Jump to content


Photo
- - - - -

มูลเหตุที่ทำให้ พระศาสนาเสื่อม


  • You cannot start a new topic
  • Please log in to reply
10 replies to this topic

#1 เถลิงเกียรติ

เถลิงเกียรติ
  • Members
  • 760 posts
  • Interests:N/A

Posted 16 February 2006 - 09:58 PM

พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึง มูลเหตุที่ทำให้ศาสนาเสื่อม ......>>>
เพราะพระสัทธรรม เลอะเลือน ..อย่างไรบ้างครับ.?????.
ท่านคิดว่าปัจจุบันมีมูลเหตุใดบ้างที่จะทำให้ศาสนาเสื่อม..ครับ
.........>> ผมเคยฟังหลวงพ่อพูดถึง "โมฆะบรุษ" เป็นอย่างไรครับ ช่วยผมขยายความเป็นธรรมทานด้วยนะครับ..อนุโมทนาบุญครับ..>>>


#2 Streamdhamma

Streamdhamma

    หยุด นิ่ง เฉย ได้ไหม

  • Members
  • 528 posts
  • Gender:Male

Posted 16 February 2006 - 11:17 PM

"โมฆะบรุษ" ไม่เคยได้ยินนะค่ะ มันแปลว่าอะไรร่อ แต่มันก็มีหลายปัจจัยไม่ใช่หรอค่ะที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมลงได้น่ะ ว่าแต่มีอะไรบ้างล่ะ
"เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่
ย่อมมีแสงอรุณขึ้นก่อน
เป็นบุพนิมิตฉันใด
ความเป็นกัลยาณมิตรก็เป็นตัวนำ
เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้น
ของหนทางพระนิพพาน ฉันนั้น"



#3 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 posts

Posted 16 February 2006 - 11:50 PM

ว่าด้วยความเสื่อมแห่งพระสัทธรรม

[๗๗๑] ดูกรท่านอานนท์ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว?

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างเฉียบแหลม ช่างไต่ถามเหมาะๆ ก็ท่านถามอย่างนี้หรือว่า ดูกรท่านอานนท์ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว.
ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
[๗๗๒] อา. ดูกรท่านผู้มีอายุ เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ ไม่ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ไม่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว และเพราะบุคคลเจริญ กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรท่านผู้มีอายุ เพราะบุคคลไม่ได้เจริญ ไม่ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ไม่ได้นานในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว และเพราะบุคคลได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล พระสัทธรรมจึงตั้งอยู่ได้นาน ในเมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว.
จบ สูตรที่ ๒

ที่มา : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

*********************************************************************************
เรื่องนี้ความจริงมีมากกว่านี้อีกครับเคยอ่านผ่านตามาครับ
แต่ยังค้นหาไม่เจอครับ ไว้เจอแล้วจะนำมาลงเพิ่มใหม่ครับ
*********************************************************************************

เหตุให้พระสัทธรรมดำรงอยู่หรืออันตรธาน(1)


[๑๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความประมาทย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

[๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความไม่ประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่ประมาท ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

[๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้เกียจคร้าน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

[๑๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนการปรารภความเพียร ดูกรภิกษุทั้งหลาย การปรารภความเพียรย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

[๑๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้มักมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักมาก ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญเพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

[๑๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้มักน้อย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักน้อยย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

[๑๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้ไม่สันโดษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

[๑๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้สันโดษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้สันโดษย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

[๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนการใส่ใจโดยไม่แยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจโดยไม่แยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

[๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนการใส่ใจโดยแยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจโดยแยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

[๑๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

[๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้รู้สึกตัว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้สึกตัวย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

[๑๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

[๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรดีย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

[๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนการประกอบอกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบกุศลธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประกอบอกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบกุศลธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญเพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

[๑๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนการประกอบกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบอกุศลธรรมดูกรภิกษุทั้งหลาย การประกอบกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบอกุศลธรรมย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ

(มีต่ออีกเยอะครับ)

