หมวด
การปรับร่างกาย
การหลับตา
การปรับใจ
การวางใจ
การนึกนิมิต
การใช้คำภาวนา
ความใจเย็น
การดู
การเห็น
ความหยุดนิ่ง
ฟุ้ง
เครียด-ตึง
ง่วง-หลับ
อยาก-ลุ้น
มืด
ติดลมหายใจ
นิมิตนอกตัว
นิมิตเลื่อนลอย
ขี้เกียจ-ท้อแท้
กลัว-กังวล
สงสัย
ความไม่ต่อเนื่อง
คำถามปกิณกะ

ความสบายเกิดขึ้นได้อย่างไร

    

หมวด การปรับใจ



   ๑. ทำให้สบาย  นึกถึงเรื่องที่ทำให้ใจสบาย  เช่น  บุญ  ความดี  หรือธรรมชาติ  ถ้าอารมณ ์ยังหยาบอยู่  นึกไม่ทัน ให้ทำเฉยๆ  พอใจละเอียด   ประสบการณ์ภายในจะมาเอง    วิธีลัดที่สุดคือ  ปรับกาย  ปรับใจ  ปรับลมหายใจเข้า-ออก  ให้ลมหายใจเข้าออกยาวสม่ำเสมอ   รักษาอารมณ์ให้ต่อเนื่อง  จะรู้สึกมีอารมณ์เบาสบาย มากขึ้น  ผลที่ตามมาคือ  การนั่งสมาธิของเราจะเป็นไปโดยธรรมชาติ  ไม่ต้องฝืนนั่ง  ความพอใจจะปรากฏที่ใบหน้า  ความรู้สึกยิ้มจะขยาย ไปสู่ระดับต่างๆ ถ้าได้อารมณ์นี้  ความคิดอื่นจะไม่เข้ามา  เมื่ออารมณ์สบาย  การนึกจะต่อ เนื่องเป็นธรรมชาติ  ลมหายใจเรากับลมหายใจจักรวาล   เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  หายใจออกครั้งเดียวก็ถึงดวงดาว  ดวงอาทิตย์  หายใจเข้า ก็จุดดวงอาทิตย์มาไว้ในตัว    นี่คือสบายเบื้องต้น  ก่อนเข้าถึงธรรมกาย
       ๒. สบายเอง ( จริงๆ)  เมื่อเข้าถึงธรรมกาย  กายจะโปร่งขึ้น  เบาขึ้น  ละเอียดขึ้น   เหมือนไม่มีตัว  ไร้น้ำหนัก   ไร้ความรู้สึกในตัว  จนกระทั่งเข้าถึงความรู้สึกของธรรมกาย
      



คำถามในหมวดเดียวกัน
     -  เราสามารถจัดระดับหรือขั้นตอนของความสบายได้อย่างไรบ้าง ?
     -  ความสบายเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
     -  สบายกับฟุ้งซ่านต่างกันอย่างไร ?
     -  ทำอย่างไรจึงจะรู้สึกผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ ?
     -  ทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้ที่มีอารมณ์ดีและอารมณ์สบายได้ตลอดเวลา ?
     -  เวลาไม่ได้นั่งสมาธิ เวลาคุยหรือขับรถหรือทำอย่างอื่น เราจะมีความรู้สึกสุขลึก ๆ สุขมาก ไม่ทราบ ว่ามันมาจากไหน รู้แต่ว่ามันอยู่ในท้อง แต่เวลานั่งสมาธิกลับไม่ค่อยได้ความรู้สึกเช่นนี้ เพราะอะไร ?
     -  การนำใจมาหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายอย่างสบาย ทำได้อย่างไรบ้าง ?
     -  หากเราเคยนั่งธรรมะดีมาก่อนและตอนนี้ก็ยังนั่งมาเรื่อย ๆ แต่นั่งไม่ดีเท่าเมื่อก่อน ธรรมะของเรา ถอยหลังไหม และควรปรับใจอย่างไร ?

กลับหน้าสมาธิ
Bookmark and Share  
บันทึกผลการปฏิบัติธรรม