หน้าที่ของลูกที่มีต่อพ่อแม่มีอะไรบ้าง

หน้าที่ของลูกที่ควรปฏิบัติต่อพ่อแม่ โดยย่อ คือ คอยดูแลท่านให้ดี ประพฤติตนเป็นคนดี ทำกิจการงานแทนท่านไม่ให้บกพร่อง สนับสนุนให้ท่านได้มีโอกาสทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา https://dmc.tv/a13499

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 11 เม.ย. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18646 ]
 
 
โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว)
เรียบเรียงจากรายการหลวงพ่อตอบปัญหา ทาง DMC
 
 

คำถาม: หน้าที่ของบุตรที่มีต่อบิดามารดา มีอะไรบ้างคะ?

 
คำตอบ: พ่อแม่เป็นผู้มีพระคุณอย่างที่สุดของลูก นับตั้งแต่เป็นต้นแบบที่ดีของลูก คือเป็นผู้ให้รูปร่างมนุษย์ที่เหมาะสมในการสร้างความดีทุกรูปแบบ ดังนั้นแม้พ่อแม่จะไม่เลี้ยงดูบุตร ก็ได้ชื่อว่ามีพระคุณอยู่แล้ว และถ้าท่านเลี้ยงดู ทำหน้าที่ของพ่อแม่ดีที่สุดอย่างสมบูรณ์แบบ พระคุณของท่านก็จะยิ่งมากมายสุดจะนับจะประมาณได้
 
        พ่อแม่เป็นผู้ให้อภัยแก่ลูกอยู่เสมอ ไม่ผูกโกรธ แม้จะดุด่าว่ากล่าวหรือเฆี่ยนตีลูกบ้าง ก็เป็นเพราะความรัก ความห่วงใย ต้องการสั่งสอนให้ลูกเป็นคนดี ทุกครั้งที่ไม้เรียวกระทบเนื้อลูก เชื่อเถอะว่ามันเหมือนมีมีดกรีดลงบนหัวใจของพ่อแม่ด้วย ในโลกนี้ไม่มีใครที่รักลูกเป็นมิตรแท้ต่อลูกเหมือนพ่อแม่ เพราะท่านคิดแต่จะให้เพียงอย่างเดียว ลูกๆ ไม่ต้องหวาดระแวงเลยว่าพ่อแม่จะทรยศหักหลังเหมือนคนอื่น
 
หน้าที่ของลูกที่ควรปฏิบัติต่อพ่อแม่
หน้าที่ของลูกที่ควรปฏิบัติต่อพ่อแม่
 
        พระคุณของพ่อแม่มีมากมายเกินกว่าจะตอบแทนได้หมด ลูกที่ดีต้องสำนึกในพระคุณของพ่อแม่ให้เปี่ยมล้นในใจอยู่เสมอ ปฏิบัติต่อท่านให้ดีที่สุด ให้สมกับที่ท่านเป็นพระในบ้าน หน้าที่ของลูกที่ควรปฏิบัติต่อพ่อแม่ กล่าวโดยย่อ คือ
 
        1. คอยดูแลท่านให้ดี ตั้งแต่เรื่องอาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย ยามเจ็บป่วย ก็ช่วยพยาบาลรักษาให้ดีที่สุด ทำให้สม่ำเสมอตราบจนวาระสุดท้ายของท่าน
 
        2. ประพฤติตนเป็นคนดี สร้างชื่อเสียงให้แก่วงศ์ตระกูล ให้พ่อแม่ภาคภูมิใจ
 
        3. ประพฤติตนให้เหมาะสมกับการที่จะเป็นผู้รับมรดก
 
        4. ทำกิจการงานแทนท่านไม่ให้บกพร่อง
 
        5. ชักชวนหรืออำนวยความสะดวก สนับสนุนให้ท่านได้มีโอกาสทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา จะได้เป็นบุญติดตัวท่านไปในภพเบื้องหน้า เป็นการถากถางหนทางไปสู่พระนิพพานของท่านเอง หน้าที่นี้เป็นหน้าที่สำคัญที่สุดที่ลูกทุกคนต้องปฏิบัติต่อพ่อแม่
 
        แม้ที่สุดเมื่อท่านละโลกไปแล้วก็ต้องทำบุญ กรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลให้ท่านอย่างสม่ำเสมอ อีกประการหนึ่งด้วย
 

คำถาม: บิดาของดิฉันป่วยหนัก 2 เดือนแล้ว อาการของท่านทรมานมากบ่นและร้องโวยวายตลอดเวลา ไม่ทราบว่าจะช่วยได้อย่างไร ดิฉันสงสารท่านมาก ปกติท่านไม่ยอมเชื่อเรื่องบุญบาป ถ้าหากลูกๆ ทำบุญให้ในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ ท่านจะได้รับไหมคะ เผื่อว่าจะทุเลาอาการทรมานได้บ้าง?

