#1
โพสต์เมื่อ 29 March 2015 - 10:04 PM
อย่างนี้จะเรียกว่าเค้าผิดศีลข้อมุสาได้มั้ยครับ, อย่างไร ช่วยอธิบายให้ผมอย่างละเอียดเป็นข้อๆ ที
ผมจะได้เป็นกัลยาณมิตรให้เค้าถูก เพราะทุกครั้งที่คุยเรื่ิงนี้กับเขา เขาก็มักจะแย้งว่า เขาไม่ได้พูดโกหกอะไรนี่ไง คนอื่นเข้าใจผิดไปเอง
ขอบพระคุณครับ
#2
โพสต์เมื่อ 30 March 2015 - 07:55 AM
ก่อนอื่น ขอถามแบบกวนๆ ก่อนนะครับ อย่าเพิ่งลุกมาเตะกันล่ะ
ขอถามว่า จริงๆ แล้ว เราควรจะเปแ็นกัลยาณมิตรให้กับเพื่อนที่วางฟอร์มคนเดียว หรือเราควรเป็นกัลยาณมิตรให้กับคนอื่นๆ ที่ เข้าใจไปเองแล้วไปจับผิดเขาว่า เขาโกหก ด้วยครับ
เดี๋ยวผมจะกีอป องค์แห่งศีลมาลงให้ แต่ก่อนอื่นขอเล่าอะไรให้ฟังเล็กๆ
วันหนึ่งที่บูธ ผมซื้อไข่ต้ม กับไข่เจียวไปทานกลางวันกัน พอทุกคนนั่งพร้อมหน้ากันดีแล้วเริ่มลงมือทาน ผมก้พูดขึ้นว่า " ... วันนี้เป็นวันพิเศษนะ ขอเอาใจทุกคนด้วยของพิเศษแล้วกัน ไข่ไก่ที่ทำอาหารมาทั้งหมดเนี้ย ผมลงมือคัดมาพิเศษเฉพาะพวกเราเลยนะ เป็นไข่ที่คัดพิเศษมาจากเฉพาะไก่ตัวเมียล้วนๆ เลย ไม่มีอย่างอื่นมาปะปน.. ไม่ใช่จะหาได้ง่ายๆ นะ.... "
คุณเชื่อไหมว่า ทุกคนนิ่งกันไปสักพักใหญ่ด้วยความทึ่ง จากนั้นด้วยปัญญาที่สั่งสมมา คนก็เริ่มทะยอยเข้าใจมุขตลกนี้กันที่ละคน สองคน ตามสติที่ได้ฝึกฝนมา แต่ก็ยังมีบางคนหลงเชื่ออยู่ ยังเอาช้อนเขี่ยดูไข่พิเศษนี้พร้อมอุทานด้วยความประหลาดใจอยู่ก็ยังมี
ถามว่าแบบนี้ผมโกหกไหม มีข้อมูลที่บิดเบือนไหม คนที่หลงเชื่อจะโทษผมได้ไหม น่าสนุกไหมล่ะครับ...
ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเรื่องข้างบนหรอก ผมเล่านิทานให้ฟังเล่นๆ ระหว่างรอผมค้นข้อมูลเท่านั้นเอง เดี๋ยวมาลงต่อให้ครับ...
