ธรรมะบทที่ควรนำไปสอนประชาชนเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด

ธรรมะบทไหน ในหนังสือนวโกวาทที่เหมาะสมสำหรับนำไปสอนประชาชนให้นำไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้มากที่สุด https://dmc.tv/a13271

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 24 ก.พ. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18273 ]
หลวงพ่อตอบปัญหา
 
 
โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว)
เรียบเรียงจากรายการหลวงพ่อตอบปัญหา ทาง DMC
 
คำถาม: ท่านคิดว่าธรรมะบทไหน ในหนังสือนวโกวาทที่เหมาะสมสำหรับนำไปสอนประชาชนให้นำไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้มากที่สุด? (พระเรียนถามมา)
 
คำตอบ: ในหนังสือนวโกวาท ความจริงได้รวบรวมหลักธรรมต่างๆ ไว้ดีมาก แต่ว่าคนโดยทั่วไป รวมทั้งพระภิกษุสามเณรส่วนมากยังไม่ได้มีโอกาสค้นคว้ากันอย่างจริงจัง หรือบางทีก็ไปทึกทักว่าจนเองเข้าใจดีจริงๆ แล้วที่นั่งกันอยู่นี้กล้าพูดได้เลยว่า เราไม่ได้เข้าใจอะไรนักหนาไม่ใช่ดูถูก ผมเองก็เป็นผู้หนึ่งที่ยังไม่เข้าใจดีนัก แต่ความเข้าใจ พื้นๆ พอมี
 
ธรรมะสำหรับประชาชน
ธรรมะสำหรับประชาชน
 
        ผมจะยกตัวอย่าง เมื่อผมบวชได้ประมาณพรรษาที่ 6 ที่ 7 ตลอดเวลาผมก็คิดว่าผลเข้าใจธรรมะเรื่อง หิริโอตตัปปะ มาอย่างดี แต่แล้วก็ต้องสะดุ้งโหยงในวันหนึ่ง เมื่อรู้ตัวเองว่าเรายังไม่รู้เรื่องหิริโอตตัปปะ ครับไม่รู้ คือรู้เหมือนกัน แต่มันตื้นเกิดไป เจาะไม่ถึงแก่น
 
        พอพรรษาที่ 6 ที่ 7 เจอเรื่องเข้าจึงสะดุ้งตกใจ ตายจริง เราไม่รู้ว่าเรายังไม่รู้ ระวังคำนี้ให้ดี คนส่วนมากในโลกไม่รู้ว่า เรายังไม่รู้ คิดว่าไอ้นั่นก็รู้แล้ว ไอ้นี่ก็รู้แล้ว ไม่มีที่ไม่รู้ พอเจอเรื่องนั้นเข้าถึงได้ ร้องอ๋อ.. ตอนนี้รู้แล้ว รู้ว่ายังไม่รู้ครับ ไม่ใช่ว่ารู้หมดโลก
 
        เพราะฉะนั้นท่านที่ได้นักธรรม ได้บาลี อะไรต่ออะไรมา ยิ่งสอบได้ยิ่งดี ช่วยจำไว้ด้วยว่าเราควรรู้ว่า เรายังไม่รู้อีกเยอะ ขอเล่าเรื่องที่ทำให้ฉุกใจได้คิดว่า ผมยังไม่รู้จริง ในเรื่อง หิริโอตตัปปะ
 
        คือวันนั้นไปอ่านหนังสือเรื่องหิริโอตตัปปะ ท่านเล่าเป็นนิทานสั้นๆ เอาไว้ มีโยมคนหนึ่งในสมัยพุทธกาล เขาศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก ก็เลยตั้งใจให้ทานรักษาศีลเรื่อยมา มีอยู่วันหนึ่งเขาไปตักบาตร แต่กับข้าวของเขาไม่ค่อยจะประณีต ไม่น่าถวายให้พระฉัน เขาเลยมาปรึกษากับเมียว่า เอาอย่างนี้ดีกว่า เอาลูกสาวไปทำงานกับเศรษฐี แล้วขอค่าแรงมาก่อนเอามาซื้อของดีๆ ทำอาหาร ถวายพระ ทั้งเมียและลูกก็ยอม
 
