Jump to content


Photo
- - - - -

พวงมาลัยหลังเลิกงานบูชาข้าวพระ


  • You cannot start a new topic
  • Please log in to reply
12 replies to this topic

Poll: การนำเอาพวงมาลัยหลังเลิกงานบูชาข้าวพระมาสักการะองค์มหาธรรมกายเจดีย์ (21 member(s) have cast votes)

ควรหรือไม่?

  1. ควร (11 votes [57.89%])

    Percentage of vote: 57.89%

  2. ไม่ควร (8 votes [42.11%])

    Percentage of vote: 42.11%

Vote Guests cannot vote

#1 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2,171 posts
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

Posted 10 October 2007 - 10:14 PM

nerd_smile.gif ผมเองก็เป็นผู้หนึ่งที่ได้นำเอาพวงมาลัยหลังเลิกงานบูชาข้าวพระมาสักการะองค์มหาธรรมกายเจดีย์ ซึ่งผมเคยทำเช่นนี้มาสองครั้งแล้ว มาวันนี้เกิดความคิดว่า แม้พวงมาลัยนั้นจะผ่านพิธีกรรมการบูชาข้าวพระมาแล้วก็ตาม ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า พวงมาลัยเหล่านั้นเริ่มมีสภาพช้ำและแปรสภาพไป จากเดิมที่เป็นสีขาวก็กลับกลายเป็นสีเหลืองออกคล้ำๆ แล้ว ผมจึงพิจารณาว่า นับแต่นี้ต่อไปผมจะไม่ทำเช่นนี้อีก ผมจะบูชาพระเจดีย์ในช่วงเย็นด้วยพวงมาลัยที่ดูสดใหม่แต่เพียงเท่านั้น (ซื้อของใหม่มาบูชาโดยไม่ใช้ของที่ผ่านการใช้งานมาก่อนหน้านี้) เนื่องจากการบูชาสักการะองค์มหาธรรมกายเจดีย์นั้นเป็นของสูง และองค์พระปฏิมากรซึ่งประดิษฐานอยู่บนนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นตัวแทนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งสิ้น ฉะนั้น การบูชารูปเคารพอันเป็นตัวแทนของบุคคลที่ควรแก่การบูชา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เครื่องสักการะที่มีความละเอียดประณีตพอสมควร และพึงกระทำการสักการะด้วยความเคารพ การบูชานั้นจึงจะมีผลมาก อยากทราบว่า เพื่อนกัลยาณมิตรในชุมชนกระดานสนทนาของเรามีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรกันบ้างครับ?

ปล. เนื่องจากได้พบเห็นกัลยาณมิตรและเด็กชมรมพุทธหลายๆ ท่าน มักมาขอพวงมาลัยไปบูชาอยู่บ่อยครั้ง และเจ้าหน้าที่ซึ่งทำหน้าที่ด้านงานขนย้ายภาชนะเครื่องแก้วกลับอาคารยามา ก็ได้นำเอาพวงมาลัยที่เหลือเหล่านี้ ไปลงบูชาที่หน้าเจดีย์อีกด้วย ผมจึงต้องตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาด้วยความห่วงใย เพราะต้องการให้ทุกท่านที่ไปสักการะบูชาได้ผลานิสงส์ต่างๆ อันได้แก่ มนุษย์สมบัติ ทิพยสมบัติ นิพพานสมบัติ อย่างเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ และมีใจ มีธรรมะภายใน ที่ละเอียดประณีต อันเป็นผลมาจากการสักการะด้วยของที่ดี ของที่เลิศนั่นเองครับ
"ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน"
พระพุทธภาษิต


ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
พระอมตะวจนา แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


[/color]
"...พระพุทธศาสนา บริบูรณ์ด้วยสัจธรรมที่เป็นสาระ และเป็นประโยชน์ในทุกระดับ
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒



"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"

"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"