#3
โพสต์เมื่อ 30 March 2015 - 09:06 AM
#4
โพสต์เมื่อ 30 March 2015 - 09:11 AM
องค์แห่งการพูดเท็จ
การพูดเท็จต้องประกอบด้วยองค์ 4 คือ
1. เรื่องไม่จริง
2. มีจิตคิดจะพูดให้ผิดไปจากความจริง
3. พยายามที่จะพูดให้ผิดไปจากความจริง
4. คนฟังเข้าใจความที่พูดนั้น
ลักษณะของการพูดเท็จ การพูดเท็จ มี 7 ประการ คือ
- การพูดปด ได้แก่ การโกหก
- การสาบาน ได้แก่ การทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อด้วยการสาบาน
- การทำเล่ห์กระเท่ห์ ได้แก่ การอวดอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันไม่เป็นจริง
- มารยา ได้แก่ การแสดงอาการให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริง
- ทำเลศ ได้แก่ การพูดเล่นสำนวน คลุมเครือ ให้คนฟังเข้าใจผิด
- พูดเสริมความ ได้แก่ การเสริมให้มากกว่าความเป็นจริง
- พูดอำความ ได้แก่ การตัดข้อความที่ไม่ประสงค์จะให้รู้ออกเสีย เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
การพูดอนุโลมการพูดเท็จ มี 2 ประการ คือ
1. อนุโลมพูดเท็จ คือ เรื่องที่ไม่จริง แต่พูดโดยมีเจตนาให้คนอื่นเชื่อถือ ได้แก่
- เสียดแทง เป็นการว่าผู้อื่นให้เจ็บใจ เช่น การประชด การด่า
- สับปลับ เป็นการพูดปดด้วยความคะนองปาก
2. ปฏิสสวะ คือ การรับคำของผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ แต่ภายหลังเกิดกลับใจไม่ทำตามที่รับนั้น ได้แก่
- ผิดสัญญา คือ การที่สองฝ่ายทำสัญญาต่อกัน แต่ภายหลังฝ่ายหนึ่งได้บิดพลิ้ว ไม่ทำตาม ที่สัญญาไว้
- เสียสัตย์ คือ การที่ฝ่ายหนึ่งได้ให้คำสัตย์ไว้ แต่ภายหลังได้บิดพลิ้วไม่ทำตามนั้น
- คืนคำ คือการรับคำว่าจะทำสิ่งนั้นๆ โดยไม่มีข้อแม้ แต่ภายหลังหาได้ทำตามนั้นไม่
ยถาสัญญา คือ การพูดตามโวหารที่ตนเองจำได้ ถือว่าไม่ผิดศีล มี 4 ประการ
1. พูดโวหาร ได้แก่ การพูดหรือเขียนตามธรรมเนียม เช่น ขอแสดงความเคารพอย่างสูง ซึ่งใจจริงอาจไม่เคารพเลยก็ได้ เช่นนี้ถือว่าไม่ผิดศีล
2. การเล่านิทานหรือนิยายให้ผู้อื่นฟัง หรือแต่งเรื่องขึ้นเพื่อใช้เป็นบทละคร หรือภาพยนตร์
3. การพูดด้วยความเข้าใจผิด
4. การพูดเพราะความพลั้งเผลอ
การพูดเท็จ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ
1. ความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามากน้อยเพียงใด
2. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด
3. ผู้พูดนั้นเป็นใคร เช่น
- คฤหัสถ์ที่โกหกว่า "ไม่มี" เพราะไม่อยากให้ของของตน อย่างนี้มีโทษน้อย แต่การเป็นพยาน เท็จมีโทษมาก
- บรรพชิตพูดเล่นมีโทษน้อย แต่การพูดว่าตน "รู้เห็น" ในคุณวิเศษที่ตนไม่รู้ไม่เห็นมีโทษมาก
ลองพิจารณาดูนะครับ
#5
โพสต์เมื่อ 30 March 2015 - 10:57 AM
องค์แห่งศีล มีไว้เพื่อให้ผู้รักษาศีลประเมินตนเอง ในกรณีที่เคลือบแคลงศีลของตนว่า ขาด ทะลุ ด่าง พร้อย
ไม่เหมาะที่ไปประเมินผู้ทุศีล
ถ้าจะทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรพึงประเมิน...
- ผู้รับฟังว่าอยู่ในสภาวะที่...พร้อมฟังหรือไม่?
- ตัวเราเอง...เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาหรือไม่? แม้จะยังไม่สมบูรณ์แต่ก็ประพฤติ ฆราวาสธรรม จนเป็นที่ยอมรับของเพื่อนที่ทำงานหรือไม่?
