หลวงปู่วัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี ผู้เอาชีวิตเป็นเดิมพันในการปฏิบัติธรรม

หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้มีความเพียรเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ค้นพบวิชชาธรรมกายให้หวนกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญพระภิกษุผู้ทำความเพียรอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน https://dmc.tv/a16581

บทความธรรมะ Dhamma Articles > มหาปูชนียาจารย์
[ 5 ก.ย. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18277 ]

หลวงปู่วัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี ผู้เอาชีวิตเป็นเดิมพันในการปฏิบัติธรรม
เรียบเรียงโดย พระมหาทศพร ปุญฺญงฺกุโร

“ ฉันเอง 2 คราว ไม่ได้ตายเถอะ นิ่ง พอถึงกำหนดเข้าก็ได้ ไม่ตายเสียที ” 


พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
หลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

            พระธรรมเทศนาของหลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี ที่ท่านได้เทศนาไว้ในเรื่องหลักการเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานบทนี้ ได้ชี้ให้เห็นถึงความที่หลวงปู่ท่านเป็นผู้ที่ทำอะไรทำจริง โดยเฉพาะเรื่องการปฏิบัติธรรมทำความเพียรอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านได้ตรัสเทศน์สอนถึงความเพียรในการปฏิบัติธรรม ว่าให้พระภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ไม่ประมาท ให้รีบทำความเพียร ดังที่มีพุทธพจน์ปรากฎหลายๆ ที่ อาทิเช่น 


“ ความเพียรควรทำในวันนี้ ใครเล่าจะรู้ความตายแม้ในวันพรุ่งนี้

เพราะความผลัดเพี้ยนต่อมัจจุราช ผู้มีเสนาใหญ่ ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย ”


** ภัทเทกรัตตสูตร พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖


            ซึ่งความเพียรในที่นี้คือ ปธาน 4 คือ ความเพียรที่จะละชั่ว เพียรสำรวมระวังไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้นทั้งกาย วาจา ใจ เพียรทำความดี และเพียรรักษาความดี ซึ่งความเพียรในการทำความดี ที่ถือว่าเป็นความดีสูงสุด ที่มุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานมากที่สุด นั่นก็คือ “การปฏิบัติธรรม” หรือการเจริญสมาธิ(Meditation)ภาวนา ซึ่งมีเรื่องราวที่น่าสนใจใน มหาโคสิงคสาลวันสูตร ในเรื่องการทำความเพียร ดังนี้


            ในสมัยหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าโคสิงคสาลวัน พร้อมด้วยพระสาวกผู้เถระซึ่งมีชื่อเสียงมากรูป คือ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปพ ท่านพระอนุรุทธ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระสาวกผู้เถระ ซึ่งมีชื่อเสียงอื่นๆ



            พระสาวกทั้งหลายได้ประชุมกันอย่างนี้แล้ว พระสารีบุตรจึงได้ถามพระอานนท์ว่า  “ท่านอานนท์ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร?”


            ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ฯลฯ ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล”


            นั้นพระสารีบุตรก็เข้าไปถามพระเรวตะในทำนองเดียวกัน ท่านพระเรวตะตอบว่า “ภิกษุในพระศาสนานี้ เป็นผู้มีความหลีกเร้น ยินดีแล้วในความหลีกเร้น ประกอบเนืองๆ ซึ่งเจโตสมาธิ ไม่เหินห่างจากฌาณ ประกอบด้วยวิปัสสนา  ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล”


            จากนั้นพระสารีบุตรก็เข้าไปถามพระอนุรุทธะซึ่งเป็นเลิศทางด้านทิพยจักษุในคำถามเดียวกัน ท่านอนุรุทธตอบว่า “ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่งด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์  ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล”


           พระสารีบุตรก็เข้าไปถามพระมหากัสสปะซึ่งเป็นเลิศด้านธุดงควัตรในคำถามเดียวกัน ท่านพระมหากัสสปตอบว่า “ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ ถือธุดควัตร อยู่ป่าเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร บิณฑบาตเป็นวัตร มักน้อยสันโดษ เป็นต้น ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล”