ที่มา : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

#4 gioia

gioia
  • Members
  • 593 posts

Posted 17 February 2006 - 12:17 AM


โมฆบุรุษ คือ บุรุษเปล่า คนเปล่า คนที่ใช้การไม่ได้ คนโง่เขลา
คนที่พลาดจากประโยชน์ที่พึงได้พึงถึง

เป็นความหมายจากพจจนานุกรมพุทธศาสตร์
ส่วนความเสื่อมแห่งพุทธศาสนา เกิดจากพุทธบริษัทสี่ที่ไม่ปฏิบัติตนตามพระวินัยและข้อบัญญัติ
กล่าวคือ
พระสงฆ์และสามเณรละเมิดพระธรรมวินัย อุบาสก อุบาสิกาและพุทธศาสนิกชนละเลยข้อวัติปฏิบัติ
ตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ
http://www.geocities...utto/vinaya.htm

#5 เพียงพอ

เพียงพอ

    I |\|EE|) S()|\/|E |3()DY |_()\/E.

  • Members
  • 724 posts
  • Location:ไม่มีข้อมูล
  • Interests:ไม่มีข้อมูล

Posted 17 February 2006 - 09:30 AM

สาธุ

เพียง. . .เพื่อดำรงชีวิตอยู่ให้มีคุณค่า
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.

เพียงพอ


#6 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1,368 posts

Posted 17 February 2006 - 09:35 AM

โมฆะบุรุษ แปลว่า บุคคลผู้ว่างเปล่า ปราศจากแก่นสาร
แยกตามศัพท์ได้ว่า โมฆะ แปลว่า ยกเลิก ไร้ค่า (อันนี้ภาษากฎหมายก็ใช้ครับ เช่น สัญญาเป็นโมฆะ ก็คือ สัญญานั้นไร้ผล สูญเปล่า) + บุรุษ แปลว่า บุคคล
รวมความได้ว่า บุคคลผู้สูญเปล่า แปลว่า สูญเปล่าจากความดี เกิดมาเหมือนไม่ได้เกิด เพราะแท้ที่จริงแล้ว สาระที่แท้จริงของการเกิดเป็นมนุษย์ คือ การเกิดมาสร้างบารมี แสวงหาหนทางเลิกเกิด ถ้าบุคคลใดเกิดมาแล้ว ไม่สร้างความดี ใช้ชีวิต แค่ ทำมาหากิน เลี้ยงลูกเลี้ยงหลานไปวันๆ อันนี้ ก็คือ โมฆะบุรุษ ครับ

ส่วนสาเหตุที่ทำให้พระศาสนาเสื่อมมีหลายประการ ผมเคยอ่านเจอแต่จำได้ไม่หมด ที่พอจำได้มี
1) ไม่เคารพ ยำเกรงในพระพุทธ
2) ไม่เคารพ ยำเกรงในพระธรรม
3) ไม่เคารพ ยำเกรงในพระสงฆ์
4) ไม่เคารพต่อการศึกษา (ในที่นี้คือ ศึกษาพระธรรม)
5) ไม่เคารพต่อการทำสมาธิ

นอกจากนี้ที่อ่านเจอก็มี
- เมื่อใดเกิดสัทธรรมปฏิรูปขึ้น พระสัทธรรมย่อมเสื่อมลง เหมือน เมื่อมีทองเก๊เกิดขึ้น ทองแท้ก็เสื่อมค่าลง
- พระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใดมีสิกขาบท พระวินัยน้อย ศาสนานั้นก็เสื่อมสูญเร็วกว่า พระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีสิกขาบทมาก เพราะ สิกขาบทเปรียบเสมือน ด้ายที่ร้อยเอาเหล่าดอกไม้ที่หลากหลายกันให้อยู่รวมกันอย่างสวยงาม ดอกไม้ที่หลากหลายก็คือบุคคลทุกชนชั้นที่เข้ามาบวชในพระศาสนา เมื่อบวชเข้ามาแล้วก็ต้องอยู่ในพระวินัยอันเดียวกันทำให้อยู่ด้วยกันอย่างสงบ ไม่มีเรื่องกระทบกระทั่งกันครับ

ใครรู้เพิ่ม ช่วยเสริมด้วยนะครับ
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#7 สิริปโภ

