เรียนถามท่านผู้รู้
Started by ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี, Nov 20 2007 10:37 AM
7 replies to this topic
#1
Posted 20 November 2007 - 10:37 AM
กระผมมีข้อสงสัยมาซักถามดังนี้ครับ
๑. ความหมายของคำว่า “การฉันอาหารคณโภชน์” อันเป็นหนึ่งในอานิสงส์ตามพระธรรมวินัยของภิกษุผู้ได้กรานกฐินและอนุโมทนาแล้ว มีความหมายว่าอย่างไร?
๒. อาบัติมหานิสสัคคีย์ ผมทราบมาว่าอาบัติกองนี้ เป็นอาบัตินอกพระปาฏิโมกข์ แต่ท่านพอจะทราบรายละเอียดและความหมายของอาบัติดังกล่าวหรือไม่ครับ? หากท่านทราบ ขอความกรุณาอธิบายให้เข้าใจแบบพอสังเขปด้วยครับ
๓. ที่ว่าการรับประทานอาหารมื้อเย็นนั้น จัดเป็นเสบียงแห่งกามสำหรับผู้ประพฤติธรรมนั้น เป็นเช่นไร? ทำไมการรับประทานอาหารมื้อเย็นจึงเป็นเสมือนดั่งชนวนที่ทำให้ดวงจิตของผู้บำเพ็ญพรตแล่นไปในอารมณ์เช่นนั้น? (เรื่องนี้ผมทราบดี เพราะได้ยินมาหลายกระแส หลายความคิด อยากทราบว่าทรรศนะและเหตุผลของท่านที่มีต่อเรื่องนี้เป็นเช่นไร? บอกไว้ก่อนว่า ผมมิได้มีเจตนามาลองภูมิท่านนะครับ)
๔. ในคัมภีร์ปรมัตถทีปนี ได้มีการกล่าวถึงพระโสดาบันอยู่จำพวกหนึ่ง ซึ่งเป็นพระโสดาบันที่มีความยินดีในการเวียนว่ายในสังสารวัฏ (วัฏฏาภิรตโสดาบัน) อยู่ ๗ ท่าน ดังปรากฏมีพระนามและรายนามดังต่อไปนี้
๔.๑ สมเด็จพระอมรินทราเทวาธิราช
๔.๒ อนาถบิณฑิกเทวาโสดาบัน
๔.๓ วิสาขาเทพนารีโสดาบัน
๔.๔ มหารถเทวาโสดาบัน
๔.๕ จูฬรถเทวาโสดาบัน
๔.๖ อเนกวรรณเทวาโสดาบัน
๔.๗ นาคทัตตเทวาโสดาบัน
กระผมมีความสนใจในประวัติของท่านนาคทัตตะ เนื่องจากยังไม่เคยได้ยินได้ฟังจากที่ใดเลย ท่านพอจะมีประวัติของท่านนาคทัตตะบ้างหรือไม่ครับ? ถ้ามี ขอความกรุณาได้นำมาลงไว้ในหมวดธรรมกถึกให้ด้วยนะครับ ขอบพระคุณมากครับ
๑. ความหมายของคำว่า “การฉันอาหารคณโภชน์” อันเป็นหนึ่งในอานิสงส์ตามพระธรรมวินัยของภิกษุผู้ได้กรานกฐินและอนุโมทนาแล้ว มีความหมายว่าอย่างไร?
