือไม่ ?
     -  เทคนิคการฝึกสติ ๒ วิธี คืออะไร ?
     -  วิธีบันทึกผลการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไร ?
     -  วิธีการเข้าถึงพระธรรมกายมีกี่วิธี ?
     -  อุปสรรคในการเข้าถึงธรรมมีอะไรบ้าง ?
     -  หนทางที่จะเข้าถึงปฐมมรรคมีกี่แบบ อะไรบ้าง ?
     -  นิวรณ์ ๕ เป็นอย่างไร ?
     -  นิวรณ์ ๕ เป็นอย่างไร ?
     -  การทำสมาธิ ๔๐ วิธีมีอะไรบ้าง ?
     -  การทำสมาธิเพื่อให้เข้าถึงธรรม มีกี่วิธี ?
     -  สมาธิแบ่งตามฐานที่ตั้งของใจมีกี่ชนิด ?
     -  นิวรณ์คืออะไร มีอุปมาอย่างไรบ้าง ?
     -  หัวใจของสมาธิคืออะไร ?
     -  เคยทราบมาว่าการเข้าถึงพระนิพพานมี ๔๐ วิธี แล้ววิชชาธรรมกายเข้าถึงได้ อยากทราบว่าอีก ๓๙ วิธีสามารถไปถึงนิพพานได้ไหม ?
     -  หมายความว่าทุกวิธี พอปฏิบัติได้ถึงจุดหนึ่งแล้ว จะกลายเป็นดวงใช่ไหม ?
     -  กายมนุษย์ละเอียดหรือกายอื่นๆ แตกต่างจากกายหยาบของเราอย่างไร ?
     -  หลวงปู่วัดปากน้ำสอนวิธีการทำใจให้หยุดนิ่งไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ จากเบื้องต้นจนถึงกายธรรม ไว้อย่างไรบ้าง ?

กลับหน้าสมาธิ
Bookmark and Share  
บันทึกผลการปฏิบัติธรรม