        พอได้เงินมาก็มาซื้อแม่วัวได้ตัวหนึ่ง ก็เอานมวัวนั่นแหละทำอาหารที่ประณีตถวายพระ ถวายทานครั้งนั้นแล้วเขาก็ชื่นใจของเขาเรื่อยมา ที่มีอาหารดีๆ ถวายพระ ผ่านไปได้หนึ่งปี เขานึกว่า เออ...ลูกสาวเราทำงานกับเศรษฐีครบ 1 ปี แล้ว ยังไม่มีเงินไปไถ่ตัวมาเลย อย่ากระนั้นเลย เราไปทำงานหาเงินไถ่ตัวลูกสาวดีกว่า ก็เดินทางเข้าไปในเมือง ทำงาน 1 ปี ได้เงินมาก็จะนำไปใช้คืนเศรษฐี จะได้เอาลูกสาวกลับคืน
 
        ขณะที่เดินมากลางทาง ได้พบพระภิกษุรูปหนึ่ง พระภิกษุรูปนั้นบวชมานานเป็นสิบพรรษาแล้วแต่ความประพฤติเรื่อยๆ เฉื่อยๆ วันไหนอารมณ์ดีก็ทำภาวนา วันไหนขี้เกียจพอตกบ่ายก็พักผ่อน กลางคืนจำวัด กินๆ นอนๆ เสียเป็นส่วนใหญ่ พอวันนั้นโยมคนนี้ไปเจอพระรูปนั้นเข้า กำลังเดินทางลัดป่่าไปทางเดียวกัน ก็เลยเดินคุยกับพระไปเรื่อยๆ
 
        พอถึงเวลาเพล เอ้า...ตายจริง คิดว่าป่่านี้คงเดินตัดทางไปได้ไม่ไกล ที่ไหนได้มาถึงเพลอยู่กลางป่า ในบาตรก็ไม่มีข้าวเลยเหมือนกัน โยมคนนี้ก็ไม่ได้เตรียมข้าวปลาอาหารมาด้วย ไม่รู้จะทำอย่างไร นึกว่าพระจะต้องอดฉันเพลแน่ บังเอิญมีคนบ้านป่าเดินสวนทางมา เขามีข้าวอยู่ห่อหนึ่ง โยมเลยเข้าไปขอซื้อ คนบ้านป่าไม่ยอมขาย ให้เท่าไหร่เขาก็ไม่ขาย ให้เป็นสิบเป็นร้อย ก็ไม่ขาย
 
        ในที่สุดโยมบอกว่าอย่างนี้ ไปทำงานมา 1 ปี เก็บเงินได้เป็นพัน จะเอาไปไถ่ลูกสาวคืน เอาอย่างนี้เถอะนะ เอาเงินไปเลยหมดทั้งพันขอข้าวห่อนั้นก็แล้วกัน จะเอาไปถวายพระ คนบ้านป่าจึงยอมขายให้ ตกลงข้าวห่อนั้นราคาเป็นพัน ก็ไม่ได้วิเศษอะไรเลย เป็นกับข้าวบ้านป่า โยมคนนี้แกได้มาแล้วก็วิ่งตามพระไป เอาไปถวายให้ฉันถวายเสร็จแล้ว พระท่านก็ไม่ได้พิจารณาอะไรทั้งสิ้น โยมถวายมาก็ฉันฉันหมดไม่ได้แบ่งให้โยมเลย โยมก็ไม่ว่ากระไร
 
        พอพระฉันเสร็จก็เดินทางกันต่อ คุยกันไปคุยกันมาถึงได้รู้ว่าข้าวที่ฉันเมื่อกี้ราคาเป็นพัน แล้วนี่ยังจะทำให้ลูกสาวตาโยมคนนี้ต้องเป็นคนใช้บ้านเศรษฐีต่อไปอีกเป็นปี เพราะไม่มีเงินจะไปไถ่ตัวแล้ว พระฟังแล้วตกใจ คิดว่านี่ถ้าชาตินี้เราไม่ได้เป็นพระอรหันต์ละก็ ชาติต่อไปคงต้องเกิดเป็นควายให้ลูกสาวตาโยมคนนี้ใช้งานแน่ๆ เราบวชคราวนี้นอกจากมรรคผลนิพพานไม่ได้แล้ว ยังจะต้องไปเป็นควายอีกหรือนี่ เพราะฉันอาหารก็ไม่ได้พิจารณา ที่ผ่านมาในการเป็นพระก็ไม่ได้พิจารณา การทำภาวนาก็ทำไปอย่างนั้นเอง ศึกษาพระธรรมวินัยก็ผ่านๆ แต่คราวนี้มาเจอศรัทธาของโยมเข้า โอ้โฮ..โยมนี่ศรัทธาแรงกว่าเราอีกหรือนี่ ขืนพลาดไปต้องเป็นควายให้ครอบครัวของโยมใช้แน่ๆ ในชาตินี้ ทั้งกลัวนรก ทั้งกลัวเกิดเป็นควาย พระภิกษุรูปนั้น พอเดินทางพ้นป่าแล้ว ก็ลาโยม ด้วยอำนาจหิริโอตตัปปะท่วมหัวใจ ท่านไปขออาศัยวัดแห่งหนึ่งที่ชายป่า ไปกราบเจ้าอาวาส แล้วขออนุญาตปฏิบัติธรรมสักพักเจ้าอาวาสท่านก็อนุญาต ยกกุฏิให้หลังหนึ่ง
 