[color="#990000"]ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

#2 num_r

num_r
  • Members
  • 365 posts
  • Gender:Male

Posted 11 October 2007 - 12:09 AM

สวัสดีครับ

มองให้หลาย ๆ มุม อย่างละเอียดถี่ถ้วน เจตนาเป็นเครื่องบ่งบอก การกระทำจึงตามมาครับ ดอกไม้ของหอมที่ใช้ในพิธีบูชาข้าวพระ ก็ไม่ได้เสียหายตรงไหน เริ่มต้นเราก็นำมาบูชาพระพุทธเจ้า ท่ามกลางเราก็ยังคงบูชาพระพุทธเจ้า ในท้ายที่สุดเราก็ยังคงสักการะบูชาพระพุทธเจ้าอยู่ดี จริงอยู่เวลาอาจจะนานไปนิดจนทำให้สีสันของดอกไม้นั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่เจตนา ความตั้งใจต่างหากที่ไม่เปลี่ยนแปลง ข้อสำคัญดอกไม้ทั้งหมด ( หลังจากเสร็จพิธี ) ส่วนที่ใช้ได้ก็ถูกนำไปแปรรูปเป็นส่วนหนึ่งของพระของขวัญด้วย เป็นส่วนหนึ่งในการระลึกถึงพระรัตนตรัย

ผมว่าก็ไม่เสียหายอะไรครับ nerd_smile.gif
ปล.ความเห็นส่วนตัวนะครับ glare.gif

Attached Files



#3 ชาร์ป

ชาร์ป
  • Members
  • 985 posts
  • Gender:Male
  • Location:ปทุมธานี

Posted 11 October 2007 - 12:52 AM

จริงๆอยากโหวตว่า เฉยๆ

ผมว่าก็ไม่มีอะไรเสียหายนะ เหมือนเป็นการเอาบุญต่อบุญ
ดีกว่าที่จะทิ้งไปซะเฉยๆ ทั้งๆที่มันยังใช้ประโยชน์ได้อยู่ เรื่องอานิสงค์ก็รู้อยู่นะ แต่มันก็ยังได้บุญอ่ะ

ถ้ากำลังทรัพย์เราถึง ก็ซื้อพวงใหม่แบบประณีตมาสักการะด้วยก็ได้

#4 สุรชัย (กัปตัน)

สุรชัย (กัปตัน)
  • Members
  • 407 posts

Posted 11 October 2007 - 01:09 AM

ความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมว่าพวงมาลัยที่บูชาพระนั้น เป็นการบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่แล้ว ซึ่งเป็นของสูง ของศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นหากจะนำพวงมาลัยดังกล่าวมาบูชาธรรมกายเจดีย์ ก็น่าจะได้นะครับ เศรษฐกิจพอเพียง แต่ถ้าหากใครอยากจะซื้อพวงมาลัยใหม่ก็เห็นดีด้วยเช่นกันครับ

#5 suppy001

suppy001
  • Members
  • 2,210 posts

Posted 11 October 2007 - 07:44 AM

ทำแล้วจิตใจสบายก็ทำไปเถิด แต่ถ้าอยากบูชาด้วยพวงมาลัยที่ใหม่ สด ก็ยิ่งดีครับ....สาธุ

#6 เคยเข้าวัด

เคยเข้าวัด
  • Members
  • 1,296 posts
  • Interests:สร้างบุญบารมีอย่างยวดยิ่ง ตราบเท่าชีวีหมดอายุขัย

Posted 11 October 2007 - 08:33 AM

ควรไม่ควรอันนี้ผมไม่ขอตอบนะครับ แต่อยากให้ดูกำลังทรัพย์ของเรามากกว่า หากเรามีทรัพย์มากการที่เราจะเอาพวงมาลัยของเก่าไปบูชาเจดีย์ต่อนั้น มันจะทำให้ดูเหมือนว่าเราตระหนี่เกินไปนิส จริงไหมครับ ทั้งที่มีทรัพย์อยู่แล้วแต่ไม่ลงทุน เหมือนกับบริจาคเสื้อผ้าเก่าๆให้กับผู้อื่น อานิสงค์ที่ได้ก็จะทำให้เราได้แต่ของมือ2จริงไหมครับ

