ทำอย่างไรจึงจะอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข

คนเราถ้าจะอยู่ในสังคมให้เป็นสุขได้ และพอจะหาความเจริญก้าวหน้าให้กับตัวเองได้ คุณสมบัติพื้นฐานขั้นต่ำสุดของเขาเลยคือ ควบคุมตัวเองได้ ไม่จับผิดใคร และช่วยตัวเองได้ https://dmc.tv/a13384

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 21 มี.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18299 ]
หลวงพ่อตอบปัญหา
 
 
โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว)
เรียบเรียงจากรายการหลวงพ่อตอบปัญหา ทาง DMC
 
 

คำถาม: สังคมทุกวันนี้หาความสงบสุขยากเหลือเกิน อยากทราบว่า เราควรจะปฏิบัติตนอย่างไร จึงจะอยู่ในสังคมนี้อย่างมีความสุขครับ?

 
คำตอบ: คนเราถ้าจะอยู่ในสังคมให้เป็นสุขได้ และพอจะหาความเจริญก้าวหน้าให้กับตัวเองได้ คุณสมบัติพื้นฐานขั้นต่ำสุดของเขาเลยคือ
 
        1. ควบคุมตัวเองได้
 
        2. ไม่จับผิดใคร
 
        3. ช่วยตัวเองได้
 
        ถ้าจะพูดในเชิงปฏิเสธก็คือไม่ต้องพึ่งใคร สามารถยืนอยู่ด้วยขาของตัวเอง ช่วยเหลือตัวเองได้ ถ้าควบคุมตัวเองไม่ได้ อยากจะทำอะไรก็ทำ ในที่สุดการกระทำนั้นจะกลับมาทำลายตัวเอง แล้วก่อความเดือดร้อนให้ผู้อื่นด้วย
 
        ถ้าไม่จับผิดใครก็แล้วไป แต่ถ้าไปจับผิดผู้อื่นเข้าก็จะยิ่งวุ่นวายหนักขึ้น เพราะความหลงตัวเองว่าวิเศษจะไปทำให้ ชาวบ้านเดือนร้อน ถูกข่มเหงถูกเบียดเบียน ถูกจับผิด
 
        การช่วยเหลือตัวเองจึงสำคัญ ถ้าช่วยตัวเองไม่ได้ก็เป็นกาฝาก เป็นภาระแก่สังคม บ้านเมืองเราเดี๋ยวนี้มีคนประเภทชอบจับผิด ชอบแซวคนอื่นมากเหลือเกิน ตื่นเช้าออกจากบ้านเจอรถติด ก็โทษรัฐบาล ถ่ายไม่ออก กินข้าวไม่ลง ก็โทษรัฐบาล โทษสิ่งแวดล้อม โทษชาวบ้าน ในโลกนี้ไม่มีใครดี เห็นดีอยู่คนเดียวคือตัวเอง นี่คือสาเหตุแห่งความเดือดร้อนของคนทั้งโลก เกิดขึ้นเพราะคนที่มีลักษณะอย่างนี้ ใครเข้ามาเป็นรัฐบาลก็แทบตายทั้งนั้น
 
        ถ้าคนในสังคมไทยควบคุมตัวเองได้ ไม่จับผิดใคร แล้วก็ช่วยเหลือตัวเองได้ ความสงบความสุขก็เกิดขึ้นมาได้
 
การปฏิบัติตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
การปฏิบัติตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
 
        สังคมไทยหรือสังคมชาวพุทธตั้งแต่โบราณมา เป็นสังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการควบคุมตัวเองได้ ไม่ชอบจับผิดใครและช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาใคร บ้านเมืองเราจึงสงบร่มเย็น ได้รับการขนานนามว่า สยามเมืองยิ้ม มานานแสนนาน แต่ว่าตอนนี้ชักจะยิ้มกันไม่ออกแล้ว
 
        ก็ขอเตือนว่า ต่างคนต่างต้องหันกลับมาสำรวจตัวเองแล้วว่า เราสามารถรักษาคุณสมบัติพื้นฐาน ขั้นต่ำสุดของชาวพุทธได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าน้อยไปหรือขาดไปก็ต้องรีบแก้ไข
 
        อีกประการหนึ่ง เมื่ออายุมากเป็นผู้ใหญ่ขึ้น สิ่งที่ควรจะคิดก็คือเราเหมือนไม้ใกล้ฝั่งแล้ว ความดีอะไรยังไม่ได้ทำ ควรรีบทำ ความเสียหายอะไรที่สำรวจดูแล้วมีอยู่ในตัวเราที่จะต้องแก้ไข ต้องรีบแก้ไข จะได้เป็นต้นแบบที่ดีแก่เด็กที่เกิดมาในรุ่นหลัง ให้เขาได้อยู่ในบ้านเมืองที่สงบสุขตลอดไป
 

คำถาม: หลวงพ่อคะ ทำไมหลวงพ่อ และพระอาจารย์ จึงแนะนำให้อยู่กลดด้วย อยู่แล้วจะได้อะไรขึ้นมาบ้างคะ?