           พระสารีบุตรก็เข้าไปถามพระมหาโมคคัลลานะในคำถามเดียวกัน ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า “ท่านสารีบุตร ภิกษุ ๒ รูป ในพระศาสนานี้ กล่าว อภิธรรมกถา  ถามกันและกัน ถามปัญหากันแล้ว ย่อมแก้กันเอง ไม่หยุดพักด้วย ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล”


           พระมหาโมคคัลานะถึงได้ถามคำถามเดียวกันกับพระสารีบุตร พระสารีบุตรท่านก็ตอบว่า “ภิกษุในพระศาสนานี้ เจริญสมาบัติ เป็นผู้อยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหาร สมาบัตินั้นได้ในเวลาเช้า หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ ในเวลาเที่ยง หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเย็น ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล”


           เมื่อพระเถระทั้งหลายต่างมีคำตอบเป็นของตนเองเช่นนี้ ทั้งหมดจึงได้พากันเข้าไปถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระสารีบุตรเป็นผู้นำ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ ดูกรสารีบุตร คำของพวกเธอทั้งหมด เป็นสุภาษิตโดยปริยาย แต่พวกเธอจงฟังคำของเรา 


           คำถามว่า ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไรนั้น


ตอบว่า  “ ภิกษุในศาสนานี้ กลับจากบิณฑบาตแล้ว  ในเวลาหลังภัตรกิจ นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกาย ให้ตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้าว่า จิตของเรายังไม่หมดความถือมั่น ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ ทั้งหลายเพียงใด เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้เพียงนั้น ดังนี้ ดูกรสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงาม ด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล


          จากพุทธพจน์นี้ แสดงให้เห็นว่าพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญพระภิกษุที่ทำความเพียรอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการปฏิบัติธรรมนั่นเอง แล้วครูบาอาจารย์ของเราท่านใดเล่า ที่ทำให้เราเห็นเป็นแบบอย่างในปัจจุบัน โดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการเจริญสมาธิภาวนาอย่างพุทธดำรัสของพระพุทธเจ้า นั่นก็คือ พระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย 


15 ค่ำเดือน 10 พ.ศ. 2460  ณ วัดโบสถ์บน บางคูเวียง จ.นนทบุรี

วัดโบสถ์บน บางคูเวียง จ.นนทบุรี สถานที่หลวงปู่เข้าถึงธรรมกาย


            เช้าวันนั้นพระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านมีความคิดขึ้นมาว่า


    “เราบวชมาจวนจะครบ ๑๒ พรรษาแล้ว วิชชาของพระพุทธเจ้าเรายังไม่ได้บรรลุเลย ทั้งที่การศึกษาของเราก็ไม่เคยขาดเลยสักวัน ทั้งคันถธุระและวิปัสนาธุระ อย่าเลย ควรจะรีบกระทำความเพียร  ให้รู้เห็นของจริง ในพระพุทธศาสนาเสียที”


            เมื่อกลับจากบิณฑบาตแล้วท่านก็รีบจัดการภารกิจต่างๆ ให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่มีเรื่องกังวลใจ เสร็จแล้วก็ได้เข้าเจริญภาวนาในพระอุโบสถแต่เพียงผู้เดียว และตั้งใจว่า ถ้ากลองเพลไม่ดังจะไม่ลุกขึ้นจากที่


   " เอ...แต่ก่อนเราไม่เคยรู้สึกเช่นนี้เลย พอตั้งสัจจะลงไปว่า ถ้ากลองเพลไม่ดังจะไม่ลุกจากที่ เหตุใดมันจึงเพิ่มความกระวนกระวายใจมากมายอย่างนี้ ผิดกว่าครั้งก่อนๆ ที่นั่งภาวนา เมื่อไรหนอ กลองเพลจึงจะดังสักที "


