ทำไมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเป็นที่พึ่งสูงสุด

ชาวพุทธเคารพนับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งสูงสุด เพราะพระองค์เป็นมนุษย์ที่เลิศด้วยพระปัญญาธิคุณ ปราบกิเลสได้ด้วยพระองค์เอง และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ สอนวิธีปราบกิเลสให้คนทั้งโลก เหมือนไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ด้วยความบริสุทธิ์ใจ https://dmc.tv/a13167

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 31 ม.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18271 ]
 
 
โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว)
เรียบเรียงจากรายการหลวงพ่อตอบปัญหา ทาง DMC
 
 

คำถาม: ทำไมเราจึงนับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า เป็นที่พึ่งสูงสุด ทั้งที่พระองค์ก็มาจากมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง?

    
คำตอบ: ชาวพุทธที่แท้จริงเป็นคนมีเหตุผล ไม่ใช่คนงมงายเชื่อง่าย การที่คนใดคนหนึ่งจะเลือกใครมาเป็นศาสดา เป็นที่เคารพของตนนั้น ที่ถูกต้องแล้วเขาควรจะต้องคำนึงถึงประวัติของศาสดานั้นๆ เสียก่อนว่า
 
        1. เป็นบุคคลที่มีประวัติชัดแจ้ง ว่ามีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์โลก ไม่ใช่เป็นเพียงบุคคลที่ประวัติไม่ชัดแจ้ง หรือคลุมเครือ ไม่น่าเชื่อถือ
 
        2. เป็นบุคคลที่มีสติปัญญาความรู้ และคุณธรรมมาก รู้เรื่องโลกและชีวิตอย่างลึกซึ้ง ที่เรียกว่าตรัสรู้ และคิดค้นคำสอนได้ด้วยตนเองไม่ใช่แอบอ้างเอาคำสั่งสอนคนอื่นมาสอนต่อ คือต้องเป็นผู้ที่มีความรู้จริง มีความสามารถจริงด้วยตัวเอง
  
       3. คำสั่งสอนของศาสดานั้นๆ เป็นคำสอนที่สาวกหรือลูกศิษย์สามารถประพฤติปฏิบัติตามจนบังเกิดผลดีได้ หรือมีความสุขได้จริง ถ้าไม่มีใครสามารถประพฤติตามคำสอนเหล่านั้นได้เลย ก็แสดงว่าคำสอนเหล่านั้นไร้ประโยชน์ เพราะใครๆ ก็ทำตามไม่ได้
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
      พระสัมมาสัมพุทธเจ้า    
 
        เมื่อพิจารณาตามหลักเกณฑ์เหล่านี้แล้วก็จะทราบว่า การที่ชาวพุทธเคารพนับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งสูงสุดอย่างเต็มภาคภูมิ เพราะเหตุที่สอดคล้องกันทั้ง 3 ประการ คือ
 
       1) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นบุคคลที่เคยมีตัวตนอยู่จริงในโลกมนุษย์ มีประวัติศาสตร์รับรอง และระบุถึงผู้ให้กำเนิดชีวิตแก่พระองค์อย่างชัดแจ้งเหมือนมนุษย์ทั่วไป ยิ่งกว่านั้นยังทรงมีชาติตระกูลสูง คือ เป็นถึงพระโอรสของกษัตริย์ ซึ่งบ้านเมืองที่เคยรุ่งเรืองในประวัติศาสตร์ มีตำแหน่งแหล่งที่ปรากฏอยู่ในแผนที่โลกมาถึงปัจจุบัน
 
        2) พระองค์ทรงกระทำความเพียร ค้นคว้าหาสัจธรรมโดยลำพัง จนได้ตรัสรู้เอง ทรงบัญญัติคำสอนโดยใช้ความสามารถของพระองค์เองโดยแท้ ไม่ได้รวบรวมคำสอนของคนอื่นมาอ้างว่าเป็นของตนเอง หรืออ้างเลยไปถึงว่าได้นำคำสอนของผู้มีอำนาจบนสวรรค์มาสอน ซึ่งเท่ากับเป็นการอาศัยอิทธิพลผู้อื่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศชัดว่าตรัสรู้ธรรมด้วยพระองค์เอง ไม่อยู่ในอาณัติของใคร ไม่เป็นทาสรับใช้ใคร และไม่บังคับให้ใครเชื่อคำสอนของพระองค์
 
