Jump to content


Photo
- - - - -

พุทธกิจประจำวัน ๕ ประการและพุทธจริยา ๓ ประการ


  • You cannot start a new topic
  • Please log in to reply
12 replies to this topic

#1 เพียงพอ

เพียงพอ

    I |\|EE|) S()|\/|E |3()DY |_()\/E.

  • Members
  • 724 posts
  • Location:ไม่มีข้อมูล
  • Interests:ไม่มีข้อมูล

Posted 04 January 2006 - 09:35 PM

งานการสอนธรรม เพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า เป็นงานที่ละเอียดประณีต เพราะทรงมุ่งให้เป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่คนทั้งปวงและอำนงยผลให้เป็นความสุข พระพุทธเจ้า จึงทรงมีกิจหลักที่เรียกว่าพุทธกิจ ในแต่ละวันทรงมีพุทธกิจหลัก ๕ ประการ เพื่อบำเพ็ญพุทธจริยา ๓ ประการ เพื่อบำเพ็ญพุทธจริยา ๓ ประการ ของพระพุทธเจ้าให้สมบูรณ์ คือ
พุทธจริยาประการที่หนึ่ง โลกัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่โลก ในฐานะที่พระองค์เป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคมโลก ความสำเร็จในจริยาข้อนี้ทรงอาศัยพุทธกิจประจำวัน ๕ ประการคือ

พุทธกิจประการที่ ๑ เวลาเช้าเสด็จออกบิณฑบาต เพื่อเป็นการโปรดสัตว์โลกผู้ต้องการบุญ
พุทธกิจประการที่ ๒ ในเวลาเย็นทรงแสดงธรรมแก่คนผู้สนใจในการฟังธรรม
พุทธกิจประการที่ ๓ ในเวลาค่ำทรงประทานพระโอวาทให้กรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลาย
พุทธกิจประการที่ ๔ ในเวลาเที่ยงคืน ทรงแสดงธรรม และตอบปัญหาแก่เทวดาทั้งหลาย
พุทธกิจประการที่ ๕ ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูสัตว์โลกที่อาจจะรู้ธรรมซึ่งประองค์ทรงแสดง แล้วได้รับผลตามสมควรแก่อุปนิสัยบารมีของคนเหล่านั้น

พุทธกิจประการที่ ๕ นี้เอง เป็นจุดเด่นในการทำงานของพระพุทธเจ้า จนทำให้ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนา บางคนมีความรู้สึกว่าทำไมคนแต่ก่อนสำเร็จกันง่ายเหลือเกิน ถ้าศึกษารายละเอียดแล้วจะพบว่าไม่มีคำว่าง่ายเลย เพราะนอกจากจะอาศัยวาสนาบารมีของคนเหล่านั้นเป็นฐานอย่างสำคัญแล้ว การแสดงธรรมของพระองค์นั้น เป็นระบบการทำงานที่มีการศึกษาข้อมูล การประเมินผล การสรุปผลในการแสดงธรรมทุกคราว

หลังจากที่บุคคลนั้น ๆ ปรากฏในข่ายพระญาณของพระพุทธเจ้าคือทรงรู้ว่าเขาเป็นใคร ? มีอุปนิสัยบารมีอย่างไร ? แสดงธรรมอะไรจึงได้ผล ? หลังจากแสดงธรรมแล้วผลจะออกมาเป็นอย่างไร ? ดังนั้นการแสดงธรรมทุกครั้งของพระพุทธองค์ จึงบังเกิดผล เป็นอัศจรรย์เพราะจะทรงแสดงเฉพาะแก่ผู้เป็นพุทธเวไนย คือสามารถแนะนำให้รู้ได้เป็นหลัก

พุทธจริยาประการที่สอง ญาตัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติ เช่นการทรงมีพระพุทธานุญาตพิเศษ ให้พรญาติของพระองค์ ที่เป็นเดียรถีย์ (นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา) มาก่อน ให้เข้าบวชในพรุพุทธศาสนาได้ โดยไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาสก่อน (ติตถิยปริวาส คือ วิธีอยู่กรรมสำหรับเดียรถีย์ที่ขอบวชในพระพุทธศาสนา จะต้องประพฤติปริวาส (การอยู่ชดใช้หรืออยู่กรรม) ก่อน ๔ เดือน หรือจนกว่าพระสงฆ์พอใจจึงจะอุปสมาบทได้) หรือการที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ ทรงแนะนำให้พระญาติซึ่งกำลังจะทำสงครามกันได้เข้าใจในเหตุผล สามารถปรองดองกันได้