   คิดไปจิตก็ยิ่งแกว่งและซัดส่ายมากขึ้น จนเกือบจะเลิกนั่งหลายครั้ง แต่เมื่อได้ ตั้งสัจจะไปแล้วท่านก็ทนนั่งต่อไป คือท่านนั่งสมาธิโดยคิดว่า “ตายเป็นตาย” ในที่สุดใจของท่านก็หยุดรวมเป็นจุดเดียวกัน เห็นเป็นดวงใสบริสุทธิ์ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ ในใจชุ่มชื่นเบิกบานอย่างบอกไม่ถูก


พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
หลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

และในคืนเดี่ยวกันนั้นเอง ในช่วงเย็น หลังจากได้ร่วมลงฟังพระปาฏิโมกข์กับเพื่อนภิกษุ ท่านได้เข้าไปในพระอุโบสถแล้วตั้งสัตยาธิษฐาน


"แม้เลือดเนื้อจะ แห้งเหือดหายไป เหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตามที ถ้านั่งลงไปแล้ว ไม่บรรลุธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเห็น จะไม่ยอมลุกขึ้นจากที่ จนตลอดชีวิต”

 

และท่านก็ได้บรรลุธรรมเข้าถึงพระธรรมกายภายในในคืนนั้นเอง พระภิกษุเช่น พระเดชพระคุณหลวงปู่ ผู้เอาชีวิตเป็นเดิมพันในการทำความเพียร นั่งสมาธิเจริญภาวนา ที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ 


ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเช่นไร ตอบ ภิกษุในศาสนานี้ ก้าวกลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัตร นั่งขัดสมาธิคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น เฉพาะหน้าว่า จิตของเรายังไม่หมดความถือมั่น ยังไม่หลุดพ้นจากกิเลสอาสวเพียงใด เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้



ศิษยานุศิษย์ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
ร่วมกันอัญเชิญรูปหล่อทองคำหลวงปู่ เวียนประทักษิณรอบมหาธรรมกายเจดีย์
เพื่อประดิษฐาน ณ มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2549


           เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านได้เอาชีวิตเป็นเดิมพันในการปฏิบัติธรรมเช่นนี้ เราเองในฐานะลูกหลานศิษย์ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ ก็ควรเร่งทำความเพียร นั่งสมาธิเจริญภาวนา ให้ได้เข้าถึงพระธรรมกายภายใน และเป็นการกลั่นใจเราให้ใสๆ รองรับบุญใหญ่ที่จะเกิดขึ้น ในวันครูวิชชาธรรมกายที่ 19 กันยายน 2556 นี้ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ซึ่งเป็นวันที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านเอาชีิวิตเป็นเดิมพันค้นพบวิชชาธรรมกายให้หวนกลับคืนมาใหม่ในปัจจุบัน ฯ


ลิงค์ที่เกียวข้องกับพระเดชพระคุณหลวงปู่




พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายของพระพุทธองค์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายของพระพุทธองค์อานุภาพหลวงปู่




ขอเชิญร่วมหล่อรูปเหมือนหลวงปู่ทองคำองค์ที่ 7


รับชมคลิปวิดีโอวันครูวิชชาธรรมกาย 2556



ชมวิดีโอวันครูวิชชาธรรมกาย 2556   Download ธรรมะวันครูวิชชาธรรมกาย 2556

 


http://goo.gl/8qOt6l

     
Tag : โบสถ์  เทศนา  อุโบสถ  อาจารย์  หลวงพ่อ  หลวงปู่วัดปากน้ำ  สมาธิ  วิดีโอ  วันครู  ภาษีเจริญ  พระมงคลเทพมุนี  พระพุทธเจ้า  พระพุทธศาสนา  ปัญหา  ปฏิบัติธรรม  บุญ  บิณฑบาต  ธรรมะ  ธรรมกายเจดีย์  ธรรมกาย  

พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      พิธีหล่อรูปเหมือนทองคำคุณยายฯ เพื่อประดิษฐาน ณ อาคาร 100 ปี
      ขอเรียนเชิญร่วมตอกเสาเข็มสถาปนาอนุสรณ์สถานบางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐม
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559