แต่ทีนี้ หากเป็นผู้ที่มีทรัพย์น้อยล่ะ หากเราถวายพวงมาลัยไปแล้ว จะซื้อพวงมาลัยใหม่เงินเราก็ไม่พอ แต่ใจก็อยากจะบูชาเจดีย์ต่อ อย่ากระนั้นเลยขอพวงมาลัยเขาไปบูชาเจดีย์ต่อ แม้จะเป็นการเอาของที่ใช้แล้วไปใช้อีก แต่ด้วยจิตปราถนาที่แรงกล้า เราก็ได้บุญมากมายมหาศาลแล้วจริงไหมครับ ซึ่งหากเทียบกันดูระหว่างผู้ที่ยังพอมีกำลังทรัพย์แต่เอาของเก่าไปใช้ต่อกับผู้ที่มีทรัพย์น้อยแต่ความต้องการในใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยกุศล จึงตัดสินใจเลือกเอาของเก่าไปใช้ต่อ ผมว่าอย่างหลังจะได้บุญเยอะกว่าอีกจริงไหมครับ

ทีนี้เรามาดูกันนะครับ เจ้าหน้าที่ภายในวัด อาสาสมัครช่วยงานในวัดด้วยความเต็มใจ ไม่คิดค่าตอบแทน รายได้ที่ได้ก็ได้จากเบี้ยเลี้ยงที่ทางวัดจัดให้ ซึ่งเดือนนึงไม่เกิน2000บาท(น่าจะประมาณนี้นะครับ - -") ด้วยจำนวนเงินเพียงแค่นี้แค่ซื้อของใช้จำเป็นส่วนตัวก็ไม่เหลือแล้วจริงไหมครับ อยากจะถวายพวงมาลัยที่สวยงามประณีตบูชาเจดีย์ ก็ไม่มีทุนทรัพย์มากพอ เพราะพวงมาลัยที่ร้อยอย่างสวยงามประณีต ราคาย่อมต้องสูงตามด้วยจริงไหมครับ ทีนี้จะทำอย่างไร อยากบูชาเจดีย์ใจจะขาด ก็ต้องหาเท่าที่ตัวเองหาได้จริงไหมครับ ซึ่งต่างจากคนที่ทำงานอย่างพวกเรา ซึ่งจัดได้ว่าเป็นผู้มีทรัพย์มากกว่าใช่ไหมล่ะครับ

สำหรับผู้มีทรัพย์ การเอาของใช้แล้วไปใช้ต่อนั่นหมายถึงเราใช้ของเก่าจริงไหมครับ
แต่สำหรับผู้ไม่มีทรัพย์ หรือมีทรัพย์น้อย การได้มีของใช้แม้ของนั้นจะเป็นของเก่าก็เหมือนกับการได้ของใหม่ในชีวิตเขาแล้วจริงไหมครับ

เชื่อไหมครับ หากพวกเราผู้ที่มีทรัพย์มากจัดโต๊ะแจกพวงมาลัยใหม่ ให้พี่ๆน้องๆอาสาที่พักในวัดใช้บูชาเจดีย์โดยไม่คิดเงินแม้สักบาทเดียว พี่ๆน้องๆอาสาในวัดจะเป็นปลื้มสุดๆจนยากจะหาสิ่งใดเปรียบเลยล่ะครับ ผมมั่นใจอย่างนั้นนะครับ หุหุ ^ ^ v
1) พระปัญญาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 20 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 4 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ พระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่างน้อยที่สุด)
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย

#7 สิริปโภ

สิริปโภ
  • Members
  • 1,766 posts
  • Gender:Male
  • Interests:เรื่องลึกลับ

Posted 11 October 2007 - 09:32 AM

เวลาเราเอาพวงมาลัยไปกราบพ่อเราแล้วก็ขอพรท่าน พอเสร็จแล้วก็บอกพ่อว่าขอมาลัยคืนนะครับจะเอาไปกราบแม่ต่อ
ทั้งพ่อและแม่ต่างก็มองหน้าเราแล้วก็ยิ้ม ลูบหัวเราเบาๆ เราก็ปลื้มปิติที่ได้กราบไหว้ระลึกถึงคุณบุพการี พ่อและแม่ก็ปลื้มที่มีลูกกตัญญู

