เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?

ถ้าเราช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างนี้ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นการจรรโลงโลกไว้ให้เป็นสถานที่ที่มนุษย์มีโอกาสสร้างความสุขความเจริญให้แก่ชีวิตตนต่อไปได้ https://dmc.tv/a21613

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 14 ก.ค. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18299 ]
เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพ
ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?

เรื่อง : พระราชภาวนาจารย์ (หลวงพ่อทัตตชีโว)

 
 

      มนุษย์ทุกคนในโลกใบนี้ต่างก็ประสบกับชะตากรรมเหมือนกัน คือต้องประสบทุกข์จากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย การพลัดพราก และทุกข์นานาประการร่วมกัน

     การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นหน้าที่ของชาวพุทธที่จะช่วยกันจรรโลงรักษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ไปสู่ใจชาวโลก เพื่อประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ทั้งผองให้พวกเขาได้อาศัยธรรมะเป็นที่พึ่งที่ระลึกเป็นที่เกาะเกี่ยวของใจและเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้อยู่ในครรลองที่ก่อประโยชน์สุขให้แก่ตนเองและผู้อื่น ไม่เบียดเบียน ไม่สร้างความเดือดร้อน ไม่ก่อทุกข์ ไม่ก่อบาป เป็นหนทางที่จะสลัดตนออกจากกองทุกข์ เข้าถึงบรมสุขคือนิพพานในภพชาติสุดท้ายได้ในที่สุด

     ถ้าเราช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างนี้ จึงจะเรียกได้ว่าเป็นการจรรโลงโลกไว้ให้เป็นสถานที่ที่มนุษย์มีโอกาสสร้างความสุขความเจริญให้แก่ชีวิตตนต่อไปได้

     การเผยแผ่พระพุทธศาสนามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น คือการที่พุทธบริษัททั้ง ๔ ได้ดำเนินตามรอยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ไว้ คือ มีพระพุทธประสงค์ให้พุทธสาวกประกาศพระศาสนาออกไปเพื่อประโยชน์แก่มหาชนทั้งหลาย เพราะผู้มีธุลีน้อยในดวงตา (กิเลสเบาบาง) ยังมีอยู่เมื่อไดฟังพระสัทธรรมแล้วจะสามารถเข้าใจตามทันได้

     ชาวพุทธทุกคนเมื่อศึกษาและปฏิบัติธรรมแล้ว ควรจะทำหน้าที่เป็นนักเผยแผ่ต่อไปด้วยถ้าได้ฝึกฝนฝึกซ้อมเตรียมความพร้อมให้ดีก็จะทำหน้าที่ในด้านการเผยแผ่นี้ได้อย่างมีคุณภาพ และที่สำคัญเป็นการสั่งสมบุญใหญ่ของตนเอาไว้ จะได้บุญมาก เป็นบุญละเอียดบุญประณีต ในการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาแต่การเผยแผ่พระพุทธศาสนาจะได้ผลดีเพียงใดนั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับ “คุณภาพของนักเผยแผ่” ด้วย คุณสมบัติขั้นพื้นฐานของนักเผยแผ่ที่ดีมีอยู่ ๓ ประการ

          ๑. มีความรับผิดชอบตัวเอง
          ๒. มีทักษะด้านภาษา
          ๓. มีจินตมยปัญญา


     ๑.  มีความรับผิดชอบตัวเอง (ต่อการทำ ความดีสากล)

     ความดีสากลทั้ง ๕ ประการ เป็นความรู้และความดีเบื้องต้น ที่ผู้ใดฝึกฝนทำให้ได้เป็นประจำแล้ว จะช่วยให้ผู้นั้นเกิดความเข้าใจในธรรมะที่ลึกซึ้งละเอียดลออต่อไปในภายหลัง

      ความดีสากล ๕ ประการนั้น คือ ความสะอาด ระเบียบ สุภาพ ตรงเวลา จิตตั้งมั่นมีสมาธิ(Meditation)

     ความรับผิดชอบต่อความดีสากลหมายถึง มีความพากเพียรตั้งใจทำความดีสากลซึ่งเป็นความดีเบื้องต้นให้เป็นนิสัย โดยการทำความดีนั้นให้เจริญไปตามลำดับใน ๔ ลักษณะคือ

