ความยาวของ 1 อสงไขย
#1
Posted 18 April 2008 - 02:49 PM
๑.กุศลธัมมา แปลว่า ธาตุธรรมฝ่ายกุศล เมื่อเราเห็นจะเห็นเป็นพระธรรมกายสีขาวใส กายในกายขาวใสทั้งหมด เรียกว่าภาคพระ ภาคขาว ภาคบุญ
๒.อกุศลาธัมมา แปลว่า ธาตุธรรมฝ่ายอกุศล เมื่อเราเห็นจะเห็นเป็นพระธรรมกายสีดำ กายในกายดำทั้งหมด เรียกว่า ภาคมาร ภาคดำ ภาคบาป
๓.อัพยากตาธัมมา แปลว่า ธาตุธรรมฝ่ายอัพยากตา เมื่อเราเห็นจะเห็นเป็นพระธรรมกายสีตะกั่วตัด กายในกายสีตะกั่วตัดทั้งหมด เรียกว่า ภาคกลาง ภาคไม่บูญไม่บาป
ทั้ง ๓ ธาตุธรรมนี้ ย่อมมีต้นธาตุ ทำหน้าที่ปกครองธาตุธรรมตลอดสาย
ต้นธาตุถือเป็นผู้บัญชาการในธาตุธรรมนั้นๆ ทำหน้าที่ปกครองธาตุธรรมในนิพพาน
#2
Posted 18 April 2008 - 02:59 PM
หรือโบราณว่า ฝนตกทั่วจักรวาลเป็นเวลาแรมปี ถ้าผู้ใดมีความสามารถอาจหาญนับจำนวนเม็ดฝนใด้ นั่นเท่ากับ1อสงไขยครับ
คำว่าอสงไขย เป็นจำนวนหน่วยที่ใช้กับจำนวนนับเหมือนกับคำว่า หน่วย สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน โกฏิ ..... อสงไขย
เราอาจใช้คำว่า แสนปี ล้านปี หมื่นปี หรืออสงไขยปี หรือ ล้านกัป หมื่นกัป แสนกัป อสงไขยกัป
เรื่องนี้มีการถกกันมาแล้วครับ ในบอร์ด DMCของเรา ผมก็งงอยู่พักใหญ่ๆครับ
http://www.dmc.tv/fo...howtopi...สงไขย
http
://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopi...
#3
Posted 18 April 2008 - 04:42 PM
อสงไขย เปรียบได้เท่ากับ จำนวนเม็ดฝนที่ตกอย่างหนักทั่วทั้งจักรวาลติดต่อกันทั้งวันทั้งคืนไม่มีหยุดเป็นเวลา3ปีครับ
อันนี้แถมให้นะครับ
ระยะเวลาของกัป
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเปรียบเทียบไว้ดังนี้ครับ อุปมามีภูเขาหินแท่งทึบทรงสี่เหลี่ยม กว้าง ยาว สูง อย่างละ1โยชน์(ประมาณ16กิโลเมตร)ทุก100ปีมีเทวดานำผ้าทิพย์ที่บางเบายิ่งกว่าควันไฟมาลูบ1ครั้ง เมื่อใดที่เขาหินลูกนี้ราบเตียนเสมอพื้น เมื่อนั้นเรียกว่า1กัปครับ หรืออุปมาได้เป็นกล่อง4เหลี่ยมที่บรรจุเม็ดพันธุ์ผักกาดไว้เต็ม กวาง ยาว สูง 1โยชน์เช่นกันทุก100ปีหยิบเม็ดผักกาดออก1เมล็ด เมื่อใดที่เมล็ดผักกาดหมดจากกล่องกว้าง ยาว สูง 1โยชน์นี้ เมื่อนั้นเท่ากับ1กัปครับ