ไฟล์แนบ
#6
โพสต์เมื่อ 30 March 2015 - 04:58 PM
ขอบพระคุณครับ
#7
โพสต์เมื่อ 30 March 2015 - 05:13 PM
แล้วคนที่เป็นเจ้าของผลงานจริงๆ แล้ว เขาเป็นใครหรอคะ
เขาได้รับผลกระทบอะไรไหม จากการวางฟอร์ม จนเพื่อนๆ เข้าใจผิดค่ะ ^^
#8
โพสต์เมื่อ 30 March 2015 - 06:21 PM
ก็ถือว่าผิดครับ แม้จะเป็นแค่การหยอกกันสนุกๆ ก็ตาม เพราะ
- ทำเลศ ได้แก่ การพูดเล่นสำนวน คลุมเครือ ให้คนฟังเข้าใจผิด
- พูดเสริมความ ได้แก่ การเสริมให้มากกว่าความเป็นจริง
- พูดอำความ ได้แก่ การตัดข้อความที่ไม่ประสงค์จะให้รู้ออกเสีย เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
แม้จะไม่ส่งผลเสียอะไร เป็นแค่สนุกๆ แต่ก็จะทำให้เราติดนิสัยแบบนี้ เคยชินกับนิสัยแบบนี้ เมื่อคุ้นเคยก็จะละเลยความสำคัญ จนลามไปถึงองค์ประกอบข้ออื่นๆ ได้ง่ายครับ สุดท้ายจากเรื่องสนุกๆ เล็กๆ ก็จะเลยเถิดไปถึงเรื่องที่มีการเสียหายใหญ่โตได้ครับ
#9
โพสต์เมื่อ 31 March 2015 - 07:11 PM
พี่ ทัพพีในหม้อครับ
ผมก็ยังสับสนอยู่ดี ตัดสินใจไม่ถูกว่า ผิดหรือไม่ผิด
เพราะเอาเข้าจริงๆ พอถามให้แน่ชัดว่า ใช่ หรือไม่ใช่
เพื่อนผมมันก็มักจะบอกตรงๆ สุดท้ายว่าไม่ใช่
มันถึงแย้งว่า เข้าใจผิดกันไปเองนี่นา เราไม่ได้จะตั้งใจโกหกเป็นจริง เป็นจังซะหน่อย
แล้วอย่างนี้จะตัดสินที่เจตนามันยังไงดีล่ะครับเนี่ย
ขอบพระคุณที่ช่วยชี้แนะเพิ่มเติมนะครับ
#10
โพสต์เมื่อ 01 April 2015 - 08:58 AM
ขอเรียนให้ทราบอย่างนี้นะครับ (อาจจะไม่ถูกใจ แต่ขอให้เก็บไว้พิจารณาครับ)
การจะตัดสินใครนั้น ตัวเราเองต้องเข้าใจเรื่องราวทุกด้านให้ชัดเจนก่อนครับ ถ้าตัวเราเองไม่แม่นในข้อมูลแล้ว พูดอะไรไป อาจจะพลาดแล้วเตลิดเปิดเปิงเลยเถิดเป็นเรื่องใหญ่ได้ ให้ระวังตรงนี้สักนิด
การที่ท่านเข้ามาถามแบบนี้ จะให้คนนอกอย่างผมมาชี้ชัดว่าผิดหรือไม่ผิด ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง สมควรหรือไม่สมควร คงไม่มีใครบอกได้ เพราะคนที่นี่ ไม่มีใครอยู่ในสถานการณ์นั้นแม้แต่คนเดียว มีข้อมูลแค่ที่ท่านบอกมาอย่างคร่าวๆ เท่านั้น ถ้าทางนี้ชี้ชัดอะไรลงไป คงไม่เป็นการยุติธรรมกับอีกฝ่ายเป็นแน่
ขออนุญาติแนะนำตรงนี้สักนิดนะครับ
