ไปที่เนื้อหา


เนื้อหาจาก usr31058

ค้นพบทั้งสิ้น 2 รายการโดย usr31058 (จำกัดการค้นหาจาก 13-August 23)


#160048 รูป นาม วิญญาณกับจักรวาลวิทยา

โพสต์เมื่อ โดย usr31058 บน 15 September 2009 - 04:11 PM ใน วิทยาศาสตร์ทางใจ


*การดำเนินไปของกระบวนการสัจธรรม (กระบวนการวัฎสงสาร)*
กระบวนการวัฏสงสาร (กงกำกงเกวียน, กระบวนการทางธรรมชาติ หรือ กระบวนการสัจธรรม)เป็นกระบวนการดำเนินไปของสรรพสิ่งทั้งในโลก และนอกโลก (ระบบจักรวาล)
(ธรรมมะ หรือ ธรรมชาติ)
1.มี พลังงาน(ธาตุ)ทั้ง 5 (ดิน,น้ำ,ลม,ไฟ,จิต(คลื่นไฟฟ้า) เป็นสารตั้งต้น
2.มี ขันธ์ 5 (รูป,เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ) เป็นตัวเร่งกระบวนการ ,กิเลศ เป็นตัวเสริม
3.มี กฎทาง คณิต,ฟิสิกส์,เคมี,ชีวะ เป็นกฎควบคุมการดำเนินกระบวนการให้ทั้ง 4 ข้อ ดำเนินไปภายใต้กฎนี้
4. มีกรรม(การกระทำ,ทั้งกรรมเก่าและกรรมใหม่) เป็นตัวกำหนดขั้นตอนและแผนงานในการดำเนินกระบวนการทั้งหมด
เมื่อข้อ 1- 4 เริ่มดำเนินกระบวนการ จะไม่มีคำว่า “ปาฎิหาริย์” หรือ “อภินิหาร” สิ่งเหนือธรรมชาติดังที่เราเชื่อและสอนกันมา มาอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น
ทุกครั้งเมื่อมีสิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้น จะมีเหตุมาจาก ข้อ 1-4 ทั้งสิ้น เรามักจะอ้างทุกครั้งที่เราไม่รู้ หรือไม่สามารถหาคำตอบให้กับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นคือปาฎิหาริย์บ้าง,อภินิหารบ้าง,สิ่งศักดิ์สิทธิ์บ้าง มาเป็นคำตอบให้กับสิ่งนั้น
เพราะมี อวิชชา(ความไม่รู้) มาครอบงำจิตเรา(จิต คือความรู้สึกที่สามารถรับรู้ผ่านทาง “อายตนะ” เป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ 5(วิญญาณ) ประกอบด้วย ความรับรู้ ทาง ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ
ยกตัวอย่าง ความไม่รู้ทางตา เช่น เมื่อเราดูนักมายากล เล่นกล เสกโน้นหาย,เสกสิ่งนั้นให้เกิดขึ้น ทำเหรียญหายไป เสกดอกไม้ในมือ ล้วนแต่ไม่ใช่เรื่องปาฎิหาริย์ หรือนักมายากลมีอิทธิฤทธิ์แต่ประการใด ถ้าเราศึกษาเราจะรู้วิธีการของมัน แต่ถ้าเมื่อใดเราไม่รู้(อวิชชาครอบงำ) มันจะบอกเราว่าสิ่งที่นักมายากลทำนั้นคือปาฎิหาริย์ นั่นเอง
อย่ามัวแต่หาคำตอบว่า พระพุทธเจ้ามีตัวตนจริงหรือไม่ สร้างปาฎิหาริย์อะไรบ้าง มีอิทธิฤทธิ์จริงหรือเปล่า แต่ควรมุ่งหาคำตอบว่า คำสอนที่บอกกล่าวมานั้น มันเป็นความจริง พิสูจน์แล้วเห็นจริง หรือมีอยู่จริง ตามที่บอก ที่ สอนมาหรือไม่มากกว่า
ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาเดียวที่สอนให้เห็นแจ้งรู้จริง,เข้าใจ,และรู้วิธีจัดระบบการจัดการเกี่ยวกับกระบวนการวัตตะสงสารที่ดำเนินอยู่ ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องของธรรมชาติ (ธรรมมะ คือ ธรรมชาติ)
** ทำไมต้องเรียนรู้ และเข้าใจธรรมชาติ (สัจธรรม) ? **
เพราะธรรมชาติ ก็คือ พลังงาน(ธาตุ) ทั้ง 5 ที่เป็นตัวก่อให้เกิดสรรพสิ่งบนโลกนี้ ประกอบด้วย ดิน,น้ำ,ลม,ไฟ,พลังจิต(คลื่นไฟฟ้า) ดังที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งเป็นพลังงานที่มีอยู่จริง มันมีของมันอยู่อย่างนั้น ถึงแม้เราจะเชื่อหรือไม่ก็ตาม มันก็คงมีของมันอยู่อย่างนั้นเสมอ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญ ที่เป็นตัวก่อให้เกิดสรรพสิ่งบนโลก และในระบบจักรวาล โดยมีเราเป็นส่วนหนึ่งของมันอย่างแยกไม่ออก

