ประเพณียี่เป็ง 2559 ยี่เป็งสันทรายถวายพุทธบูชา รวมภาพงานลอยโคมยี่เป็งเชียงใหม่

ประเพณียี่เป็ง 2559 ลอยโคมยี่เป็ง (งานบุญยี่เป็ง แม่โจ้) ทอดกฐินธุดงคสถานล้านนา https://dmc.tv/a5706

บทความธรรมะ Dhamma Articles > เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
[ 29 ต.ค. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18478 ]

ประเพณียี่เป็ง 2559

ยี่เป็ง งานลอยโคมบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ประเพณียี่เป็ง 2559 ยี่เป็งสันทรายถวายพุทธบูชา
รวมภาพงานลอยโคมยี่เป็งเชียงใหม่
ทอดกฐินธุดงคสถานล้านนาและประเพณียี่เป็ง วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559
Yeepeng Lanna International 2016 (Nov 14, 2016)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ธุดงคสถานล้านนา โทรศัพท์ 053-353174
 
กำหนดการทอดกฐินล้านนาสามัคคี สร้างทุกสิ่งถวายเป็ยพุทธบูชา วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ณ ธุดงคสถานล้านนา

13.00 น. ลงทะเบียนเจ้าภาพ
14.00 น. ตั้งริ้วขบวนอัญเชิญผ้ากฐิน
14.30 น. พิธีทอดกฐิน
18.30 น. พิธีจุดประทีปถวายพุทธบูชา (ไม่มีลอยโคม)
20.30 น. เสร็จพิธี

ประเพณียี่เป็งที่เชียงใหม่
 ประเพณียี่เป็ง ณ ธุดงคสถานล้านนา จังหวัดเชียงใหม่
 
     ประเพณียี่เป็งเป็นงานประเพณีอันยิ่งใหญ่แห่งดินแดนล้านนา ที่ได้ปฎิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล "ยี่เป็ง" หรือวันเพ็ญเดือนยี่ของชาวล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 อันเป็นช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว อากาศปลอดโปร่งท้องฟ้าแจ่มใส
 
 
ประเพณียี่เป็งสันทราย
 

 
ยี่เป็งล้านนา ลอยโคมบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 บริเวณด้านหน้าของงานประเพณียี่เป็งที่ธุดงคสถานล้านนา
 
     ธรรมเนียมปฎิบัติของชาวล้านนาอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการลอยกระทงในแม่น้ำก็คือ การจุดประทีปโคมลอยขึ้นไปสว่างไสวบนท้องฟ้า โดยมีคติความเชื่อว่า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสวรรค์
 
งานยี่เป็งจะมีพิธีทอดกฐินในช่วงบ่าย
 ในงานประเพณียี่เป็งช่วงบ่ายมีพิธีทอดกฐิน

ประเพณียี่เป็งได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ 

     กิจกรรมในงานยี่เป็งนี้จะมีพิธีทอดมหากฐินสามัคคีซึ่งจะจัดขึ้นก่อนในช่วงบ่าย และได้ร่วมกันน้อมรำลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการจุดประทีป และลอยโคมขึ้นสู่ท้องฟ้าถวายเป็นพุทธบูชา สร้างความสว่างไสว ทำลายความมืดมิดในยามราตรี ดุจดังพระสัจธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ที่สามารถขจัดความมืด ความไม่รู้ และอวิชชา ให้หมดไปจากใจของชาวโลก เหลือไว้แต่ใจที่สว่างไสวกับร้อยยิ้มอันปิติใจจากพวกเราที่จะได้ไปร่วมงานกัน
 
งานทอดกฐินที่ธุดงคสถานล้านนาในประเพณียี่เป็ง
 เส้นทางสำหรับขบวนอัญเชิญผ้ากฐินสู่ศูนย์กลางพิธี
 