 
คำตอบ: ก็ได้เหมือนกัน ถ้าท่านอนุโมทนาบุญกับเรา แต่ได้น้อย ต้องให้ท่านทำเอง คนที่ไม่เชื่อเรื่องบุญ บาป ไม่เชื่อเรื่องนรก สวรรค์ แต่เชื่อว่าชาติหน้าไม่มี ตายแล้วสูญ พวกนี้พอบาปตามมาทัน ก่อนตายก็ต้องได้รับทุกข์ทรมานมากกันทุกคน
 
        ในฐานะที่เราเป็นลูก ก็ควรเฝ้าดูแลอยู่ใกล้ๆ ได้โอกาสก็ชวนท่านคุยเรื่องธรรมะบ้าง นำดอกไม้ธูปเทียนมาให้ท่านบูชาพระตอนเช้า ตอนเย็น และก่อนนอน แรกๆ ท่านอาจจะไม่ยอมทำตาม แต่เราก็ต้องค่อยๆ พูดให้ท่านเข้าใจเรื่องบุญบาป บอกให้พ่อไหว้พระและสวดมนต์ทุกวันๆ เท่าที่จะทำได้
 
        ถ้าลุกไม่ขึ้นก็ให้นอนสวดบนที่นอนนั้นแหละ เมื่อก่อนตอนสบายดีอาจจะไม่เชื่อ แต่พอเจ็บหนักใกล้ตายเข้า ลูกบอกให้ขอให้พระช่วยอาจจะยอมเชื่อ หรืออาจจะเตรียมหาข้าวปลาอาหาร ผลไม้ ดอกไม้ไว้ให้ท่านใส่บาตร ถ้าเรานิมนต์พระมารับถึงห้องได้เลยก็ดี แต่ถ้าพระมาไม่ได้หรือแถวนั้นไม่มีพระ เราก็ไปตักบาตรแทนท่าน แล้วกลับมาเล่าให้ท่านฟังว่า ได้ไปทำบุญทำทานมาให้ท่านอย่างนี้ๆ
 
พูดให้ท่านเข้าใจเรื่องบุญบาป บอกให้พ่อไหว้พระสวดมนต์ทุกวัน ถ้าลุกไม่ขึ้นก็ให้นอนสวดบนที่นอน
พูดให้ท่านเข้าใจเรื่องบุญบาป บอกให้พ่อไหว้พระสวดมนต์ทุกวัน ถ้าลุกไม่ขึ้นก็ให้นอนสวดบนที่นอน
 
        ถ้าท่านยังพอมีบุญอยู่บ้างก็จะคล้อยตาม อาการป่วยที่ทุรนทุรายก็จะลดลง หากท่านไม่ยอมสักอย่าง ก็จนปัญญา ก็ขอไปทดแทนคุณกันชาติหน้าก็แล้วกัน ชาตินี้คงช่วยอะไรไม่ได้
 
        เมื่อหลายปีก่อนมีโยมอยู่คนหนึ่งเป็นมรรคนายก ป่วยเป็นโรคเบาหวานจนถึงต้องตัดขา หลังจากตัดใหม่ๆ ประมาณบ่าย 2 โมงของทุกวันจะปวดแผลมาก ทำอย่างไรก็ไม่หาย แต่เนื่องจากการที่เคยเข้าวัดมาก่อน จิตใจเชื่อในเรื่องบุญเรื่องบาปอยู่แล้ว
 
        พอหลวงพ่อไปเยี่ยม เอาเทปนำนั่งสมาธิไปให้ หลังจากรับประทานอาหารเช้า ก็ให้หลับพักผ่อน จนกระทั่งถึงบ่ายโมงครึ่งใกล้เวลาที่เริ่มปวด จึงเปิดเทปบทสวดมนต์ให้ท่านสวดคลอตามไป เวลาล่วงไปจนถึงเลยบ่าย 2 โมงท่านเลยลืมอาการปวดไปได้ ทำอย่างนี้ทุกวันจนกระทั่งแผลหายดี นี่ก็เป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งที่เคยทำได้ผลมาแล้ว
 
        ดังนั้น ใครที่ยังขี้เกียจสวดมนต์อยู่ ขอให้เริ่มหัดสวดไว้ เมื่อถึงคราวป่่วยไข้หากต้องพบกับสภาพเช่นนี้จะได้รีบสวดมนต์ปะทะไว้ก่อน เมื่อใจแน่วแน่เกาะติดอยู่กับการสวดมนต์ จะได้ลืมอาการเจ็บปวด นี่ก็เป็นวิธีที่ทดลองทำได้ผลมาแล้ว

http://goo.gl/8WKDK


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related