ถ้าสวดมนต์ไม่จบบทแล้วนั่งสมาธิทำแบบนี้ผิดหลักหรือไม่

ลูกสวดมนต์ทำวัตรเช้าตามหนังสือสวดมนต์ที่วัดแจกให้ แต่สวดไม่จบ แล้วก็ทำสมาธิเลย การทำเช่นนี้ผิดหลักการประการใดหรือเปล่า จะเป็นผลต่อการนั่งสมาธิหรือไม่ https://dmc.tv/a12596

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 10 พ.ย. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18267 ]
หลวงพ่อตอบปัญหา
 
 

คำถาม: ลูกตื่นขึ้นตอนตี ๕ แล้วลุกขึ้นสวดมนต์ทำวัตรเช้าตามหนังสือสวดมนต์ที่วัดแจกให้ แต่สวดไม่จบ สวดแต่บทบูชาพระโดยพิสดารถึงอะระหัง สัมมาสัมพุทโธและสุดท้ายด้วยบทนะโม ตัสสะ ๓ จบ แล้วก็ทำสมาธิเลย การทำเช่นนี้ผิดหลักการประการใดหรือเปล่า จะเป็นผลต่อการนั่งสมาธิหรือไม่ เวลาสวดมนต์เสร็จแล้วจะนั่งสมาธิ เทียนจะต้องจุดไว้หรือเปล่า หรือต้องดับเทียนคะ?

 
คำตอบ: จะสวดตอนไหนก็ได้ แล้วแต่ถนัด ถ้าพอตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกร่างกายมันสดชื่นดี จะลงนั่งสมาธิเลยก็ยังได้ เพราะเพิ่งตื่นมาหยกๆ ใจมันยังไม่ฟุ้ง นั่งเลยแล้วไปสวดเอาตอนจะเลิกนั่ง หรือบางคนตื่นมาแล้วหงุดหงิด ถ้าเป็นอย่างนี้ให้สวดไปก่อน แล้วค่อยนั่งถึงจะดี
 
สวดมนต์นั่งสมาธิ
สวดมนต์นั่งสมาธิ
 
        สำหรับการจุดเทียนก่อนสวดมนต์นั้น อยากจุดก็จุด จุดแล้วอยากดับตอนไหนก็ได้ ระวังอย่าให้ไฟไหม้ที่บูชาพระ จนบ้านไหม้วอดไปทั้งหลังก็แล้วกัน อยู่ในบ้านนั่งหลับตาแล้ว ไฟจากเทียนก็ไม่มีประโยชน์ ดูความสว่างในตัวดีกว่านะ
 

คำถาม: การสวดมนต์เช้า-เย็น นั่งสมาธิก่อนนอน คืออย่างไร ถ้ามันไม่ได้ จุดธูปเทียนบูชาพระก่อนในบางครั้งได้หรือไม่?

 
คำตอบ: ได้ แต่ว่าเรื่องเดิมมันเป็นอย่างนี้ ที่เขาสวดมนต์เช้า-เย็น ก่อนนั่งสมาธินั้น สมัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่สมัยนั้นพระองค์มักให้โอวาทแก่พระภิกษุและประชาชนที่มาเฝ้าเป็นประจำทั้งเช้าทั้งเย็น พอพระองค์ปรินิพพานไปแล้ว จะหาใครให้โอวาทได้อย่างพระองค์ไม่มี
 
สวดมนต์ก่อนนั่งสมาธิหรือนั่งสมาธิก่อนสวดมนต์ก็ได้
สวดมนต์ก่อนนั่งสมาธิหรือนั่งสมาธิก่อนสวดมนต์ก็ได้
 
        คณาจารย์รุ่นหลังก็เลยคิดแก้ไข โดยนำเอาโอวาทของพระพุทธองค์ที่ให้ไว้ในสมัยที่ทรงประกาศพระศาสนา มาเรียบเรียงเป็นบทสวด แล้วเอามาท่องกันทั้งเช้าและเย็น แล้วในที่สุดก็เลยกลายมาเป็นบทสวดมนต์ทำวัตรเช้า-ทำวัตรเย็น
 
        เพราะฉะนั้นการที่เราสวดมนต์ทำวัตรเช้า-ทำวัตรเย็น จริงๆ แล้ว ก็คือสวดทบทวนโอวาทที่พระองค์ตรัสเอาไว้ในสมัยที่ยังทรงพระชนม์อยู่นั่นเองการทบทวนคำสอนของครูบาอาจารย์นี่ดีอย่างไร ดีคือ
 
        ๑) ทำให้ไม่ลืมคำสั่งสอน
        ๒) ทำให้มีโอกาสได้ไตร่ตรองคำสั่งสอนทุกถ้อยคำ
 
        เมื่อไตร่ตรองแล้ว ปัญญามันก็จะเกิดขึ้นมาตามส่วน แล้วเรื่องที่พระองค์สอนก็เป็น “เรื่องที่ควรรู้ ควรเห็น” คือรู้แล้วก็ทำให้ใจสบายยิ่งขึ้น เห็นแล้วก็ยิ่งสุขกายสุขใจยิ่งขึ้นไปอีก 
 