งานทอดกฐินล้านนาในงานประเพณียี่เป็ง
 ศูนย์กลางพิธีทอดกฐินล้านนา
 
     ในภาษาคำเมืองของทางเหนือ “ยี่” แปลว่า สอง และคำว่า “เป็ง” หมายถึง เพ็ญ หรือพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้นจึง หมายถึงประเพณีพระจันทร์เต็มดวงในเดือนสอง โดยในพงศาวดารโยนกและจามเทวี มีบันทึกว่าครั้งหนึ่งได้เกิด อหิวาตกโรคขึ้นในแคว้นหริภุญไชย ทำให้ชาวเมืองต้องอพยพไปอยู่เมืองหงสาวดี นานถึง 6 ปี จึงจะเดินทางกลับ มายัง บ้านเมืองเดิมได้ เมื่อเวลาเวียนมาถึงวันที่จากบ้านจากเมืองไป จึงได้มีการทำกระถางใส่เครื่องสักการบูชา ธูปเทียนลอย ลอยตามน้ำ เพื่อให้ไปถึงญาติพี่น้องที่ล่วงลับไป เรียกว่า การลอยโขมด หรือลอยไฟ
 
ประเพณียี่เป็ง ณ ธุดงคสถานล้านนา จังหวัดเชียงใหม่
 ยี่เป็งสันทราย ถวายเป็นพุทธบูชา

ประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ 

     ในงานบุญยี่เป็ง ยังมีการเทศน์มหาชาติ ผู้คนจะออกมาตกแต่งบ้านเรือน วัดวาอาราม และถนนหนทาง ด้วยต้นกล้วย อ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุงช่อประทีปและชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา ยามค่ำคืนจะมีการจุดโคมลอย ปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์ จุดเด่นของงานนี้อยู่ที่การปล่อย โคมลอย ขึ้นไปในท้องฟ้า โดยเชื่อกันว่า เปลวไฟในโคมเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ และแสงสว่างที่ได้รับจากโคม จะส่งผลให้ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้อง
 
โคมประทีปที่ใช้จุดช่วงค่ำในงานยี่เป็ง
 โคมประทีปสำหรับจัดในพิธีช่วงค่ำ
 
     โคมลอย นิยมลอยกันในเทศกาลลอยกระทง ทางภาคเหนือเรียกว่าประเพณี ยี่เป็ง เป็นประเพณีลอยกระทงของชาวล้านนา ซึ่งหมายถึงวันเพ็ญเดือน 2 เป็นการนับเดือนตามจันทรคติ โดยคำว่า ยี่เป็ง เป็นภาษาเหนือ ยี่ แปลว่า สอง และคำว่า เป็ง ตรงกับคำว่า เพ็ง หรือ เพ็ญ หมายถึงพระจันทร์เต็มดวง คือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 2 นั่นเอง
   
     โคมลอย ที่คนท้องถิ่นล้านนาส่วนใหญ่เรียกติดปากว่า ว่าว สามารถแบ่งย่อยได้สองประเภท ได้แก่ โคมลอยกลางวัน (ว่าวโฮม-ว่าวควัน) กับ โคมลอยกลางคืน (ว่าวไฟ) นอกจากนี้ยังมีโคมแขวน ที่จัดเป็นโคมอีกชนิดเช่นกันเพียงแต่ใช้แขวนตามบ้านเรือนไม่ได้ใช้ลอยโดยโคมที่ใช้ลอยกลางวันนั้น จะใช้กระดาษที่มีสีสันจำนวนหลายสิบแผ่นในการทำ เพื่อให้เห็นในระยะทางไกลแม้จะอยู่บนท้องฟ้า จะมีการตกแต่งด้วยการใส่หาง หรือขณะที่ทำการปล่อยมักใส่ลูกเล่นต่างๆเข้าไปด้วย เช่น ใส่ประทัด ควันสี เครื่องบินเล็ก ตุ๊กตากระโดดร่ม เป็นต้น บางท้องที่นิยมใส่เงินลอยขึ้นไปอีกด้วย วิธีการปล่อยจะต้องใช้การรมควันให้เต็มโคม เมื่อได้ที่แล้วจึงปล่อย
 
ภาพงานยี่เป็งเชียงใหม่
 โคมยี่เป็งที่พุทธศาสนิกชนร่วมกันจุดขึ้นเพื่อบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ประเพณียี่เป็งลอยโคมที่เชียงใหม่ 

