Jump to content


Photo
- - - - -

เดินออกจากภาวะหมดไฟ บทที่ 1

Burn-Out Syndrome ภาวะหม ดไฟ

  • You cannot start a new topic
  • Please log in to reply
No replies to this topic

#1 Suphatra

Suphatra
  • Members
  • 24 posts
  • Gender:Female

Posted 30 May 2018 - 05:03 PM

เดินออกจาก ภาวะ หมดไฟ
ตอน Burn-Out Syndrome ภาวะหมดไฟ
 
     ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของกิจการ ข้าราชการ พนักงานบริษัทหรือพนักงานทั่วไป เชื่อว่าหลายคนคงเคยเจอกับภาวะเบื่องาน รู้สึกเหน็ดเหนื่อย อ่อนล้า หมดแรงกายแรงใจ และไม่อยากไปทำงาน แถมยังมีภาวะอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดโมโหง่ายอีกด้วย ถ้าเราต้องประสบกับภาวะเหล่านี้ แสดงว่า นี่เป็นสัญญาณการเผชิญกับ “ภาวะหมดไฟ” เพราะฉะนั้น เรามาดูกันว่า ถ้ากำลังเผชิญกับภาวะหมดไฟ เราควรป้องกันและแก้ไขภาวะนี้อย่างไร
 
“Burn-out Syndrome” ภาวะหมดไฟ
 
     “ภาวะหมดไฟ” หรือต่างประเทศเรียกว่า “Burn-outSgndrome” แต่ในเมืองไทยนั้นยังไม่มีศัพท์เฉพาะ อาการที่พบได้บ่อย คือ เกิดภาวะเบื่อ ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน รู้สึกเหนื่อยล้าตื่นเช้าขึ้นมาเหมือนพักผ่อนไม่เต็มที่ กลางคืนนอนไม่ค่อยหลับ เวลาทำงานจึงขาดสมาธิ จนบางครั้งทำให้ผลงานลดลงไปด้วย
 
     อาการเหล่านี้ เป็นภาวะที่สามารถเกิดกับคนเราได้ตลอดทุกช่วงเวลา ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาเรียน ช่วงเวลาทำงานจนกระทั่งช่วงเวลาเกษียณอายุเราก็มีโอกาสเกิดภาวะนี้ได้เหมือนกัน เท่ากับว่าอัตราอาการ “Burn-out Sgndrome”เกิดขึ้นได้บ่อยครั้งเพียงแต่เรายังไม่รู้จักโรคนี้ดีพอเท่านั้น เรียกง่ายๆ ว่า เป็นธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นได้กับคนทำงานทั่วไป
 
     “ภาวะหมดไฟ”หรือBurn-out Sgndrome”ประกอบไปด้วย”ความเหนื่อยล้าทางอารมณ์” เราจะรู้สึกเหมือนหมดแรงใจในการทำงาน รู้สึกหมดไฟเอาดื้อ ๆ ไม่มีความกระตือรือร้น ไม่มีใจจะทำอะไรทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น นี่คือสิ่งแรกที่เราจะสามารถสังเกตตนเองได้
     กลุ่มอาการต่อไปอยู่ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องของบุคคล ความรู้สึกดีต่อตนเอง ต่อครอบครัว ต่อเพื่อนร่วมงาน ต่อลูกค้า ต่อคนที่เราสัมพันธ์ด้วย เหมือนกับว่าความสัมพันธ์เหล่านี้เริ่มหายไป เรื่องต่างๆที่ดีต่อกันระหว่างบุคคลต่อบุคคลในครอบครัวหายไป เกิดความรู้สึกไม่อยากเอาใจใส่ หรือบางทีอยากจะละเลยเฉยเมยไปดื้อๆ กระทั่งลูกค้าที่เข้ามารับบริการกับเรา ก็ไม่เต็มใจจะให้บริการ กลายเป็นคนแล้วไร้น้ำใจไปเลยก็มี
     สุดท้ายความสูญเสียเกิดขึ้น คือ ไม่สามารถทำงานให้สำเร็จเพราะเกิดความรู้สึกว่า “ตนเองด้วยประสิทธิภาพ แล้วเริ่มมองตนเองในด้านลบ”
 