          • ปฏิบัติด้วยตนเองได้อย่างชำนาญ
          • ชักชวนผู้อื่นให้ปฏิบัติตาม
          • ทบทวนแล้วปลื้มใจ พอใจในความดีที่ได้ทำไว้ เพราะสิ่งที่ได้ทำไว้นั้นทำเพื่อจะสั่งสมบุญ
          • สรรเสริญคุณค่าความดีที่ทำนั้นให้ปรากฏ เพื่อว่าผู้ที่มีปัญญาได้ฟังแล้วจะได้นำความดีนั้นไปเผยแผ่ให้ขยายกว้างออกไป

     เมื่อตัวเราทำความดีเบื้องต้นเป็นเองแล้วทำได้ดีในระดับมาตรฐานด้วยแล้ว จากนั้นจึงค่อยไปเชิญชวนผู้อื่น เราจึงจะมีความน่าเชื่อถือมากพอที่ผู้อื่นจะรับฟัง และมีใจยินดีเข้ามาศึกษาธรรมและปฏิบัติตาม นี้คือความสัมพันธ์ของความดีสากลที่มีผลต่อการเพิ่มศักยภาพในการเผยแผ่ธรรมะอย่างเป็นรูปธรรม

      ตัวอย่างเช่น ความดีสากลประการแรกได้แก่ ความสะอาด ความสะอาดเป็นรากฐานของความดีทุกชนิด

    จะเขียนหนังสือให้ได้ดี กระดาษต้องสะอาด จะวาดรูปให้ได้ดี ผ้าใบหรือกระดาษที่นำมาให้เราวาดก็ต้องสะอาด

     จะหุงข้าวให้ได้ดี หม้อที่หุงก็ต้องสะอาดข้าวที่จะนำมาหุงก็ต้องซาวแล้วซาวอีกให้สะอาดแม้ชาวไร่ชาวนาจะทำไร่ทำนาให้ได้ดี เขาก็ต้องทำความสะอาดไร่นาของเขาก่อน คือ ต้องถางหญ้าถางป่าให้เรียบร้อย นั้นก็เป็นการทำความสะอาดไร่นา

    คนจะทำความดีใด ๆ จึงต้องเริ่มต้นจากการทำความสะอาดและความสะอาดขั้นต้นที่จะต้องทำก็คือ การทำความสะอาดตัวเองตั้งแต่ศีรษะจรดฝ่าเท้า จากนั้นก็ทำความสะอาดข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ

    เมื่อคนจะทำความดีต้องเริ่มต้นจากการทำความสะอาด การจะทำให้คนมีความซาบซึ้งในธรรมะตั้งแตเลก็ ก็ต้องฝึกให้ทำความสะอาดตัวเองเป็นตั้งแต่เล็ก ลูกหลานชาวพุทธจึงควรจะได้ฝึกให้รักความสะอาดและทำความสะอาดเป็น เพราะการทำความสะอาดเป็นการทำงานพื้นฐานของชีวิต การทำความสะอาดจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะบ่มเพาะคุณธรรมอื่น ๆ ให้งอกงามขึ้นมาได้

      เมื่อลูกหลานทำความสะอาดเป็นแล้ว ก็ต้องฝึกจัดระเบียบให้เป็น มีข้าวของเครื่องใช้ เช่น ตุ๊กตา ของเล่น ก็ต้องจัดระเบียบให้เป็นดินสอ ปากกา รองเท้าที่ใส่ หรือถ้วยจานช้อนที่ใช้รับประทานอาหารอยู่เป็นประจำ ก็ต้องให้เด็กฝึกหัดทำความสะอาดและจัดเก็บให้เป็นระเบียบ

    นอกจากทำความสะอาด จัดระเบียบแล้วต้องฝึกลูกหลานให้สุภาพกับทุกคนด้วย และฝึกเรื่องเวลา คือ ทำกิจกรรมให้ตรงเวลาด้วย เช่น ถึงเวลาก็มาสวดมนต์ ไหว้พระ นั่งสมาธิพร้อมกัน สิ่งเหล่านี้เป็นความดีสากล เป็นความดีขั้นต้นที่จะเป็นพื้นฐานทำให้เข้าถึงธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้

    ถ้าความดีสากล ๕ ประการนี้ ยังทำได้ไม่ดี ก็ยากที่จะเข้าใจธรรมะของพระพุทธเจ้าและเมื่อเป็นอย่างนั้น หากเขาได้ความรู้ความดีอะไร ก็ยากที่เขาจะมีน้ำใจคิดถึงและเอื้อเฟื้อแบ่งปันคนอื่น เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่นักเผยแผ่จะต้องฝึกทำให้ได้ดีก็คือ ฝึกตนให้มีความรับผิดชอบต่อการทำความดีสากล

