ทำอย่างไรจึงจะชวนคนที่ไม่นับถือพระพุทธศานาให้หันมานับถือได้

การชักชวนให้ใครมานับถือพระพุทธศาสนาตามอย่างเรานั้น ผู้ไปชวนจะต้องสามารถปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีก่อน เพื่อเอาชนะใจเขา ซึ่งจะทำให้ได้ผลดี และไม่หนักแรงจนเกินไป https://dmc.tv/a13648

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 11 พ.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18271 ]
หลวงพ่อตอบปัญหา
 
 
โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว)
เรียบเรียงจากรายการหลวงพ่อตอบปัญหา ทาง DMC
 
 

คำถาม: ทำอย่างไรจึงจะชักชวนให้คนที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา ให้เขามานับถือคะ?

 
คำตอบ: การที่เราจะชักชวนให้ใครมานับถือพระพุทธศาสนานั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเทศน์เอาไว้ตั้งแต่ตอนที่พระองค์เพิ่งตรัสรู้ใหม่ๆ ในวันเพ็ญเดือน 3 คือวันมาฆบูชา เทศน์บทนั้นก็คือบทที่เราเราเรียกว่า “โอวาทปาฏิโมกข์”
 
ทำอย่างไรจึงจะชักชวนให้คนที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา ให้เขาหันมานับถือได้
ทำอย่างไรจึงจะชักชวนให้คนที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา ให้เขาหันมานับถือได้
 
        พระองค์ทรงบอกว่า การที่จะไปชักชวนให้ใครมานับถือพระพุทธศาสนาตามอย่างเรานั้น ผู้ไปชวนจะต้องสามารถปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีก่อน เพื่อเอาชนะใจคนที่จะเข้ารับการสอนเสียตั้งแต่ต้นมือ ซึ่งจะทำให้ได้ผลดี และไม่หนักแรงจนเกินไป คำสอนของพระองค์ประกอบด้วยหลัก 6 ประการ คือ
 
        1. อนูปวาโท ไม่ว่าร้ายกันด้วย ต้องไม่สอนศาสนาด้วยวิธีพูดกระทบกระเทียบ โจมตี แดกดัน ค่อนขอด เยาะเย้ย เหยียดหยามผู้อื่น
 
        2. อนูปฆาโต ไม่ทำร้ายกันด้วย ต้องไม่สอนศาสนาโดยวิธีใช้กำลัง ใช้อาวุธ เข้าข่มขู่ บังคับ ทำร้ายหรือรังแก ข่มเหงให้เขาเชื่อ
 
        3. ปาฏิโมกเข จ  สํวโร สำรวมในพระปาฏิโมกข์ด้วย ต้องสำรวมระวังความประพฤติของตนให้ดีงามเหนือกว่าเขา คือมีศีลธรรม มีวินัย มีมารยาท มีวัฒธรรมสูงกว่าเขา เพื่อให้เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธาตั้งแต่ต้น
 
        4. มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺสมึ เป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหารด้วย ต้องเป็นคนไม่เห็นแก่กิน ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง
 
        5. ปนฺตญฺ จ สยนาสนํ ที่นอนที่นั่งอันสงัดด้วย ต้องไม่อยู่อาศัยในที่พลุกพล่าน หรือมีที่อยู่หรูหราใหญ่โตเกิดจำเป็น แต่ให้เลือกอยู่ในที่สงบสงัด
 
        6. อธิจิตเต จฺ อาโยโค ประกอบความเพียรในอธิจิตด้วย ต้องหมั่นฝึกสมาธิให้แก่กล้ายิ่งขึ้น เพื่อเขาถึงธรรมกายตายลำดับ และโดยไม่ทอดธุระ อ้างเหตุขัดข้องต่างๆ
 
        เมื่อปฏิบัติตนเคร่งครัดครบทั้ง 6 ประการนี้แล้ว ก็เป็นอันประกันได้ว่า งานเผยแผ่พระศาสนาย่อมได้รับความสำเร็จอย่างแน่นอน โดยไม่เหน็ดเหนื่อยจนเกินไป และจะไม่ได้รับการต่อต้าน กระทบกระทั่งรุนแรงใดๆ จากฝ่ายอื่น เพราะไม่ได้ทำตัวเป็นศัตรูของใคร
 

คำถาม: ไม่ทราบว่าที่วัดพระธรรมกายทำอย่างไร คนจึงมาที่วัดกันเป็นพันๆ หมื่นๆ มามากอย่างนี้ แล้วยังมีระเบียบเรียบร้อยอีกด้วย แปลกจริงๆ

 
คำตอบ: วัดพระธรรมกาย ใช้ระบบที่ว่า ใครก็ตามเมื่อมาถึงวัดแล้ว เราจะฝึกคุณธรรมให้ทุกคนมีวินัย มีความเคารพ และมีความอดทน ให้มีคุณธรรม 3 อย่างนี้ก่อน
 