     มีการทำสถิติในคนวัยทำงานว่า จะมีผู้ป่วยเป็นโรคนี้ตั้งแต่ 15-50% ของคนวัยทำงานทั้งหมด เพราะฉะนั้น เราทุกคนมีโอกาสเป็นโรคเข้าสู่ภาวะหมดไฟถึงครึ่งเลยทีเดียว
 
     ภาวะหมดไฟ นอกจากส่งผลต่อตนเองและงานที่ทำแล้ว สิ่งหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้น คือ การสูญเสียความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลายเป็นคนขี้หงุดหงิด และมักจะแสดงสีหน้าไม่อยากเจอใคร ในด้านของความคิดริเริ่มและการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ จะไม่เกินขึ้นสุดท้ายอาจจะนำไปสู่ภาวะโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งถ้าถึงจุดนั้นแล้ว ผู้ป่วยจะไม่สามารถทำงานต่อไปได้
 
     บางคนรู้สึกไม่อยากไปทำงาน มีอาการที่เรียกว่า “ป่วยการเมือง”นี่ก็ถือว่าเป็นภาวะ”Burn-out Sgndrome”เช่นกัน คนที่ไม่อยากไปทำงาน ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดภาวะขาดแรงจูงใจ พอถึงจุดหนึ่งจะกระบทความสัมพันธ์ทุกอย่างรอบด้าน ซึ่งไม่มีอะไรดีเลย
 
     ภาวะหมดไฟนั้นอาจจะนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้ ซึ่ง “โรคซึมเศร้า”นั้นมีสาเหตุมาจากเกิดการสูญเสียและความผิดหวังส่วน”โรคเครียด”นั้นมีสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดขึ้นมาอย่างชัดเจน
 
     แต่”ภาวะหมดไฟ”หรือ”Burn-out Sgndrome”เกี่ยวข้องโดยตรงกับการที่เราทำงานมากเกินไป แล้วขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ รวมทั้งไม่สามารถแบ่งเวลาได้เหมาะสม จนเกินภาวะหมกมุ่นอยู่กับงานบางอย่าง หรือหมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ตนเองสนใจและอยากจะทำให้สำเร็จ แล้วหมดไฟเนื่องจากทุ่มเทกับบางอย่างมากเกินไปจนเกิดความเครียดสะสม กระทั่งในที่สุดร่างกายรับไม่ได้ เรียกว่า”โอเวอร์โหลด”นั่นเอง
 
     บางคนยิ่งทำงานหนัก ยิ่งมีไฟ แต่บางคนยิ่งทำ ยิ่งหมดไปสาเหตุหลักที่ทำให้คนเราต่างกัน คือ “การจัดสรรเวลาของตนเอง”รวมทั้งการมองรายละเอียดของงาน คนส่วนใหญ่มักจะแบ่งเวลาไม่เป็น คิดว่าตนเองรับผิดชอบงานนี้แล้ว ก็ต้องทำงานนี้ให้สำเร็จ แล้วเอาเวลาทุ่มลงไปตลอดทั้ง 1 วัน 2 วัน หรือ 1 สัปดาห์พอทำอย่างนี้ผ่านไป 1 เดือน  สภาพร่างกายและจิตใจรับไม่ไหวพอผ่านไป 1 ปี จึงเกิด “ภาวะหมดไฟ”หรือ”Burn-out Sgndrome”เราต้องรู้จักแบ่งเวลา จัดสรรกิจวัตรกิจกรรมให้ชัดเจน และต้องมีตารางชีวิตด้วย
 
 
จากหนังสือ 24 ชั่วโมงที่ฉันหายใจ
โดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิฒนโพธิคุณ
(สมชาย ฐานวุฑโฒ)