        3) คำสอนของพระพุทธองค์ทุกๆ คำเป็นสัจธรรม คือเป็นความจริงล้วนๆ ที่ไม่เคยล้าสมัย ข้อใดที่พระองค์ตรัสว่าควรกระทำ ข้อนั้นถ้าใครตั้งใจทำตาม ก็ได้ผลดีจริง
 
        ส่วนข้อใดที่พระองค์ตรัสว่าควรละเว้น ถ้าหากใครฝ่าฝืนไปทำก็ได้รับผลเป็นความทุกข์จริง ฉะนั้นคำสอนของพระองค์ที่เราเรียกว่า “พระธรรม” จึงเป็นความจริงที่ไม่เคยล้าสมัย แม้ทุกวันนี้ หากใครประพฤติตามย่อมได้รับผลดี คือไม่ตกไปสู่ฐานะอันชั่ว ต่ำ เช่น ไม่ตกไปเป็นโจร ไม่เป็นอันธพาล ไม่เป็นคนเลว ตายแล้วก็ไม่ตกไปสู่อบายภูมิ
    
        ยิ่งกว่านั้นในการสอนธรรม แม้พระองค์ต้องทรงเหน็ดเหนื่อยอย่างยิ่งยวด อีกทั้งยังต้องเผชิญต่อการมุ่งร้ายหมายชีวิต จากฝ่ายปรปักษ์อย่างแสนสาหัส พระองค์ก็มิได้ทรงท้อถอย และยังมิได้ทรงปรารถนาจะรับหรือ   เรียกร้องสิ่งตอบแทนใดๆ จากผู้ฟังคำสอนของพระองค์เลย
    
        แม้ในที่สุดเมื่อใครจะบูชาพระองค์ด้วยอามิส คือสิ่งของมีค่า พระองค์กลับทรงแนะนำว่า การบูชาด้วยอามิสบูชาอย่างนั้น สู้การปฏิบัติบูชาไม่ได้ นี่ย่อมแสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณอันเลิศ ศาสดาใดๆ ในโลกก็ไม่อาจเทียบได้
    
        นอกจากนี้ สาวกของพระองค์ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุ หรือคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน เมื่อตั้งใจปฏิบัติตามพระธรรม และพระวินัยที่ทรงสั่งสอนไว้ ก็สามารถเป็นผู้บริสุทธิ์กาย วาจา ใจ หมดกิเลส มีความสุขอันเป็นอมตะตามพระองค์ ซึ่งเท่ากับได้เป็นพยานยืนยันพระบริสุทธิคุณได้ว่า คำสอนของพระองค์ซื่อตรงถูกต้องดีจริง มนุษย์ทุกคนสามารถปฏิบัติตามได้และได้ผลจริง สาวกของพระองค์ที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในยุคนั้นมีนับเป็นล้านๆ องค์
    
        โดยสรุป เราชาวพุทธเคารพนับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งสูงสุด โดยไม่ตะขิดตะขวงใจ ทั้งที่พระองค์มาจากมนุษย์ธรรมดา คนหนึ่ง เพราะพระองค์เป็นมนุษย์ที่เลิศด้วยพระปัญญาธิคุณ หรือพูดภาษาชาวบ้านว่าทรงเก่งที่สุดเท่าที่มนุษย์จะพึงเป็นได้ เพราะทรงเก่งกล้าสามารถปราบกิเลสได้ด้วยพระองค์เอง และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ทุ่มเทสอนวิธีปราบกิเลสให้คนทั้งโลก เหมือนไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยไม่ทรงหวังสิ่งตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น
       
        เราเชื่อในพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธองค์ เราจึงพร้อมที่จะยึดถือเอาพระองค์เป็นที่พึ่ง ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของท่านโดยไม่ลังเลใจ เพื่อจะได้หมดกิเลสตามพระองค์ไปในที่สุด
 

คำถาม: การรดน้ำดำหัว มีประเพณีเป็นมาอย่างไรคะ เด็กควรรดน้ำให้ผู้ใหญ่ หรือผู้ใหญ่ควรรดให้เด็กกันแน่คะ?

