"สังคมเปลี่ยนไป" แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?

สังคมมนุษย์ยุคโซเชียลเน็ตเวิร์กในทุกวันนี้ มีโคชช่วยแนะนำแนวทางการใช้ชีวิตหลายรูปแบบมาก จนบางครั้งก็ไม่รู้ว่าจะเชื่อใครดีอยากทราบว่า ในพระพุทธศาสนามีคำแนะนำแนวทางการใช้ชีวิตที่เป็นมาตรฐานบ้างหรือไม่ว่าควรเป็นอย่างไร ? https://dmc.tv/a22117

บทความธรรมะ Dhamma Articles > หลวงพ่อตอบปัญหา
[ 16 ธ.ค. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18285 ]
สังคมเปลี่ยนไป
แนวทางการใช้ชีวิตเปลี่ยนตามพระพุทธศาสนามีคำแนะนำอย่างไร ?

หลวงพ่อตอบปัญหา
เรื่อง : พระราชภาวนาจารย์ (หลวงพ่อทัตตชีโว)

จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๙
 

     สังคมมนุษย์ยุคโซเชียลเน็ตเวิร์กในทุกวันนี้ มีโคชช่วยแนะนำแนวทางการใช้ชีวิตหลายรูปแบบมาก จนบางครั้งก็ไม่รู้ว่าจะเชื่อใครดีอยากทราบว่า ในพระพุทธศาสนามีคำแนะนำแนวทางการใช้ชีวิตที่เป็นมาตรฐานบ้างหรือไม่ว่าควรเป็นอย่างไร ?

ก่อนจะตอบคำถามนี้ ให้เรามาใคร่ครวญดูให้ดีก่อนว่า ชีวิตคืออะไร ?

     ๑. ชีวิต คือ การเป็นอยู่ในอัตภาพนี้ในโลกนี้ ในระยะเวลาหนึ่ง ปัจจุบันนี้ใครจะมีชีวิตอยู่เกินร้อยปีก็หาได้ยาก แทบจะนับคนได้สุดท้ายแล้วชีวิตก็ดับไป และแล้วก็ย้อนกลับมาเกิดใหม่ในภพภูมิใหม่ มีชีวิตใหม่กันอีก

     ๒. ชีวิตประกอบไปด้วยทุกข์ ซึ่งเราเคยทำความเข้าใจกันมาแล้วว่า ทุกข์ในโลกนี้แบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภท

      พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นชีวิตแรกของสัตวโลกที่กำจัดทุกข์ให้สิ้นไปหลุดพ้นจากทุกข์ไปได้ ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

        ทุกข์นำมาซึ่งความเดือดร้อน ความหิวกระหาย ความทุรนทุรายแก่ชีวิต เมื่อทุกชีวิตประกอบไปด้วยทุกข์ ๔ การดำเนินชีวิตให้เป็นอยู่อย่างดีและสามารถพัฒนาได้ จึงเป็นไปเพื่อดับทุกข์หรือปราบทุกข์ ๔ นั่นเอง

       จากตรงนี้เราก็พอทราบกันแล้วว่า เรา จะดำเนินชีวิตไปเพื่อวัตถุประสงค์อะไร ดังนั้นวิธีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องจึงเปน็ การประกอบการงานต่าง ๆ เพื่อปราบทุกข์ ๔

ทุกข์ ๔ ประกอบด้วย

      ๑. ทุกข์จากสรีระ ๒. ทุกข์จากการอยู่ร่วมกัน ๓. ทุกข์จากการทำมาหาเลี้ยงชีพหรือการประกอบอาชีพ ๔. ทุกข์จากกิเลส

       วิธีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องประกอบด้วย

     ๑. วิธีดำเนินชีวิตเพื่อการปราบทุกข์จากสรีระ  ๒. วิธีดำเนินชีวิตเพื่อการปราบทุกข์จากการอยู่ร่วมกัน ๓. วิธีดำเนินชีวิตเพื่อการปราบทุกข์จากการประกอบอาชีพ ๔. วิธีดำเนินชีวิตเพื่อการปราบทุกข์จากกิเลส