 
คำตอบ: การอยู่กลดเป็นวิธีการที่เลียนแบบมาจากข้อปฏิบัติของพระภิกษุ เกี่ยวกับเรื่องที่อยู่อาศัย ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้แบบอย่างเอาไว้ เพราะทรงมองเห็นเหตุ 2 ประการ คือ
 
        ประการแรก ในโลกนี้คนเรามีความรู้สึกอยู่ประการหนึ่ง คือ เมื่อเวลาตนมีความสุข แม้จะสุขมากก็รู้สึกว่าตนสุขน้อยกว่าคนอื่น สุขน้อยที่สุดในโลก แต่เวลามีทุกข์นิดเดียว ก็รู้สึกว่าเป็นทุกข์ที่สุดในโลก ทุกข์มากกว่าคนอื่น
 
        ประการที่สอง คนเราแยกไม่ออกว่า อะไรเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต อะไรเป็นส่วนเกิน หากสังเกตดูให้ดีจะพบว่า ปัญหาน้อยใหญ่ทั้งหลายที่เกิดขึ้น และทำให้โลกเดือดร้อนอยู่ทุกวันนี้ เป็นเพราะอะไร พูดโดยสรุปคือเราแยกไม่ออกว่า อะไรคือ need อะไรคือ want (need = จำเป็นต้องมี, want = ต้องการ, อยากได้)
 
        เพราะฉะนั้นพออยากได้อะไรขึ้นมา ก็คิดว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งจำเป็น เป็น need หมด ไม่ว่าข้าวปลาอาหาร เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม แม้ว่ามีแล้วเป็นสิบๆ ชุดอัดแน่นอยู่ในตู้ก็ยังไม่พอ อยากแบบนี้มันเพราะความจำเป็น หรือเป็นความทะยานอยากกันแน่ ต้องแยกให้ออกนะ
 
        เดี๋ยวนี้สินค้าต่างๆ มีรายการแถมโน่นแถมนี่ บางคนซื้อของต่างๆ ไม่ใช่เพราะอยากได้ของ แต่อยากได้ของแถม ผลสุดท้ายของที่ไม่จำเป็นเลยมีอยู่เต็มบ้าน เงินทองก็เลยไม่พอใช้ แล้วมาร้องทุกข์ว่ารายได้ไม่พอจ่าย แล้วจะทำอย่างไรให้คนในโลกแยกออกได้ว่าความต้องการแบบ need น่ะแค่ไหน แบบ want แค่ไหน?
 
การอยู่กลดเพื่อกำจัดความห่วงกังวลในเรื่องอาวาส หรือเรื่องที่พักอาศัย
การอยู่กลดเพื่อกำจัดความห่วงกังวลในเรื่องอาวาส หรือเรื่องที่พักอาศัย
 
        พระอาจารย์เจ้าทั้งหลายท่านจึงบอกว่า ถ้าอยากรู้ก็ลองเข้าไปอยู่ในกลดดู แบกกลดมานอนที่ลานวัดสัก 2 คืนแล้วจะรู้เองว่าที่อยากได้บ้านได้ตึกกี่หลังๆ พอเข้าไปอยู่ในกลดแล้วจะรู้สึกว่า แค่นี้ก็พออยู่ ขืนหอบสมบัติมามากจนล้นออกนอกกลด จะหย่อนตัวลงนอนได้อย่างไร
 
        การที่ให้ใส่แต่ชุดขาวอย่างนี้จะได้รู้ว่า จริงๆ แล้วเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มก็ไม่ต้องการมากเลย เป็นภาระในการระวังรักษาเปล่าๆ ยิ่งเป็นชุดขาวยิ่งต้องระวัง จะนั่งจะนอน ต้องควบคุมสติ ระวังความเปรอะเปื้อนเป็นพิเศษ ทำให้สติดีขึ้นมาโดยอัตโนมัติ ความต้องการจำเป็นหรือ need มีอยู่แค่นี้เอง อะไรที่ตาโตอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด หรือ Want ก็จะได้เพลาๆ ลงเสียบ้าง นี่คือเหตุที่ต้องแนะนำชักชวนให้มาอยู่กลดกันนะ

http://goo.gl/vUWfi


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related