สิริปโภ
  • Members
  • 1,766 posts
  • Gender:Male
  • Interests:เรื่องลึกลับ

Posted 17 February 2006 - 09:40 AM

เวลาเราจะยกเลิกอะไรๆ เรามักจะใช้คำว่า โมฆะ ก็เปรียบได้ว่ายกเลิก หรือสิ้นสุด

แต่ถ้าเป็นโมฆะบุรุษ น่าจะแปลว่า "พอกันทีกับไอ้คนพรรณนี้" อะไรประมาณนนี้อ่ะครับ




#8 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 posts

Posted 17 February 2006 - 12:29 PM

เหตุให้พระสัทธรรมดำรงอยู่หรืออันตรธาน(2)

[๑๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่าธรรม ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนัตถะมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก และย่อมจะยังสัทธรรมนี้ให้อันตรธาน ฯ

[๑๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า อธรรม ฯลฯ ที่แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า วินัย ฯลฯ ที่แสดงวินัยว่า มิใช่วินัย ฯลฯ ที่แสดงพระดำรัสอันพระตถาคตมิได้ทรงภาษิต มิได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตทรงภาษิตไว้ตรัสไว้ ฯลฯ ที่แสดงพระดำรัสอันพระตถาคตได้ทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ฯลฯ ที่แสดงกรรมอันพระตถาคตมิได้ทรงสั่งสมว่า พระตถาคตทรงสั่งสม ฯลฯ ที่แสดงกรรมอันพระตถาคตได้ทรงสั่งสมไว้ว่า พระตถาคตมิได้ทรงสั่งสมไว้ ฯลฯ ที่แสดงสิ่งอันพระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ ฯลฯ ที่แสดงสิ่งอันพระตถาคตทรงบัญญัติไว้ว่า พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนัตถะใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบาปใช่บุญเป็นอันมาก และย่อมยังสัทธรรมนี้ให้อันตรธาน ฯ

[๑๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่าอธรรม ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมากเพื่ออัตถะประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญเป็นอันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น

[๑๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า ธรรม ฯลฯ ที่แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า มิใช่วินัย ฯลฯ ที่แสดงวินัยว่า วินัย ฯลฯ ที่แสดงพระดำรัสอันพระตถาคตมิได้ทรงภาษิต มิได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตมิได้ตรัสไว้ ฯลฯ ที่แสดงพระดำรัสอันพระตถาคตได้ทรงภาษิต ได้ตรัสไว้ว่าพระตถาคตได้ทรงภาษิต ได้ตรัสไว้ ฯลฯ ที่แสดงกรรมที่พระตถาคตมิได้ทรงสั่งสมว่า พระตถาคตมิได้ทรงสั่งสม ฯลฯ ที่แสดงกรรมอันพระตถาคตทรงสั่งสมว่า พระตถาคตทรงสั่งสม ฯลฯ ที่แสดงสิ่งอันพระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติว่าพระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติ ฯลฯ ที่แสดงสิ่งอันพระตถาคตทรงบัญญัติว่า พระตถาคตทรงบัญญัติ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออัตถะประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญเป็นอันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น

[๑๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอนาบัติว่า อาบัติ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติว่า อนาบัติ ฯลฯ ที่แสดงลหุกาบัติว่า เป็นครุกาบัติ ฯลฯ ที่แสดงครุกาบัติว่า เป็นลหุกาบัติ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ฯลฯที่แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า อาบัติมีส่วนเหลือ ฯลฯที่แสดงอาบัติทำคืนได้ว่า อาบัติทำคืนไม่ได้ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติทำคืนไม่ได้ว่าอาบัติทำคืนได้ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนัตถะใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมากเพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบาปใช่บุญเป็นอันมากและย่อมทำให้สัทธรรมนี้อันตรธาน

[๑๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอนาบัติว่า อนาบัติ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมากเพื่ออัตถะประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญเป็นอันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น

[๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอาบัติว่า อาบัติ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมากเพื่ออัตถะประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญเป็นอันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น ฯ