**มีหลักการ หรือ สูตรในการที่จะเรียนรู้ ธรรมชาติ (สัจธรรม) บ้างหรือไม่ อย่างไร ?**
มี อริยสัจ 4 (ความจริงอันประเสริฐ) ซึ่งมีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4 ใช้เป็นหลักในการเรียนรู้ และเข้าใจความเป็นไปของธรรมชาติ นั่นเอง ได้แก่
ทุกข์ – ผลของการเกิดธาตุทั้ง 5 ที่ส่งผล ทั้ง ทุกข์และสุข ให้เรา [ ผ่านการรับรู้ทางขันธ์ 5 รูป,เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ (รูป-ตา) ,(รส-ลิ้น), (กลิ่น-จมูก), (เสียง-หู),( สัมผัส-กาย+ใจ ) ]
สมุทัย – เหตุที่ก่อให้เกิดผล (เกิดทุกข์-สุข)
นิโรธ – การรู้ทันเหตุและผล ที่เกิด(รู้ว่าทุกข์-สุข ที่มี เกิดมาจากเหตุอันใด โดยใช้ สติ+ปัญญา ในการพิจารณาสิ่งที่เกิดให้รู้ทันอยู่เสมอ)
มรรค – ทางแห่งการเรียนรู้เพื่อให้รู้ทันเหตุและผล ,เข้าใจในเหตุและผลที่เกิดกับเรา และเรียนรู้,ยอมรับ และหาทางจัดการอย่างเป็นระบบ ยกตัวอย่าง เช่น
นาย ก.เป็นทุกข์เพราะยากได้รถจักรยายนต์คันใหม่ ๆ สวย ๆ จำแนกดังนี้
ทุกข์ – คือความร้อนใจ กระวนกระวาย ยากได้รถ หมกมุ่นครุ่นคิดหาวิธีที่จะให้ได้มาซึ่ง รถ
สมุทัย – เพราะเห็นรถสวย(หลงในรูป) เกิดความยากได้ เพื่อนำไปสนองกิเลศ เช่นพาไปรับส่งแฟน,ขับไปเที่ยว,ฯลฯ
นิโรธ – รู้ทันว่ากิเลศกำลังครอบงำตัวเรา ความยากกำลังเร่งให้เรากระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้ได้รถมา
มรรค – เมื่อรู้ทันเหตุและผล เราก็มาเรียนรู้และหาทางจัดการกับทุกข์ที่เกิดอย่างเป็นระบบ คือเมื่อเรารู้ว่าเรากำลังทุกข์เพราะความอยากได้รถ(กิเลศ) เราก็ตัดความอยาก ความหลงใน รูปสวย,รสอร่อยถูกใจ,กลิ่นหอมชื่นใจ,เสียงไพเราะเสนาะหู,สัมผัสที่ถูกใจ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ล้วน เป็นตัวเร่งให้เกิดการกระทำ ทั้งด้าน ดี และไม่ดี ของเราทั้งสิ้น ตัดความอยากทิ้งไป หรือ ควบคุมมันให้ได้ เมื่อตัดหรือควบคุมได้เราก็จะกำหนดการกระทำของเราต่อไป คือ กำหนดว่าจะกระทำด้านใดด้านหนึ่ง ดังนี้
กระทำด้านดี-เมื่ออยากได้รถ ก็ต้องพยายามทำความดี ทำงานสุจริตหาเงินซื้อรถเอง ทำสิ่งที่เป็นความดี โดยไม่กระทำสิ่งที่เป็นผลร้ายต่อคนอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งรถที่เราต้องการ ไม่ไปสนองกรรมให้ พ่อ-แม่ ด้วยการ ไปขอเงิน ทำร้าย บีบคั้น ขโมยเงิน โกหกพ่อแม่ เพื่อให้ได้มาซึ่งรถที่ต้องการ
กระทำด้านไม่ดี – เมื่อยากได้รถ ก็ขโมย ลักทรัพย์ทำร้ายเจ้าของรถ ฆ่าเจ้าของรถตาย ซึ่งผลของการกระทำทั้ง 2 ด้านนี้ จะไปเข้าระบบกฎแห่งกรรมและจะส่งผลกลับมาที่เราต่อไป ดังที่เคยกล่าวไว้แล้ว
“สิ่งนั้นมีสิ่งนั้นจึงมี”
“สิ่งนั้นเกิดสิ่งนั้นจึงเกิด”
มันเป็นเหตุและผลของมันอยู่อย่างนั้น
และด้วยเหตุทั้งหมดนี้ มันจะมีผลกระทบต่อบุคคลอื่น หรือสรรพสิ่งอื่น ๆ เป็น ผลกระทบแบบลูกโซ่ (วัฏสงสาร,กงกำกงเกวียน) ที่มีความซับซ้อนละเอียดมากขึ้นเรื่อย ๆ