      ส่วนโคมลอย ที่ใช้ลอยกลางคืน นิยมใช้กระดาษสีขาว เนื่องจากจะโปร่งแสงเมื่อลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้วขนาดก็จะย่อมกว่าโคมลอยกลางวัน วิธีการปล่อยจะใช้เชื้อไฟ หรือขี้ไต้ จุดเพื่อให้ความร้อนส่งโคมลอยขึ้นบนฟ้า จะมีการเพิ่มเติมดอกไม้ไฟน้ำตก ดาวตก ประทัด เพื่อเพิ่มสีสันอีกด้วย กุศโลบายของการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า ก็เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์รวมทั้งเชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ ให้ประสพแต่สิ่งดีงาม สร้างความสามัคคี และที่สำคัญเป็นการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามที่สืบ
 
        งานประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ของชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อยโคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้ายๆต่างๆ ให้ไปพ้นจากตัว 
 
      การปล่อยโคมลอยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในประเพณียี่เป็ง เป็นที่รวมแห่งศรัทธาสามัคคีของชาวบ้านกับชาววัด นอกจากนี้การทำโคมลอยยังถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง หากทำไม่ถูกสัดส่วนจะปล่อยไม่ขึ้น
 
การลอยโคมยี่เป็งบุชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  ทุกคนที่มาร่วมงานยี่เป็งจะปล่อยให้โคมที่ถือไว้ลอยขึ้นท้องฟ้าพร้อมเพรียงกัน
 
      วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ ชาวบ้านจะไปทำบุญตักบาตรและฟังเทศมหาชาติ โดยเป็นการเทศน์แบบพื้นเมือง ที่พระสงฆ์จะขึ้นไป เทศน์บนธรรมมาสน์บุษบก และในตอนค่ำชาวบ้านจะนำผางผะติ๊ด (ถ้วยประทีป) มาที่วัดเพื่อบูชาพระรัตนตรัย และฟังเทศน์ และการจุดผางผะติ้ดนี้ คนล้านนาถือว่าได้บุญมาก เมื่อเสร็จจากการบูชาผางผะติ้ดก็จะเป็นการจุดโคมไฟ หรือลอยโคม และลอยโขมดหรือลอยกระทง พร้อมกับเล่นดอกไม้ไฟ

การปล่อยโคมลอยมี 2 ลักษณะด้วยกัน คือ 


      1. ปล่อยโคมลอยในตอนกลางวัน เรียกว่า ว่าว โดยทำโคมด้วยกระดาษสี แล้วให้ลอยสู่ท้องฟ้าด้วยความร้อนคล้ายบอลลูน เพื่อปล่อยทุกข์โศกและสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ไป

     2. ปล่อยโคมลอยในเวลากลางคืน เรียกว่า โคมไฟ โดยใช้ไม้พันด้ายเป็นก้อนกลม ชุบน้ำมันยางหรือน้ำมันขี้โล้แขวนปากโคม แล้วจุดไฟปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อเป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์

      สำหรับการลอยโขมดหรือการลอยกระทงของล้านนา จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ เช่นเดียวกัน ที่เรียกว่า ลอยโขมดนั้น เนื่องจากกระทงเมื่อจุดเทียนแล้วปล่อยลงน้ำ จะมีแสงสะท้อนกับเงาน้ำวับแวมดูคล้ายแสงของผีโขมด ชาวล้านนาจะลอยกระทงเล็กๆ กับครอบครัว เพื่อนฝูง ในวันขึ้น 15 ค่ำ ส่วนกระทงใหญ่ที่ร่วมกันจัดทำ นิยมลอยในวันแรม 1 ค่ำ กระทงเล็กของชาวเชียงใหม่ แต่เดิมใช้กาบมะพร้าว ที่มีลักษณะโค้งงอ เหมือนเรือเป็นกระทง แล้วนำกระดาษแก้วมาตกแต่งเป็นรูปนกวางดอกไม้ และประทีบไว้ภายใน
 
ประเพณียี่เป็ง ลอยโคมบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 นักท่องเที่ยวและช่างภาพมีเวลากดชัตเตอร์กันเพียงช่วงเวลาไม่กี่วินาทีเท่านั้นก่อนที่โคมจะลอยไปจนสุดสายตา