        พอได้กุฏิมาแล้ว ท่านก็จุดธูปเทียนอธิษฐานเลยว่า “ตราบใดที่ข้าพเจ้าไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ตราบนั้นขอยอมตายไม่ยอมลุกจากที่” ท่านคิดว่าตายขณะปฏิบัติธรรม อย่างไรเสียก็คงไม่ต้องไปเกิดเป็นควายให้โยมท่านนั้นใช้งาน เพราะว่าได้เอากำลังจากข้าวปลาอาหารของโยมมาปฏิบัติธรรมเต็มที่ หากว่าบรรลุมรรคผลนิพพานก็โชคดี
 
        จุดธูปเทียนเสร็จนั่งภาวนาเลย วันหนึ่งผ่านไป คำว่าวันหนึ่งผ่านไปนี่ไม่ใช่เล่นนะ หลวงพ่อ หลวงพี่ ที่นั่งมาเมื่อกี้ไม่ถึงชั่วโมง นั่งพลิกแล้วพลิกอีก นั่งไป 10 นาทีก็ลืมตาเป็นนกฮูกแล้ว ท่านทำภาวนาวันหนึ่งผ่านไปยังไม่ได้อะไร แต่ก็ไม่ลุกเหมือนกัน คืนหนึ่งผ่านไป วันหนึ่งคืนหนึ่งผ่านไปแล้วก็ยังไม่ได้อะไร ใจไม่รวมเพราะตลอดเวลาไม่เคยเอาจริงเอาจังเลย 2 วัน 2 คืนผ่านไป ยังไม่ได้อะไรเลย แต่ก็อดทนกลั้นอุจจาระปัสสาวะ ไม่ยอมฉันทั้งน้ำทั้งข้าว 3 วัน 3 คืน ผ่านไป ท่านนั่งอยู่ตรงนั้นไม่ขยับเหมือนกัน ยอมตาย
 
        พอยอมตายเท่านั้นแหละ วันที่ 7 จะเอาตายจริงๆ ตายก็ยอม พอยอมตาย ใจก็รวม พอเที่ยงคืนเข้า ใจเริ่มหยุดนิ่งเข้าศูนย์กลางกายได้ถึงธรรมกายพระโสดา พระสกิทาคามี และพระอนาคามี ไปตามลำดับ พอใกล้สว่างก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ พระภิกษุรูปนี้เป็นพระอรหันต์ ด้วยอำนาจอะไร? เป็นได้ด้วยอำนาจหิริโอตตัปปะ
 