พุทธจริยาประการที่ ๓ พุทธัตถจริยา ทรงทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า เช่น ทรงวางสิกขาบทเป็นพุทธอาณา สำหรับควบคุมความประพฤติของผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ทรงแนะนำให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหน้าที่ของตน ทรงวางพระองค์ต่อผู้ที่เข้ามาบวชและแสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกา ในฐานะของบิดากับบุตร ผู้ปกครองกัลยาณมิตร ศาสดาผู้เอ็นดูเป็นต้น ตามสมควรแก่บุคคลและโอกาสนั้น ๆ จนสามารถประดิษฐานเป็นรูปสถาบันศาสนาสืบต่อกันมาได้

Edited by Muralath, 04 January 2006 - 09:40 PM.


#2 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 posts

Posted 04 January 2006 - 10:28 PM

โมทนาสาธุการครับ.....
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#3 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1,368 posts

Posted 04 January 2006 - 10:59 PM

อยากรู้ครับ ว่า ถ้าพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมตอนเที่ยงคืนจะแสดงเสร็จกี่โมง แล้ว ตรวจดูสัตว์โลกตอนใกล้รุ่ง อย่างนี้ พระพุทธองค์จำวัด วันนึงกี่ชั่วโมงเอ่ย
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#4 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 posts

Posted 05 January 2006 - 12:18 AM

QUOTE
อยากรู้ครับ ว่า ถ้าพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมตอนเที่ยงคืนจะแสดงเสร็จกี่โมง แล้ว ตรวจดูสัตว์โลกตอนใกล้รุ่ง อย่างนี้ พระพุทธองค์จำวัด วันนึงกี่ชั่วโมงเอ่ย

วิสัยของพระพุทธเจ้าพระองค์ทรงมีสติตลอดทั้งหลับและตื่น จะว่าหลับก็ไม่เชิงครับ จะว่าไม่หลับก็ไม่ใช่ผมคิดว่าน่าจะเป็นอย่างนี้คือ ธรรมชาติของผู้ที่หลับจะมีคลื่นสมองความถี่ต่ำช่วงคลื่นยาวไม่สั้น ในกรณีที่ทำสมาธิจิตหยุดนิ่งคลื่นสมองจะราบเรียบเหมือนเป็นเส้นตรงเลยทีเดียวครับเรียกได้ว่า เป็นการหลับแบบปิติสุขในฌาณ ร่างกายได้พักผ่อนมากกว่าคนปกติที่ไม่ฝึกสมาธิอีกครับ
พระพุทธองค์ทรงกล่าวโทษของการหลับอย่างขาดสติว่า
นอนหลับลืมสติ มีโทษ ๕ ประการ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว มีโทษ ๕ ประการ นี้คือ หลับ
เป็นทุกข์ ๑ ตื่นเป็นทุกข์ ๑ เห็นความฝันอันลามก ๑ เทพดาไม่รักษา ๑ อสุจิเคลื่อน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ ลืมสติ ไม่รู้สึกตัว มีโทษ ๕ ประการนี้แล.
นอนหลับคุมสติ มีคุณ ๕ ประการ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ มีสติตั้งมั่น รู้สึกตัวอยู่ มีคุณ ๕ ประการนี้ คือ
หลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่เห็นความฝันอันลามก ๑ เทพดารักษา ๑ อสุจิไม่เคลื่อน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่นอนหลับ มีสติตั้งมั่น รู้สึกตัว มีคุณ ๕ ประการ นี้แล.
ที่มา: พระวินัยปิฏก มหาวรรค ภาค 2
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#5 Omena

Omena
  • Members
  • 1,409 posts
  • Location:44/5 หมู่ 10 ตำบลหนองอ้อ ถนนเพชรเกษม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 70110

Posted 05 January 2006 - 07:30 AM

แล้วหลับมีสตินี่มันทำยังไงล่ะค่ะ
เมื่อไหร่หนอจะได้พบทหารหาญ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที

สุนทรพ่อ




muralath2@hotmail

#6 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 posts

Posted 05 January 2006 - 04:24 PM

หลับมีสติก็คือ จิตหยุดนิ่งปราศจากความคิด ตรงไว้ซึ่งสติรู้จิตในจิต ตัดจากการรับอารมณ์หรือผัสสะภายนอกที่มาจากทวารต่าง ๆ เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย คงเหลือไว้แต่ใจล้วนๆ ที่ปราศจากการคิดฟุ้งซ่าน ปรุงแต่งด้วยอารมณ์จิตเป็นเอกกัคตารมณ์ อารมณ์เดียว ทรงไว้ซึ่งฌาณ 4 อย่างสมบูรณ์ ครับ
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#7 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2,477 posts
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