     ๒. มีทักษะด้านภาษา

     ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างมนุษย์การที่จะสื่อสารกันให้เข้าใจและรับการถ่ายทอดสารจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่ง ความสามารถทางภาษาเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการฟัง พูด อ่าน หรือเขียนก็ตาม และทักษะทางด้านภาษาเป็นสิ่งที่เรียนรู้ฝึกฝนกันได้และจำเป็นที่จะต้องฝึกฝนอยู่เสมอ หากฝึกเรื่อย ๆ ความเชี่ยวชาญจะเจริญขึ้นตามวัยและตามประสบการณ์ของผู้ฝึก

     ทักษะด้านภาษาสำหรับนักเผยแผ่

          • ฟังแล้วจับประเด็นได้
          • พูดได้เนื้อหาชัดเจนและออกเสียงถูกต้องตามอักขรวิธี
          • อ่านในใจและอ่านออกเสียงได้ชัดเจน
          • เขียนได้ถูกอักขรวิธี เขียนได้ตรงประเด็น เรียงความ ย่อความได้

    การเป็นนักเผยแผ่ที่ดีนั้น เมื่อจะชวนเขามาทำความดี จึงต้องพูดจาสื่อสารให้รู้เรื่องเมื่อจะฟังก็ต้องฟังรู้เรื่อง คือ จับใจความจับประเด็นในเรื่องที่ฟังได้

   เมื่อจะอ่านก็อ่านเป็นทั้งอ่านในใจและอ่านออกเสียง สะกดคำได้ถูกต้อง อ่านแล้วสามารถเข้าใจเรื่องราวที่อ่าน จับใจความได้ถูกต้อง แม่นยำ     

     เมื่อจะพูดก็พูดออกเสียงได้ถูกอักขรวิธีพูดให้ชัดเจน มีประเด็นในเรื่องที่พูดการพูดที่เตรียมประเด็นไว้ดี เช่น อานิสงส์ผลบุญในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างไร

      ในเวลาที่ไปชวนใครเขามาทำความดี การพดู ไปตามลำดับประเด็นช่วยให้เขาเข้าใจง่าย และจำได้ง่าย

     การนำสิ่งเหล่านั้นมาพูด ทีแรกอาจจะเข้าใจได้ไม่ลึก แต่เมื่อพูดไปซ้ำ ๆ เดี๋ยวก็เข้าใจลึกซึ้งได้ ก็เหมือนกับธรรมที่หลวงพ่อคุณครูไม่ใหญ่นำมาสอนพวกเราซ้ำ ๆ อยู่ทุกวันทุกเดือน ทุกปี ถึงวันหนึ่งเราก็ยังสามารถเข้าใจลึกซึ้งตามท่านได้ แล้วมาร่วมสร้างบารมีกัน

     เมื่อจะเขียนก็ฝึกเขียนเรียงความให้เป็นเขียนให้เป็น คืออ่านแล้วสามารถเข้าใจได้อย่างแรกเขียนเพื่อให้เราได้ทบทวนความดีที่ได้ทำมา เขียนเองอ่านเองให้ปลื้มใจ จะได้เป็นการทบทวนบุญของเราด้วย

    ในการฝึกการเขียนเรียงความนั้น เรามีบทฝึกอยู่แล้วตามที่คุณครูไม่ใหญ่ให้เขียนบันทึกผลการปฏิบัติธรรมทุกวัน เท่ากับเป็นการฝึกเขียนเรียงความ ในบันทึกแต่ละคืนจะให้เขียนเรื่องราวที่ผ่านมาทั้งวัน อย่างไรก็คงเขียนได้ไม่หมด ฉะนั้นจะเขียนให้ครอบคลุมเราต้องย่อความให้กะทัดรัดชัดเจน

     ฝึกทำไปดังนี้ กว่าจะเขียนได้เราก็ได้ฝึกจับประเด็น เรียงความให้เป็น ย่อความให้เป็นบทฝึกเหล่านี้พัฒนากระบวนการคิด การจำ  การรับรู้ของเราไปในตัว ฝึกไปเรื่อย ๆ ต่อไป

    จะสามารถเป็นนักเผยแผ่ที่ดี เวลาไปชวนใครทำความดี ก็จะสามารถให้ความรู้เขาเป็นประเด็น ๆ เขาก็จะเข้าใจ รับได้ เวลาชวนเขามาบวช เขาก็จะมาตามคำชวน วาจาของเราก็จะศักดิ์สิทธิ์เพราะได้ทำถูกหลักวิชา
 
