ธรรมทาน VS อภัยทาน
#1
Posted 24 October 2006 - 08:06 PM
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พิมพ์ครั้งที่ 6 กันยายน 2549
หน้า ๑๔ ข้อ ๑๕. การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า
การให้ "อภัยทาน" แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทานก็คือการไม่ผูกโกรธ
ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่น แม้แต่ศัตรู ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน
เพราะการให้อภัยทาน เป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อละ "โทสกิเลส" และเป็นการเจริญ
"เมตตาพรหมวิหารธรรม" อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น
อันพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคล ที่บำเพ็ญฌาณ
ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียซึ่ง "พยาบาท"
ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้ การให้อภัยทาน จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและ
ยากเย็น จึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานทั้งปวง
ผมขอถามผู้รู้หน่อยนะครับ ผมสับสนกับคำว่า "การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทานทั้งปวง"
เมื่อ ธรรมทานชนะทานทุกชนิด แต่เหตุไฉนยังได้บุญน้อยกว่า อภัยทาน
ขออนุโมทนาบุญกับผู้ที่ให้ธรรมเป็นทานล่วงหน้าครับ
#2
Posted 24 October 2006 - 08:18 PM
#3
Posted 24 October 2006 - 09:43 PM
จะสามารถยังประโยชน์ให้ผู้อื่นด้วย ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้เกิดขึ้นแต่สิ่งที่สอนผู้อื่น
ไปเราเองต้องทำได้ด้วยดังนั้น พุทธพจน์ที่กล่าวมาจึงเป็นจริงทุกประการ
--------------------------------------------------------------------------------
ผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว ก็ย่อมมีจิตตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งหลายฉันนั้น
(พุทธพจน์)
#4
Posted 24 October 2006 - 10:58 PM
เคลียร์จริงๆ
#5
Posted 25 October 2006 - 09:41 AM
ก่อนอื่นอยากให้คุณเจ้าของกระทู้เข้าใจความหมายของคำว่าธรรมทานก่อน หลายท่านอาจเข้าใจว่าธรรมทานคือการให้ธรรมะเป็นทาน แต่จริงๆแล้วนั้น ธรรมทานหมายถึงการให้ความรู้เป็นทานครับ ซึ่งไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นความรู้ทางธรรมอย่างเดียว ทีนี้มาดูกันครับว่าทำไมจึงมีความคิดเป็นเช่นนั้น
1. ธรรมทาน จะได้บุญมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคนที่เรามอบให้ด้วย เช่น หากเราให้กับบัณทิต เราย่อมได้บุญมากเพราะบัณทิตนั้นเมื่อรู้ก็สามารถนำไปสอนต่อให้คนอื่นได้ เราก็ได้บุญเป็นทอดๆไป แต่หากเราให้คนพาล เขาก็จักไม่สนใจและไม่ไปสอนคนอื่นด้วยเราก็ได้บุญเพียงแค่คนๆนั้น และธรรมทานนั้นให้ได้ง่ายมากไม่ว่าจะบัญทิตหรือคนพาลจริงไหมครับ แค่เขาถามเราก็ตอบ