[๑๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงลหุกาบัติว่า เป็นลหุกาบัติ ฯลฯ ที่แสดงครุกาบัติว่า เป็นครุกาบัติ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่า อาบัติมีส่วนเหลือ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่าอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติทำคืนได้ว่า อาบัติทำคืนได้ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติทำคืนไม่ได้ว่า อาบัติทำคืนไม่ได้ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออัตถะประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญเป็นอันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น ฯ

(ขาดช่วงกำลังค้นคว้าอยู่ครับ)

๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร

[๕๓๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นพระมหากัสสปนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้เมื่อก่อนสิกขาบทมีน้อยและภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีมาก และอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บัดนี้สิกขาบทมีมาก และภิกษุตั้งอยู่ในพระอรหัตผลมีน้อย ฯ

[๕๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือเมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใดตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใดตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ

[๕๓๓] ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะอัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้ ฯ

[๕๓๔] ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม
เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้
๑.ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา
๒. ไม่เคารพยำเกรงในพระธรรม
๓. ไม่เคารพยำเกรงในพระสงฆ์
๔. ไม่เคารพยำเกรงในสิกขา
๕.ไม่เคารพยำเกรงในสมาธิ


เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ

[๕๓๕] ดูกรกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑ ในพระธรรม ๑ ในพระสงฆ์ ๑ ในสิกขา ๑ ในสมาธิ ๑ เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือนไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ

ที่มา : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

ธรรม ๒ อย่างเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือนเลือนหายแห่งสัทธรรม

[๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือนเลือนหายแห่งสัทธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน? คือ
บทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ๑ อรรถที่นำมาไม่ดี ๑ แม้เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ก็ย่อมเป็นอันนำมาไม่ดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือนเลือนหายแห่งสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งสัทธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ บทพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี ๑ อรรถที่นำมาดี ๑ แม้เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ดีแล้ว ก็ย่อมเป็นอันนำมาดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ฯ

ที่มา : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

บุคคล ๔ จำพวกที่เป็นอสัทธรรม

[๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
๑. เป็นผู้หนักในความโกรธ ไม่หนักในสัทธรรม
๒.เป็นผู้หนักในความลบหลู่ ไม่หนักในสัทธรรม
๓. เป็นผู้หนักในลาภ ไม่หนัก ในสัทธรรม
๔. เป็นผู้หนักในสักการะ ไม่หนักในสัทธรรม
บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก

บุคคล ๔ จำพวกที่เป็นสัทธรรม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ
๑.เป็นผู้หนักในสัทธรรม ไม่หนักในความโกรธ
๒. เป็นผู้หนักในสัทธรรม ไม่หนักในความลบหลู่
๓. เป็นผู้หนักในสัทธรรม ไม่หนักในลาภ
๔. เป็นผู้หนักในสัทธรรม ไม่หนักในสักการะ
บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ

[๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
๑. ความเป็นผู้หนักในความโกรธ ไม่เป็นผู้หนักในสัทธรรม
๒.ความเป็นผู้หนักในความลบหลู่ ไม่หนักในสัทธรรม
๓. ความเป็นผู้หนักในลาภไม่หนักในสัทธรรม
๔. ความเป็นผู้หนักในสักการะ ไม่หนักในสัทธรรม
อสัทธรรม ๔ ประการนี้แล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธรรม ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
๑.ความเป็นผู้หนักในสัทธรรม ไม่หนักในความโกรธ
๒.ความเป็นผู้หนักในสัทธรรม ไม่หนักในความลบหลู่
๓. ความเป็นผู้หนักในสัทธรรม ไม่หนักในลาภ
๔. ความเป็นผู้หนักในสัทธรรม ไม่หนักในสักการะ
สัทธรรม ๔ ประการนี้แล ฯ

ภิกษุผู้หนักในความโกรธและความลบหลู่ หนักในลาภและสักการะย่อมไม่งอกงามในพระสัทธรรม
ดุจพืชที่หว่านไว้ในนาไม่ดี


ส่วนภิกษุเหล่าใด เป็นผู้หนักในสัทธรรมอยู่แล้วและกำลังเป็นผู้หนักในสัทธรรม ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมงอกงามในธรรม ประดุจต้นไม้อาศัยยางงอกงามอยู่ ฉะนั้น ฯ

ที่มา : พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

#9 อาจารย์ตี๋ม.ธ.

