วัดในสมัยพุทธกาลมีเมรุเผาศพหรือไม่

ในประเทศอินเดียเรื่องของเมรุเผาศพ ไม่ได้มีอยู่ในวัด ไม่ว่าในสมัยพุทธกาล หรือสมัยปัจจุบัน แม้ในเมืองไทยเรา แต่ก่อนนี้เขาก็ไม่ได้มีเมรุในวัด เขาเผากันกลางทุ่ง https://dmc.tv/a13193

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 7 ก.พ. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18280 ]
 
 
 

คำถาม: วัดในสมัยพุทธกาล เช่น วัดเชตวันฯ หรือวัดอื่นๆ มีเมรุเผาศพหรือไม่?

       
คำตอบ: ไม่มี ในประเทศอินเดียเรื่องของเมรุเผาศพ ไม่ได้มีอยู่ในวัด ไม่ว่าในสมัยพุทธกาล หรือสมัยปัจจุบัน แม้ในเมืองไทยเรา ดูทางภาคเหนือเป็นต้นก็เป็นอย่างที่คุณโยมไปเห็นมานั่นแหละ แต่ก่อนนี้เขาก็ไม่ได้มีเมรุในวัดนะ เขาเผากันกลางทุ่ง
 
เมรุเผาศพ
เมรุเผาศพ
 
        ต่อๆ มาเราเอาศพเข้ามาในวัด เพราะอะไรล่ะ? เพราะความกลัวผีบ้าง เพราะอยากจะให้พระปลอบประโลมใจบ้าง เลยดึงเอากิจกรรมเผาศพเข้ามาไว้ในวัด จนกระทั่งกลายเป็นว่าเดี๋ยวนี้ทุกวัดจะต้องมีเมรุเผาศพ
 

คำถาม: เขาว่ากันว่าในยุคพระศรีอาริย์ พวกมนุษย์จะไม่ต้องทำมาหากิน เพราะมีของให้กินให้ใช้ตามธรรมชาติเต็มไปหมด เมื่อไหร่พระศรีอาริย์จะมาเกิดเสียทีเจ้าคะ?

       
คำตอบ: มีบันทึกในพระไตรปิฏกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ครั้งหนึ่งว่า นับแต่เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ทุกๆ 100 ปี อายุขัยของมนุษย์จะลดลง 1 ปี เป็นอายุขัยโดยเฉลี่ยนะ
 
พระศรีอริยเมตไตรย
พระศรีอริยเมตไตรย
 
        เมื่อปีที่พระพุทธองค์ปรินิพพาน อายุขัยโดยเฉลี่ยของมนุษย์ พ.ศ.1000 อายุขัยของมนุษย์จะเป็น 90 ปี พ.ศ. 2000 อายุขัยเฉลี่ย 80 ปี เพราะฉะนั้น พ.ศ. 2500 นี้อายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์เราจึงเป็น 75 ปี
 
ยุคมิคสัญญี คือคุณธรรมของมนุษย์ไม่เหลือเลย
 ยุคมิคสัญญี คือคุณธรรมของมนุษย์ไม่เหลือเลย
 
        อายุขัยของมนุษย์จะลดลงเรื่อยๆ อย่างนี้ จนเหลือ 10 ปี (คำนวณได้ประมาณ พ.ศ.9000) เรียกว่า “ยุคมิคสัญญี” คือคุณธรรมของมนุษย์ไม่เหลือเลย พอเห็นหน้าก็จะฆ่ากันเหมือนนายพรานเห็นเนื้อสมัน การฆ่าฟันกันจะมีมาก จนกลิ่นศพเหม็นตลบไปทุกหัวระแหงเมื่อไรที่คนอายุขัย 10 ปี คิดได้ แล้วตั้งใจถือศีล 5 ประพฤติกุศล-กรรมบถตลอดชีวิต บุตรของคนเหล่านี้จะมีอายุขัยค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นรุ่นๆ ไป จนถึงอายุขัยเฉลี่ย 1 แสนปี แล้วค่อยๆ ลดลงมาจนมนุษย์มีอายุขัยเหลือ 8 หมื่นปี พระศรีอริยเมตไตรย ซึ่งเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ที่ 5 หรือพระองค์สุดท้ายของกัปนี้จึงจะมาบังเกิด
 
เมื่อมนุษย์มีอายุขัย 8 หมื่นปี พระศรีอริยเมตไตรยจึงจะมาบังเกิดเป็นพระองค์สุดท้ายในกัปนี้
เมื่อมนุษย์มีอายุขัย 8 หมื่นปี พระศรีอริยเมตไตรยจึงจะมาบังเกิดเป็นพระองค์สุดท้ายในกัปนี้
 
        เนื่องจากมีบันทึกว่ามีพระพุทธดำรัสเช่นนี้นี่เอง ที่ทำให้มีผู้พยายามคำนวณ แล้วอ้างว่าคนนั้นคนนี้เป็นพระโพธิสัตว์ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระศรีอริยเมตไตรย แต่หลวงพ่อว่าอย่ารอเลยนะ รีบนั่งสมาธิ(Meditation)เข้านิพพานไปก่อนดีกว่า ขืนนั่งรอ พลาดท่าพลาดทางไปทำดีทำชั่วผสมผสานกันพอดิบพอดีเป๊ะ ไปเกิดในยุคมิคสัญญีเข้าล่ะก็ลำบากตายเลย แล้วจะหาว่าหลวงพ่อไม่เตือนกันไม่ได้นะ 
 
คำถาม: วัดพระธรรมกายมีการสวดศพในวัดหรือเปล่า?
       
