อะไรคือองค์ประกอบของการทำบุญที่ประกอบด้วยปัญญา
#1
Posted 12 November 2010 - 12:48 AM
จึงขอเรียนถามว่า :
อะไรคือองค์ประกอบของการทำบุญที่ประกอบด้วยปัญญา ?
กราบขอบพระคุณ/ขอบคุณทุก ๆท่านที่เข้ามาให้แสงสว่างและร่วมเสวนาธรรมค่ะ
#2
Posted 12 November 2010 - 01:56 AM
มากแม้ทั้งหมดซึ่งมีบารมีเต็มแล้ว.
อธิบายสุตมยปัญญา
ในคำว่า ปรโต สุตฺวา ปฏิลภติ นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ปัญญา
ทั้งหมดที่บุคคลได้แล้ว เพราะเห็นบ่อเกิดแห่งการงานเป็นต้นอันบุคคลอื่นกำลัง
ทำอยู่ หรือทำเสร็จแล้วก็ดี พึงถ้อยคำของใคร ๆ ผู้บอกอยู่ก็ดี เรียนเอาใน
สำนักของอาจารย์ก็ดี ชื่อว่า บุคคลฟังจากผู้อื่นแล้วนั่นแหละ.
อธิบายภาวนามยปัญญา
คำว่า สมาปนฺนสฺส (แปลว่า ผู้เข้าสมาบัติ) อธิบายว่า ปัญญา
ในภายในสมาบัติของบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยสมาบัติ ชื่อว่า ภาวนามยปัญญา.
อธิบายทานมยปัญญา
คำว่า ทานํ อารพฺภ (แปลว่า ปรารภทาน) ได้แก่ อาศัยทาน
อธิบายว่า มีเจตนาในทานเป็นปัจจัย. คำว่า ทานาธิคจฺฉ (แปลว่า บุคคล
ผู้ให้ทาน) อธิบายว่า บุคคลผู้กำลังน้อมเข้าไปให้อยู่ซึ่งทาน ชื่อว่า ผู้ให้ทาน.
คำว่า ยา อุปฺปชฺชติ (แปลว่า ย่อมเกิดขึ้น) ได้แก่ ปัญญาใด อันสัมปยุต
ด้วยเจตนาในทาน ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ ปัญญานี้ ชื่อว่า ทานมยปัญญา. ก็
เมื่อบุคคลคิดว่า เราจักให้ทานดังนี้ ก็ให้ทานอยู่ ครั้นให้ทานแล้ว ก็พิจารณา
อยู่ซึ่งทานนั้น.
ทานมยปัญญานั้น ย่อมเกิดขึ้นโดยอาการ ๓ อย่าง คือ
ปุพพเจตนา
มุญจนเจตนา
อปรเจตนา
หน้าที่ 652
--------------------------------------------------------------------------------
อธิบายสีลมยปัญญา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาปัญญาอันสัมปยุตด้วยเจตนาในศีล
แม้ในคำว่า สีลํ อารพฺภ สีลาธิคจฺฉ นี้ว่า เป็น สีลมยปัญญา. ก็เมื่อคิดว่า
เราจักยังศีลให้บริบูรณ์ ดังนี้ แล้วก็ยังศีลนั้นให้บริบูรณ์อยู่ ครั้นยังศีลให้
บริบูรณ์แล้ว ก็พิจารณาศีลนั้นอยู่ สีลมยปัญญานี้จึงเกิดขึ้นโดยอาการ ๓ อย่าง
คือ ปุพพเจตนา มุญจนเจตนา อปรเจตนา. สำหรับภาวนามยปัญญา ข้าพเจ้า
กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ.