Posted 05 January 2006 - 04:38 PM

มีเรื่อง พุทธกิจ ๔๕ พรรษา มาเพิมครับ

พรรษาที่ ๑
จำพรรษาที่อิสิปตนมฤคทายวัน
- โปรดปัญจวัคคีย์ สังฆรัตนะ เกิดขึ้นครั้งแรกในโลก
- โปรดพระยสะ และสหาย ๔๕ คน
ออกพรรษา
- ให้สาวก ๖๐ รูป มีอำนาจบวชกุลบุตร ได้โดยวิธีให้รับไตรสรณคมน์
- โปรดภัททวัคคีย์ ๓๐ รูป
- โปรดชฎิลสามพี่น้อง บวชเป็นเอหิภิกขุ ๑,๐๐๐ รูป แสดงอาทิตตปริยายสูตรสำเร็จพระอรหันต์หมด
- ไปราชคฤห์โปรดชาวเมืองและพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน
- ถวายวัดเวฬุวันเป็นวัดแรก
- ให้สงฆ์สาวกรับอารามที่มีผู้ถวายได้
- พระอัญญาโกณฑัญญะบวชปุณณมันตานีบุตร ( ลูกน้องสาว ) บรรลุอรหันต์
- ได้ ๒ อัครสาวก อุปติสสะและโกลิตะบวชบรรรลุเป็นพระอรหันต์
- บวชพระมหากัสสปะโดยรับโอวาท ๓ ข้อ

พรรษาที่ ๒
จำพรรษาที่เวฬุวัน
ออกพรรษา เสด็จเมืองเวสาลี แคว้นวัชชี
- สอนพระอานนท์ให้สาธ ยายรัตนสูตร บรรเทาภัยของชาวเมือง
- พระอานนท์ฟังกถาวัตถุ ๑๐ ประการ ( ของพระปุณณมันตาณีบุตร) เป็นพระโสดาบัน

พรรษาที่ ๓
จำพรรษาที่เวฬุวัน
- ราชคฤหเศรษฐี ขอสร้างเสนาสนะถวายสงฆ์ เป็นที่พำนักถาวร
- อนุญาตเภสัช ๕ ชนิด และภัตฯ ประเภทต่างๆ
- อนุญาตการอุปสมบทโดยวิธีญัตติจตุตถกรรม
- พระสารีบุตรบวชให้ราธะพราหมณ์เป็นรูปแรก
- อนุญาตวันประชุมสงฆ์ และแสดงธรรมใน ๑๔ คํ่า ๑๕ คํ่า และ ๘ คํ่า ของข้างขึ้นและข้างแรม

พรรษาที่ ๔
จำพรรษาที่เวฬุวัน
- โปรดหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นพระโสดาบัน
- ถวายชีวกอัมพวันอนุญาตผ้าไตรจีวร ๓ ผืน,ผ้าจีวร ๖ ชนิด
ออกพรรษา
- - เทศน์โปรดพุทธบิดา สำเร็จพระอรหันต์และนิพพาน และจุดเพลิงพระบรมศพ

พรรษาที่ ๕
จำพรรษาที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน นอกเมืองเวสาลี
- พระนางประชาบดี ยอมรับคุรุธรรม ๘ ประการ บวชเป็นภิกษุณีองค์แรก แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์
- พระนางยโสธราบวชในสำนักพระนางประชาบดีเถรี บรรลุเป็นพระอรหันต์
- นางรูปนันทา บวชตามหมู่ญาติ ทรงแสดงฤทธิ์โปรด สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ออกพรรษา
- เสด็จไปภัททิยนคร แคว้นอังคะ โปรดเมณฑกะเศรษฐี ธนัญชัยเศรษฐี นางวิสาขาและหมู่ญาติ เป็นพระโสดาบัน
- ทรงอนุญาตโครสทั้ง ๕ ทรงอนุญาตนํ้าผลไม้ทุกชนิด ( เว้นนํ้ากับเมล็ดนํ้าข้าวเปลือก) นํ้าใบไม้ทุกชนิด ( เว้นนํ้าผักดอง ) นํ้าดอกไม้ทุกชนิด ( เว้นนํ้าดอกมะซาง ) นํ้าอ้อยสด ทรงอนุญาตให้ฉันผักสดทุกชนิด และของขบฉันที่ทำด้วยแป้ง ให้ฉันผลไม้ได้ทุกชนิด
- แสดงมหาปเทส ๔ สิ่งที่ควรและไม่ควรสำหรับสงฆ์