วิธีดำเนินชีวิตเพื่อการปราบทุกข์จากสรีระ

      สิ่งแรกที่จะต้องทำคือ ความดีสากล ๕ ประการ เพื่อเราจะได้รักษาศีล ๔ ข้อแรกในศีล ๕ ไว้ได้ เพราะความดีสากล ๕ ประการนั้น สะอาด ทำให้ไม่ต้องฆ่า ระเบียบ ทำให้ไม่ต้องลัก สุภาพ ทำให้ไม่ประพฤติผิดในกามตรงเวลา ทำให้ไม่พูดเท็จ แล้วก็ฝึก สมาธิทำให้มีกำลังใจที่จะทำความดีสากลให้ต่อเนื่องสม่ำเสมอ

      ผู้ที่ฝึกทำการงานตามความดีสากลอย่างนี้ ในที่สุดจะทำงานบ้านทุกอย่างได้จะเป็นผู้มีทั้งสติ ปัญญา ความรู้ ความสามารถมีความพร้อมที่จะอุปการะพี่ ๆ น้อง ๆ ได้ หรือตั้งแต่เล็กก็สามารถเป็นกำลังของครอบครัวได้

      แม้แต่บุคคลที่เป็นคนดีมีประโยชน์ต่อโลกอย่างมิตรแท้ประเภทมิตรมีอุปการะ ก็ได้รับการบ่มเพาะจากวิธีนี้ คือ ความดีสากล ๕ ประการ เช่นกัน

      นอกจากนี้ยังมีเรื่องการใช้ทรัพย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้แบ่งทรัพย์ออกเป็น ๔ ส่วน โดยให้นำทรัพย์ ๑ ใน ๔ ส่วนนั้นแบ่งไว้ใช้ดูแลสุขภาพคือปราบทุกข์จากสรีระโดยทำควบคู่ไปกับการทำความดีสากล ๕ ประการ

วิธีดำเนินชีวิตเพื่อการปราบทุกข์จากการอยู่ร่วมกัน

      การอยู่ร่วมกับบุคคลที่แวดล้อมใกล้ชิดไม่ว่าจะเป็นบุคคลในทิศใดจากทิศ ๖ เราก็ต้องทำความดีสากล ๕ ประการกับท่านเหล่านั้นด้วย คือทำความดีกับทุก ๆ คน

       ในขณะเดียวกัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้นำทรัพย์อีก ๒ ส่วน จากในทั้งหมด ๔ ส่วนนั้น มาใช้เพื่อการประกอบอาชีพและการผูกมิตร เพื่อปราบทุกข์จากการอยู่ร่วมกัน

      การผูกมิตรในที่นี้ก็คือ การใช้ทรัพย์เพื่อดูแลบุคคลใกล้ชิดทั้งในครอบครัวและในสังคมใครเดือดร้อนก็ช่วยกันไป การช่วยเหลือกันไปมาเช่นนี้ทำให้การอยู่ร่วมกันมีประโยชน์สุขเกิดขึ้น ลดความเดือดร้อนจากการกระทบกระทั่งของผู้ที่อยู่ร่วมกัน จากตรงนี้น้ำใจของมิตรแท้ผู้ร่วมทุกข์ร่วมสุขก็ถูกบ่มเพาะขึ้นมา

วิธีดำเนินชีวิตเพื่อการปราบทุกข์จากการประกอบอาชีพ

      ในการทำงานอาชีพ บุคคลที่แวดล้อมขยายวงกว้างมากขึ้น เพิ่มจำนวนอย่างมากมายมีทั้งเจ้านาย มีทั้งลูกน้อง บุคคลทั้งหมดที่เราเกี่ยวข้อง เราก็ต้องปฏิบัติความดีสากลต่อทุกคน