2. อภัยทาน ไม่ว่าจะเป็นบัญทิตหรือคนพาล เราให้เขาเราได้บุญเท่าเทียมกันจริงไหมครับ เพราะเจาะจงเฉพาะตัวบุคคลไป แล้วการให้อภัยทานนั้นเป็นการยากมากที่จะให้ ลองดูเถิดครับ เวลามีคนพาลมายั่วโมโหเรา มีใครบ้างที่จะทนนิ่งเฉยอภัยให้คนพาลได้ โดยไม่คิดอะไร อ่ะอย่างนี้สักหน่อยต้องมีคิดละ "อ้ายนี่มันอะไรฟ่ะ อยู่ๆมาด่ามาว่าเรา" ใจหงุดหงิดขุ่นมัวแล้วใช่ไหมครับ อ่ะคนพาลอยู่ๆมาชกเรา "หน๋อยอ้ายนี่ มาชกเรา ขอคืนซักเปรี้ยงเถอะน่า" อ่ะคนพาลพูดประชดเราหรือยอกย้อนเรา "แม้อ้ายนี่มาประชดมาหยอกย้อนเราไม่ได้ต้องเอาคืนแก้ต่างมันให้ได้" ส่วนมากจะเป็นเช่นนี้ใช่ไหมครับ
อ่ะแล้วทีนี้มาดู ใครบ้างถูกคนพาลรังแกแล้วจะไม่คิดโกรธ อย่างดีสักหน่อย โกรธเป็นฟื้นเป็นไฟสัก2-3นาทีแล้วก็หาย บางคนโกรธจัดเป็นวันๆ บางคนอาฆาตเป็นชั่วโมง บางคนครึ่งวัน บางคนข้ามคืน บางคนข้ามเดือน บางคนข้ามปี บางคนข้ามชาติเหมือนอย่างพระเทวทัตใช่ไหมครับ
อ่ะทีนี้มาเปรียบเทียบกันสักนิด ธรรมทาน เราให้กับคนอื่น อ่ะสมมุติเราให้หัวข้อธรรมะสักข้อสมมุติเรื่องฆารวาสธรรม เราใช้เวลาให้ธรรมทานกี่นาที บางคนพุดไม่ถึง10นาทีจบ บางคนพูดสักครึ่งชม.จบ บางคนพูดครึ่งวันจบ บางคนแจงรายละเอียดต่างๆแต่บอกได้เลยไม่ถึงวันก็จบใช่ไหมครับแต่อภัยทานนี่ไม่ใช่แค่นั้น โดนวันนี้ พยายามข่มใจสักครึ่งชม.หาย พรุ่งนี้มาเจอหน้าคู่อริเรา อ้าว โกรธอีกซะแล้ว แม้มันเจ็บใจจริงๆเมื่อวานมันทำเราแสบ ไม่ได้ๆต้องยอมอภัยให้ อ่ะวันต่อไปเจอหน้ากันอีกเอาอีกแล้ว แม้วันนั้นมันทำเราแสบจริงๆ ขอสักเปรี้ยงดีไหมเนี่ย ดังนั้นอภัยทานเราสามารถให้ได้เกือบจะทุกวันเลยจริงไหมครับ และเชื่อเถอะมีหลายคนที่เจอปัญหาแทบทุกวัน หงุดหงิดแทบทุกวัน ไหนจะรถติด ไหนจะเรื่องงานโดนเจ้านายว่าจริงไหมครับ
ดังนั้น ตามที่ผมคิดด้วยปัญญาอันน้อยนิดของผม อภัยทานจึงได้บุญมากกว่าธรรมทานด้วยประการละฉนี้แล
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#6
Posted 25 October 2006 - 10:57 AM
ต้องเป็นคนที่มีคุณธรรมในใจ มันเป็นการยากนะครับที่จะคิดเองได้ คิดง่ายๆ
ถ้าไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะมีพระอรหันต์ไหม ธรรมทานสามารถทำให้เกิดพระอรหันต์ได้
แม้คนฟังไม่เข้าใจก็ยังถือว่าผู้ให้ได้บุญเพราะมีเจตนาที่ประเสริฐ แต่อภัยทานแม้เราจะให้ก็อย่างที่ว่านะครับ
ได้ที่เรา แต่คนอื่นจะยังไงไม่รู้ คิดง่ายๆนะครับพระปัจเจกกับพระพุทธเจ้า ใครสร้างบารมีมากกว่ากัน ^^
---------------------------------------------------------------------------------------
การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง......
ผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว ก็ย่อมมีจิตตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งหลายฉันนั้น
(พุทธพจน์)
#7
Posted 25 October 2006 - 11:32 AM
เหตุใดศีล จึงได้บุญมากกว่าทาน เพราะบัณฑิตในกาลก่อนท่านกล่าวว่า ศีล เป็น มหาทาน (มีในพระไตรปิฎก) คือ ให้ความปลอดภัยแก่ผู้อื่น ดังนั้น การที่เราให้อภัยทานแก่ผู้อื่นนั้นคือ ตั้งใจจะไม่ไปทำร้ายเขาอีกแล้ว จึงถือว่า ให้ความปลอดภัยแก่เขา จึงได้ชื่อว่า มีศีล คือ เป็นมหาทาน นั่นเองครับ
#8
Posted 25 October 2006 - 01:08 PM
จงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต
จงสละชีวิตเพื่อรักษาธรรม
พระพุทธเจ้าสร้างบารมีเพื่อธรรมะอันบริสุทธิ์