พระนิพพาน กับรูปองค์พระธรรมกายบนมหาธรรมกายเจดีย์ล้วนเป็นความหมายของผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานเหมือนกันครับ
เวลาบูชาข้าวพระ เราเอาของละเอียดประกอบวิชชาธรรมกายขึ้นนิพพานไปไหว้พระในละเอียด ส่วนของหยาบที่เหลือเราก็นำไปไหว้ของหยาบในโลกมนุษย์ ก็ไม่น่าจะผิดอะไรครับ เพียงแต่อย่าให้ช้ำ อย่าให้ดูไม่ดี รักษาให้ปราณีตสวยงามเอาไว้ครับ แต่ถ้าจะเอาของใหม่ไปไหว้ก็จะดียิ่งกว่าครับ สาธุ




#8 crystal.mind

crystal.mind
  • Members
  • 280 posts
  • Gender:Female
  • Location:BKK
  • Interests:Book Music

Posted 11 October 2007 - 04:00 PM

ชอบจัง กับ การเปรียบเทียบของคุณสิริปโภ ค่ะ

เพราะสิ่งนี้ มีแต่ดี ไม่มีเสีย

เพียงต่คิดอยากบูชาก็เป็นบุญแล้ว

ยิ่งได่ลงมือกระทำ ยิ่งปิติ

ดอกไม้หอม ยังไงก็ยังหอม เป็นของสะอาด เป็นสิ่งที่เป็น"รูปธรรม" เพื่อสื่อให้เห็นชัดยิ่งขึ้นของ การบูชา

----- ได้ของใหม่ ของงาม ก็ดีค่ะ----- แต่ของที่งามน้อยลงมานิด ก็ยังเป็นเครื่องบูชาได้ (ดีกว่า ไม่ทำอะไรเลย)

" เกิดมาเพื่อ ทำพระนิพพานให้แจ้ง + แสวงบุญ + สร้างบารมีค่ะ "
"รักษา อารมณ์ดี + อารมณ์เดียว + อารมณ์สบาย ทั้งวัน "


#9 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3,579 posts

Posted 11 October 2007 - 05:06 PM

- ทั้งการบูชาข้าวพระ และ การสักการะมหาธรรมกายเจดีย์ ล้วนเป็นการบูชาบุคคลที่ควรบูชา ในศักดิ์ และ สิทธิ์ ที่เท่ากัน ไม่เป็นการเสียหายถ้านำมาบูชาใน 2สถาน
- คงจะไม่เป็นการควรถ้านำมาลัยบูชาข้าวพระมาสักการะสิ่งที่มิใช่พระรัตนตรัย
- ปริศนาอยู่ที่ว่า หากไม่สบายในว่าวัตถุทานนั้นจะปราณีตก็ควรถวายของอันปราณีต
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#10 โชติกาญจนมงคลชีวิกุล

โชติกาญจนมงคลชีวิกุล
  • Members
  • 20 posts

Posted 11 October 2007 - 05:37 PM

หลวงพี่รูปหนึ่งเคยให้พวงมาลัยที่บูชาข้าวพระแล้วแก่ผมเพื่อนำไปบูชาเจดีย์ต่อครับ

#11 New

New
  • Members
  • 95 posts

Posted 11 October 2007 - 05:38 PM

โดยส่วนตัวไม่คิดว่าเหมาะ เหมือนเอาของถวายแล้วไปถวายอีก ถึงแม้จะเป็นพระรัตนตรัยเหมือนเดิม

ในความคิดผม ผมว่ามันง่ายไปนะ เอาของที่บูชาที่หนึ่งแล้วไปบูชาอีกที่หนึ่ง มันคล้ายๆสังฆทานเวียนหรือไม่ก็ดอกไม้เวียนยังไงก็ไม่รู้