    ยิ่งต้องดูแลลูกน้อง เราก็จะได้เรียนรู้ประสบการณ์อะไรอีกสารพัด ที่บังคับให้เราต้องเพิ่มพูนความรู้ความสามารถและคุณธรรมจึงจะสามารถดูแลแนะนำลูกน้องให้ทำงานสำเร็จเรียบร้อยได้ การงานเหล่านี้ได้บ่มเพาะให้คุณสมบัติมิตรแท้ผู้แนะนำประโยชน์เกิดขึ้น

วิธีดำเนินชีวิตเพื่อการปราบทุกข์จากกิเลส

       กิจในการกำจัดกิเลส เช่น จัดเวลาสวดมนต์ก่อนนอน พอใจเป็นกลางเราจะพบว่าในวันนี้ที่เราทำงานมาทั้งวันเกิดอะไรขึ้นบ้างเราทำอะไรที่ผิดพลาดลงไปบ้างหรือไม่ ไปสะดุดใครเขาบ้างหรือไม่ วันรุ่งขึ้นจะได้ปรับความเข้าใจขอโทษกันไป เมื่อทำอย่างนี้เราจะไม่ก่อศัตรูและยังลดทิฐิมานะไปได้อีกด้วย หรือวันนี้ทำงานประสบผลสำเร็จ ก็จะได้สำรวจตรวจตราดูให้รู้แน่แก่ใจ ว่าที่เราทำสำเร็จมาได้ เพราะได้รับการสนับสนุนจากใครบ้าง เพราะการที่จะทำอะไรสำเร็จลำพังคนเดียวนั้นไม่มีหรอกจะต้องมีมือสนับสนุน เมื่อสำเร็จแล้วต้องขอบคุณ นึกถึงผู้สนับสนุนเราให้ดี วันหน้าจะได้พึ่งพากันต่อไปอีก ความดีสากลที่เราประพฤติเพื่อการนี้ ได้บ่มเพาะตัวเราให้เป็นมิตรแท้มีใจรักใคร่    

      นอกจากนั้น ทรัพย์ที่ยังเหลืออีก ๑ ส่วนจาก ๔ ส่วน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้แบ่งออกมาเก็บไว้ใช้ยามอันตราย

อันตรายมี ๒ ประเภท


      ประเภทที่ ๑ อันตรายในวัฏสงสาร


      พระพุทธองค์ทรงสอนให้นำทรัพย์ส่วนนี้ออกมาทำบุญ ซึ่งเป็นการฝากทรัพย์ไว้ในพระพุทธศาสนา เป็นการสั่งสมเสบียงบุญให้ติดตามตัวไปข้ามภพข้ามชาติ เพราะเข้าใจภัยในวัฏสงสาร

       ประเภทที่ ๒ อันตรายในชีวิตของผู้อื่น

    พระพุทธองค์ทรงสอนให้นำทรัพย์ส่วนนี้ออกไปสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์ที่ประสบเหตุเภทภัยตกทุกข์ได้ยากในช่วงสถานการณ์ไม่ปกตินอกจากนั้นในช่วงสถานการณ์ปกติ ก็นำทรัพย์ส่วนนี้ออกแบ่งปันในสังคม เช่น การจ่ายภาษีก็จัดเป็นการใช้ทรัพย์ในส่วนนี้ด้วย

      มีข้อคิดประการหนึ่งที่สำคัญในการดำเนินชีวิต มีความจริงอยู่ว่า มนุษย์เราอยู่กันเป็นสังคม เราอยู่ตามลำพังโดยไม่สนใจทุกข์ร้อนของใครไม่ได้ วันหนึ่งเราจะต้องมีเหตุให้จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกัน เพราะแต่ละคนล้วนมีปัญหาทุกข์ ๔ ด้วยกันหมดทั้งสิ้น ต่างกันแค่มากหรือน้อยกว่ากันเท่านั้น