อาจารย์ตี๋ม.ธ.
  • Members
  • 13 posts

Posted 17 February 2006 - 09:06 PM

สาธุ

#10 Streamdhamma

Streamdhamma

    หยุด นิ่ง เฉย ได้ไหม

  • Members
  • 528 posts
  • Gender:Male

Posted 17 February 2006 - 10:13 PM

สาธุ เช่นเดียวกันหรอค่ะ โมฆำ กะ โมฆบุรุษ นี่น่ะ
"เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่
ย่อมมีแสงอรุณขึ้นก่อน
เป็นบุพนิมิตฉันใด
ความเป็นกัลยาณมิตรก็เป็นตัวนำ
เป็นบุพนิมิตแห่งการเกิดขึ้น
ของหนทางพระนิพพาน ฉันนั้น"



#11 *miocercio*

*miocercio*
  • Guests

Posted 18 February 2006 - 07:53 PM


one more time.

ขอเชื่อมโยงกระทู้นี้กับกระทู้ทอดผ้าป่าคริสต์


ภัยแห่งพระพุทธศาสนา ความจริงมีมานานแล้ว แต่ถ้าเราไม่ประมาทจริง ๆ ก็ยังพอมีทางที่จะแก้ปัญหาได้
ในเมืองไทยศาสนาคริสต์เข้ามาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราวสามร้อยปีมาแล้ว จนถึงปัจจุบันมีคนไปเป็นคริสต์อยู่เพียง แสนกว่าคนถือว่าไม่ได้ผลเลย จึงต้องหันมาใช้วิธี dialogue ให้มีการวิสาสะกัน

ใช้วิธีผสมกลมกลืน
(Assimilalion) ในเอกสารที่เป็น Bulletin มีบอกหมดว่าประเทศไทยเวลานี้มีสถานการณ์อย่างไร องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก พุทธสมาคม ทำงานได้ผลหรือไม่ พระสงฆ์เป็นอย่างไร ชาวไทยเป็นอย่างไร เขาควรจะปฏิบัติอย่างไรจึงจะให้ผลดี เริ่มตั้งแต่ในแง่คำสอนทางศาสนา ก็ให้คนเก่าของคริสต์ไปเรียนหลักธรรมของพระพุทธศาสนา แล้วเอามาใช้ในคริสตศาสนา

ตลอดจนพิธีกรรมต่าง ๆ ก็นำมาใช้เช่นชาวคริสต์ทอดผ้าป่า พยายามใช้วิธีบวชแบบพุทธ มีการขานนาคมีคู่สวด อันไหนได้ผลก็ทำต่อ อันไหนไม่ได้ผลก็เลิกไป นอกจากนั้นยังนำเอาแบบแผนทางสถาปัตยกรรมไปใช้ โดยออกแบบให้คล้ายแบบไทยและเป็นแบบพุทธ มีการนำเอาโต๊ะหมู่บูชาไปใช้

บาทหลวงคริสต์เอานิพพานเป็นอัตตา เพื่อให้พุทธศาสนากลายเป็นคำบัญชาจากพระผู้เป็นเจ้า

นอกจากภาคปฎิบัติแล้ว เราก็พบในแง่คำสอน เขาวางวิธีเอาหลักธรรมของพระพุทธศาสนาไปอธิบายแบบคริสต์ เป็นการครอบคือ เอาพุทธไปไว้ข้างใน แล้วเอาคริสต์เป็นใหญ่คลุมไว้ทั้งหมด ให้พระพุทธเจ้าเป็นคนที่พระเจ้าส่งมา บอกว่าพระพุทธเจ้าเป็นประกาศก ที่พระผู้เป็นเจ้าส่งมา เพื่อเตรียมชาวตะวันออกไว้ต้อนรับพระเยซู

อนัตตาเขาบอกว่าคริสต์ก็มี สรุปได้ความว่า พระพุทธเจ้าสอนไปได้ถึงแค่อนัตตา คือสอนอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จบแค่นั้น ต้องอาศัยรอพระเยซูมาสอนอัตตาอีกทีหนึ่ง