        โอ้โฮ..อำนาจหิริโอตตัปปะนี่ขนาดนี้เชียวนะ เมื่อก่อนเราก็ว่าคุณธรรมแค่หิริโอตตัปปะเป็นคุณธรรมพื้นๆ ไม่เห็นมีอะไรเลย พอมาอ่านเจอเรื่องนี้เข้า ตายจริงอำนาจหิริโอตตัปปะนี่ทำให้พระภิกษุซึ่งสำนึกตัว แล้วได้เป็นพระอรหันต์ในที่สุด เรื่องก็มีต่อไปว่า พอท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว ตอนเช้าท่านก็สำรวจร่างกายของท่าน พบว่าเนื่องจากกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ อดข้าวอดน้ำทุกอย่างสารพัดมา 7 วัน 7 คืน อวัยวะภายในทนไม่ไหวแล้ว เพราะเมื่อก่อนไม่เคยฝึกมาอย่างสม่ำเสมอ ร่างกายทนไม่ไหว ท่านรู้ตัวว่าจะมีอายุได้อีกวันเดียวเท่านั้นเอง พอเช้าขึ้นแทนที่จะออกไปบิณฑบาต ท่านกลับไปเคาะระฆังในวัด ระฆังนั้นมีกติกาว่าจะเคาะเฉพาะในกรณีที่มีการประชุมพระทั้งวัด แต่พระอาคันตุกะรูปนี้เป็นแขกของวัด ไม่ควรมาเคาะระฆัง เพราะทั้งวัดมาเห็นเข้าก็ชักเคือง ก็ถามห้วนๆ ว่ามีธุระอะไร? ท่านก็ตอบอย่างพระอรหันต์ คือบอกว่า “ธุระใดในสังสารวัฏนี้ข้าพเจ้าไม่มีอีกแล้ว จบหมดแล้ว” เป็นการบอกเป็นนัยว่าเป็นอรหันต์แล้วนั่นเอง
 
        แล้วท่านก็พูดต่อไปว่า “แต่พวกท่านทั้งหลายที่มาประชุมอยู่นี่มีธุระอะไร มีปัญหาข้อข้อใจในธรรมะข้อใด รีบถามมาเถอะเพราะตัวของข้าพเจ้าเองมีสังขารอยู่ได้แค่วันนี้วันเดียว” ท่านให้ถามปัญหาจะรับตอบให้ พระทั้งวัดตอบว่าอย่างนี้ “พระธรรมทั้งหลายก็เข้าใจดี ไม่มีอะไรสงสัย แต่สงสัยอยู่อย่างเดียว จะทำอย่างไรจึงจะมีแรงบันดาลใจ ยอมสละชีวิต ปฏิบัติธรรมอย่างกับท่านได้บ้าง”
 
        พระอรหันต์นี้ตอบว่า ที่ทำได้อย่างนี้ก็เพราะด้วยอำนาจของหิริโอตตัปปะ แล้วท่านก็เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง พอได้ฟังเรื่องของโยมจบ พระทุกรูปในวัดต่างองค์ต่างเข้ากุฏิของตัวเอง พักเดียวเงียบหมด ไม่ออกบิณฑบาตเหมือนกัน เข้าไปจุดธูปจุดเทียนอธิษฐานว่า ถ้าเรานี้ไม่บรรลุธรรมละก็ ขอยอมตายตรงนี้แหละ ไม่อย่างนั้นบวชมาสิบๆ พรรษาก็สูญเปล่า ชาติหน้าต้องไปเป็นควายให้ญาติโยมทั้งเมืองใช้ ตายเลยเราไม่ไหวแน่
 
        ปรากฏว่าได้ผล พระเหล่านั้นได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทีละองค์ๆ จนหมดทั้งวัดอีกเหมือนกัน สำหรับเจ้าอาวาสเนื่องจากปฏิบัติธรรมมามาก พอวันรุ่งขึ้นก็เป็นพระอรหันต์เลย สามเณรเป็นอรหันต์องค์สุดท้าย ในเวลาถัดมาอีกวันหนึ่ง นี่อำนาจหิริโอตตัปปะมากถึงขนาดนี้
 
        พออ่านเจอเรื่องนี้ก็นึกออก มิน่าล่ะเมื่อก่อนไม่เข้าใจ ที่เขาใช้คำว่า ธรรมะทุกบทมีอานิสงส์ว่า ถ้าปฏิบัติจริงแล้วไปนิพพานได้ หิริโอตตัปปะก็เป็นคุณธรรมอันยิ่งใหญ่บทหนึ่ง ซึ่งมีอานิสงส์ว่า ถ้าใครปฏิบัติจริงแล้วเข้านิพพานได้หมด ธรรมะข้ออื่นๆ ก็เช่นกัน เพราะฉะนั้นธรรมะใด ที่พระคุณเจ้าได้ร่ำเรียนเขียนอ่านมา ขอให้ทราบว่าอย่าได้มองข้ามว่าเป็นธรรมะพื้นๆ ธรรมะทุกข้อทำให้เข้าพระนิพพานได้ทั้งนั้น
 