เพื่อให้หลุดพ้นจากวัฎฎสงสาร
อภัยทานเป็นการสร้างบารมี เมื่อบารมีทั้ง 30 ทัศเต็มเปี่ยม
จึงสามารถตรัสรู้ได้เราได้มาเกิดในยุคนี้อาจจะมองไม่เห็นว่าธรรมมีค่าขนาดไหน
ลองนึกดูถ้าไปเกิดในยุคสูญญกัปป์จะเป็นอย่างไร
ดูก่อนอานนท์คำว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ ไม่ใช่คำที่ได้ยินได้โดยง่าย
ธรรมแม้เพียงเล็กน้อยอาจพาบุคคลเข้าสู่นิพพานได้
ขอจบแค่นี้นะครับถ้ายังคลางแคลงใจอาจหาโอกาสไปถามหลวงพ่อนะครับ
อาจกระจ่างมากขึ้นแต่ทำให้ครบทุกอย่างดีที่สุดนะครับ........^^
---------------------------
หลังอิงต้นโพธิ์
ผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว ก็ย่อมมีจิตตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งหลายฉันนั้น
(พุทธพจน์)
#9
Posted 25 October 2006 - 07:41 PM
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ
เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี
#10
Posted 25 October 2006 - 09:52 PM
อธิบายนิดนึงน่ะ
การให้ความรู้เป็นทานนั้นมี ๒ แบบ
๑. ให้ความรู้ทางโลก เรียกว่า วิทยาทาน
๒. ให้ความรู้ทางธรรมเรียกว่า ธรรมทานทำให้สามารถหมดกิเลสได้
คุณ DIFILEMENT DESTROYER ตอบถูกต้องแล้วครับ
ธรรมทาน เมื่อเราได้ให้กับคนพาลไปแล้ว เขากลับตัวเป็นคนดีได้ ก็มีอยู่มากมายนัก ทำให้เราได้บุญกับเขาเต็มที่ ตังอย่างเหมือนคนวัดหลายคนที่กลับตัวในภายหลัง แล้วทำบุญเต็มที่ สั่งสมบุญทุกบุญ นั่งสมาธิจนเห็นดวง เห็นองค์พระ เราจะได้บุญกับเขาขนาดไหน เทียบเคียงได้จากคำพูด
พระมงคลเทพมุนี(หลวงปู่วัดปากน้ำ)เคยกล่าวไว้ว่านั่งสมาธิใจหยุดนิ่งเพียงช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น ได้บุญมากกว่าสร้างโบสถ์วิหารเป็นร้อยๆหลัง
นี่เขานั่งเห็นองค์พระเป็นชั่วโมงๆๆ เราจะได้บุญกับเขาขนาดไหน
ไหนคุณว่าได้บุญน้อยไง.....
แล้วเขายังมีโอกาสไปทำหน้าที่กัลยาณมิตรกับคนอีกมากมาย
เราก็ยอมได้บุญไปด้วย
เห็นไหมครับได้บุญมากจริงๆๆ
นี่คุณ
ธรรมทานนั้นไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆๆ
กว่าพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมคิดคุณคิดว่ามันง่ายหรือ
กว่าพระองค์จะนำมาเผยแผ่ก็ไม่ง่าย
การให้ธรรมทานไม่ได้ให้กันง่ายๆๆน่ะครับ
ต้องมีสิ่งดังกล่าวเกิดขึ้นก่อน
อืม....เข้าใจแล้ว
ไม่จริง
มันมีหลายองค์ประกอบ
เช่น ต้องขึ้นอยู่ว่าเราโกรธมากหรือว่าโกรธน้อยด้วย
ได้บุญไม่เท่าเทียมกัน
ยังมีอีก
ดูตอนก่อนให้ธรรมทานและอภัยทานน่ะครับมันต่างกันแล้ว
เพราะก่อนให้อภัยทาน แสดงว่าคุณใจขุ่น คุณใจหมองแล้วครับ แค่นี้ดวงบาปก็โตแล้ว
แต่ธรรมทาน ก่อนให้ใจก็ใส คิดแต่เรื่องธรรมใจอยู่ในบุญ ใจใสก่อนให้ แค่นี้ดวงบุญก็โตแล้ว
เห็นไหมครับก่อบให้ก็ต่างกันแล้ว
#11
Posted 25 October 2006 - 09:57 PM
กระจ่างมากเลย
การให้ธรรมทานเราต้องมีเวลาและอารมณ์ถึงจะให้ได้
ถ้ามีบุคคลหนึ่งได้ธรรมทานสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วท่านยังต้องให้อภัยทานไหม
แต่พระอรหันต์ยังสามารถให้ธรรมทานขยายแสงสว่างได้และพระพุทธศาสนาดำรงอยู่ได้เพราะธรรมะที่พระสงฆ์เก็บไว้และนำมาถ่ายทอด