       จริงอยู่ว่า เราอาจจะแก้ปัญหาทุกข์ ๔ ของเราได้ลงตัวระดับหนึ่งแล้ว ขณะที่เพื่อน ๆ อีกหลายคนยังแก้ไขไม่ได้ สมมุติว่าเราแกล้งทำมองไม่เห็น คิดว่าธุระไม่ใช่ แต่เชื่อไหมว่าผ่านไปอีกสักระยะ ความเดือดร้อนของเพื่อนคนนั้นมีสิทธิ์จะลุกลามมาหาเรา เช่น เขาอาจจะมาขอกู้เงินบ้าง เขาอาจจะไปทำอาชีพที่ผิดกฎหมายบ้าง เขาอาจจะไปคบหาคนพาลบ้าง เพียงแค่นี้สังคมรอบตัวเราก็จะเกิดปัญหาการอยู่ร่วมกันขึ้นมาทันที

       ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนว่า เราทำความดีคนเดียวไม่ได้ ต้องชักชวนผู้อื่นทำความดีด้วย แต่เวลาเราจะชักชวนผู้อื่นทำความดี สิ่งที่ต้องมีคือหลักธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจ นั่นคือ สังคหวัตถุ ๔ เพราะถ้าไม่มีหลักธรรมนี้ ถึงเราจะลงทุนลงแรง คือ ให้เวลา ให้ทรัพย์สมบัติ ให้ความรู้ความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาทุกข์ ๔ ของบุคคลรอบตัวไปมากเท่าไร ก็จะไม่ประสบความสำเร็จในการรักษามิตรแท้ในทิศทั้ง ๖ ไว้ได้เลย เพราะเราช่วยเหลือคน แต่ยึดเหนี่ยวน้ำใจคนไม่เป็นนั่นเอง

        สังคหวัตถุ ๔ ประกอบด้วย ๑. ทาน ๒. ปิยวาจา ๓. อัตถจริยา ๔. สมานัตตตา

ทาน แก้ปัญหาทุกข์ในสรีระ

      ทุกข์ในสรีระ คือ สภาวะที่มนุษย์ประสบกับความหนาว ร้อน หิว กระหาย อุจจาระปัสสาวะ อยู่เป็นประจำ เพราะมนุษย์ขาดแคลนธาตุ ๔ ขาดแคลนปัจจัย ๔ ตลอดชีวิต จึงมีกิจที่จะต้องแสวงหาปัจจัย ๔ เหล่านี้ ในยามที่ขาดแคลนแสวงหาไม่ได้ ยามนั้นหากมีใครยื่นมือยื่นน้ำใจส่งมอบปัจจัย ๔ ที่กำลังขาดแคลนมาให้ มนุษย์จะมีความชื่นใจเกิดขึ้น ทาน คือการให้ จึงมีความสำคัญและยึดเหนี่ยวน้ำใจกันไว้เช่นนี้

ปิยวาจา แก้ปัญหาทุกข์จากการอยู่ร่วมกัน

     ทุกข์จากการอยู่ร่วมกันที่ต้องระมัดระวังการกระทบกระทั่งกันไว้ตลอด และการกระทบกระทั่งที่เกิดขึ้นได้ง่าย และได้มากที่สุดก็เกิดจากคำพูดที่พลั้งเผลอไม่ถนอมน้ำใจกันนี่เอง ดังนั้นปิยวาจา คือ คำพูดที่ทำให้รักกัน ถนอมน้ำใจกัน จึงเป็นกาวใจที่รักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันไว้ได้ และเป็น สิ่งที่ต้องการในการอยู่ร่วมกัน

อัตถจริยา แก้ปัญหาทุกข์จากการประกอบอาชีพ

     ทุกข์จากการประกอบอาชีพ ในการแสวงหาทรัพย์สินเงินทองเพื่อการเลี้ยงชีพนั้นหากยังมีเรี่ยวแรงกำลังกายอยู่ ทุกคนทำงานเองได้ หาเงินได้ แต่อาจจะติดขัดตรงที่ความรู้ความสามารถไม่ถึงหรือไม่มี จากตรงนี้หากผู้รู้มากกว่าจะช่วยทำประโยชน์ให้ด้วยการชี้แนะแนวทาง สอนวิธีการให้ ถ่ายทอดวิชาให้ ก็จะเป็นการช่วยเหลือสนับสนุนให้เขาสามารถประกอบอาชีพด้วยตนเอง อัตถจริยา คือ การประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น จึงเป็นธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจกันในทิศ ๖ ในลักษณะนี้