๒. อาบัติมหานิสสัคคีย์ ผมทราบมาว่าอาบัติกองนี้ เป็นอาบัตินอกพระปาฏิโมกข์ แต่ท่านพอจะทราบรายละเอียดและความหมายของอาบัติดังกล่าวหรือไม่ครับ? หากท่านทราบ ขอความกรุณาอธิบายให้เข้าใจแบบพอสังเขปด้วยครับ
๓. ที่ว่าการรับประทานอาหารมื้อเย็นนั้น จัดเป็นเสบียงแห่งกามสำหรับผู้ประพฤติธรรมนั้น เป็นเช่นไร? ทำไมการรับประทานอาหารมื้อเย็นจึงเป็นเสมือนดั่งชนวนที่ทำให้ดวงจิตของผู้บำเพ็ญพรตแล่นไปในอารมณ์เช่นนั้น? (เรื่องนี้ผมทราบดี เพราะได้ยินมาหลายกระแส หลายความคิด อยากทราบว่าทรรศนะและเหตุผลของท่านที่มีต่อเรื่องนี้เป็นเช่นไร? บอกไว้ก่อนว่า ผมมิได้มีเจตนามาลองภูมิท่านนะครับ)
๔. ในคัมภีร์ปรมัตถทีปนี ได้มีการกล่าวถึงพระโสดาบันอยู่จำพวกหนึ่ง ซึ่งเป็นพระโสดาบันที่มีความยินดีในการเวียนว่ายในสังสารวัฏ (วัฏฏาภิรตโสดาบัน) อยู่ ๗ ท่าน ดังปรากฏมีพระนามและรายนามดังต่อไปนี้
๔.๑ สมเด็จพระอมรินทราเทวาธิราช
๔.๒ อนาถบิณฑิกเทวาโสดาบัน
๔.๓ วิสาขาเทพนารีโสดาบัน
๔.๔ มหารถเทวาโสดาบัน
๔.๕ จูฬรถเทวาโสดาบัน
๔.๖ อเนกวรรณเทวาโสดาบัน
๔.๗ นาคทัตตเทวาโสดาบัน
กระผมมีความสนใจในประวัติของท่านนาคทัตตะ เนื่องจากยังไม่เคยได้ยินได้ฟังจากที่ใดเลย ท่านพอจะมีประวัติของท่านนาคทัตตะบ้างหรือไม่ครับ? ถ้ามี ขอความกรุณาได้นำมาลงไว้ในหมวดธรรมกถึกให้ด้วยนะครับ ขอบพระคุณมากครับ
"ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน"
พระพุทธภาษิต
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
พระอมตะวจนา แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[/color]
"...พระพุทธศาสนา บริบูรณ์ด้วยสัจธรรมที่เป็นสาระ และเป็นประโยชน์ในทุกระดับ
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
[color="#990000"]ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี
#2
Posted 21 November 2007 - 01:58 AM
( beaming ) long time no seen..... ( waiting to read/listening the answer )
คุณครูไม่ใหญ่ บอกว่า :
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย
ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง
1. อดีตที่ผิดพลาด ลืมให้หมด 2. บาปทุกชนิดไม่ทำเพิ่มเด็ดขาด 3. หมั่นนึกถึงบุญอย่างสม่ำเสมอ
4. บุญทุกบุญทำให้เข้มข้นทับทวี 5. ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย
ขออนุโมทนาบุญด้วยนะค่ะ _/|\_ สาธุ สาธุ สาธุ ด้วยรักจากใจ ด้วยห่วงใย จากใจจริง
#3
Posted 21 November 2007 - 07:46 PM
โห ยากจัง เดี๋ยวขอเวลาสักหน่อยนะครับ
