ทรัพย์สมบัติบุตรภรรยาเป็นเครื่องจองจำได้อย่างไร

เครื่องจองจำใจคนมีหลายอย่าง เช่น สามีหรือภรรยา ยามคิดถึงกัน ก็ข้ามน้ำข้ามทะเลไปหา ห่วงหาจนแทบเป็นแทบตาย พอมีลูกก็ห่วงลูก ความห่วงแบบนี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นเครื่องจองจำ https://dmc.tv/a13397

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 23 มี.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18270 ]
 หลวงพ่อตอบปัญหา
 
 
โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว)
เรียบเรียงจากรายการหลวงพ่อตอบปัญหา ทาง DMC
 
 

คำถาม: ทรัพย์สมบัติ บุตร ภรรยา เป็นเครื่องจองจำได้อย่างไร? ไม่เข้าใจเลย หลวงพ่อกรุณาอธิบายให้ด้วยครับ?

 
คำตอบ: เครื่องจองจำคนเรา โดยเฉพาะเครื่องจองจำที่เห็นด้วยตา เช่น กุญแจมือที่ตำรวจเขาใส่ข้อมือผู้ร้าย หรือโซ่ตรวนที่ผู้คุมเขาใส่กับนักโทษ ดูแล้วมันเหมือนผูกมัดคนจนแน่นหนา แต่อย่างไรก็ดีของพวกนี้เป็นเพียงเครื่องจองจำทางกาย ถึงเวลาหมดโทษเขาก็ต้องปลดออก แต่มีเครื่องจองจำชนิดหนึ่ง ที่ไม่ได้ติดอยู่กับร่างกายหรอก มันติดอยู่กับใจคน ติดแน่นจนสลัดไม่หลุด ของพวกนี้ได้แก่อะไรบ้าง?
 
เครื่องจองจำใจคนมีหลายอย่าง
เครื่องจองจำใจคนมีหลายอย่าง
 
        เครื่องจองจำใจคนมีหลายอย่าง เช่น สามีหรือภรรยา ยามคิดถึงกัน ก็อุตส่าห์ข้ามน้ำข้ามทะเลไปหา ขืนไม่ไปก็คิดถึงอยู่นั่นแหละ ห่วงหาจนแทบจะเป็นจะตายเสียให้ได้ พอมีลูกขึ้นมา ก็ห่วงลูก ความห่วงอันนี้แหละทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นเครื่องจองจำทีเดียว บางคนห่วงสามี บางคนห่วงภรรยา ห่วงกันจนกระทั่งกินไม่ได้นอนไม่หลับทีเดียว ห่วงสามีหรือภรรยา 1 ห่วงบุตร 1 ห่วงสมบัติ 1 ห่วงทั้ง 3 อย่างนี้ เป็นเครื่องจองจำหรือเครื่องพันธนาการทางใจของคน ที่ใครๆ ก็ดิ้นหลุดออกได้ยากเหลือเกิน เพราะเป็นสิ่งผูกพันที่ทำให้ห่วงใยคิดถึงอยู่ตลอดเวลา นั่งสมาธิหลับตานึกถึงดวงแก้ว เดี๋ยวเดียวหน้าลูกโผล่ออกมาแล้ว หน้าเมียโผล่ซ้อนขึ้นมาอีกแล้ว เดี๋ยวเช็คก็โผล่ตามขึ้นมาอีกแล้ว เช็คจะเด้งหรือเปล่าหนอ? ที่นั่งสมาธิกันไม่ค่อยจะได้เห็นธรรมะ ก็เพราะเหตุตรงนี้แหละ ห่วงคู่ครอง ห่วงบุตร ห่วงสมบัติ ใจมันติดอยู่กับของเหล่านี้ จนไม่เหลือจิตใจที่จะเผื่อแผ่ไปถึงเพื่อนร่วมโลก
 
        พูดอีกอย่างคือ เป็นคนใจแคบ ใจมันแคบเพราะใจมันติดอยู่กับเครื่องจองจำดังกล่าว คนที่ยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติธรรม น้อยคนนักที่จะรู้สึกว่าครอบครัวนั้นคือเครื่องครอบเครื่องจองจำตัวจริง ส่วนใครที่ไม่มีสามีหรือภรรยา ไม่มีบุตร จะเป็นอิสระทางใจมากกว่า สามารถปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลสได้ง่ายกว่า
 

คำถาม: คุณพ่อและน้องชอบเล่นการพนัน จะแก้ไขไม่ให้เล่นได้อย่างไรคะ?

