การบวชเป็นพระถือว่าเป็นการทดแทนบุญคุณพ่อแม่อย่างไร

คนไทยเชื่อว่าบวชพระลูกชาย เป็นการทดแทนบุญคุณพ่อแม่ แต่จะทดแทนบุญคุณพ่อแม่ได้อย่างไร ในเมื่อก็รู้ๆ อยู่ว่าบวชแล้ว ก็ไปบิณฑบาต ไปทำความดีตามลำพัง ทิ้งพ่อทิ้งแม่ทิ้งครอบครัว https://dmc.tv/a13105

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 19 ม.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18303 ]
หลวงพ่อตอบปัญหา
 
 

คำถาม: คนไทยเชื่อกันว่าการบวชพระลูกชาย เป็นการทดแทนบุญคุณพ่อแม่ แต่กระผมยังนึกไม่ออกว่าจะทดแทนบุญคุณพ่อแม่ได้อย่างไร ในเมื่อก็เห็นๆ กันอยู่ว่าบวชแล้ว ก็ไปบิณฑบาต ไปทำความดีตามลำพัง ทิ้งพ่อทิ้งแม่ทิ้งครอบครัวเสียด้วยซ้ำ?

 
คำตอบ: เรื่องของความเชื่อ ใครจะเชื่ออย่างไรก็เรื่องของเขา ส่วนเราซึ่งเป็นชาวพุทธและเป็นคนรุ่นใหม่ จะตัดสินใจเชื่ออย่างไรควรพิจารณาดูเหตุดูผล เหตุผลตามหลักของพระพุทธศาสนาบอกไว้ว่า ใครทำดีคนนั้นก็ได้ดี ใครทำชั่วคนนั้นก็ได้ชั่ว ใครทำใครได้
  
        ลูกบวชลูกก็ต้องได้บุญ ในฐานะที่ได้ฝึกหัดขัดเกลาตัวเองตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ไปฝึกหัดขัดเกลาตัวเองตามลูก บุญส่วนนี้จึงไม่ได้ แต่จะได้บุญส่วนอื่นคือได้บุญในฐานะที่สนับสนุนให้ลูกบวช และในฐานะที่ลูกบวชแล้ว ก็เลยตามไปตักบาตรให้ด้วยความเป็นห่วงพระลูกชาย ครั้นเมื่อไปตักบาตรแล้ว ก็ไม่ได้ตักให้เฉพาะพระลูกชายของตัวเองหรอก ตักบาตรให้พระองค์อื่นๆ ด้วย ท่านก็เลยได้บุญจากการให้ทานเพิ่มขึ้นมาอีกงบหนึ่ง
 
การบวชพระลูกชายถือเป็นการทดแทนบุญคุณพ่อแม่
การบวชพระลูกชายถือเป็นการทดแทนบุญคุณพ่อแม่
 
        คุณพ่อคุณแม่บางคนด้วยความเป็นห่วงลูกมาก จึงตามพระลูกชายไปอยู่ที่วัดตั้งครึ่งค่อนวันเกือบทุกวัน ก็เลยได้โอกาสฟังเทศน์ ได้ความรู้เรื่องบุญเรื่องบาป ทำให้รักบุญกลัวบาปมากยิ่งขึ้น ท่านจึงได้บุญตรงนี้อีกส่วนหนึ่ง หรือไหนๆ ก็มาถึงวัดแล้วเห็นญาติโยมคนอื่นๆ ที่มาวัดเขาถือศีล ภาวนา เขานั่งสมาธิกัน ก็เลยทำตามเขาไปด้วย ได้เข้าพวกเข้าหมู่เป็นนักปฏิบัติธรรมไป เพราะฉะนั้นนอกจากท่านจะได้บุญจากการตักบาตรทำทานแล้ว ท่านยังได้บุญจากการรักษาศีล และเจริญภาวนาอีกด้วย 
 
        บุญที่เกิดขึ้นคนละลักษณะ คนละส่วนกัน แต่ว่าได้บุญแน่นอน ยกเว้นคุณพ่อคุณแม่บางคน พอลูกบวชแล้วท่านก็อยู่เฉยๆ คิดว่าจะได้รับบุญจากพระลูกชาย ทำแบบนี้ไม่ได้บุญหรอกนะ ก็ไม่ได้ตักบาตร ไม่ได้ตามไปฟังเทศน์ที่วัด จะได้บุญมาจากไหน แต่ก็มีเหมือนกันที่พ่อไม่ไปวัด แต่พระลูกชายมาเทศน์ให้ฟังถึงบ้านก็เลยชื่นใจ ยอมทำตามที่พระลูกชายสอน ไปตักบาตร ไปถือศีล นั่งแหละคุณพ่อคุณแม่จะได้บุญตรงนั้น
 

คำถาม: ตามที่ผมได้มาชมบริเวณวัดพระธรรมกาย ผมได้เห็นโบสถ์ ซึ่งไม่เหมือนกับโบสถ์โดยทั่วไปเลยในประเทศไทย ได้นำเอาแบบมาจากไหนครับ?