พรรษาที่ ๖
จำพรรษาที่ มกุลบรรพต แคว้นมคธ
- ห้ามพระภิกษุแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
- ปรารภจะแสดงยมกปาฏิหาริย์เอง
ออกพรรษา
- เดียรถีย์สร้างสำนักหลังวัดเชตวัน พระเจ้าปเสนทิโกศล เปลี่ยนเป็นสร้างอารามสำหรับภิกษุณี เรียกราชการาม
- เพ็ญเดือน ๘ แสดงยมกปาฏิหาริย์ นอกเมืองสาวัตถี



พรรษาที่ ๗
จำพรรษาที่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
- แสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาตลอดไตรมาสจนบรรลุเป็นพระโสดาบัน
- เรื่องอังกุรเทพบุตรและอินทกเทพบุตร
- ลงจากชั้นดาวดึงส์ ที่ประตูเมืองสังกัสสะ หลัง
ออกพรรษา
- เสด็จกรุงสาวัตถี
- ปรารภเรื่องนางปฏิปูชิกา ภรรยาของมาลาภารีเทพบุตร
- นางจิญจมาณวิกา ใส่ความพระพุทธเจ้า ถูกธรณีสูบลงอเวจีมหานรก

พรรษาที่ ๘
จำพรรษาที่เภสกฬาวัน ภัคคชนบท
- บิดาของสิงคาลกมานพบวช บรรลุพระอรหันต์
ออกพรรษา
- บัญญัติสิกขาบทเรื่องการผิงไฟของภิกษุ
- โปรดมาคันทิยาพราหมณ์และภรรยา จนขอบวชทั้ง ๒ คนแล้วได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
- นางมาคันทิยาผู้เป็นธิดาผูกจิตอาฆาตในพระศาสดา
- เศรษฐีโกสัมพี ๓ คนตามไปฟังธรรมที่วัดเชตวันเมืองสาวัตถีบรรลุเป็นพระโสดาบันและได้สร้าง โฆสิตาราม ปาวาริการาม และกุกกุฏาราม ถวายที่โกสัมพี

พรรษาที่ ๙
จำพรรษาที่โกสัมพี
- เรื่องนางสามาวดี ได้เป็นมเหสีพระเจ้าอุเทน ถูกนางมาคันทิยาวางแผนเผาทั้งปราสาทจนตาย
ออกพรรษา
- สงฆ์ที่โฆสิตาราม โกสัมพี แตกความสามัคคี
พรรษาที่ ๑๐
จำพรรษาที่รักขิตวัน (ป่าปาริเลยยกะ) อยู่ระหว่างกรุงโกสัมพีกับกรุงสาวัตถี
- ช้างปาริเลยยกะและวานรถวายอุปัฏฐากพระพุมธองค์
ออกพรรษา
- หมู่สงฆ์ชาวโกสัมพีมาขอขมาต่อพระองค์ ทำให้สังฆสามัคคี

พรรษาที่ ๑๑
จำพรรษาที่หมู่บ้านพราหมณ์ เอกนาลา ใต้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ
ออกพรรษา ไม่ปรากฏหลักฐาน

พรรษาที่ ๑๒
จำพรรษาที่ควงไม้สะเดา เมืองเวรัญชา
- ทรงไม่อนุญาตให้มีการบัญญัติสิกขาบท
ออกพรรษา
- เรื่องเอรกปัตตนาคราช
- พระนางปชาบดีเถรี ทูลลานิพพาน ประชุมเพลิง
- การอุปสมบท ๘ วิธี

พรรษาที่ ๑๓
จำพรรษาที่จาลิกบรรพต เมืองจาลิกา
- เรื่องพระเมฆิยะ
ออกพรรษา
- แสดงมงคลสูตร ๓๘ ประการ
- แสดงกรณีเมตตาสูตร
- เรื่องพระพาหิยะทารุจิริยะ
- พระอัญญาโกณฑัญญะทูลลานิพพาน