        คราวนี้ย้อนกลับมาว่า เราจะเอาธรรมะบทไหนไปสอนญาติโยม ขอแนะนำว่าที่สำคัญที่สุดเลย คือให้รู้คุณพระรัตนตรัยก่อน จากนั้นจะมีทางทำอะไรต่ออะไรได้อีกมากเลย แต่ว่าการที่จะอธิบายให้คนรู้จักคุณพระรัตนตรัยนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ก็ต้องไปหาวิธีให้เหมาะสมอธิบายให้รู้คุณ หรือมีความกตัญญูในพระรัตรนตรัยเป็นอันดับแรก จากนั้นจะทำอย่างไรก็ทำเถอะ ถ้าญาติโยมมีภูมิมีความรู้ไม่พอ ไม่สามารถจะตามทัน ตามเข้าใจเรื่องต่างๆ ได้มากนัก ก็ให้รู้จักบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ เป็นอันดับต่อไป ส่วนเรื่องโอวาท 3 ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใสนั้น บางทีญาติโยมตามไม่ทันจะเอาไว้ก่อนก็ได้ เอาไว้สำหรับสอนนักเรียนนั่นแหละดี แต่ว่าที่ควรจ้ำจี้จ้ำไช สอนไปเรื่อยๆ คือทาน ศีล ภาวนา ว่ากันไปได้ตลอด เพราะโยมสามารถ นำไปปฏิบัติได้แล้วตามทันด้วย
 
        ธรรมะหมวดคิหิปฏิบัติ นั่นแหละว่าไปได้เลย เทศน์ว่าแล้วซ้ำอีกก็ได้ เพราะเรื่องของคิหิปฏิบัติ คือเรื่องของการครองเรือน ญาติโยมเขาแต่งงานมีลูกมีเมียมีผัว เรื่องของเขาก็วนเวียนอยู่ในคิหิปฏิบัติ แต่มีข้อแม้ว่าพระคุณเจ้าต้องตีความธรรมะให้แตก ถ้าตีความไม่แตกจะพบว่า เอ...คิหิปฏิบัตินี่ ไม่ค่อยให้อะไรเลย แต่จริงๆ แล้ว คิหิปฏิบัติให้ประโยชน์มาก
 
        ยกตัวอย่าง เช่นหัวข้อที่ว่า “ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งอยู่ไม่ได้นานเพราะสถานะ 4” อ่านดูแล้วสถานะ 4 นี้ ไม่น่าจะหนักหนาสาหัสถึงขนาดทำให้ตระกูลใหญ่ล้มละลาย แต่จริงๆ แล้วตระกูลจะล้มละลายหรือไม่ล้มละลาย ก็อยู่ตรงนี้แหละ นี่ยกตัวอย่าง
 
        อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสอนคือ ธรรมะของฆราวาส คือฆราวาสธรรม ซึ่งประกอบด้วยสัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ เหล่านี้ ก็เรื่องของคนครองเรือน ได้แก่
 
        1) สัจจะ ซื่อตรงต่อกัน สามีภรรยาถ้าไม่ซื่อสัตย์ต่อกันจะอยู่กันได้อย่างไร
 
        2) ทมะ รู้จักข่มจิตข่มใจตัวเอง คนเรารักกันแค่ไหน พออยู่กันไปนานๆ มันก็ชักเอียนกันเอง ไม่อย่างนั้นก็คงไม่หย่ากันหรอก แม้แต่โยมพ่อโยมแม่ของเราก็ตาม ลองนึกย้อนไปเถอะ กว่าจะเลี้ยงเราโตมานี่เห็นโยมพ่อโยมแม่ทะเลาะกันให้วุ่นวายไปหมด เอ๊ะ...แล้วท่านไม่รักกันหรือ? รักแล้วทำไมทะเลาะกัน เฮ้อ..อยู่กันนานๆ ก็ทะเลาะกันบ้าง เอียนกันบ้างเป็นธรรมดา เนื่องจากต่างฝ่ายต่างยังไม่หมดกิเลส มันก็มีข้อบกพร่องก็ต้องข่มจิตข่มใจกันไป
 
        3) ขันติ ความอดทน เกิดเป็นคนต้องต้องอดทนต่ออะไรบ้าง? เรื่องที่ต้องพยายามอดทนให้ได้มีอยู่ 4 อย่าคืด
 