    
คำตอบ: ประเพณีของปู่่ย่าตาทวดที่ดีงามมีมาก ประเพณีรดน้ำดำหัวหรือประเพณีรดน้ำขอพรเป็นประเพณีทางโลก กระทำในวันสงกรานต์ เนื่องจากวันสงกรานต์อยู่ในช่วงหน้าร้อน ความที่อากาศร้อนมาก จึงคิดเตรียมน้ำมารดกันให้เย็นชุ่มฉ่ำ แต่ไม่ได้ใช้วิธีสาดกัน โครมๆ อย่างที่ทำกันในบางแห่งในปัจจุบันนี้หรอกนะ
    
        ปู่่ย่าตาทวด เมื่อเริ่มธรรมเนียมนี้ขึ้นมา ท่านเอาน้ำฝนที่เก็บไว้อย่างดีมาใส่ขันเงินขันทองใบใหญ่ที่สุดที่ท่านมี ใส่น้ำหอม อบดอกมะลิวางไว้หน้าพระพุทธรูปตลอดคืน แล้วท่านก็นั่งสมาธิ(Meditation)ตั้งแต่หัวค่ำนึกแผ่เมตตาแผ่ความปรารถนาดีลงในน้ำนั้น
    
        รุ่งเช้าท่านก็อุ้มขันน้ำลอยดอกมะลินั้นมาหน้าบ้านลอยขัน หรือจอกใบเล็กๆ ไว้ พอพบใครที่ต้องการอวยพรให้ ท่านก็กล่าวคำขออนุญาตรดน้ำ คนรับก็ก้มหลังให้รด คนรดน้ำก็ให้พรไปด้วย ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งเตรียมน้ำไว้เช่นกัน ก็จะรดน้ำอวยพรให้เป็นการตอบแทน
 
ประเพณีรดน้ำดำหัวหรือประเพณีรดน้ำขอพร
ประเพณีรดน้ำดำหัวหรือประเพณีรดน้ำขอพร
 
        การรดน้ำอวยพร เป็นกุศโลบายในการประสานใจ ในคนเรานี่อุปมาเหมือนแผ่นดิน คือแผ่นดินถึงจะแตกระแหง พอได้รับน้ำฝนที่ตกมาซู่เดียว แผ่นดินก็ประสานเป็นเนื้อเดียวกันได้ ใจที่ได้รับน้ำคือความปรารถนาดีก็ประสานกันได้เช่นกัน
    
        บางประเทศไม่รู้จักหาวันประสานใจ พอกระทบกระทั่งกันจากประเทศใหญ่ก็แตกกันเป็นฝ่ายๆ ไปเลย โอกาสรวมตัวกันใหม่ให้เหมือนเดิมก็ยาก จนมองไม่เห็นทาง เหมือนแผ่นดินแห้งจนแตกเป็นเม็ดกรวดเม็ดทราย รดน้ำเท่าไรๆ ก็ไม่มีวันประสานเป็นเนื้อเดียวกันได้
    
        ประเพณีดั้งเดิมเป็นอย่างนี้ ก็ดัดแปลงกันมาเรื่อยๆ การรดน้ำดำหัวนิยมทำกันทางภาคเหนือมาก่อน และเป็นธรรมเนียมที่ผู้น้อยกระทำต่อผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ ปัจจุบันใช้กันทั่วไปในหลายวาระ ที่ต้องการแสดงมุทิตาจิตต่อผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุที่มีผู้เคารพนับถือมาก ส่วนมากจะใช้วิธีรดน้ำใส่มือท่าน และท่านผู้ใหญ่ก็จะกล่าวคำให้พรไปในขณะนั้นด้วย
    
        ในท้องถิ่นชนบทบางแห่ง ไม่รดน้ำเพียงจอกเล็กๆ แต่รวมกันทั้งหมู่บ้านมาอาบน้ำให้ผู้เฒ่า ที่เคารพนับถือ ทุกคนพร้อมกันไปเลย ทั้งอาบน้ำ สระผม ประแป้ง ให้เสร็จสรรพ จึงเรียกพิธีในวันนี้ว่ารดน้ำดำหัวถ้าผู้ใหญ่รดน้ำให้พรเด็ก ส่วนมากทำกันในพิธีมงคลสมรส ที่เรียกว่ารดน้ำสังข์ ประเพณีรดน้ำดำหัวนี้ดีมาก พยายามรักษาให้เป็นประเพณีที่นุ่มนวลไปนานๆ เถิดนะ

http://goo.gl/cYc10

     
Tag : หลวงพ่อตอบปัญหา  หลวงพ่อ  สวรรค์  สมาธิ  ปัญหา  ปัญญา  ทุกข์  

พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related