 
คำตอบ: โบสถ์รูปร่างลักษณะนี้ ขนาดนี้ ไปเอามาจากไหน ตอบว่าเอามาจากวัดเบญจมบพิตรฯ นะ จะต่างกันก็หลังคา เพราะว่าถ้าจะทำหลังคาเหมือนที่วัดเบญจมบพิตรฯ แล้วละก็ต้องเพิ่มเงินอีกหลายล้านเหลือเกิน ก็เลยทำได้อย่างที่เห็นนี่แหละ ต้องประหยัดแล้วคำนึงถึงความคงทนด้วย
 
โบสถ์วัดพระธรรมกาย
โบสถ์วัดพระธรรมกาย
 
        หลังคาก็ใช้กระเบื้องสมัยนั้นนั่นแหละ มุงง่ายๆ เลือกเอาที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ในสมัยที่เริ่มก่อสร้าง เดี๋ยวนี้บางโรงงานอาจจะมีกระเบื้อชนิดดีกว่านี้ก็ได้ ผนังของโบสถ์ใช้เสาเข็มของซีแพค ขนาด 23 เมตร ตอกลงไปจนกระทั่งตอกไม่ลง ก็คำนึงถึงความคงทน แม้แต่ท่อน้ำ ก็ใช้ท่อแสตนเลสไปเลย
 
        ตอนสร้างก็ตั้งใจทำเอาไว้อย่างดี ให้แข็งแรงทนทาน ให้อยู่ได้สัก 1000 ปี ก็แล้วกัน ถ้าจะอยู่คู่กับพระศาสนาได้ก็ยิ่งดี แต่เราก็ต้องยอมรับว่ามันต้องพังสักวันหนึ่ง แต่ว่า...เมื่อทำแล้วก็จะให้มีความคงทนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และก็หวังว่าในยุคสมัยของผู้ร่วมการก่อสร้างโบสถ์นี้จะไม่มีการซ่อมแซม เพื่อจะได้มีเวลาในการศึกษาปฏิบัติธรรมมีเวลาค้นคว้า นำพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเผยแผ่แก่สาธุชนให้มากที่สุด นี่เป็นความตั้งใจของพวกเรา
 
คำถาม: พระประธานที่ประดิษฐานอยู่บนศาลาแห่งนี้(ในวัดพระธรรมกาย) รู้สึกว่าสวยงามแปลกตาดี ผมอยากทราบว่าได้แบบมาจากไหนครับ?
 
คำตอบ: พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ตามศาลาต่างๆ ในวัดพระธรรมกาย คือ พระธรรมกาย เรื่องก็มีอยู่ว่า หลังจากที่เราปฏิบัติธรรมกันมากเข้าๆ ก็พบลักษณะของพระธรรมกาย ที่เกิดในตัวของแต่ละคนว่าเหมือนกันทุกคน คือมีลักษณะมหาบุรุษครบ 32 ประการ
 
พระประธานวัดพระธรรมกาย
พระประธานวัดพระธรรมกาย
 
        เราเคยเรียนลักษณะมหาบุรุษกันมาแล้ว เราก็ไปเห็นลักษณะมหาบุรุษของพระธรรมกายที่อยู่ในตัวเราด้วย เห็นว่าไม่ขัดแย้งกัน เราก็เลยจำลองเอาออกมาปั้นเป็นองค์พระ
 
        คุณโยมค่อยๆ ฝึกสมาธิไปเถอะ ฝึกไปจนกระทั่งเห็นธรรมกายในตัว ก็จะพบว่า แหม..ที่หลวงพ่อปั้นออกมานี่ใกล้เคียงจริงๆ แม้ไม่เหมือน 100% แต่ก็ใกล้เคียงทีเดียว
 
        ฝรั่ง หรือ ชาวต่างประเทศ ชาติไหนก็ตาม เวลาฝึกสมาธิก็จะเห็นอย่างเดียวกัน ค่อยๆ ฝึกไป อย่าเพิ่งเชื่อทันทีในขณะนี้ แล้วก็อย่าเพิ่งปฏิเสธ
 
        ถ้าเชื่อโดยยังไม่ได้พิสูจน์ ท่านเรียกว่า “งมงาย”
 
        แต่ถ้าปฏิเสธโดยยังไม่ได้พิสูจน์ ท่านเรียกว่า “ดื้อรั้น”
 
        ไปพิสูจน์คำพูดที่หลวงพ่อพูดเอาเองก็แล้วกัน

http://goo.gl/ohPKN


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related