คำตอบ: วัดใกล้เคียงเขารับสวดศพกันอยู่แล้ว วัดพระธรรมกายขอตัวนะ เพราะว่าจะได้มีโอกาสทำภาวนา แล้วก็เตรียมสอนเตรียมเทศน์ พอพวกเรามาวัด หลวงพ่อหลวงพี่จะได้มีความรู้เทศน์ให้ฟังได้เลย ถ้ามานั่งสวดศพ มาจัดการเกี่ยวกับเรื่องศพอยู่ เดี๋ยวจะไม่มีเวลาเตรียมการเทศน์การสอน เพราะฉะนั้นงานนี้ขอตัวนะ
 
คำถาม: เสาที่อยู่รอบโบสถ์วัดพระธรรมกายเรียกว่าเสาอะไร มีความสำคัญอย่างไร แล้วทำไมโบสถ์ของที่นี้ไม่มีใบสีมา?
       
คำตอบ: เสาที่อยู่รอบระเบียงโบสถ์ซึ่งมีทั้งหมด 4 เสา อยู่ตรงมุมแต่ละมุม เป็นทั้งลูกนิมิตและเขตพัทธสีมาไปด้วย เราเคยเห็นแต่ลูกนิมิตกลมๆ อยู่ใต้ดิน เนื่องจากฝังไว้ใต้ดิน จึงไม่มีใครรู้ว่ามีลูกนิมิต
       
        โบราณก็เลยต้องให้ทำใบสีมาโผล่ขึ้นมาครอบลูกนิมิตไว้อีกทีหนึ่ง แต่ของวัดพระธรรมกายไม่ต้องให้ทำใบเสมาครอบ เราไปเอาหินกลึงกลมๆ ยาวๆ มาแล้วก็ปักลงไปใต้ดิน จากพื้นโบสถ์ลึกลงไปใต้ดินประมาณเมตรครึ่ง แล้วผูกขึ้นมาเหนือพื้นอีกเมตรครึ่ง ความยาวของเสาทั้งหมด ตั้งแต่ที่เห็นข้างบนจนกระทั่งลงไปข้างล่างนั้นประมาณ 3 เมตรกว่า เป็นทั้งลูกนิมิต และเป็นทั้งใบสีมาเรียบร้อยอยู่ในตัวเสร็จถูกต้องตามพระวินัย
 
โบสถ์วัดพระธรรมกาย
โบสถ์วัดพระธรรมกาย
 
        เพราะจริงๆ แล้วพระวินัยไม่ได้บอกเอาไว้ว่าลูกนิมิตจะต้องมีรูปต่างหน้าตาอย่างไร ใบสีมาของแต่ละแห่งก็ไม่เหมือนกัน ใบสีมาไทย ใบสีมาเขมร ใบสีมาแขกจะทำอย่างไรก็ทำไป ขอให้สังเกตเป็นเครื่องหมายได้ก็แล้วกัน
       
        เพราะฉะนั้นเมื่อเราสร้างวัดในยุคปัจจุบันโดยศึกษาข้อกำหนดในพระวินัยแล้วอย่างถี่ถ้วน เราก็เลยคิดว่าลูกนิมิตควรจะเป็นอย่างไรได้บ้าง กลมๆ ยาวๆ ก็น่าจะได้ ก็เลยทำกันเป็นเสาเลย ไม่ได้เป็นรูปใบสีมาข้างบน และไม่ใช่ลูกกลมอยู่ข้างล่าง แต่ต่อเป็นแท่งเดียวกันตลอด
       
        ผู้ที่มาเป็นประธานในการผูกพัทธสีมา คือสมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณกมหาเถร ป.ธ.๙) อดีตเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส ซึ่งขณะนี้ก็มรณภาพไปแล้ว พระวินัยต้องการให้เครื่องหมายแสดงขอบเขตอุโบสถหยั่งลงไปถึงดิน แล้วให้โผล่ขึ้นมาเพื่อเป็นที่สังเกตได้ เราก็ทำให้มีพร้อมใจแท่งเดียวกัน ไม่ต้องประดิษฐ์ขึ้นต่างหากเหลื่อมล้ำกันเลย ซึ่งน่าจะดีนะ

http://goo.gl/mo6yJ


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related