ระยะเวลาที่จักได้เกิดเป็นมนุษย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบไว้ดังนี้ว่า อุปมามีเต่าตาบอดดำผุดดำว่ายอยู่ในมหาสมุทธ และในมหาสมุทธมีห่วงที่ขนาดพอดีกับหัวเต่าตัวนั้นลอยอยู่ เมื่อใดที่เต่าตัวนั้นโผล่ขึ้นมาเอาหัวรอดผ่านห่วงได้พอดี เมื่อนั้นจัดเป็นระยะเวลาที่จักได้เกิดเป็นมนุษย์ครับ *-*
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#4
Posted 18 April 2008 - 07:40 PM
สาธุ
๑.กุศลธัมมา แปลว่า ธาตุธรรมฝ่ายกุศล เมื่อเราเห็นจะเห็นเป็นพระธรรมกายสีขาวใส กายในกายขาวใสทั้งหมด เรียกว่าภาคพระ ภาคขาว ภาคบุญ
๒.อกุศลาธัมมา แปลว่า ธาตุธรรมฝ่ายอกุศล เมื่อเราเห็นจะเห็นเป็นพระธรรมกายสีดำ กายในกายดำทั้งหมด เรียกว่า ภาคมาร ภาคดำ ภาคบาป
๓.อัพยากตาธัมมา แปลว่า ธาตุธรรมฝ่ายอัพยากตา เมื่อเราเห็นจะเห็นเป็นพระธรรมกายสีตะกั่วตัด กายในกายสีตะกั่วตัดทั้งหมด เรียกว่า ภาคกลาง ภาคไม่บูญไม่บาป
ทั้ง ๓ ธาตุธรรมนี้ ย่อมมีต้นธาตุ ทำหน้าที่ปกครองธาตุธรรมตลอดสาย
ต้นธาตุถือเป็นผู้บัญชาการในธาตุธรรมนั้นๆ ทำหน้าที่ปกครองธาตุธรรมในนิพพาน
#5
Posted 18 April 2008 - 08:51 PM
ในพระพุทธศาสนาของเรานั้น เรื่องการบอกจำนวน ถือเป็นเรื่องที่มหัศจรรย์จริงๆ เรามีวิธีอธิบายความหมายของคำว่านานมากๆๆๆๆให้คนเข้าใจได้ดีจริงๆ ไม่เชื่อลองไปอ่านคำอธิบายของ กัป ซิครับ คุณจะรู้สึกเลยว่า เข้าใจได้เลยว่าเยอะจริงๆ
อนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ
แว๊ก...ข้อความหาย
เอาใหม่ครับ....
เราทุกคนรู้จักขนาดของเมล็ดพันธุ์ผักกาด ทุกคนรู้จักระยะทางเป็นกิโลๆ ทุกคนจะจินตนาการออกเลยว่า ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ผักกาดแบบมหาศาล แค่นี้ก็อธิบาย กัป ให้พอมองเห็นภาพได้ทีเดียว
อนุโมทนาบุญอีกครั้งครับ
เอ๋......แปลกแหะ สองโพสทืมาต่อกันได้เอง
#6
Posted 18 April 2008 - 11:45 PM
10,000,000= มีเลข 0 ทั้งหมด 7 ตัว แล้วยกกำลัง20 ดังนั้น 7*20=140 ดังนั้น1อสงไขยเท่ากับเลข1ตามด้วย
เลข 0 ทั้งหมด 140ตัว ซึ่งตรงกับ หนังสือ ศึกชิงภพ ของ พระภาวนาวิริยคุณ หรือ หลวงพ่อเผด็จ ทตตชีโว ใน บทที่1 หน้า 29 บรรทัดที่ 6 และ7 ระบุไว้ชัดเจนตรงกัน คือ เลข1 ตามด้วย0 ทั้งหมด 140 ตัว ชัดเจนนะครับ ยังมีหลักฐานอีกหลายแหล่งก็ระบุไว้ตรงกัน
ปัญหาของคุณ คือจำนวนที่ระบุนี้คือจำนวนเท่าใด จริงๆแล้วจำนวนนับ1อสงไขยเป็นจำนวนที่นับได้ แม้ว่าจะมีค่ามากมหาศาลก็ตาม วิธีง่ายๆ คือ ถ้าเป็น 1ล้าน จะเท่ากับมีเลข 0 ทั้งหมด 6 ตัว จึงต้องใช้ 6หาร