พระพุทธเจ้าทรงสามารถไล่ย้อนลูกโซ่กลับหลัง (ผ่านจิต,เมมโมรี่) ไปได้อย่างแม่นยำ เราเรียกว่า ระลึกชาติ (ในประวัติเคยเล่าไว้บ้าง) เรียกว่า มีโคตรภูญานก่อนแล้วนำไปสู่ ปุพเพนิวาสญาณ (รู้อดีต)
ถ้าไล่ไปข้างหน้า(คำนวณโดยใช้หลัก ความน่าจะเป็นควบคู่ไปด้วย) เราเรียกว่า รู้อนาคต เรียกว่า มีโคตรภูญานก่อนแล้วนำไปสู่ จุตูปปาตญาณ (รู้อนาคต)
อ้างอิงบทความที่สอดคล้องกัน
โยม ถาม ที่ว่า ทุกข์เกิดที่ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ดับที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ตามหลัก ปฏิจจสมุปบาท ทุกข์เกิดจากอวิชชา ทุกข์จะดับต้องดับอวิชชา เพราะเหตุใดจึงมี ๒ นัย
หลวงพ่อสรวง ปริสุทโธ
ตอบ นัยหนึ่งนัยหยาบ นัยหนึ่งนัยละเอียด ต้นเหตุของทุกข์อยู่ที่อวิชชา เพราะความรู้ไม่จริง เพราะความรู้ไม่จริงมาครอบงำ ทำให้เราขาดสติสัมปชัญญะ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจเป็นอายตนะภายใน ที่ว่า ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เพราะมันเป็นทางเข้าแห่งอารมณ์ ในเมื่อตนเห็นรูป รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หลงสมมติบัญญัติว่า รูปนี้สวย รูปนี้งาม เพราะอวิชชาเป็นเจ้าการ เป็นตัวตั้งตัวตี สิ่งที่ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ แต่ต้นแห่งทุกข์อยู่ที่อวิชชา มันเป็นสิ่งที่ต่อเนื่องกัน อวิชชามันแสดงออกมาทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ในปฏิจจสมุปบาท ท่านกล่าวไว้ เพราะมันเป็นพื้นฐาน อวิชชาก็คือตัวโมหะ มันเป็นอกุศลมูล เมื่อรู้ไม่จริงมันก็หลงในสิ่งนั้นๆ ทำให้เราเผลอไป ทำดีบ้าง ทำชั่วบ้าง ทำบุญบ้าง ทีนี้อย่างบางทีก็ไปหลงทำบาปหนักๆ เข้าไปก็เพราะอาศัยตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เป็นเหตุเป็นปัจจัย อาศัยวิชชาเป็นเค้า
**** การฝึกปุพเพนิวาสญาณ และจุตูปปาตญาณ ****
บทบัญญัติที่ ๕
การฝึกปุพเพนิวาสญาณ และจุตูปปาตญาณ
ประกอบธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม เป็นรูปฌานและอรูปฌาน เดินสมาบัติพร้อมกับตรวจดูชาติของตน (เวลาเดินสมาบัติ ใช้กายธรรมเป็นผู้เดินสมาบัติ)นิ่งอยู่ในศูนย์กลางกาย ดูความเป็นอยู่ตั้งแต่ปัจจุบันนี้ ถอยออกไปถึงเมื่อวานนี้ เมื่อวานซืน ฯลฯ
และถอยออกไปเป็นลำดับ จนถึงเวลาออกจากครรภ์มารดา ก่อนออกจากครรภ์ จนถึงเวลาที่ยังเป็นกะละรูปอยู่ ก่อนเข้าท้องมารดา ก่อนเข้ามาอยู่ในกายของบิดา ถอยออกไปจนถึงชาติก่อน ดูถอยออกไปเรื่อย ๆ เช่นนี้ จนถึงแรกได้ปฐมวิญญาณ แล้วถอยกลับมา (แบบเวลาเข้าไป) จนถึงปัจจุบัน แล้วดูต่อไปในชาติข้างหน้าอีก ดูชาติของตนให้เห็นตลอด เช่นนี้เรียกว่า “ปุพเพนิวาสญาณ”
ดูของตนเห็นตลอดแล้วเช่นไร เวลาจะดูของคนอื่น ก็เอาธรรมที่ทำให้เป็นกายของผู้นั้นประกอบเป็นสมาบัติ เดินสมาบัติตรวจดู แบบเดียวกับที่ดูของตนเองให้ตลอด เช่นนี้เรียกว่า “จุตูปปาตญาณ"”