อธิบาย อธิสีลปัญญา เป็นต้น
ใน อธิสีลปัญญา เป็นต้น บัณฑิตพึงทราบศีลเป็นต้น โดยเป็น
ไปอย่างละ ๒ คือ ศีล อธิศีล, จิต อธิจิต, ปัญญา อธิปัญญา. ในคำเหล่านั้น
ศีล ๕ ก็ดี ศีล ๑๐ ก็ดี ชื่อว่า ศีล ด้วยสามารถแห่งการสงเคราะห์ลงในแบบ
แผนนี้ว่า ความอุบัติขึ้นแห่งพระตถาคตทั้งหลาย หรือไม่ทรงอุบัติขึ้นก็ตามที
ธาตุ ธัมมฐิติ ธัมมนิยามเหล่านั้นก็ดำรงอยู่แล้วเทียว. จริงอยู่ เมื่อพระตถาคต
ทรงอุบัติขึ้นก็ดี ยังไม่ทรงอุบัติขึ้นก็ดี ศีลนั้นก็มีอยู่.
ถามว่า เมื่อพระตถาคตยังมิได้ทรงอุบัติขึ้น ใครเล่า ย่อมบัญญัติ
ศีล (คือย่อมประกาศให้รู้).
ตอบว่า ดาบส ปริพาชก สัพพัญญูโพธิสัตว์ และพระเจ้าจักร-
พรรดิราชย่อมบัญญัติศีล.
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว ภิกษุสงฆ์ ภิกษุณี-
สงฆ์ อุบาสก และอุบาสิกา ย่อมประกาศให้รู้ซึ่งศีลนั้น. อนึ่ง
เมื่อพระตถาคตทรงอุบัติขึ้นแล้วนั้นแหละ ปาฏิโมกขสังวรศีลอัน
รวบรวมมาจากเวปพลังจิตดอทคอม
ละธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ
ธัมมะกาโย อะหัง อิติปิ
เราตถาคต คือธรรมกาย
#3
Posted 12 November 2010 - 02:08 AM
ให้ถูกกาล ถูกเนื้อนาบุญ ถูกเป้าหมาย
...........
เช่น
วัตถุทานบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผู้รับบริสุทธิ์
เจตนาบริสุทธิ์ จิตใจผ่องใส ทั้งก่อน ขณะ และหลังให้
พยายามทำตนให้ถึงพร้อมแก่การทำทาน และให้เหมาะสมแก่กาละเทศะ ไม่มีผู้ใดเดือดร้อน
หากตนเองเดือดร้อนแต่ใจผ่องใสมุ่งสู่ธรรม แบบนี้ได้ ใจเป็นใหญ่ แต่การที่ทำให้คนอื่นเข้าใจผิดจนตำหนิติเตียนเป็นวิบากกรรมก็พึงระวังทำให้รอบคอบ
หากทำแล้วคนอื่นเดือดร้อนก็พึงระวัง
ทำบุญกับสำนักที่มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกายเพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์
ทำบุญกับพระสงฆ์ที่มีศีลธรรมดีเป็นเนื้อนาบุุญ
มีเป้าหมายเพื่อการสร้างบารมีไปสู่ที่สุดแห่งธรรมอย่างชัดเจน มิใช่เพื่อหวังผลตามกิเลศ หรือไม่ทำบุญแล้วนอนรอคอยปาฏิหาริย์แห่งบุญอย่างเดียว ทำบุญแล้วกิเลศต้องลดละ มิใช่เพิ่มพูนกิเลศ
สร้างบุญกิริยาวัตถุ 10 ให้ครบ บารมี 10 ให้ครบ เป็นต้น
ละธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ
ธัมมะกาโย อะหัง อิติปิ
เราตถาคต คือธรรมกาย
#4
Posted 12 November 2010 - 03:03 AM
..............