ลองใช้ 6หารดูว่าจะมีกี่ล้าน 140/6=23 เหลือเศษ 2 ดังนั้นจะมีจำนวนล้าน 23 ครั้ง เศษ 2 ที่เหลือคือเลข1 ตามด้วย
0 อีก2 ตัว คือ 100 ............ดังนั้น1อสงไขย=จำนวน100แล้วตามด้วยล้าน 23 ครั้ง.......อ่านว่า
****100ล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้าน****
มีวิธีง่ายกว่านี้ คือเขียน เลข1ตามด้วย 0 ทั้งหมด 140ตัวเลย แล้วนับจากหลักหน่วยขึ้นไปมีศูนย์ครบ6ตัวก็นับเป็นล้าน 1ครั้ง
2ครั้ง3ครั้งไปเรื่อยๆ จะได้จำนวนล้าน 23 ครั้งเหมือนกัน แล้วเหลือเลขข้างหน้าเป็น100เหมือนกัน ลองดู
100/000000/000000/000000/000000/000000/000000/000000/000000/000000/000000/
000000/000000/000000/000000/000000/000000/000000/000000/000000/000000/
000000/000000/000000
การนับก็นับเหมือนจำนวนนับทั่วไปคือนับจากข้างหน้าไปยังข้างหลัง เจอศูนย์ 6 ตัวก็้นับเป็นล้าน ก็นับได้เท่ากันคือ
*****100ล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้านล้าน****
หรือ ****100 ตามด้วยล้าน 23 ครั้ง****
#7
Posted 19 April 2008 - 11:46 AM
แต่ก็มีข้อสงสัยว่า หากเราไปอยู่แม้ในสุคติหรือทุคติ เราจะรู้เหรอเปล่าคะว่า เวลาที่เสวยทุกข์สุขนั่น ยาวนานเท่ากับเวลาในโลกมนุษย์เปล่าคะ ความรู้สึกอ่ะคะ มันเป็นข้อสงสัยมานานแล้วคะ แหะๆ รบกวนท่านผู้รู้ช่วยชี้แจ้งทีคะ อย่างเช่น สวรรค์ชั้นจาตุ จำได้คร่าวๆ ว่า ว่าไปอยู่แค่ครึ่งชั่วโมงก็เท่ากับหลายสิบประมาณ 60 ปีในโลกมนุษย์ หากผิดเรื่องตัวเลขกราบขออภัยด้วยคะ แล้วสวรรค์แต่ละชั้นก็เวลาไม่เหมือนกันอีก
#8
Posted 19 April 2008 - 12:38 PM
สาธุๆๆ
๑.กุศลธัมมา แปลว่า ธาตุธรรมฝ่ายกุศล เมื่อเราเห็นจะเห็นเป็นพระธรรมกายสีขาวใส กายในกายขาวใสทั้งหมด เรียกว่าภาคพระ ภาคขาว ภาคบุญ
๒.อกุศลาธัมมา แปลว่า ธาตุธรรมฝ่ายอกุศล เมื่อเราเห็นจะเห็นเป็นพระธรรมกายสีดำ กายในกายดำทั้งหมด เรียกว่า ภาคมาร ภาคดำ ภาคบาป
๓.อัพยากตาธัมมา แปลว่า ธาตุธรรมฝ่ายอัพยากตา เมื่อเราเห็นจะเห็นเป็นพระธรรมกายสีตะกั่วตัด กายในกายสีตะกั่วตัดทั้งหมด เรียกว่า ภาคกลาง ภาคไม่บูญไม่บาป
ทั้ง ๓ ธาตุธรรมนี้ ย่อมมีต้นธาตุ ทำหน้าที่ปกครองธาตุธรรมตลอดสาย
ต้นธาตุถือเป็นผู้บัญชาการในธาตุธรรมนั้นๆ ทำหน้าที่ปกครองธาตุธรรมในนิพพาน
#9