เราถวายพระพุทธท่านไปแล้ว แล้วก็คิดจะเอาไปถวายใหม่ แต่ก่อนจะลาสิ่งของนั้นกลับมาจากพระ เราก็กล่าวว่าขอส่วนที่เหลือนี้มาเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง (เสสัง มังคลัง ยาจามิ) มันก็เป็นส่วนที่เหลือ(หรือก็คือใช้ไปแล้ว) แล้วเอาไปถวายอีก ไม่รู้คนอื่นจะคิดอย่างนี้หรือเปล่านะครับ แต่ผมรู้สึกว่ามันมั..ง่ายยไป ถ้าเราตั้งใจจริงก็น่าจะเตรียมไปบูชาให้เรียบร้อย เตรียมไปเลยว่าจะไปบูชาที่แห่ง ผมว่าอย่างนี้เป็นการฝึกตนให้เตรียมพร้อมและละเอียดรอบคอบกว่า แบบนี้ได้บุญและสบายใจกว่ากันเยอะเลย

เราเอาของถวายแล้วมาถวายอีก พระพุทธท่านไม่ว่าหรอกครับ แต่ไทยทานของเราล่ะ เหมาะสมพอหรือเปล่า

ถ้าเขียนแรงไป ขออภัยด้วยนะครับ

#12 บุญเย็น

บุญเย็น
  • Members
  • 812 posts
  • Gender:Male
  • Location:thailand

Posted 26 October 2007 - 10:20 PM

แล้วแต่ศรัทธาจ้า
นำมอ ตี่ จ่าง อ้วง ผู่ สัก

#13 usr21748

usr21748
  • Members
  • 17 posts

Posted 04 February 2008 - 10:42 PM

ข้าพเจ้าให้ข้อสังเกตุที่อาจจะแตกต่างจากท่านอื่นๆออกไปดังนี้ บุคคลที่หนึ่งแสวงหาดอกบัวที่ปราณีต เพื่อนำมาถวายเป็นพุทธบูชา บุคคลที่สองนำเอาของที่เคยถวายไปแล้ว มาถวายใหม่ เพื่อให้ตนได้มีโอกาสได้ถวายเหมือนกัน บุคคลสองประเภทนี้ พอจะมองเห็นในความแตกต่างได้ตามความสมควร แต่ยังมีบุคคลอีกประเภทที่สาม ที่มีสติปัญญามองการไกลกว่า ถึงแม้จะมีเพียงแค่ดอกบัวเพียงดอกเดียวเช่นกัน ที่ได้น้อมนำมาถวายเช่นเดียวกัน แต่เขากลับได้บุญมากกว่า บุคคลประเภทที่หนึ่ง ที่ดูแล้วเหมือนใช้ของดี ปราณีต เพื่อนำมาถวาย ก็น่าจะสูงสุดแล้ว ดีแล้ว ยังจะมีอะไรที่ดีไปกว่านั้นอีก
คำตอบ คือ บุคคลที่สามมีสติปัญญามากกว่าที่จะแสวงหาบุญได้มากกว่า บุคคลที่ว่านี้ เขากระทำเช่นไรหรือ จึงได้บุญมากกว่า กล่าวคือ เขากระทำเช่นนี้ เข้านั้นแสวงหาสายพันธ์บัวที่ดีที่สุด แล้วนำมาปลูก ทุกๆวันเข้าได้ปลูกสติปัญญาของเข้าด้วยการระลึกถึงดอกบัวที่สวยงามภายในใจตลอดเวลา ตั้งความปราถนาไว้ว่าจะนำผลผลิตที่ได้คือดอกบัวที่เขาคัดสันต์มาดีแล้ว เฝ้าเพียรพยายามดูแลเป็นอย่างดี ทั้งดอกบัวภายนอกหมายถึงต้นบัวเฝ้าใสปุ๋ยดูแลน้ำ อย่างพิธีพิถันทุกขั้นตอน และ ดอกบัวภายในหมายถึง เฝ้าระลึกถึงดอกบัวที่สวยงามปราณีตภายในใจตลอดเวลา เฝ้านับวันรอดอกบัวภายนอกออกดอกตูม