ความเป็นมาของอุโบสถ

ความเป็นมาของอุโบสถ https://dmc.tv/a24939

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 10 มิ.ย. 2562 ] - [ ผู้อ่าน : 18293 ]
 
ความเป็นมาของอุโบสถ

โดย พระมหาทศพร ปุญฺญงฺกุโร
 

 
     อุโบสถเป็นสถานที่สำคัญที่มากที่พระพุทธเจ้าทรงประทานพุทธานุญาตใช้ประกอบสังฆกรรมต่างๆ คณะสงฆ์สามารถปกครองด้วยคณะสงฆ์ได้ตามพระวินัย ก็อาศัยอุโบสถเป็นสถานที่ในการทำสังฆกรรมต่างๆ เช่น การอุปสมบทพระภิกษุ ทบทวนพระปาฏิโมกข์ การประชุมลงความเห็นกันในเรื่องต่างๆ ฯลฯ อุโบสถจึงมีความสำคัญมาก

     ความเป็นมาในสมัยต้นพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาและมีผู้มาขอบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสาวกจำนวนยังไม่มากนัก คือ หลังจากที่ไปโปรด ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 โปรดยสะกุลบุตรและสหาย อีก 55 รวมมีพระอรหันต์ 60 รูปในเวลานั้น ซึ่งพระอรหันต์ทุกรูปก็ล้วนได้รับการประธานการบวชจากพระพุทธองค์แบบ “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” ทั้งสิ้น 

 
     ต่อมาเพื่อเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพระธรรมคำสอน พระพุทธองค์ทรงมีพระประสงค์ให้พระภิกษุสงฆ์สาวกเหล่านั้น กระจายกันออกจาริกไปยังทิศต่างๆ "เธอจงไปคนเดียวหลายๆ ทาง อย่าไปทางเดียวหลายๆ คน สัตว์โลกผู้มีธุลีในดวงตาน้อย ผู้จักอาจรู้ทั่วถึงธรรมนั้นมีอยู่ เขาเหล่านั้นย่อมเสื่อมจากคุณที่พึงได้พึงเห็น เพราะเหตุที่ไม่ได้ฟังธรรม" จึงทำให้ผู้ที่ได้ฟังพระธรรมนั้นมีความเลื่อมใสศรัทธาและประสงค์ที่จะขออุปสมบทบรรพชาเป็นสาวกมากขึ้น 

     พระภิกษุสงฆ์สาวกเหล่านั้นก็จะนำกุลบุตรที่จะขออุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา มาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อประทานการอุปสมบทบรรพชาให้กุลบุตรนั้น ซึ่งพระภิกษุสงฆ์สาวกก็ได้ออกจาริกเผยแผ่พระธรรมคำสอนและพระพุทธศาสนาไปยังดินแดนต่างๆ นั้นต่างก็อยู่ห่างไกลจากที่พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ ทำให้การเดินทางกลับมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์เป็นไปด้วยความยากลำบาก เมื่อเป็นดังนี้ พระพุทธองค์ทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุสงฆ์สาวกเหล่านั้นทำการอุปสมบทแบบ "ติสรณคมนูปสัมปทา" คือการขอถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่ง  ทำให้ไม่สร้างความยุ่งยากลำบากที่จะมาจะขออุปสมบทจากพระพุทธองค์

    ต่อมาสมัยนั้นพระเจ้าพิมพิสารมหาราชแห่งแคว้นมคธ มีจิตศรัทธาถวายพื้นที่สวนไผ่ของราชวงศ์ให้เป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา ชื่อ "วัดเวฬุวัน" ให้พระภิกษุสงฆ์โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้เป็นที่พักอาศัย ซึ่งเป็นวัดป่าไผ่ตามธรรมชาติ ยังไม่มีรั้ววัดยังไม่มีเขตกั้นที่ชัดเจน 

     เวลาต่อมาพระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าพิมพิสารกราบทูล ขอให้พระภิกษุสงฆ์ ประชุมกันสวดพระปาฏิโมกข์ ทรงมีพุทธานุญาตให้ พระภิกษุสงฆ์ประชุมกันสวดพระปาฏิโมกข์ ได้ทุกวัน 14 ค่ำ, 15 ค่ำ, และ 8 ค่ำ แห่งปักษ์ 

     ทรงมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุสงฆ์สวดทบทวนพระปาฏิโมกข์เฉพาะในวันอุโบสถ  คือปักษ์ละ 1 ครั้ง  และรับสั่งให้ทำอุโบสถโดยพร้อมเพรียงกัน คือไม่ให้แยกกันทำอุโบสถ รับสั่งให้ใช้อาวาสเดียวกันเพื่อเป็นเขตสามัคคีของสงฆ์

     พระภิกษุจึงเกิดความสงฆ์สงสัยว่า อาวาสเดียวกันนั้น กำหนดอย่างไร จึงทรงมีพุทธานุญาตให้สมมติ คือประกาศสีมา (เขตแดน) โดยกำหนดภูเขา, ก้อนหิน, ป่าไม้, ต้นไม้, หนทาง, จอมปลวก, แม่น้ำหรือแอ่งน้ำ เป็นเครื่องหมาย "นิมิต"