พรรษาที่ ๑๔
จำพรรษาที่วัดเชตวัน สาวัตถี
- สามเณรราหุลอุปสมบท
- ตรัสภัทเทกรัตตคาถา
- แสดงนิธิกัณฑสูตร
ออกพรรษา
- บัญญัติวิธีกรานกฐิน
- อนุญาตสงฆ์ รับการปวารณาปัจจัยเภสัชเป็นนิตย์

พรรษาที่ ๑๕
จำพรรษาที่นิโคธาราม กรุงกบิลพัสดุ์
- เจ้าศากายะถวายสัณฐาคาร
- แสดงสัปปุริสธรรม ๗ ประการ
- เรื่องพระเจ้าสุปปพุทธะถูกธรณีสูบลงอเวจี
ออกพรรษา
- ไม่ปรากฏหลักฐาน

พรรษาที่ ๑๖ ( ที่คัดลอกมา ไม่มีครับ )

พรรษาที่ ๑๗
จำพรรษาที่วัดเวฬุวัน
- พระทัพพมัลลบุตรทูลลานิพพาน
ออกพรรษา
- เรื่องพระวักกลิ

พรรษาที่ ๑๘
จำพรรษาที่จาลิกบรรพต เมืองจาลิกา
ออกพรรษา
- เสด็จเมืองอาฬาวีครั้งที่๒
- โปรดธิดาช่างหูกบรรลุโสดาปัตติผล
- ช่างหูกผู้เป็นบิดาขอบวชสำเร็จอารหัตตผล
- ตรัสอริยทรัพย์ ๗ ประการ

พรรษาที่ ๑๙
จำพรรษาที่จาลิกบรรพต เขตเมืองจาลิกา
ออกพรรษา
- เรื่องโปรดโจรองคุลีมาล
- เรื่องสันตติมหาอำมาตย์บรรลุอรหัตตผลแล้วนิพพาน

พรรษาที่ ๒๐
จำพรรษาที่เวฬุวัน เมืองราชคฤห์
- พระอานนท์ได้เป็นอุปัฏฐากประจำพระองค์
- พระอานนท์ทูลขอพร ๘ ประการ

พรรษาที่ ๒๑-๔๕
จำพรรษาที่วัดเชตวัน หรือ วัดบุพพาราม สลับกันไป
ออกพรรษาที่จาริกไปตามตำบลต่างๆ เพื่อโปรดเวไนยสัตว์
ประมาณพรรษาที่๒๑ จำวัดที่บุพพารามสาวัตถี
- พระองค์ทรงแสดงโอวาทปาฏิโทกข์ในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ครั้งแรก

ประมาณพรรษาที่๒๖ พระราหุลนิพพาน

พรรษาที่๓๗ เทวทัตคิดปกครองสงฆ์
- วางแผนปลงพระชนม์พระศาสดา
- ปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสาร
- พระเทวทัตถูกธรณีสูบ

พรรษาที่๓๘ แสดงสามัญญผลสูตรแก่อชาตศัตรู
- อชาตศัตรูแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
- กรุงสาวัตถี
- อำมาตย์ก่อการขบถ
- พระเจ้าปเสนทิโกศลสิ้นพระชนม์
- พระเจ้าวิฑูฑภะฆ่าล้างวงศ์ศากยะ
- พระเจ้าวิฑูฑภะสิ้นพระชนม์

พรรษาที่๔๓ พระยโสธราเถรีนิพพาน

พรรษาที่๔๔ แสดงธรรมที่วัดเชตวัน
- ตอบปัญหาเทวดา
ออกพรรษา
- พระสารีบุตรทูลลานิพพาน
- พระสารีบุตรโปรดมารดาจนบรรลุโสดาปัตติผลพระสารีบุตรนิพพาน
- พระโมคคัลลานะถูกโจรที่เดียรถีย์จ้างมาทำร้าย
- พระโมคคัลลานะนิพพาน
- นางอัมพปาลีถวายอาราม นางอัมพปาลีบรรลุธรรม

พรรษาที่๔๕ ภิกษุจำพรรษารอบกรุงเวสาลี
- ตรัสอานุภาพอิทธิบาท ๔
- ทรงปลงอายุสังขาร ตรัสโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
- นายจุลทะถวายสุกรมัททวะ
- ตรัสถึงสังเวชนียสถาน ๔แห่ง
- วิธีปฏิบัติกับพุทธสรีระปัจฉิมโอวาทแก่ภิกษุ
- เสด็จปรินิพพาน