#160007 รูป นาม วิญญาณกับจักรวาลวิทยา

โพสต์เมื่อ โดย usr31058 บน 14 September 2009 - 09:23 PM ใน วิทยาศาสตร์ทางใจ


**การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ของสรรพสิ่ง** (สัจธรรม)
ครุ่นคิดเมื่อตอนหัวรุ่ง ได้ความว่า "สรรพสิ่งในโลก มีส่วนประกอบจาก ธาตุ(พลังงาน)ทั้ง 5 ดังนี้ ดิน น้ำ ลม ไฟ และ พลังงานจิต (คลื่นไฟฟ้า,จิตใจ) เป็นแกนกลางและจะแฝงอยู่กับทุกโมเลกุลของร่างกาย (คล้ายเมนเฟรมของคอมพิวเตอร์) โดยมี กรรมเป็นตัวกำหนดเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ซึ่งกรรมมี 2 กรรม คือ
1.กรรมที่เกิดจากการกระทำเมื่อชาติก่อน
2.กรรมที่เกิดจากการกระทำในปัจจุบัน
กรรมคือการกระทำ ผลของกรรม คือผลของการกระทำ นั้นเอง (กรรมดี,กรรมไม่ดี)
และมีขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เป็นตัวเร่งให้เกิดการกระทำ(กระทำหรือไม่กระทำ)การกระทำทุกการกระทำ จะมีผลของการกระทำวกกลับมายังผู้กระทำเสมอ ผ่านระบบของกฎแห่งกรรม 2 ทาง คือ
1.ทางหยาบ กระทำเสร็จมีผลตามมาทันที
2.ทางละเอียด กระทำเสร็จผลจะถูกส่งผ่านระบบโมเลกุลเป็นทอด ๆ แล้วจะวกกลับมายังผู้กระทำ
การกระทำทุกการกระทำจะถูกบันทึกในรูปแบบของพลังงานจิตโดยอัตโนมัติ(ในส่วนลึกของจิต) เมื่อตายลงส่วนประกอบจากธาตุ(พลังงาน)ทั้ง 5 จะแปรสภาพในระดับโมเลกุล(หรือละเอียดกว่า) กลับไปสู่ค่าเดิม ตามกฎที่ว่า พลังงานไม่สูญหายไปไหนเพียงแต่แปรสภาพไปสู่พลังงานอื่น เช่นจากพลังงานกล เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยมีกรรมที่กระทำมาเป็นตัวกำหนดว่าโมเลกุลที่ย่อยสลายของเราจะไปรวมตัวก่อเกิดเป็นสิ่งใด โดยมีจิตจะเป็นตัวรับรู้
เมื่อตายลง มี 2 อย่างเกิดขึ้น
1.ร่างกายย่อยสลายกลับสู่ธาตุทั้ง 4
- ดิน ได้แก่ เนื้อ กระดูก เส้นขน
- น้ำ ได้แก่ เลือด เหงื่อไคล น้ำมูก เสมหะ หนอง
- ลม ย่อยสลายผ่านระบบหายใจ ทุกวินาทีอยู่แล้ว