สมานัตตตา แก้ปัญหาทุกข์จากกิเลสบีบคั้น

      ทุกข์จากกิเลสที่บีบคั้นใจให้มีพฤติกรรมมีนิสัยไม่ดีต่าง ๆ เราก็อยากจะแก้ไข บางทีเราไม่ทราบด้วยว่านิสัยนี้ไม่ดี การจะแก้ไขข้อบกพร่องได้ก็ต้องอาศัยการชี้บอกจากคนใกล้ชิดในทิศ ๖ ที่เรามีความไว้วางใจ ความเป็นกันเอง ที่เชื่อใจได้ว่าที่เขาพูดออกมา      เพราะเขามีความปรารถนาดีกับเราจริง ความมั่นใจเชื่อใจในตัวบุคคลเกิดจากความประพฤติตนอันสม่ำเสมอของคน ๆ นั้น ได้แก่ธรรมที่เรียกว่า สมานัตตตา

      เพราะเหตุนี้ สังคหวัตถุ ๔ จึงเป็นคุณธรรมที่จำเป็นสำหรับวิธีดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง นั่นก็เพราะทุกข์จากกิเลสในตัวมนุษย์นี้เอง ที่บังคับให้มนุษย์ต้องประสบทุกข์อีก ๓ ประการ การฝึกตนเพื่อแก้ไขทุกข์ ๔ ของตัวเองไปด้วย การปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยสังคหวัตถุ ๔ ไปด้วย ก็จะทำให้เราเกิดบรรยากาศฝึกตัวไปด้วยกัน ทำดีไปด้วยกัน ซึ่งจะเกิดเป็นวิถีชีวิตที่ดีงาม สังคมที่อยู่ตรงนั้นก็จะกลายเป็นสังคมที่น่าอยู่นั่นเองดังนั้น เมื่อเราเข้าใจภาพรวมแนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องเช่นนี้ เราก็เริ่มต้นด้วยการประพฤติตามความดีสากล ๕ ประการ พร้อมกับปฏิบัติสังคหวัตถุ ๔ ไปด้วย เราก็จะประสบความสำเร็จในการฝึกตนเอง และช่วยเหลือสนับสนุนให้คนในครอบครัว ในที่ทำงาน ในสังคมของเราแก้ทุกข์ ๔ ในตัวของเขาไปด้วยกันได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความต่อเนื่องสม่ำเสมอ ฝึกทำให้ชำนาญจึงจะส่งผลให้วิธีดำเนินชีวิตที่ถูกต้องนี้ประสบผลสำเร็จในการดูแลรักษาชีวิตและพัฒนาชีวิตต่อไปได้




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ทำอย่างไรจึงจะไม่ท้อไม่เหนื่อยในการทำงาน
      สาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมากขึ้น
      หลักการขยายกิจการให้เจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
      คำสอนของวัดพระธรรมกายถูกต้องตามแนวทางคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาหรือไม่
      อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้สังคมแตกแยก
      การสวดมนต์ให้พรของพระสงฆ์มีส่วนช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนาอย่างไร
      ทำไม ? จีวรต้องเป็นสีเหลือง
      เราจะพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ?
      เราจะปลูกฝังให้ลูกหลานทำหน้าที่ชาวพุทธให้สมบูรณ์ได้อย่างไร ?
      เราควรจะเลือกทำงานด้วยทัศนคติอย่างไรที่จะส่งผลให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง
      การเกิดขึ้นของนิสัยดี นิสัยชั่วมีที่มาอย่างไร
      การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจให้เหมาะสมแก่การฝึกสมาธิและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงธรรม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related