#8 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 posts

Posted 05 January 2006 - 05:02 PM

สุดยอดครับ สรุปย่อได้ยอดเยี่ยมมากครับ อภิมหาโมทนาบุญด้วยครับสาธุ
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#9 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2,171 posts
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

Posted 05 January 2006 - 10:16 PM

พุทธกิจและพุทธจริยานั้น จัดเป็นส่วนหนึ่งของคำว่า ปยตฺต อันแปลว่า ความเพียรอันยังให้หมู่สัตว์ (เวไนยสัตว์) ได้รับประโยชน์ ซึ่งมีรายละเอียดที่สำคัญดังต่อไปนี้

หลังจากภัตตกิจในอรุณรุ่ง ทรงประทานพระบรมพุทโธวาทและทรงแนะนำกัมมัฏฐานตามสมควรแก่อัธยาศัยของพระภิกษุ จากนั้น ทรงประทัพักผ่อนชั่วครู่ แล้วจึงตรวจดูอุปนิสัยของเหล่าเวไนยนิกร ที่พระองค์สามารถที่จะอบรมสั่งสอนได้

บ่าย ทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่ปวงชนที่มาจากทิศต่างๆ จากนั้น ทรงสรงสนานพระวรกายและประทับพักผ่อนพระอริยาบท

๑. ปุริมยาม คือ ช่วงระหว่าง ๖ โมงเย็นถึง ๔ ทุ่ม ทรงแสดงพระธรรมเทศนา ให้กัมมัฏฐาน และทรงตอบข้อสงสัยแก่เหล่าภิกษุกระทั่งสิ้นปุริมยาม

๒. มัชฌิมยาม คือ ช่วงระหว่าง ๔ ทุ่มถึง ๒ ยาม ซึ่งเป็นเวลาที่เงียบสงัด ในกาลนี้ เหล่าเทพยดาและพรหมทั้งหลายจากหมื่นโลกธาตุ ต่างพากันมากราบถวายบังคมพระบรมศาสดา เพื่อทูลถามปัญหาบ้าง อาราธนาพระตถาคตเจ้าเพื่อแสดงธรรมบ้าง จวบจนสิ้นมัชฌิมยาม

๓. ปัจฉิมยาม คือ ช่วงระหว่าง ๒ ยาม ถึง ๖ โมงเช้า ในระยะนี้ ทรงแบ่งเวลาออกเป็น ๓ ระยะดังนี้คือ

ระยะที่หนึ่ง ทรงพระดำเนินจงกรมเป็นเวลา ๑ ชั่วโมง ๒o นาที
ระยะที่สอง ทรงเข้าที่บรรทมเป็นเวลา ๑ ชั่วโมง ๒o นาที
ระยะที่สาม ทรงพิจารณาหมู่สัตว์ทั้งหลายว่า เหล่าใดที่เป็นเวไนยสัตว์ อันมีอุปนิสัยที่จักสามารถบรรลุถึงซึ่งมรรคผล ตามสมควรแก่วาสนาและบารมีของตน เพื่อที่พระองค์จะได้โปรดและยังหมู่สัตว์เหล่านั้น ให้บรรลุธรรมาภิสมัยในโอกาสต่อไป

เอกสารอ้างอิง

ถวิล วัติรางกูล. 2530. เราคือใคร. น. 287-288. โรงพิมพ์กรุงเทพ.

เรียบเรียงโดย : เกียรติก้องธรณินทร์


#10 น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

    เราคือ นักรบกล้าอาสาสมัคร กองทัพธรรม

  • Members
  • 1,961 posts
  • Gender:Female
  • Interests:ช่วยงานบุญที่วัด ให้ถึงที่สุดกำลัง ตราบวันที่ชีวิตจะสิ้นลมหายใจ

Posted 26 August 2006 - 07:51 PM

อนุโมทนาด้วยค่ะ ขอเก็บความรุ้เพิ่มคะ
"ด้วยใจกล้าอาสา พัฒนาไม่หยุดยั้ง"

น้ำฝนลูกพระธัมฯ

#11 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4,109 posts
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

Posted 17 March 2007 - 01:36 PM

กราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ

#12 fern@zheza

fern@zheza
  • Members
  • 1 posts

Posted 10 June 2009 - 06:45 PM

สุดยอด happy.gif omg_smile.gif

#13 usr38536

usr38536
  • Members
  • 1 posts

Posted 08 January 2011 - 03:59 PM

พุทธจริยาวัตรอันประเสริฐมีผลต่อศรัทธาของพุทธศาสนิกชนอย่างไรคะ