        ยกตัวอย่างเช่น เมื่อญาติโยมมาถึงวัด ก็ฝึกให้เขานั่งเป็นแถวเป็นแนว โดยเอาเสื่อปูเป็นแถวๆ แล้วก็ทำจุดที่แถวหน้าให้เขาดู เวลานั่งต้องนั่งให้ตรงกับจุด ซึ่งส่วนมากก็นั่งกันได้เป็นแถวดี สำหรับผู้ที่ยังนั่งไม่ตรงจุด เราก็หาเด็ก 2-3 คน ให้เป็นคนคอยเชิญเขามานั่งให้ตรงจุดหรือตรงคอคนหน้า ใครเข้ามาใหม่ เด็กก็เชิญเขามานั่งต่อๆ กันไป เพราะฉะนั้นมีมาเท่าไหร่ก็นั่งเป็นแถวหมด เราก็ฝึกวินัยกันง่ายๆ อย่างนี้
 
วัดพระธรรมกายทำอย่างไรจึงมีคนมาเข้าวัดกันมากมายแถมยังเป็นระเบียบเรียบร้อยอีกต่างหาก
วัดพระธรรมกายทำอย่างไรจึงมีคนมาเข้าวัดกันมากมายแถมยังเป็นระเบียบเรียบร้อยอีกต่างหาก
 
        พอเลิกนั่งสมาธิ เลิกเทศน์หรือเลิกพิธีแล้ว ก็ให้สวดมนต์ทำวัตรก่อน เป็นบทยาวประมาณ 15 นาที ขณะสวดมนต์เราก็มีเด็กเตรียมผ้าเช็ดเสื่อ ซึ่งซักแล้วบิดหมาดๆ มาวางไว้ที่หัวเสื่อ พอสวดมนต์เสร็จเขาก็ลุกออกจากที่ ส่วนหนึ่งก็จะไปเช็ด และม้วนเสื่อเก็บส่วนพวกที่ไม่ได้เช็ดเสื่อ ก็มีเด็กอีกชุดหนึ่งเตรียมไม้กวาดส่งให้ อีกชุดเตรียมไม้ถูพื้น ผ้าขี้ริ้ว เมื่อญาติโยมที่มาวัดได้ช่วยกันกวาด ได้เช็ดเสื่อ ได้ถูศาลาแล้ว เขาจะมีความรู้สึกผูกพัน มีความเป็นเจ้าของวัด อาทิตย์หน้า ก็อยากมาอีก
 
        เวลารับประทานอาหาร ทางวัดมีอาหารแจกให้ เราก็เชิญเขามาเข้าคิวรับอาหาร ไปนั่งรับประทานกันเป็นกลุ่มๆ เสร็จแล้วก็ให้ช่วยกันล้างจาน โดยจัดที่สำหรับล้างจาน เช็ดจาน คว่ำจานไว้ให้เรียบร้อย เราใช้คำว่า เชิญรับประทานอาหาร เชิญล้างจาน เชิญเช็ดเสื่อ เป็นคำสั่งที่แฝงอยู่ในคำเชื้อเชิญ เป็นคำสั่งที่ไพเราะ เขาก็ทำตามคำเชิญไปเรื่อยๆ ในที่สุดเราก็จะได้คนที่มีวินัยเกิดขึ้นทั้งวัด
 
        เมื่อล้างจานได้ เช็ดเสื่อได้ ถูศาลาได้ ทำไมจะขัดส้วมให้เราไม่ได้ ในที่สุดเขาก็เลยช่วยกันทำเอง แล้วทั้งวัดก็สะอาดด้วยฝีมือคนมาวัด พวกเราตั้งแต่เจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส พระในวัดมีหน้าที่ช่วยกันเตรียมอุปกรณ์การทำความสะอาด นอกนั้นญาติโยมทำกันเอง แล้วเขาก็ชมกันเองว่าวัดสะอาดจัง เป็นระเบียบจัง ความจริงเราไม่ได้ทำ เขาทำให้ แต่เราฝึกเขาขั้นต้น แล้วประคับประคองให้เขาได้รับความสะดวกในบั้นปลาย
 
        ระหว่างนั้นเราก็ฝึกคุณธรรมขึ้นไปเรื่อยๆ ฝึกสมาธิให้ สอนหลักธรรมให้เขามีความรู้ มีคุณธรรมติดตัวไป แล้วเขาก็ชอบใจติดใจไปตามคนมา ไปชวนกันมา กลายเป็นลูกโซ่อย่างนี้ เริ่มต้นไม่ยากหรอก วัดไหนๆ ก็ทำได้

http://goo.gl/CXAgt


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related