แค่นี้ยังทำไม่ได้ แล้วจะไปปราบมารได้ไง
#4
Posted 22 November 2007 - 09:38 AM
รอฟัง คำอธิบาย เหมือนกันค่ะ
อนุโมทนา สาธุ ^0^
อนุโมทนา สาธุ ^0^
#5
Posted 26 November 2007 - 07:52 AM
1. การฉันคณโภชน์ คือ การฉันอาหารเป็นหมู่ตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป คือ ฉันล้อมวง (ปกติสมัยพุทธกาลจะฉันอาหารเรียงเป็นแถวหรือไม่ก็แยกกันฉัน) เว้นไว้แต่คราวจำเป็น เช่น คราวมีข้าวยากหมากแพงหาอาหารยาก จึงสามารถขออาหารมานั่งฉันรวมกันได้ เป็นต้น
เหตุที่บัญญัติข้อนี้ก็เพื่อสกัดความคิดมิชอบของพระเทวทัต คือ ตนได้แนะนำพระเจ้าอชาตศัตรูให้ฆ่าพระบิดา เป็นเหตุให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา เมื่อไม่มีศรัทธาพระเทวทัตมีจิตคิดว่า “เราควรเกาะกลุ่มกันไว้ ไม่ควรแตกแยกกัน” ก็เลยพาหมู่คณะไปหาลาภข้างหน้าโดยแยกย้ายไปขออาหารตามหมู่บ้าน แล้วนำมาฉันรวมกัน ทำให้ชาวบ้านเห็นแล้วก็ติเตียนโพนทะนาว่า “ทำไมสมณะศากยบุตรถึงเที่ยวขออาหารมาฉันตามชอบใจกันเล่า ไม่น่าเลื่อมใสเสียเลย”
และสาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ ในสมัยก่อนนั้นถือปฏิบัติเคร่ง การฉันล้อมวงกันทำให้ดูเหมือนว่าไม่สำรวมด้วย
แต่ในคราวพิเศษ เช่น กฐิน จึงอนุโลมสามารถฉันคณโภชน์ได้ ไม่ต้องกังวลกับเรื่องข้อบัญญัติมากไป จะได้ทำการกรานกฐินได้สะดวก
2. ที่ว่าอาหารเย็น เป็นเสบียงกามสำหรับผู้บำเพ็ญพรตก็เพราะว่า มันจะทำให้เพาะเชื้อแห่งความอยากนั่นเอง เมื่ออยากก็ต้องแสวงหา เมื่อแสวงหาก็ต้องมีกังวล..ไม่จบ ที่จริงอาหารทุกมื้อก็จัดว่าเป็นเสบียงกามทั้งสิ้น หากบริโภคเกิน ไม่พอดี ในสมัยก่อน พระธุดงค์จะฉันแค่มื้อเดียวต่อวันเท่านั้น(ส่วนใหญ่จะเป็นมื้อเช้า) ไม่ได้ 2 มือต่อวันเหมือนพระทั่วไป ท่านเห็นว่า พอดีของท่านขอแค่มื้อเดียวก็เพียงพอ จึงตัดมื้อที่เกินจำเป็นออกเพื่อตัดความกังวลในการแสวงหา เหมือนอย่างงบประมาณของบริษัท ถ้ามีงบไหนเกินจำเป็น ก็ตัดงบประมาณนั้นออก เพื่อให้มีรายรับรายจ่ายพอดีนั่นเอง
เรื่องของเรื่องก็คือ ความอยากทำให้เกิดทุกข์...........
3. มหานิสสัคคิยปาจิตตีย์นั้น ยังไม่เคยได้ยินเหมือนกัน มีแต่นิคสัคคีย์ธรรมดา (ยังไม่ได้มหา) ถ้ายังไงรบกวนช่วยหาตัวอย่างมาให้ดูด้วย
4. นาคทัตตเทพบุตร เป็นเทวดาตนหนึ่งที่ภูเขาคันธมาทน์ เคยถวายน้ำนมและเนยใสซึ่งเกิดด้วยอานุภาพบุญแด่พระสิวลีและภิกษุสงฆ์ 500 รูป ในพระไตรปิฎกปรากฏรายละเอียดตรงนี้ที่เดียว คิดว่าน่าจะเป็นคนเดียวกันกับนาคทัตตโสดาบันที่เอ่ยถึงในจำนวนวัฏฏาภิรตโสดาบัน 7 คนนั้น