เพื่อจะได้ตัดมาถวายในท้ายสุด ของการถวายอย่างปราณีต บุคคลผู้นั้น ย่อมได้บุญมากกว่า ฉันนี้แล และบุคคลเช่นนี้ ย่อมจะเป็นบุคคลที่ เข้าถึงธรรมได้ง่ายกว่า บุคคลสองประเภทแรก เพราะเขาทำตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ทุกขั้นตอน นั้นก็คือ รู้จักทุกข์ก่อน เป็นประการแรก ครั้นเมื่อรู้จักกับทุกข์ดีแล้วย่อมจะรู้ว่า ย่อมเห็นเหตุแห่งการเกิดทุกข์ ครั้นเมื่อเห็นเหตุดีแล้ว ย่อมมองเห็นหนทางแห่งการดับทุกข์ และปฏิบัติไปสู่การดับทุกข์ บุคคลผู้นั้นได้เชื่อว่าเข้าใกล้ ซึ่งพระพุทธเจ้าโดยแท้ และย่อมบูชาต่อพระพุทธเจ้าได้ปราณีตสูงที่สุด ทั้งทางกายและทางใจ
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้มนุษย์เรา เดินทางย้อนหลังไปสู่ต้นกำเนิดของการเกิดทุกข์ก่อน พระพุทธเจ้าเป็นของสูง ที่ไม่ได้หมายเอา การอยู่สูงไปในท้องฟ้า เพราะในนั้นย่อมมีดวงดาวอาศัยอยู่ แต่สูงในที่นี้หมายเอา สูงเข้าไปในจิตใจของเรา ที่ซ้อนทับด้วยชั้นของมาร
การที่เรานั่งสมาธิแล้ว จิตของเรามักจะจดจำเรื่องของอดีตสะเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเรื่องในอนาคตก็ได้แต่คาดเดาตางๆนาๆกันไปนั้น อย่าได้ท้อแล้วเลิกล้มไปเพราะนั้น กำลังล้างข้อมูลเดิมๆออกไป ถ้าไม่ล้างเรื่องอดีตออกไปเช่นนี้ ในปัจจุบันจะไม่เกิดการบรรลุธรรมได้ดอก เมื่อต้องเข้าถึงธรรม ก็ต้องเข้าไปสู่อดีตชาติก่อน นั้นก็คือ ศูนย์กลางกายนั้นเอง กายเหล่านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน กายเหล่านี้ตางหากที่มีข้อมูลแห่งการทำดี นั้นก้อคือ บารมีตางๆ ที่ได้สะสมมาในอดีต เราข้ามเวลาไปสะสมในอนาคตไม่ได้ดอก เราเคยอยู่ได้แต่อดีตกับปัจจุบันเท่านั้นจริงๆ
การเห็นธรรมไม่ใช่เกิดจากความคิดเห็น แต่ การคิดเห็น เป็นหนทางไปสู่การเห็นธรรม เมื่อใจ คิด และเห็น หยุดลงที่ ละความสงสัยทิ้งเสียได้ หยุดตรงนี้เอง คือเกิดดวงตาเห็นธรรม
จงละทิ้งความสงสัยทั้งปวงทิ้งไป ด้วยความไม่สงสัย แต่แทนที่ด้วยความศรัทธา ที่เต็มไปด้วยความอ่อนน้อม บุคคลผู้มีความอ่อนน้อมต่อพระรัตนตรัยอยู่เป็นเนื่องนิตย์ ย่อมทำให้ใจอ่อนนุ่ม เป็นดังภาชนะที่อ่อนนุ่ม ย่อมเหมาะแก่การ รองรับในสิ่งต่างๆได้ดี พญามารเค้ากลัวความอ่อนนุ่มเช่นนี้ยิ่งนัก เพราะยิ่งอ่อนน้อมต่อพระรัตนตรัยมากขึ้นเท่าใด ความแข็งกระด้างต่อพญามาร ย่อมจะมีมากขึ้นฉันนั้น
สาธุ