พระพุทธศาสนาเป็นของพุทธบริษัทสี่

พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้ว พุทธบริษัทสี่ไม่ใช่มีแต่พระฝ่ายเดียว แต่มีทั้งบรรพชิต และคฤหัสทั้งหมด นี่เป็นเจ้าของพระพุทธศาสนา จึงมีสิทธิเท่ากัน ในเมื่อทุกคนมีสิทธิเท่ากัน ก็ใช้ความถูกต้องใช้ธรรมวินัยตัดสิน ฉะนั้นต้องตั้งจิตคิดกันใหม่ ถ้าไปตั้งใจแบบยกศาสนาให้เป็นของพระ ตัวไม่เกี่ยว พระศาสนาก็อยู่ไม่ได้ เรื่องนี้ต้องรีบแก้ไข ท่าทีที่ผิดมานานแล้วในสังคมไทยคือมองไปว่า

ถ้าใครไม่เอาเรื่องเอาราวเรียกว่าวางเฉยก็ถือว่าดี อันนี้เป็นอันตรายมากต่อพระพุทธศาสนา คือไปนึกว่าทำอย่างนั้นเป็นอุเบกขา อุเบกขามีหลายอย่าง แต่อุเบกขาที่เป็นหลักใหญ่มี ๒ อย่างคือ อุเบกขาที่ถูกกับ อุเบกขาที่ผิด อุเบกขาที่ถูกนั้นเป็นธรรมชั้นสูงมากับปัญญา ที่รู้ และทำให้วางใจพอดีได้ แต่ต้องไม่ประมาทด้วย

ปล่อยวางได้คือจิตใจของบัณฑิต แต่ถ้าปล่อยปละละเลยก็ผิด เพราะเป็นกรรมของคนพาล

ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ท่านให้ถือกิจส่วนรวมเป็นสำคัญ ตามหลักพระวินัยกิจของสงฆ์ พระภิกษุทุกรูปต้องเคารพให้เป็นใหญ่ แม้แต่พระอรหันต์จะไปเข้านิโรธสมาบัติ ก็ต้องวางใจไว้ก่อนว่า ถ้ามีเรื่องส่วนรวมของสงฆ์เกิดขึ้นต้องออกจากนิโรธสมาบัติทันที ถ้าพูดสรุปโดยสาระคือ ปล่อยวางได้ แต่อย่าให้กลายเป็นปล่อยปละละเลย ปล่อยวางเป็นเรื่องของจิตใจที่ไม่ยึดติดถือมั่น แต่ปล่อยปละละเลยคือความประมาท เป็นอกุศลเป็นความเสื่อม

พระอรหันต์ มีลักษณะอย่างหนึ่งคือ เป็นผู้ไม่อาจจะประมาท เป็นผู้ปล่อยวางในทางจิตใจ เพราะท่านไม่ยึดติดอะไร ท่านไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตัวเอง ท่านจึงยกชีวิตนี้ให้เป็นของส่วนรวม เพื่อทำประโยชน์สุขแก่มนุษย์ทั้งปวงได้เต็มที่ พูดตามภาษาพระว่า พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย คือเพื่อประโยชน์สุขของพหุชน เพื่อเกื้อกูลแก่ชาวโลก

พระพุทธเจ้าเมื่อตรัสรู้แล้วได้จาริกไปโปรดสัตว์ อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย เพราะไม่มีอะไรจะต้องทำเพื่อตนเอง จึงยกพระชนม์ชีพให้แก่สรรพสัตว์ อันนี้เป็นลักษณะของพระอรหันต์ เรียกว่า เป็นผู้ไม่มีกิจที่จะต้องทำเพื่อตนเองอีกต่อไป ชาวพุทธในอดีตก็ได้ดำเนินตามคติพระอรหันต์ข้อนี้

หมายเหตุ เก็บความจากหนังสือเรื่องภัยแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ของพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)

เรื่องส่วนตัวให้วางอุเบกขา เรื่องพระศาสนาให้เอาอุเบกขาวาง