- ไฟ ย่อยสลายผ่านระบบปรับอุณหภูมิในร่างกาย (ผ่านทางน้ำ)
2.พลังงานจิตจะยังไม่ดับลง แม้ร่างกายจะย่อยสลายหมด โดยจิตจะรับรู้ผลที่เกิดกับทุกโมเลกุลของร่างกายที่ย่อยสลายไปก่อเกิดเป็นสิ่งต่าง ๆ โดยมีกรรมเป็นตัวกำหนด
เช่น เนื้อ – ดิน – ต้นไม้,พืช- สัตว์มากินพืช-สัตว์กินสัตว์-สัตว์ถูกฆ่า (ทุกขั้นตอนจิตรับรู้)
เนื้อ – ดิน – ต้นไม้,พืช – หนอนกินพืช-ไก่กินหนอน-ไก่ถูกฆ่าเชือดคอ ลวกน้ำร้อน ความเจ็บปวดที่เกิดกับไก่ จิตรับรู้ เจ็บปวดด้วยทรมานด้วย (ทุกครั้งที่แปรสภาพของพลังงาน นั้นคือการเกิดใหม่ทุกครั้ง ทั้งเป็นหนอน,เป็นไก่ ฯลฯ เรียกว่า ภพ,ชาติ,ชาติก่อน,อดีตชาติ)
คนที่กระทำกับไก่กระทำเพราะ 2 เหตุ คือ
1.กรรมเก่าที่เราก่อมันโดยมีเขาเป็นคนถ่ายทอดผ่านกระบวนการดังที่ว่า วกกลับมาหาเรา
2.กรรมใหม่ ที่เขาก่อขึ้น แล้วมันก็จะวกกลับไปหาเขาผ่านทางเราเหมือนกัน
พุทธเจ้าเรียกว่า กงกำกงเกวียน วัฏสงสาร วนไปวนมา ทำอย่างไรถึงจะสิ้นสุด มีคำตอบในบทต่อไป


** ตอบที่ท่านสงสัยว่าทำไมสัตว์ มันไม่มีสมองแล้วมันเกิดมาก็ทำโน้นทำนี่เองได้เลย ? **


- เพราะมันเป็นแค่ตัวถ่ายทอดกรรมเท่านั้น เป็นตัวสนองกรรมให้จิตทุกดวงที่มารวมกันขึ้นเป็นตัวมัน ได้รับรู้ผลของการกระทำโดยมีสัตว์เป็นตัวถ่ายทอด (ไก่ 1 ตัว เกิดจากโมเลกุลหลายโมเลกุลมารวมตัวกัน และมีหลายจิตที่มาคอยรับการถ่ายทอดผลของกรรม)
- ต่างจากคนที่ใน 100 % ของโมเลกุลที่มารวมตัวกันเป็น 1 คน จะมาจากกรรมเก่าถ่ายทอดมากจาก ฝั่ง พ่อ 25 % จากฝั่ง แม่ 25 % และตัวเราเองกำหนดขึ้นเอง 50 % (กรรมเก่าที่เคยทำมา 25 % และกำลังจะทำขึ้นใหม่ 25 %)
- กรรม 50 % นี่แหละที่ทำให้เราต่างจากสัตว์ เพราะเรากำหนดเอง ว่าจะให้มันเป็นกรรมแบบไหน(กรรมดี,กรรมไม่ดี) ซึ่งมันจะเป็นตัวกำหนดความเป็นไปของตัวเราต่อไป ตามที่กล่าวมาข้างต้น วนไปวนมา
- ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “สัตว์โลกล้วนเป็นไปตามกรรม” หรือ เป็นไปตาม “กระบวนการวัฏสงสาร”