อานิสงส์ของการสวดมนต์มีอะไรบ้าง

การที่ชาวพุทธสวดมนต์ ก็เพื่อเป็นการทบทวนพระโอวาท ที่เป็นข้อธรรมะ เมื่อใครได้ทบทวนข้อธรรมะของพระองค์ ก็ได้ชื่อว่า เคารพในพระรัตนตรัย https://dmc.tv/a13228

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 15 ก.พ. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18289 ]
 
 
 

คำถาม: อานิสงส์ของการสวดมนต์มีอะไรบ้างครับ?

 
คำตอบ: มนต์ แปลว่าคำศักดิ์สิทธิ์ คำสำหรับสวดพุทธมนต์เป็นคำศักดิ์สิทธิ์เพราะเป็นคำสวดพระโอวาทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ไว้ การที่ชาวพุทธสวดมนต์ก็เพื่อเป็นการทบทวนพระโอวาท ที่เป็นข้อธรรมะ เมื่อใครได้ทบทวนข้อธรรมะของพระองค์ ก็ได้ชื่อว่า
 
        1. เคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นต้นกำเนิดของมนต์
        2. เคารพในพระธรรม เพราะข้อความที่สวดเป็นธรรมะ
        3. เคารพในพระสงฆ์ เพราะบทสวดมนต์ได้ถ่ายทอดมาโดยพระสงฆ์
 
        สิ่งที่เราเคารพ 3 อย่างนี้ รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย การเคารพพระรัตนตรัยมีอานิสงส์ทำให้เรามีโอกาสสร้างบุญได้ต่อไป แม้ขณะที่กำลังสวดมนต์ ผลบุญก็เกิดขึ้นเป็นลำดับๆ แล้ว ตั้งแต่ขณะสวดมนต์ ร่างกายของเราอยู่ในอาการอันสงบ สำรวม ศีลก็ไม่ขาด พอจิตใจสงบ ก็เป็นสมาธิ(Meditation)ได้เร็ว
 
การสวดมนต์เป็นประจำ
การสวดมนต์เป็นประจำ
 
        เมื่อทบทวนธรรมะ ปัญญาก็งอกงามไปตามลำดับๆ ได้ อานิสงส์ทางปัญญา ตกลงได้ครบทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นอุปกรณ์เป็นพาหนะนำไปสู่การสร้างบุญ สร้างคุณงามความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ยิ่งกว่านั้นผู้ที่สวดมนต์เป็นประจำ ยังเป็นผู้ที่มีโอกาสพิจารณาตนเองได้มาก ไม่วู่วาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สวดมนต์เป็นประจำ จะมีอานิสงส์ให้พ้นภัยทั้งปวง เนื่องมาจากใจที่สงบของเขา ใจที่เกาะอยู่ในธรรมจะสะอาดและใสมาก เมื่อจะมีเหตุอะไรเกิดขึ้นกับตัว แม้จะหาเหตุผลไม่ได้ แต่จะเกิดการสังหรณ์ล่วงหน้า เพราะใจสัมผัสได้เร็ว ทำให้เตรียมตัวรับสถานการณ์ต่างๆ ได้ฉับพลัน
 
        ผู้ที่สวดมนต์เป็นประจำ เทวดาจะลงรักษา เพราะเทวดาก็อยากได้บุญ เป็นการต่ออายุให้อยู่บนสวรรค์ได้นานๆ คนที่เทวดาลงรักษา จะทำอะไรก็เจริญรุ่งเรือง และคิดจะทำแต่ความดี ทำแต่สิ่งที่เป็นบุญกุศล นี่แหละคืออานิสงส์โดยย่อของการสวดมนต์ ซึ่งอธิบายในลักษณะที่เป็นเหตุเป็นผล
 

คำถาม: เคยมีคนถามว่าเวลาหลวงพ่อขึ้นเทศน์ ทำไมไม่อาราธนาธรรมเป็นภาษาบาลีก่อน ลูกอยากทราบว่าก่อนเทศน์จำเป็นต้องมีคนอาราธนาธรรมทุกครั้งหรือไม่คะ?

 

คำตอบ: การอาราธนาธรรมที่เป็นภาษาบาลี ส่วนมากใช้ในกรณีที่มีพิธีเป็นทางการ พระภิกษุที่ขึ้นธรรมาสน์เทศน์มักถือใบลาน มากางอ่านแต่หลวงพ่อเทศน์ในลักษณะปาฐกถาธรรม คือเทศน์สดๆ ไม่ได้อ่านตามคัมภีร์ใบลาน เพราะฉะนั้น จึงไม่ต้องอาราธนาแบบเป็นภาษาบาลี ที่กล่าวขึ้นต้นว่า “พรหมา จ โลกา..” แต่ถ้าบางแห่งจะให้มีการกล่าวอาราธนาก่อนก็ไม่ผิดแปลกอะไร
 