     ซึ่งการกำหนดหมายเอาวัตถุบางอย่าง เป็นเครื่องหมายเพื่อกำหนดเขตแดนขึ้น เรียกว่า การผูกสีมา (พัทธสีมา) ที่แปล ว่า “เขตแดน” ซึ่งเป็นนิมิตเพื่อใช้กำหนดเขตการทำสังฆกรรม
 
     ซึ่งช่วงแรกนิมิตเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่นใช้ต้นไม้เป็นเขตกำหนด ทำให้กำหนดสถานที่ประชุมสงฆ์ทำได้ยากและมักคลาดเคลื่อน เพราะต้นไม้นั้นล้มตายลง หรือหักโค่นจนตายไป ก็ทำให้เขตที่อาศัยต้นไม้นั้นเป็นสัญลักษณ์ก็จะคลาดเคลื่อนไป

 
     ปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนากำหนดนิมิตขึ้นใหม่อีกประเภทหนึ่งขึ้นแทน คือ เป็นนิมิตที่จัดสร้างหรือทำขึ้น เช่น การขุดบ่อน้ำ คูน้ำ สระน้ำ และก้อนหิน และที่นิยมกันมากก็คือ ก้อนหินกลมๆ ที่เราเรียก ลูกนิมิต สมัยนี้เทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้นจึงได้มีการประดิษฐ์เจียรก้อนหินให้เป็นลูกกลมๆ อย่างที่วัดเรานิยมก็มักใช้ ดวงแก้วจุยเจีย เป็นนิมิตในการกำหนดเขตอาวาส
 
     เนื่องจากการกำหนดเขตอาวาสนั้นมีภิกษุฉัพพัคคีย์ พากันกำหนดเขตใหญ่เกินไปบ้าง 5 โยชน์ 6 โยชน์บ้าง (เกือบ 100 กิโลเมตร) จึงมีรับสั่งให้สามารถกำหนดเขตอาวาสได้เพียง 3 โยชน์เท่านั้น แต่กระนั้นก็ยังเป็นเขตที่ใหญ่อยู่ดีภิกษุทั้งหลายก็ได้สวดปาฏิโมกข์ตามบริเวณต่าง ไม่มีที่สังเกต ภิกษุที่เป็นอาคันตุกะ (ผู้มาจากที่อื่น) ไม่รู้ว่าทำอุโบสถกันที่ไหน จึงทรงอนุญาตให้สมมติโรงอุโบสถทำอุโบสถ จะเป็นวิหาร เพิง ปราสาท หรือจะเป็นถ้ำ ก็ได้

     ในเวลาต่อมา ภิกษุทั้งหลายสมมติโรงอุโบสถ 2 แห่งในอาวาสเดียวกัน ตรัสห้ามและตรัสแนะให้สวดถอนโรงอุโบสถเสีย 1 หลัง จึงมีพุทธานุญาติให้คงใช้เพียงหลังเดียว นั่นก็เพื่อความสามัคคีแห่งหมู่สงฆ์

 
    อุโบสถเป็นสถานที่ที่สำคัญมาก เพราะเป็นที่ที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้ทบทวนพระปาฏิโมกข์ ได้สนทนาธรรม เวลามีเหตุอะไรเกิดขึ้นในคณะสงฆ์ พระภิกษุสงฆ์ก็จะประชุมกันที่อุโบสถ เพื่อร่วมกันแก้ไขเหตุต่างๆ อุโบสถยังเป็นสถานที่แสดงธรรม สถานที่บรรพชาสามเณร อุปสมบทพระภิกษุ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม กรานกฐิน อธิษฐานเข้าพรรษา ปวารณาออกพรรษา ฯลฯ คือเป็นสถานที่ที่ทำให้คณะสงฆ์เกิดความสามัคคีแห่งและความบริสุทธิ์ของสงฆ์

     การที่บุคคลใดได้มีโอกาสร่วมสร้างโบสถ์ ซึ่งวัดๆ หนึ่งมีได้เพียง 1 อุโบสถเท่านั้น ดังนั้นโอกาสที่จะได้สร้างโบสถ์ไม่ใช่หาได้ง่ายๆ วัดๆ หนึ่งมีโอกาสสร้างอุโบสถได้ 1 หลัง ในชีวิตของเราจะมีโอกาสร่วมสร้างอุโบสถได้สักกี่หลัง

 
     ณ ช่วงนี้เป็นโอกาสดีของทุกท่าน ที่จะได้ร่วมกันสถาปนาอุโบสถวัดพระธรรมกาย ซึ่งจะมี พิธีผูกสีมาและประดิษฐานลูกนิมิต จำนวน 108 ลูก ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2562 จึงขอเรียนเชิญทุกท่านมาร่วมกันสร้างบุญใหญ่นี้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-831-1000 www.dmc.tv
 
 
 
 
 
 
 
 




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related