        1.1) อดทนต่อความลำบากตรากตรำ ทนแดด ทนลม ทนฝน เป็นต้น
 
        1.2) อดทนต่อทุกขเวทนา เมื่อเจ็บไข้ ได้ป่วย ก็ไม่โวยวายคร่ำครวญจนเกินเหตุ
 
        1.3) อดทนต่อการกระทบกระทั่ง เช่น ในบ้านมีญาติทั้งสองฝ่ายอยู่ด้วยกัน บางครั้งญาติของเราหนักไปหน่อย ญาติของเขาก็จู้จี้ไปนิด หรือเราเองก็หนักไปหน่อย เขาก็หนักไปนิด ก็ไม่ว่ากัน ทนต่อการกระทบกระทั่ง การพลั้งพลาดเรื่อยไป
 
        1.4) อดทนต่อความฟุ้งเฟ้อ สังคมชาวบ้านสมัยนี้ไปดูเถอะ แม้บางครั้งหลวงพ่อ หลวงพี่บางรูปก็จะเป็นเสียเอง แต่โยมเขาเป็นกันเอยะ บางทีของบางอย่างที่โฆษณาในทีวี ในวิทยุหรือในหนังสือพิมพ์มันมีของแถม โยมชอบใจของแถม ส่วนของขายไม่อยากได้หรอก อุตส่าห์ไปซื้อเสียเงินเสียทองเพิ่ม เพราะจะเอาของแถม
 
        ผลที่สุดเลยได้ของที่ไม่จำเป็น มาเก็บไว้เต็มบ้าน อย่างนี้ เรียกว่าไม่อดทนต่ออำนาจยั่วยุ เพราะไม่อดทนอย่างนี้ ถึงได้มีเรื่องมีราวเป็นปาดเป็นเสียงกันในครอบครัว นี่ยกตัวอย่าง หลวงพ่อหลวงพี่ก็ช่วยขยายความให้โยมเอาไปปฏิบัติได้ด้วย
 
        4) จาคะ คือความสละปันของให้กัน ถ้าเราอ่านอย่านี้จะไม่ได้อะไร ไม่รู้จะไปสอนโยมอย่างไร คำว่าจาคะ เรารู้แต่ว่า รู้จักสละแบ่งปันสิ่งของให้บุคคลที่ควรให้ปัน หนังสือนวโกวาทพูดสั้นๆ ไว้อย่างนี้ ขอขยายเป็นตัวอย่างสักนิดก็แล้วกัน ความจริงขยายได้หลายแนว
 
        ในเชิงปฏิบัติ สามีภรรยาที่ทะเลาะกัน ก็เพราะงบประมาณในบ้านมีจำกัด เนื่องจากรายได้ก็จำกัด รายได้ขนาดนี้ ถ้าปันกันกินก็พอกินทั้งครอบครัว แต่ถ้าพอบ้านไปกินเหล้า แล้วเหล้าบางยี่ห้อแพงกว่ากินข้าว 7 วัน เพราะฉะนั้นแค่พ่อบ้านคว้าเหล้ามาเพียงมื้อละขวดเดียว ครอบครัวแย่ไปเลย อย่างนี้เรียกว่าไม่มีจาคะ เห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจ ครั้นลูกเมียอดมากเข้าก็บ่น ถูกบ่นแทนที่จะได้คิดกลับด่าให้อีกเลยทะเลาะกัน นี่ยกตัวอย่าง
 
        หรือแค่พ่อบ้านคว้าบุหรี่มาสูบ จริงๆ แล้วคุณธรรมของฆราวาสธรรมก็ขาดไปแล้ว โถ..ก็ค่าบุหรี่ที่สูบ เป็นค่าขนมเลี้ยงลูกได้อีกเยอะ แต่พ่อจะขาดจาคะเสียแล้ว ลูกๆ เลยลำบาก ท่านช่วยเทศน์ขยายความให้ลึกหน่อย โยมก็จะสามารถเอาไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้
 
        ถ้าอย่างนี้การเทศน์ของหลวงพ่อหลวงพี่ทั้งหลาย จะเจาะเข้าไปถึงใจญาติโยม แล้วนำไปได้ได้ด้วย ในไม่ช้าญาติโยมรอบวัดของเราก็เริ่มรู้คุณพระธรรม รู้คุณพระสงฆ์ แล้วต่อไปเขาจะมาช่วยพัฒนาวัดของหลวงพ่อหลวงพี่ทั้งหลายกันเองแหละครับ

http://goo.gl/DDS5d


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related