หมายเหตุ รายละเอียดเพิ่มเติมของนาคทัตตเทพบุตร ให้ไปดูที่ อรรถกถาภัททิยวรรคที่ ๕๕ เถราปทาน สีวลิเถราปทาน เล่มที่ 72 หน้า 346
เหตุที่บัญญัติข้อนี้ก็เพื่อสกัดความคิดมิชอบของพระเทวทัต คือ ตนได้แนะนำพระเจ้าอชาตศัตรูให้ฆ่าพระบิดา เป็นเหตุให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา เมื่อไม่มีศรัทธาพระเทวทัตมีจิตคิดว่า “เราควรเกาะกลุ่มกันไว้ ไม่ควรแตกแยกกัน” ก็เลยพาหมู่คณะไปหาลาภข้างหน้าโดยแยกย้ายไปขออาหารตามหมู่บ้าน แล้วนำมาฉันรวมกัน ทำให้ชาวบ้านเห็นแล้วก็ติเตียนโพนทะนาว่า “ทำไมสมณะศากยบุตรถึงเที่ยวขออาหารมาฉันตามชอบใจกันเล่า ไม่น่าเลื่อมใสเสียเลย”
และสาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ ในสมัยก่อนนั้นถือปฏิบัติเคร่ง การฉันล้อมวงกันทำให้ดูเหมือนว่าไม่สำรวมด้วย
แต่ในคราวพิเศษ เช่น กฐิน จึงอนุโลมสามารถฉันคณโภชน์ได้ ไม่ต้องกังวลกับเรื่องข้อบัญญัติมากไป จะได้ทำการกรานกฐินได้สะดวก
2. ที่ว่าอาหารเย็น เป็นเสบียงกามสำหรับผู้บำเพ็ญพรตก็เพราะว่า มันจะทำให้เพาะเชื้อแห่งความอยากนั่นเอง เมื่ออยากก็ต้องแสวงหา เมื่อแสวงหาก็ต้องมีกังวล..ไม่จบ ที่จริงอาหารทุกมื้อก็จัดว่าเป็นเสบียงกามทั้งสิ้น หากบริโภคเกิน ไม่พอดี ในสมัยก่อน พระธุดงค์จะฉันแค่มื้อเดียวต่อวันเท่านั้น(ส่วนใหญ่จะเป็นมื้อเช้า) ไม่ได้ 2 มือต่อวันเหมือนพระทั่วไป ท่านเห็นว่า พอดีของท่านขอแค่มื้อเดียวก็เพียงพอ จึงตัดมื้อที่เกินจำเป็นออกเพื่อตัดความกังวลในการแสวงหา เหมือนอย่างงบประมาณของบริษัท ถ้ามีงบไหนเกินจำเป็น ก็ตัดงบประมาณนั้นออก เพื่อให้มีรายรับรายจ่ายพอดีนั่นเอง
เรื่องของเรื่องก็คือ ความอยากทำให้เกิดทุกข์...........
3. มหานิสสัคคิยปาจิตตีย์นั้น ยังไม่เคยได้ยินเหมือนกัน มีแต่นิคสัคคีย์ธรรมดา (ยังไม่ได้มหา) ถ้ายังไงรบกวนช่วยหาตัวอย่างมาให้ดูด้วย
4. นาคทัตตเทพบุตร เป็นเทวดาตนหนึ่งที่ภูเขาคันธมาทน์ เคยถวายน้ำนมและเนยใสซึ่งเกิดด้วยอานุภาพบุญแด่พระสิวลีและภิกษุสงฆ์ 500 รูป ในพระไตรปิฎกปรากฏรายละเอียดตรงนี้ที่เดียว คิดว่าน่าจะเป็นคนเดียวกันกับนาคทัตตโสดาบันที่เอ่ยถึงในจำนวนวัฏฏาภิรตโสดาบัน 7 คนนั้น
หมายเหตุ รายละเอียดเพิ่มเติมของนาคทัตตเทพบุตร ให้ไปดูที่ อรรถกถาภัททิยวรรคที่ ๕๕ เถราปทาน สีวลิเถราปทาน เล่มที่ 72 หน้า 346
<a href="http://www.dmc.tv/im...0-02-14-18.jpg" target="_blank">
</a>
</a>
#6
Posted 27 November 2007 - 10:51 AM
ขอกราบขอบพระคุณท่าน Samana072 เป็นอย่างสูงด้วยครับ สาธุ... สาธุ... สาธุ... อนุโมทามิ
"ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน"
พระพุทธภาษิต
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
พระอมตะวจนา แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
[/color]
"...พระพุทธศาสนา บริบูรณ์ด้วยสัจธรรมที่เป็นสาระ และเป็นประโยชน์ในทุกระดับ
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
[color="#990000"]ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี
#7
Posted 18 December 2007 - 07:09 PM
สาธุ
พระพุทธเจ้ารู้
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์
#8
Posted 26 January 2008 - 02:27 PM
ธรรมะพระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้นั้น ถ้าจะกล่าวไปแล้วในทุกๆหมวดทุกๆข้อ ไม่มีอะไรซับซ้อน ( เฉพาะบุคคลที่รู้จักคำว่า ธรรมะคืออะไร ) ปัญหาทั้งหมดส่วนใหญ่แล้ว มาจาก อวิชชาตัวเดียว อวิชชานั้นมีพื้นฐานมาจาก ถือความเข้าใจของตน ว่า ดีกว่า คำสอนของพระพุทธเจ้า ( พระผู้ที่ไม่ได้สอนมนุษย์ด้วยความอยากของพระองค์ เพราะดับแล้วไม่เหลือแล้ว) คำสอนของพระองค์นั้นมีความบริสุทธิ์ล้วนๆ ไม่มีสิ่งอื่นใดเจือปนในคำสอน อยากดื่มพระธรรมเหมือนพระองค์ แต่ยังกลัวว่า ไม่สุขจริง ตรงนี้ คือ อวิชชา
วิธีการที่งายที่สุด คือ อ่อนน้อมต่อพระรัตนตรัย โดยไม่มีลิมิต ไม่มีขีดจำกัด ไม่มีข้อปฎิเสธ ไม่สงสัยในคำสอนใดๆ การอ่อนน้อมต่อพระรัตนตรัย ( แต่ไม่อ่อนน้อมต่อ กิเลสมารทั้งปวง ) จะทำให้จิตใจนั้นเป็นดั่ง ภาชนะที่อ่อนนุ่มไม่มีลิมิต ไม่มีข้อยกเว้นไม่มีขีดจำกัด สามารถรองรับได้ ทุกๆสภาวะ เมื่อ มีจิตใจเป็นแบบนี้ เมื่อไร ท่านจะรับรู้ได้ว่า ทันทีเลยว่า ธรรมนั้นเป็นของง่าย ไม่ต้องคิดไปในสิ่งใดๆ เพราะ คิด ก้อเป็นธรรมะ ไม่คิดก็เป็นธรรมะ แต่เป็นธรรมะที่ ไม่มีโทษใดๆ
ขอสติปัญญาจงบังเกิดแด่ท่านทั้งหลายให้สูงยิ่งๆขึ้นไปเถิด สาธุ
วิธีการที่งายที่สุด คือ อ่อนน้อมต่อพระรัตนตรัย โดยไม่มีลิมิต ไม่มีขีดจำกัด ไม่มีข้อปฎิเสธ ไม่สงสัยในคำสอนใดๆ การอ่อนน้อมต่อพระรัตนตรัย ( แต่ไม่อ่อนน้อมต่อ กิเลสมารทั้งปวง ) จะทำให้จิตใจนั้นเป็นดั่ง ภาชนะที่อ่อนนุ่มไม่มีลิมิต ไม่มีข้อยกเว้นไม่มีขีดจำกัด สามารถรองรับได้ ทุกๆสภาวะ เมื่อ มีจิตใจเป็นแบบนี้ เมื่อไร ท่านจะรับรู้ได้ว่า ทันทีเลยว่า ธรรมนั้นเป็นของง่าย ไม่ต้องคิดไปในสิ่งใดๆ เพราะ คิด ก้อเป็นธรรมะ ไม่คิดก็เป็นธรรมะ แต่เป็นธรรมะที่ ไม่มีโทษใดๆ
ขอสติปัญญาจงบังเกิดแด่ท่านทั้งหลายให้สูงยิ่งๆขึ้นไปเถิด สาธุ