ท่านธาตุล้วนธรรมล้วนสรุปไว้ในคคห#2 ดีแล้วค่ะแต่ขอเพิ่มเติมนิดหนึ่งค่ะ จำมาจากการฟังธรรม(จากคุณครูไม่เล็ก)
เรื่องการทำบุญอย่าให้เดือดร้อนนั้น บางทีเราไม่ได้คิดหรือคาดไม่ถึงว่า บางทีผู้รับเองก็ต้องเดือดร้อนเพราะเราได้เช่นกัน ทำให้ท่านถูกอิจฉาเป็นต้น
แล้วเรื่องตาร้อน ๆ จะตามมาได้
หรือแม้แต่การกราบไหว้แสดงความเคารพ ที่อาจจะไปกระทบใจผู้อื่นได้ทำให้เขาใจหมองก็ไม่ดีค่ะ ต้องระวังด้วย พระภิกษุนับถือ
กันตามจำนวนพรรษา หากเราไปหาพระใหม่แต่ลืมใส่ใจพระเก่าเจ้าที่เดิมอะไรเหล่านี้เป็นต้น ก็สะกิด ๆ กันไว้นิดหนึ่งเพราะบางทีคนที่ไปวัดอยู่ประจำ
คงไม่มีปัญหา แต่อย่าลืมว่าเวลานี้คนที่หันหลังให้วัด หรือห่างวัดมานานมากมายกำลังกลับมา บางทีคนที่เป็นกัลฯต้องแนะนำคนใหม่ด้วยค่ะ
#5
Posted 12 November 2010 - 11:13 PM
สาธุ
เสริมจากคุณ ธาตุล้วนธรรมล้วน นะครับ
ถ้า บุญ ในประโยคนี้ หมายถึง ปริจาคะ การสร้างทานกุศล ทานมัย ทานบารมี
ถ้า ปัญญา ในประโยคนี้ หมายถึง ถูกหลักวิชชา ถูกต้อง ฉลาด ทำแล้วได้ผลมาก มีอานิสงส์มาก
ขอเสนอความเห็นส่วนตัวว่า
๑
มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในหลักของการให้ทานที่สมบูรณ์ ทานของสัตบุรุษ เช่น
ความบริสุทธิ์ของวัตถุทาน ผู้ให้ ผู้รับ ประโยชน์ต่อส่วนรวม , ก่อนทำ กำลังทำ หลังทำ ฯล
ศึกษาเพิ่มเติมจาก
ทานที่มีผลมาก
http://www.84000.org...k/bookpn01.html
๒
อธิษฐานบารมี เพื่อความบริสุทธิ์ หลุดพ้น ไม่ขอ ไม่ปรารถนา พึงพอใจเพียงเพื่อโลกียสมบัติ โลกียสุข
ส่วนการทำบุญ(ทานกุศล)ที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา
ส่วนมากเกิดจาก
ความเข้าใจผิดวัตถุประสงค์ของการให้ ปริจาคะ
เช่น
ไม่ทำเพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ของผู้รับ
ไม่ทำเพื่อความเจริญในกุศลกรรม กุศลธรรม ของผู้รับ (กรณีทำทานเพื่อฟื้นฟูและส่งเสริม ศีลธรรม การทำความดีของมหาชน)
ไม่ทำเพื่อสลัดความตระหนี่ โลภะในใจ
แค่อยากแสร้งสร้างภาพพจน์ของตนให้ดูดี
+ ความไม่รู้หลักการให้ทานที่ถูกต้องของสัตบุรุษ
+ อธิษฐานเพียงเพื่อโลกียสมบัติ โลกียสุข แล้วทำให้มีโอกาสผิดศีล ผิดธรรม หรือ อกุศลจิต อกุศลกรรม เพิ่มพูนในภายหลัง
เช่น
ให้รวยทรัพย์ที่สุดใน.....
ขอให้เก่งกว่าคนนั้น ชนะคนนี้
หรือขอให้เกิดเป็นผัวเมียกันทุกชาติ เพราะตอนนี้รักกันมาก จึงอยากเป็นคู่ครองกันอีกตลอดไป
ขอให้ สวยมาก หล่อมาก ใครเห็นก็รัก หลง จึงทำให้มีโอกาสผิดศีลข้อ กาเม สุ มิฉาจาร
ป.ล.