ประเพณีการลอยโคมยี่เป็ง 

      ประเพณีการลอยโคมยี่เป็ง ได้มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นจนมาถึงปัจจุบัน กลายเป็นกิจกรรมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้มาร่วมในประเพณีการลอยโคมยี่เป็งที่จัดขึ้นในช่วงเทศกาลลอยกระทงโดยได้รับการสนับสนุนจากทางเทศบาลนครเชียงใหม่
 
     ประเพณีการลอยกระทง และลอยโคมยี่เป็งที่จังหวัดเชียงใหม่นั้น เริ่มต้นกิจกรรมกันที่ริมแม่น้ำปิง และในบริเวณใกล้เคียง มีการจัดงานออกร้านขายของ ขายกระทง การประกวดนางนพมาศ การประกวดขบวนแห่กระทงของหน่วยงานต่าง ๆ  มากมาย พอช่วงค่ำกระทงในลำน้ำปิงก็เริ่มมากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ พร้อมกับผู้คนที่หนาแน่นขึ้น ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมของพวกเรา ก็เบียดเสียดเยียดยัดหาที่ว่างเพื่อจะไปถ่ายรูปขบวนแห่ และกระทง แต่ในช่วงนั้นเองก็เริ่มเห็นท้องฟ้า เต็มไปด้วยโคมลอยทยอยกันขึ้นมาเรื่อย ๆ จากท้องฟ้าด้านตรงข้ามไกล ๆ และไม่ขาดสาย จึงย้ายสำมะโนครัวตามหาแหล่งที่เป็นจุดกำเนิดของเจ้าพวกโคมลอยพวกนี้
 
ยี่เป็ง งานประจำจังหวัดเชียงใหม่
 การปล่อยโคมจะปล่อยเป็นชุดๆ ไปเพื่อความสวยงาม
 
      ที่ธุดงคสถานล้านนา มีการจัดงานลอยโคม “ยี่เป็งสันทรายถวาย พุทธบูชา” เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านของไทย …นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2532 เป็นต้นมา ธุดงคสถานล้านนา จ.เชียงใหม่ พร้อมด้วยอำเภอสันทราย และสถาบันการศึกษา วัด และหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน ได้ร่วมกันสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนา และประกอบพิธีจุดประทีป และโคมลอยเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
ประเพณียี่เป็ง
 ผู้มีบุญที่มาร่วมงานรอจังหวะสัญญานในการปล่อยโคมยี่เป็งโดยพร้อมเพรียงกัน
 
      ประเพณียี่เป็งของชาวล้านนา นับเป็นประเพณีที่เก่าแก่ที่ยึดถือและปฏิบัติสืบเนื่องกันมาตั้งแต่โบราณกาล วิถีชีวิตของชาวล้านนานั้น เป็นที่ประจักษ์ถึงความงดงามอ่อนช้อย และเป็นที่ประทับใจแก่ผู้ที่พบเห็น ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งความงามทั้งหมดนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา เป็นเวลายาวนานกว่า 700 ปี

ประเพณียี่เป็ง ภาพรวมงานลอยโคม

 
ประเพณียี่เป็ง ธุดงคสถานล้านนา
 ผู้ที่เดินทางมาร่วมในพิธีปล่อยโคมยี่เป็งนี้จะแต่งกายด้วยชุดสีขาว
 
     คนที่มานิยมนุ่งขาวตามแบบฉบับชาวเหนือร่วมเวียนเทียนตามหลังเหล่าพระสงฆ์ แสงเทียนในมือของเหล่าอุบาสก อุบาสิกา เหล่านั้นต่างร้อยรวมกันเป็นสายยาว เหมือนสายน้ำที่ค่อย ๆ ไหลเอื่อยรอบบริเวณปะรำพิธี จากนั้นก็ได้เวลาจุดเชิงเทียน ซึ่งทางสำนักสงฆ์ ฯ ได้นำเชิงเทียนมาปักให้แก่ผู้มาร่วมงาน เป็นพัน ๆ อัน ก่อนที่เราจะจุดโคมก็พระสงฆ์ก็จะสวดให้พร นั่งสมาธิ(Meditation) อธิษฐานขอพร และขอให้สิ่งร้าย ๆ ลอยไปกับโคมยี่เป็ง
 