Posted 21 April 2008 - 01:32 PM
ร้อยแสน เป็น หนึ่งโกฏิ (10 ล้าน)
ร้อยแสนโกฏิ เป็น หนี่งปโกฏิ
ร้อยแสนปโกฏิ เป็น หนึ่งโกฏิปโกฏิ
ร้อยแสนโกฏิปโกฏิ เป็น หนึ่งนหุต
ร้อยแสนนหุต เป็น หนึ่งนินนหุต
ร้อยแสนนินนหุต เป็น หนึ่งอักโขเภนี
ร้อยแสนอักโขเภนี เป็น หนึ่งพินทุ
ร้อยแสนพินทุ เป็น หนึ่งนิระพุทะ
ร้อยแสนนิระพุทะ เป็น หนึ่งอหหะ
ร้อยแสนอหหะ เป็น หนึ่งอพพะ
ร้อยแสนอพพะ เป็น หนึ่งอฏฏะ
ร้อยแสนอฏฏะ เป็น หนึ่งโสคันธิกะ
ร้อยแสนโสคันธิกะ เป็น หนึ่งอุปละ
ร้อยแสนอุปละ เป็น หนึ่งกมุทะ
ร้อยแสนกมุทะ เป็น ปทุมะ
ร้อยแสนปทุมะ เป็น หนึ่งปุณฑริกะ
ร้อยแสนปุณฑริกะ เป็น หนึ่งอกถาน
ร้อยแสนอกถาน เป็น หนึ่งมหากถาน
ร้อยแสนมหากถาน เป็น หนึ่งอสงไขย
ส่วนกัปป์ ก็เทียบกับว่า โลกเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ซึ่งกัปหนึ่ง (อาจจะ) นานกว่าอสงไขยปี หรืออาจจะมีอสงไขยปี หลายรอบก็ได้ครับ ส่วนมหากัปป์ หมายถึงร้อยอกถานกัปป์ หากเข้าใจตามนี้ก็ไม่ต้องไปคิดถึง อสงไขยกัปป์ ว่าจะนาน ๆ ๆ ๆ ๆ เท่าไหร่ (เนอะ) อย่างที่เราเคยได้ยินคำว่า 80 - 60 - 40 - 20 - 16 - 8 - 4 - 2 - 1อสงไขย + 100,000 มหากัปป์
#11
Posted 29 April 2008 - 11:26 AM
ดังนั้นของคุณ WB 20 อสงไขย+100000 มหากัปจึงได้ 20x(10^140)+100000
หน่วยก็ต้องเป็นมหากัปครับเพราะคุณแทนหน่วยด้วยมหากัป
20อสงไขย+100000มหากัป จึงหมายถึง 20อสงไขยมหากัป+100000 มหากัป ครับ
#12
Posted 14 July 2008 - 11:49 PM
#13
Posted 05 August 2008 - 10:54 AM
แต่ว่าเรามักเรียกกันสั้นๆว่า กัป ตามที่ใช้งานจริงๆมันจะเป็นแบบนั้น ยกเว้นบางกรณีที่ระบุเป็นอย่างอื่น เช่น
นรกขุมอเวจีมีระยะเวลา 1 กัป ตามเนื้อความเดิมในพระไตรปิฎก แต่ใน อรรถกถาจารย์ระบุว่า 1 กัปในที่นี้หมายถึง
1 อันตรกัป เฉพาะตรงนั้นก็ให้ยึดตามข้อความนั้น ครับ
#14
Posted 23 October 2008 - 07:50 PM
ในทฤษีด้านจำนวนนับ นั้น นักคณิตศาสตร์โลกคนล่าสุด ที่เสียชีวิตไป ปี 2539 จำชื่อไม่ได้ครับ
บอกว่าเมล็ดทรายในมหาสมุทรนั้นนับได้ครับ โดยใช้เลขยกกำลังเข้าช่วย ใช้ 10 ยกกำลัง 64
(หลักการทางคณิตศาสตร์จะใช้ 10 ยกกำลังเสมอครับ)
เขาบอกว่า มีเมล็ดทรายในมหาสมุทร 10 ยกกำลัง 64 เม็ด
1อสงไขย = 10^140 กัปป์ ของโลกเรา ครับ
จำนวนกัปป์มากกว่าเม็ดทรายในมหาสมุทรทั้ง 4 อีกครับ
อนุโมทนาด้วยครับ