อันดับแรก ถ้าตั้งใจจะเป็นกัลยาณมิตรให้เพื่อนจริงๆ ขอแค่พูดเตือนเพื่อนด้วยใจใสไ และหน้ายิ้มๆ ก็พอครับ ไม่ต้องเถียง ไม่ต้องชี้นำอธิบายอะไรมากมาย ใช้คำพูดแบบเพื่อน สั้นๆ และไม่มีอคติเท่านั้นพอ
อันดับที่สอง เราต้องปล่อยวางให้เป็น เพราะนั่นคือเรื่องของ "คนอื่น" ตราบใดที่เรื่องนั้นไม่ได้ร้อนลามมาเผาตัวเรา เราต้องรู้จักวางเฉยเสียบ้าง เราแนะนำไปแล้ว เราเตือนกันในฐานะเพื่อนแล้ว เขาจะทำตามก็ดี ไม่ทำตามก็ดี ไม่ใช่เรื่องของเราที่จะไปกังวล ครุ่นคิดให้เสียเวลาครับ
อันดับสาม ถ้าเตือนก็แล้ว วางเฉยก็แล้ว ถ้าเรายังรู้สึกไม่สบายใจในการกระทำ ก็ถอยห่างออกมาเถอะครับ ถ้าเขาถามว่าทำไมเราห่างออกไปก็บอกไปตรงๆ เลย ว่าเราเห็นเพื่อนทำแบบนี้แล้วเราไม่สบายใจ เตือนไปแล้วเพื่อนก็ยังเฉย เราก็เลยต้องถอยห่างออกมา กลัวจะถูกเกี่ยวพันไปด้วย อะไรทำนองนี้แหละครับ ... การถอยห่าง ไม่ใช่การทำมึนตึง รังเกียจ เลิกคบนะครับ ขอให้ความเป็นเพื่อนยังมีอยู่ แค่ลดฐานะของความสนิทสนมลงไปเท่านั้น หลายคนเข้าใจว่าการเลิกคบจะต้องกลายมาเป็นศัตรูกันเท่านั้น ซึ่งไม่จริงเลย สิ่งไหนดีเราก็คบแค่ในส่วนนั้น ตรงไหนไม่สบายใจเรา เราก็เลี่ยงที่จะคบในแบบนั้น ยกตัวอย่างเช่น เรารู้ว่าเพื่อนเราชอบคุยโอ้อวด เราก็หลีกเลี่ยงที่จะอยู่ใกล้เพื่อนคนนั้นเวลาเขาพูดคุยกับคนอื่น แต่เราก็ยังคุยกับเพื่อนคนนี้ในเวลาส่วนตัวไม่มีคนอื่นให้เขาคุยโม้ได้ อะไรแบบนี้น่ะครับ
อันดับสุดท้าย ถ้าอยากจะชี้ถูกชี้ผิด ขอแนะนำให้อดทนศึกษาเรื่องราวของสิ่งนั้นให้กระจ่างครับ เมื่อเราศึกษาจนเข้าใจถ่องแท้แล้ว บวกกับการไม่มีอคติในใจ เราก็สามารถที่จะวิเคาระห์ แยกแยะเรื่องราวต่างๆ ได้ด้วยตัวเราเองครับ
ชักจะยาวจนเหมือนการสั่งสอนไปซะแล้ว ทั้งๆ ที่ตัวผมเองความรู้เท่าหางอึ่ง ยังไงถ้ามีบทความตรงไหนดูไม่เหมาะสมก็กราบขออภัยด้วย เพราะการพิมพ์บางครั้งก็ตามไม่ทันความคิด อาจตกหล่นใจความบางส่วนไปบ้างก็อย่าตำหนิกันนะครับ
ขออนุโมทนาบุญในการสนทนาธรรมด้วยกันครับ
#11
โพสต์เมื่อ 01 April 2015 - 03:04 PM
สามรถศึกษาเพิ่มเติมจาก ..
#12
โพสต์เมื่อ 02 April 2015 - 07:12 PM
Krap kob pra koon evreyone for information that I have doubted for a long time. Anumotana sadhu of Dhammatan ka.
#13
โพสต์เมื่อ 02 April 2015 - 09:33 PM
สาธุกับคำถามตอบค่ะ