ลอยโคมยี่เป็งถวายเป็นพุทธบูชา
เมื่อจุดไฟในโคมติดแล้วจะต้องถือเอาไว้จนกว่าอากาศในโคมจะเบาพอที่จะลอยขึ้น

การปล่อยโคมยี่เป็งโดยพร้อมเพรียงกันสร้างภาพที่สวยงามให้บังเกิดขึ้น

งานยี่เป็งล้านนา เชียงใหม่
 เมื่อได้สัญญาณปล่อยสาธุชนจะปล่อยโคมยี่เป็งลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าพร้อมๆ กัน
 
ยี่เป็งลอยโคมบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 การปล่อยโคมชุดต่อไปจะเริ่มหลังจากชุดแรกลอยขึ้นสู้ท้องฟ้าแล้ว
 
ประเพณียี่เป็งได้รับความสนใจจากชาวต่างประเทศเป็นอย่างมาก
 ความงดงามยามราตรีที่ทุกท่านร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
 
ลอยโคมยี่เป็งบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 ประเพณีปล่อยโคมลอยที่ธุดงคสถานล้านนาจะจัดขึ้นทุกๆ ปี เรียกว่าประเพณียี่เป็งสันทราย
 
ปล่อยโคมลอย
 “โคมลอย”  เป็นโคมขนาดใหญ่มีรูปร่างคล้ายบอลลูน ตัวโครงทำจากซีกไม้ไผ่หุ้มด้วยกระดาษสาหรือกระดาษไข
 
ประเพณียี่เป็ง ในช่วงวันลอยกระทง
 บางพื้นที่ชาวบ้านที่นับถือพระพุทธศาสนาจะร่วมกันทำโคมลอยไปถวายวัดเพื่อเป็นพุทธบูชา
 
ประเพณียี่เป็งเชียงใหม่
 กิจกรรมการปล่อยโคมจัดขึ้นบริเวณลานกิจกรรมธุดงคสถานล้านนา
 
 
 

ดู ธุดงคสถานล้านนา เชียงใหม่ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า
     
แผนที่เดินทางสู่งานประเพณียี่เป็งของธุดงคสถานล้านนา สามารถคลิกที่ภาพเพื่อชมแผนที่เพิ่มเติม
 

รายการวิดีโอที่เกี่ยวข้อง

สปอต
 
 
บทความที่เกี่ยวข้องกับยี่เป็ง ประเพณียี่เป็ง รวมภาพงานลอยโคมยี่เป็งเชียงใหม่
 


http://goo.gl/EgDKJ


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      เพลงวันสงกรานต์
      สารมุทิตา จากคณะกรรมการที่ปรึกษา มูลนิธิมาลาลา เซเกรา ศรีลังกา เนื่องในวาระอายุวัฒนมงคล 80 ปี หลวงพ่อธัมมชโย
      สารมุทิตา จากประธานสหพันธ์พุทธนานาชาติ อินเดีย เนื่องในวาระอายุวัฒนมงคล 80 ปี หลวงพ่อธัมมชโย
      สารมุทิตา จากสมเด็จสังฆนายกบังคลาเทศ องค์ที่ 29 แห่งบังคลาเทศ เนื่องในวาระอายุวัฒนมงคล 80 ปี หลวงพ่อธัมมชโย
      สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง ประกาศผลสอบบาลีสนามหลวง ประจำปี 2567
      คำขวัญวันเด็ก 2567 รวมคำขวัญวันเด็กทุกปี
      โอวาทหลวงพ่อธัมมชโย เนื่องในวันเข้าพรรษา
      พระประวัติ "สมเด็จพระสังฆราช” องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      โทษภัยของบุหรี่ ทำไมต้องมีกิจกรรมเทเหล้าเผาบุหรี่
      วัดพระธรรมกาย เชิญชวนประชาชน ร่วมสวดธรรมจักร ถวายพระกุศลแด่สมเด็จพระสังฆราช ในเวลา 19.00 น. พร้อมกันทั่วโลก
      โครงการธัมมจักกัปปวัตตนสูตร [ประวัติความเป็นมาของโครงการ]
      วันสงกรานต์ 2567 ประเพณีวันสงกรานต์ ประวัติความเป็นมาวันสงกรานต์
      สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง ประกาศผลสอบบาลีสนามหลวง ประจำปี 2566