มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ยิ่งให้ยิ่งได้เพิ่ม
สิริ คือ ที่มานอนแห่งโภคทรัพย์สมบัติ ใครมีสิริอยู่ในตัว ย่อมจะเป็นที่มานอนแห่งโภคทรัพย์สมบัติทุกอย่าง เป็นผู้ที่มีเสน่ห์ดึงดูดตาดึงดูดใจของผู้ได้พบเห็น ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเกิดจากการประกอบเหตุไว้ดี คือ เป็นผู้ที่สั่งสมบุญกุศลไว้มาก เป็นผู้ที่รักในการฝึกฝนอบรมตนเองอยู่เป็นนิตย์ ด้วยการหมั่นรักษาศีล ชำระกาย วาจา ใจให้บริสุทธิ์
ประวัติการทอดผ้าป่า
“หมอชีวกโกมารภัจจ์” แพทย์ประจำพระองค์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เล็งเห็นความยากลำบากของพระภิกษุที่ต้องไปแสวงหาผ้าที่พวกชาวบ้านทิ้งไว้ตามกองขยะหรือนำเอาผ้าทีห่อศพมาทำความสะอาด
เรือนที่มุงไม่เรียบร้อย
เรือนที่มุงไม่เรียบร้อย ฝนย่อมไหลย้อยเข้าได้ ใจที่ไม่อบรมฝึกหัด ราคะกำหนัดย่อมครอบงำ
เรือนที่มุงไม่เรียบร้อย ฝนย่อมไหลย้อยเข้าได้
จิต
คำว่า " จิต " ตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึง สภาพรู้ อาการรู้ลักษณะรู้แจ้งอารมณ์ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ และคำว่า จิตนี้ยังมีชื่อที่ใช้แทนคำว่าจิตในบางแห่งอีกมาก เช่น ใจ มโน มานัส ปัณฑระ หทัย วิญญาณวิญญาณขันธ์ มนายตนะ เป็นต้น ในชีวิตประจำวันของเรา จะทราบได้ว่าผู้ที่ยังไม่ตายมีชีวิตอยู่ เป็นผู้มีจิตเกิดดับต่อเนื่องไปจนกว่าจะตาย ฉะนั้น จิตคือ สภาพรู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
อิทธิบาท4 ทางดำเนินไปสู่ความสำเร็จ
อิทธิบาทก็คือ “ทางดำเนินไปสู่ความสำเร็จ”ซึ่งประกอบด้วยหมวดธรรม 4 ข้อ คือ 1. ฉันทะ คือ เต็มใจทำ 2. วิริยะ คือ แข็งใจทำ 3. จิตตะ คือ ตั้งใจทำ 4. วิมังสา คือ เข้าใจทำ
การควบคุมจิตด้วยปัญญา
ถ้าเรามีจิตไม่ถูกปรุงแต่ง ก็เรียกว่า เรามีจิตเป็นพุทธะขึ้นมา เป็นผู้รู้ขึ้นมาทันที รู้อะไรถูกต้องขึ้นมาแล้วก็เป็นตัวเองอย่างแท้จริง สภาพมันอยู่คงที่หน้าตาของมันดั้งเดิม ของมันปรากฏอยู่อย่างนั้น ไม่ถูกฉาบไปด้วยกิเลส เรียกว่า ไม่ถูกปรุงแต่ง สภาพจิตมันเป็นอย่างนั้น...
มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - ยิ่งให้สมบัติใหญ่ยิ่งไหลมา
เมื่อให้ทาน สละทรัพย์ออกจากใจ ความตระหนี่ซึ่งเป็นวิบัติก็หลุดร่อนออกไปด้วย เมื่อวิบัติหลุดออกไป สิริสมบัติก็หลั่งไหลเข้ามาแทน บุญที่เกิดจากการให้ทานและเอาชนะความตระหนี่ในใจได้นี้ ไปดึงดูดสมบัติใหญ่มา ทำให้ได้สมปรารถนาในสิ่งที่ต้องการ ได้ทั้งโลกิยทรัพย์และอริยทรัพย์ ดังเรื่องของหญิงชราท่านหนึ่ง ที่ตัดใจให้ทานเอาชนะใจตนเองได้ โดยสละทรัพย์ที่หามาด้วยความยากลำบากออกให้ทาน
มงคลที่ ๑๘ ทำงานไม่มีโทษ - อามิสสุข นิรามิสสุข
เราต้องรู้จักเลือกประกอบแต่สัมมาอาชีวะ ให้ธุรกิจกับจิตใจไปด้วยกัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถึงมิจฉาอาชีวะ ที่ไม่ควรประกอบไว้ ๕ อย่าง คือ ค้าอาวุธ ค้ามนุษย์ ค้ายาพิษ ค้าสุรายาเสพติด และค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่า นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงอาชีพที่ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และไม่ผิดศีลผิดธรรมด้วย
เมณฑกเศรษฐีผู้ใจบุญ (๗)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ผลแห่งการจำแนกทานเหมือนอย่างที่เรารู้ไซร้ สัตว์ทั้งหลายยังไม่ให้แล้วจะไม่พึงบริโภค อนึ่ง ความตระหนี่อันเป็นมลทินจะไม่พึงครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ผลแห่งการจำแนกทานเหมือนอย่างที่เรารู้ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงไม่ให้ แล้วบริโภคเสียเอง อนึ่ง ความตระหนี่อันเป็นมลทินจึงยังครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น