 
คำตอบ: แก้ไขโดยเริ่มด้วยตัวเราเองอย่าเล่นการพนันเด็ดขาด เราต้องทำตัวเป็นต้นแบบเป็นมาตรฐานให้ดู การงานทุกอย่างต้องทำได้เรียบร้อย จนใครตำหนิอะไรไม่ได้สักอย่างเดียว ถ้าเราทำได้อย่างนี้บารมีจะเกิด แล้วทีนี้จะพูดอะไรก็มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ แทบจะชี้นกเป็นไม้ ชี้ไม้เป็นนก แต่ว่าต้องใช้เวลาหน่อยนะ
 
ตัวเราเองอย่าเล่นการพนันเด็ดขาด
ตัวเราเองอย่าเล่นการพนันเด็ดขาด
 
        การงานต้องดี การเรียนต้องดี จนใครก็หาข้อบกพร่องอะไรเราไม่ได้ ถ้าทำได้ถึงขนาดนี้แล้ว ต่อไปแม้เป็นลูกก็ทำให้พ่อเกรงใจได้ พอผิดพลาดอะไร ก็สามารถชี้เหตุชี้ผลให้ดูได้ เช่น เพราะพ่อมาจมอยู่ในวงไพ่ จึงทำมาหากินสู้ชาวบ้านเขาไม่ได้ งานการถึงได้เสียหายอย่างนั้นๆ
 
        ถ้าเราดีจริง พ่อก็พ่อเถอะ จำเป็นต้องเชื่อเพราะเราเรียนดี ทำงานดีให้เขาดูก่อน และยังสามารถพูดอธิบายได้อย่างมีเหตุผล ส่วนน้องนั้นไม่มีปัญหา ถ้าคุณพ่อเลิกเล่นการพนัน เพราะความเข้าใจถูกว่าการพนันนำไปสู่ความพินาศฉิบหาย ท่านคงห้ามปรามไม่ให้ลูกท่าน หรือน้องเราเล่นการพนันอีกต่อไป
 
        แต่เท่าที่หลวงพ่อเห็นมามากต่อมาก ต่อให้ลูกมีบารมีมากแค่ไหน ลูกก็สอนพ่อสอนแม่ให้เชื่อฟังได้ยาก ทางที่ง่ายกว่าคือห้ามปรามน้องก่อน อย่าปล่อยให้น้องเป็นขาไพ่ของพ่อก็แล้วกัน
 
คำถาม: จะทำใจอย่างไรคะ เมื่อไม่พอใจคนในบ้าน เขาเป็นคนอาศัยเราอยู่ แต่กลับไม่เกรงใจเราเลย?
 
คำตอบ: ก่อนจะรับใครเข้ามาอยู่ในบ้าน จะมาอยู่ในฐานะลูกจ้าง ในฐานะเพื่อน ในฐานะสามี ในฐานะภรรยา หรือในฐานะอะไรก็ตาม โบราณท่านพูดไว้ประโยคหนึ่งว่า เข้าง่าย ออกยาก
 
ให้เขามาอาศัย แต่เขาก็ไม่เกรงใจเรา
ให้เขามาอาศัย แต่เขาก็ไม่เกรงใจเรา
 
        การรับใครมาเป็นคนใช้ในบ้าน ถ้ารับง่ายๆ ระวังเถอะ วันที่จะให้เขาออกจากบ้าน ออกจากงานมันจะยุ่ง วันออกอาจจะมีการเผาบ้าน มีการปล้นเจ้าของบ้าน ขนาดเชือดคอลูกเจ้าของบ้านก็มีมาแล้ว แม้ที่สุดรับเขามาเป็นสามี รับเขามาเป็นภรรยา วันเลิกร้างจะให้เขาออกจากบ้าน ที่เกิดเรื่องตบตีเตะกันซี่โครงหักก็มีมาแล้ว ก็อยากจะเตือนสำหรับผู้ที่ยังคิดจะให้ใครมาอยู่ด้วยละก็ ดูนิสัยใจคอกันก่อนนานๆ นะ อย่าลืมคำโบราณ “เข้าง่าย ออกยาก”
 
        สำหรับในกรณีของคุณโยม รับเขามาอาศัย แต่เขาก็ไม่เกรงใจ จริงอยู่คุณนั้นมีความดีตรงที่มีเมตตา แต่ความประพฤติส่วนตัวของคุณอย่างอื่นบกพร่องไหม ถ้าบกพร่อง ก็น่าหรอกที่เขาจะไม่เกรงใจ แต่ถ้าเราไม่บกพร่องแล้ว เขายังไม่เกรงใจเรา บ้านของเราแท้ๆ เขายังไม่เกรงใจ ก็ให้เขากลับไปอยู่บ้านของเขาเอง ก็จบ แต่อย่าลืมนะว่า เข้าง่าย ออกยาก เรื่องไม่จบง่ายๆ หรอก หากุศโลบายให้เขาออกดีๆ ก็แล้วกัน

http://goo.gl/WJq2u


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related