พระภิกษุที่ขึ้นธรรมาสน์เทศน์มักถือใบลานมากางอ่าน
พระภิกษุที่ขึ้นธรรมาสน์เทศน์มักถือใบลานมากางอ่าน
 
        โดยทั่วไปถ้านิมนต์พระไปแสดงปาฐกถาธรรมในที่ประชุมต่างๆ พิธีจะกล่าวอาราธนาด้วยคำพูดธรรมดา แบบกล่าวเชิญวิทยากรทั่วๆ ไป ขึ้นบรรยาย และพระภิกษุก็สามารถใช้เทคนิคในการบรรยายได้เหมือนนักพูดทั่วๆ ไป แต่ก็ต้องอยู่ในกรอบในพระวินัยของพระนะ
 
คำถาม: อยากทราบว่า ทำไมทางวัดพระธรรมกายไม่จัดอาหารเจไว้ด้วย เห็นอาหารที่นี่มีเนื้อสัตว์ทุกมื้อ ทำไมพระจึงฉันเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ คิดว่าคงมีคนมาวัดจำนวนไม่น้อยที่ต้องการอาหารเจ ซึ่งเป็นอาหารบริสุทธิ์?
 
คำตอบ: ขอตอบตามพระวินัยนะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เคยตรัสเลยว่า อาหารที่ประกอบด้วยเนื้อสัตว์ไม่บริสุทธิ์ สำหรับพระ อาหารที่ประกอบด้วยเนื้อสัตว์ ก็บริสุทธิ์ ถ้า
 
        1. ภิกษุไม่ได้เห็น เขาฆ่าสัตว์นั้น
        2. ภิกษุไม่ได้ยิน เขาฆ่าสัตว์นั้น
        3. ภิกษุไม่ได้นึกรังเกียจว่า เขาฆ่าเฉพาะเจาะจงมาเพื่อตน
 
        เพราะฉะนั้นอาหารที่ประกอบด้วยเนื้อสัตว์ ที่ถวายให้พระฉันอยู่ทุกมื้อนี่ก็บริสุทธิ์ เราไม่ควรกล่าวตู่พุทธพจน์นะ ถามว่าเรื่องอาหารเจเอามาจากไหน มาจากพระเทวทัตใช่ไหม พระเทวทัตก่อเรื่องไว้จนสงฆ์แตกแยก
 
อาหารที่ประกอบด้วยเนื้อสัตว์ที่ถวายให้พระฉันอยู่ทุกมื้อนี่ก็บริสุทธิ์
อาหารที่ประกอบด้วยเนื้อสัตว์ที่ถวายให้พระฉันอยู่ทุกมื้อนี่ก็บริสุทธิ์
 
        เรื่องมีอยู่ว่า วันหนึ่งท่ามกลางสงฆ์ พระเทวทัตลุกขึ้นยืนต่อหน้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดเสียงดังว่า “พระพุทธเจ้าข้า ถึงเวลาแล้วที่พระองค์ควรจะบัญญัติเป็นพระวินัยว่า ห้ามภิกษุฉันเนื้อสัตว์ตลอดชีวิต” นี่พระเทวทัตว่าอย่างนั้น
 
        พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสตอบเลยว่า “เทวทัต เราไม่บัญญัติถ้าภิกษุ รูปใดจะฉันเนื้อสัตว์ เราไม่ห้าม แต่เราบัญญัติว่า เนื้อสัตว์นั้นถ้าภิกษุ ไม่ได้เห็นเขาฆ่า ไม่ได้ยินเขาฆ่า และไม่ได้รังเกียจว่าเขาสั่งฆ่าเฉพาะเจาะจงมาเพื่อตน ให้ภิกษุฉันได้”
 
        เพราะฉะนั้น ถ้าบอกว่าอาหารเจบริสุทธิ์ แล้วทำไมอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์จะไม่บริสุทธิ์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติให้ฉันเจ เราอย่าไปบัญญัติเอง ความจริงอาหารเจนั้นเกิดขึ้นภายหลังพุทธปรินิพพาน โดยภิกษุกลุ่มหนึ่งบัญญัติขึ้นมาเอง
 
        อีกประการหนึ่งที่อยากจะฝาก คือความบริสุทธิ์ของมนุษย์ไม่ได้อยู่ที่อาหาร แต่อยู่ที่การฝึกฝนอบรมใจ ถ้าอาหารสามารถทำให้คนเราบริสุทธิ์ โดยไม่ต้องอบรมใจ หรือสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลกสามารถทำตัวเองบริสุทธิ์ได้โดยอาหาร คนเราคงไม่ต้องมาบวชพระ ไม่ต้องมารักษาศีลหรอก เสียเวลาเปล่า เลือกกินอาหารเอาก็แล้วกัน แต่ความเป็นจริง มันเป็นไปไม่ได้หรอกนะ

http://goo.gl/tCNRS


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related