ถ้า ความหมาย ของ คำว่า บุญ และ ปัญญา ที่เจ้าของกระทู้กล่าวถึง คนละความหมาย
ก็ขออภัยทาน ที่ตอบไม่ตรงประเด็นด้วยนะครับ
#6
Posted 13 November 2010 - 12:49 AM
กลับมาแชร์เพิ่มเติมค่ะ เกี่ยวกับทานยปัญญา
พบคำตอบที่มีประโยช์นอีกมากมายจากลิงค์นี้ค่ะ http://main.dou.us/v..._id=385&page=11
สรุปว่าบุญส่งผลสามระยะของชีวิตให้สุข สมบูรณ์ คือ
๑. ปฐมวัย( เกิด-๒๕ ปี) เมื่อก่อนให้ทานเกิดความดีใจ ปุพพเจตนาบริสุทธิ์
๒. มัชฌิมวัย (๒๖-๕๐ ปี) เกิดความเลื่อมใสขณะให้ มุญจนเจตนาบริสุทธิ์
๓. ปัจฉิมวัย ( ๕๑ +...) ให้แล้วเบิกบานใจ อปราปรเจตนาบริสุทธิ์
ฉะนั้นก่อนทำ กำลังทำ หลังทำแล้วต้องแฮปปี้ทุกขั้นตอน จะได้มีสุขตลอดชีวิตไม่ขึ้น ๆลง ๆค่ะ
#7
Posted 13 November 2010 - 01:08 AM
ขอบคุณคุณ Dd2683 มากค่ะ
คุณตอบถูกประเด็นดีทีเดียวค่ะ การทำบุญที่ไม่ประกอบด้วยปัญญานั้นถูกต้องแล้วค่ะ
เหตุที่นำมาถามเพราะ innerpeace เองก็เป็นเช่นนั้นมาก่อน ทำให้บุญหกบุญหล่นไปโดยไม่รู้ตัวค่ะ
การที่คนใหม่ ๆหรือเก่า ๆ แต่ห่างวัดไปนาน ๆบางทีทำอะไร ๆ ไม่ค่อยถูก แต่จิตใจและเจตนาดีนะคะเพียงแต่ว่า
ต้องฟื้นฟูวัฒนธรรมชาวพุทธจริง ๆค่ะ
#8
Posted 13 November 2010 - 11:25 PM
ละธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ
ธัมมะกาโย อะหัง อิติปิ
เราตถาคต คือธรรมกาย
#10
Posted 20 November 2013 - 08:49 PM
วันคุ้มครองโลก / 22/4/2557 or 04/22/2014 และครยรอบ 70 ปีของคุณครูไม่ใหญ่
เตรียม ณ บัดนี้เลยค่ะ ไว้รองรับ Super Big Boon คือ
1. ถวายมหาสังฆทาน จำนวน 30,000 วัด
2. หล่อรูปเหมือนด้วยทองคำแท้ขนาดเท่าครึ่งขององค์จริงคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย
#11
Posted 21 November 2013 - 06:50 AM
อะไรคือองค์ประกอบของการทำบุญที่ประกอบด้วยปัญญา ?
ตามที่คุณ Dd2683
บุญ ครอบคลุม บุญกิริยาวัตถุ3 และ ปัญญาหมายถึง ถูกหลักวิชชา ถูกต้อง ฉลาด ทำแล้วได้ผลมาก มีอานิสงส์มาก
ทานมัย ประกอบด้วย บริสุทธิ์3ฝ่าย ให้แก่ส่วนมาก บุญใหญ่ยิ่งยาก มากด้วยเจตนา ศรัทธาเลื่อมใส ทำให้เคยชิน ยินดีทุกกาล อธิษฐานทุกครั้ง ใจตั้งจรดศูนย์ เพิ่มพูนบุญสู่นิพพาน
ศีลมัย ประกอบด้วย เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง
ภาวนามัย ประกอบด้วย สมัครใจ สติสบาย สม่ำเสมอ สังเกต แล้วพึงพอใจในสิ่งดีดีที่เกิดขึ้น
ในทางปฏิบัติ บุญกิริยาวัตถุ3 มี"หยุด"เป็นตัวสำเร็จซ่อนอยู่