        เพราะฉะนั้นเมื่อเราสวดมนต์ทั้งเช้า ทั้งเย็นทุกวัน ได้ทบทวนคำสอนของพระพุทธองค์ทุกวันใจมันก็ชุ่มชื่น แล้วพอเรานั่งสมาธิต่อจะทำให้ใจเป็นสมาธิได้เร็วขึ้น
 
        สำหรับคนที่พื้นสมาธิดีอยู่แล้ว พอกำหนดใจนิ่งปุ๊บ จะเห็นนิมิตดวงแก้ว หรือเห็นดวงปฐมมรรคทันที เห็นพระธรรมกายสว่างชัดทุกครั้งไป ถ้าอย่างนั้นอาจจะไม่ต้องสวดมนต์ก็ได้ ไม่ว่ากัน แต่ว่าถ้ายังไม่ชำนาญถึงขั้นนั้น ควรสวดมนต์เสียก่อน พอสวดแล้วใจมันจะเริ่มนิ่ง พอใจเริ่มนิ่งแล้วก็ค่อยนั่งสมาธิต่อ
 
        ถ้าไม่อย่างนั้น บางทีอาจจะโกรธ ใครมาจากที่ทำงาน อาจจะขัดอกขัดใจกับเพื่อนร่วมงาน พอมาถึงก็นั่งทันที รับรองเลยว่าจะเห็นแต่หน้าไอ้เพื่อนที่เถียงกัน เมื่อกลางวันนั่นแหละ นั่งไม่ติดหรอกเมื่อยเปล่า
 
        ถ้าอย่างนั้นจะแก้อย่างไร? ก็สวดมนต์ไปสักพักหนึ่ง ให้ลืมเรื่องที่ทะเลาะกับเขาแล้วใจจะเป็นสมาธิได้เร็ว
 
        เพราะฉะนั้นการสวดมนต์ยังน่าทำอยู่ แต่ว่าจะจุดธูปจุดเทียนหรือไม่ อย่าเอามาเป็นปัญหาเลยนะ ถ้าจุดแล้วไม่เสี่ยงกับไฟไหม้ ไม่รบกวนใคร ก็จุดเถอะ แต่ถ้าจุดแล้วเสี่ยงกับการที่ไฟจะไหม้บ้านก็อย่าไปจุดมัน หลวงพ่อเวลาขึ้นบนศาลาถ้าเทศน์ปกติธรรมดาก็ไม่จุด ยกเว้นวันที่มีพิธีต้องจุดตามสมควร
 
คำถาม: ในไตรภูมิพระร่วงเขียนไว้ว่า การเป็นอยู่ของสัตว์นั้น หมุนเวียนอยู่ในสัญญา ๓ คือ กามสัญญา อาหาเรสัญญา และ มรณสัญญา ส่วนมนุษย์ คือสัตว์หนีไม่พ้นสัญญาทั้ง ๓ แต่มนุษย์ดีกว่าสัตว์ ก็เพราะมนุษย์มีสัญญาที่ ๔ คือ ธรรมสัญญา กระผมขอกราบเรียนหลวงพ่อช่วงกรุณาแปลสัญญาที่ ๔ คือธรรมสัญญา ให้กระผมทราบด้วยเถิดครับ?
 
คำตอบ: คำว่าสัญญา แปลว่า เกาะเกี่ยวผูกพันยึดมั่น หรือ ความจำได้หมายรู้ อธิบายง่ายๆ ว่าในพวกสัตว์เดรัจฉานนี้ พอโตขึ้นมากามสัญญาก็เกิดติดตัวมาแล้ว คือพอเป็นหนุ่มเป็นสาว มันก็จ้องจะสืบพันธุ์ของมัน จะมีลูกมีหลานต่อไป ความเกาะเกี่ยวยึดมั่นอย่างนี้ เรียกว่า กามสัญญา
 
        นอกจากนั้น แต่ละวันแต่ละคืน แต่ละปีที่ผ่านไป สัตว์ก็มี อาหาเรสัญญา คือ จ้องแต่จะกิน หากินกันไปวันหนึ่งๆ
 
        แล้วสิ่งสุดท้ายที่สัตว์มีคือ มรณสัญญา ความกลัวตาย พูดง่ายๆ หากินไป พอกินอิ่มแล้ว เดี๋ยวความรู้สึกทางเพศมันกำเริบ และในเวลามีภัยอะไรเกิดขึ้นมันก็กลัวตาย ก็หลบหนีภัยไป
 
ธรรมสัญญาหรือมนุษยธรรม คือรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรผิด อะไรถูก อะไรควรไม่ควร ละเว้นไม่ทำในสิ่งที่ชั่ว เลือกทำแต่ที่ดีๆ
ธรรมสัญญาหรือมนุษยธรรม คือรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรผิด อะไรถูก อะไรควรไม่ควร ละเว้นไม่ทำในสิ่งที่ชั่ว เลือกทำแต่ที่ดีๆ
 
        ส่วน ธรรมสัญญา บางทีเขาก็เรียกว่า มนุษยธรรม สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายมันไม่รู้ผิดชอบชั่วดี แต่มนุษย์มีธรรมสัญญา คือรู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรผิด อะไรถูก อะไรควรไม่ควร แล้วก็ละเว้นไม่ทำในสิ่งที่ชั่ว เลือกทำแต่ที่ดีๆ

http://goo.gl/Xe5FL


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related