     ๓. มีจินตมยปัญญา


      เมื่อศึกษาฟังธรรมแล้วจดจำธรรมนั้นได้นำมาทบทวน ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ และเกิดความเข้าใจ สรุปความได้ตรงประเด็น สามารถคิดแยกแยะความแตกต่างระหว่างผิดกับถูกดีกับชั่ว ประโยชน์กับมิใช่ประโยชน์

      มองเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการทำความดี ทั้งประโยชน์ที่เกิดกับตนเอง ครอบครัวหมู่คณะ ประเทศชาติ และประโยชน์ที่เกิดกับโลกนี้

      การที่จะฝึกได้ดีต้องจำหลักไว้ว่า น้ำขุ่น ๆ กุ้ง หอย ปู ปลา ที่อยู่ในน้ำมีเท่าไรก็มองไม่เห็นเพชรนิลจินดาอยู่ในโอ่งน้ำ ในสระน้ำเท่าไร ๆ ก็มองไม่เห็น แต่ถ้าน้ำใส ๆ กุ้ง หอย ปู ปลามีมากเท่าไร ตัวเล็กตัวโตก็เห็นชัด เพชรนิลจินดาก็เห็นชัด

      ใจใส ๆ จะเห็นชัด ผิด-ชอบ ชั่ว-ดี แยกออก เห็นชัด อะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์ มีคุณ มีโทษ มากน้อยเท่าไรเห็นชัด

     ฉะนั้น ฝึกใจกันให้ดี หัดประคองใจให้กลับมาอยู่ในตัวให้ได้ทั้งวัน ฝึกใจให้หยุดให้นิ่งเป็นสมาธิให้สม่ำเสมอทุกวัน เมื่อใจนิ่งดีแล้วใสดีแล้ว จะมองอะไรได้ออก มองอะไรได้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงอานิสงส์ของนักเผยแผ่

     ด้วยบุญที่ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยประการต่าง ๆ นี้ จะมีอานิสงส์ให้เราเกิดไปกี่ชาติ ๆ มีความรู้ความดีอะไรเกิดขึ้นในโลกนี้แล้วเรายังไม่รู้ ด้วยอานิสงส์ที่เราได้ไปชวนคนทำความดีเป็น นักเผยแผ่นี้ ก็จะมีผู้มีบุญทั้งหลายเอาความรู้ความดีมาแจกเราหรือมาชวนเราไปร่วมทำความดีด้วย นี้เป็นประโยชน์ส่วนตัวที่เราจะพึงได้จากการเป็นนักเผยแผ่

   ประโยชน์ส่วนรวม เมื่อเราตั้งใจทำอย่างนี้ มีความรู้ความดีอะไรก็แจกไป ไม่หวงความรู้ความดีนั้นก็จะแพร่กระจายไปทั่วบ้านทั่วเมือง ความสมัครสมานสามัคคีก็จะเกิดขึ้นความร่วมไม้ร่วมมือกันในบ้านในเมืองที่จะประกอบคุณงามความดีกันต่อไปให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ก็จะเกิดขึ้น

    แล้วจากการที่ฝึกตัวเองเป็นนักเผยแผ่จากการไปชวนคนมาบวช ก็เป็นอายุของพระพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธศาสนายังคงอยู่ต่อไปอีกนานเท่าใด ในฐานะที่เรามีส่วนในการเผยแผ่ มีส่วนในการทำให้พระพุทธศาสนาอายุยืน เกิดไปกี่ภพกี่ชาติ อายุเราก็ยืน ความรู้ความดีที่เราศึกษามาได้ก็จะตรึงตราอยู่ในตัวและในใจของเรายากจะลืมเลือน และมหาชนก็จะไม่ลืมเลือนความรู้ความดีที่เราได้เผยแผ่แจกจ่ายให้เขาไป เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครที่พูดถึงความดีกับเราครั้งใด เราก็เพิ่มความปลื้มใจให้แก่ตัวเองครั้งนั้น ปลื้มใจกันทั้งสองฝ่ายบุญใส ๆ ก็เพิ่มขึ้นทับทวี

    การเป็นนักเผยแผ่พระพุทธศาสนา การทำหน้าที่ชาวพุทธที่แท้จริง จะช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนา จรรโลงโลกใบนี้ให้สงบร่มเย็นมีสันติภาพ เหมาะกับเป็นสถานที่เพิ่มพูนโอกาสในการสร้างความดีและความเจริญแก่มนุษยชาติได้อย่างนี้เอง




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      "สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related