อานิสสงค์ขนาดนี้มองออกหรือไม่ครับ
ถ้าจะอิงบุคคลอิงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดีที่สุดครับสากลดี
-------------------------------------------------------
ผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว ก็ย่อมมีจิตตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งหลายฉันนั้น
(พุทธพจน์)
#12
Posted 25 October 2006 - 09:58 PM
อ่ะแล้วทีนี้มาดู ใครบ้างถูกคนพาลรังแกแล้วจะไม่คิดโกรธ อย่างดีสักหน่อย โกรธเป็นฟื้นเป็นไฟสัก2-3นาทีแล้วก็หาย บางคนโกรธจัดเป็นวันๆ บางคนอาฆาตเป็นชั่วโมง บางคนครึ่งวัน บางคนข้ามคืน บางคนข้ามเดือน บางคนข้ามปี บางคนข้ามชาติเหมือนอย่างพระเทวทัตใช่ไหมครับ
อ่ะทีนี้มาเปรียบเทียบกันสักนิด ธรรมทาน เราให้กับคนอื่น อ่ะสมมุติเราให้หัวข้อธรรมะสักข้อสมมุติเรื่องฆารวาสธรรม เราใช้เวลาให้ธรรมทานกี่นาที บางคนพุดไม่ถึง10นาทีจบ บางคนพูดสักครึ่งชม.จบ บางคนพูดครึ่งวันจบ บางคนแจงรายละเอียดต่างๆแต่บอกได้เลยไม่ถึงวันก็จบใช่ไหมครับแต่อภัยทานนี่ไม่ใช่แค่นั้น โดนวันนี้ พยายามข่มใจสักครึ่งชม.หาย พรุ่งนี้มาเจอหน้าคู่อริเรา อ้าว โกรธอีกซะแล้ว แม้มันเจ็บใจจริงๆเมื่อวานมันทำเราแสบ ไม่ได้ๆต้องยอมอภัยให้ อ่ะวันต่อไปเจอหน้ากันอีกเอาอีกแล้ว แม้วันนั้นมันทำเราแสบจริงๆ ขอสักเปรี้ยงดีไหมเนี่ย ดังนั้นอภัยทานเราสามารถให้ได้เกือบจะทุกวันเลยจริงไหมครับ และเชื่อเถอะมีหลายคนที่เจอปัญหาแทบทุกวัน หงุดหงิดแทบทุกวัน ไหนจะรถติด ไหนจะเรื่องงานโดนเจ้านายว่าจริงไหมครับ
อืมอันนี้ก็ได้บุญ แต่ น้อยกว่าธรรมทาน
ลองคิดดูน่ะครับ
เราให้อภัยทานกับคนที่เราโกรธแล้ว
คนที่เราโกรธเป็นไงต่อไป
เขาก็เป็นคนพาลต่อไป
ดีไม่ดีก็กลับมาทำให้เราโกรธอีก
เราก็ได้แค่ต้องให้เท่านั้น
แต่
การให้ธรรมทาน
เราให้ไปแล้ว
คนที่เราให้เข้าถึงดวงธรรม
ตั้งใจสั่งสมบุญทุกๆๆบุญ
เราก็ได้บุญกับเขาต่ออีก
เราได้ทั้งขณะให้และหลังให้
-------------------------ดังพุทธพจน์ ที่ว่า การให้ธรรมทานชนะการให้ทั้งปวง --------------------------------
ผมก็ไม่ได้ว่าการให้อภัยทานไม่ดีน่ะครับ
ดีครับที่คุณได้อภัยให้กับคนที่คุณโกรธ ดีสุดๆๆครับ
แต่การให้ธรรมทานได้บุญมากกว่าครับ
#13
Posted 25 October 2006 - 10:51 PM
เมื่อ ธรรมทานชนะทานทุกชนิด แต่เหตุไฉนยังได้บุญน้อยกว่า อภัยทาน
ผมก็ไม่ได้ว่าการให้อภัยทานไม่ดีน่ะครับ
ดีครับที่คุณได้อภัยให้กับคนที่คุณโกรธ ดีสุดๆๆครับ
แต่การให้ธรรมทานได้บุญมากกว่าครับ
สำหรับเรื่องนี้กระผมขอแสดงทัศนคติในเชิงวิจารณ์ว่า หากจะเอามาเปรียบกันแล้ว เป็นการไม่ควรนะครับ เพราะเหตุว่า ทั้งธรรมทานและอภัยทานนั้น ต่างก็มีอานิสงส์มากอย่างยิ่งด้วยกันทั้งสองฝ่าย หากแต่การให้ธรรมทานนั้น เป็นการให้หนทางเบื้องต้นมรรคผลนิพพาน เพราะเหตุนี้เอง ผู้ให้ธรรมทานย่อมได้ชื่อว่า "ให้อมฤตธรรม" ผู้ให้ธรรมทานย่อมได้ชื่อว่า "ชนะการให้ทั้งปวง" ส่วนการให้อภัยทานนั้น เป็นการให้ที่ต้องอาศัยกำลังใจอย่างสูงยิ่ง จะเรียกว่าเป็นการให้ที่เป็นปรมัตถ์อย่างหนึ่งก็ได้ เพราะผู้ให้ต้องกอปรด้วยกำลังใจอย่างเปี่ยมล้นที่จะสลัดออกซึ่งโทสชาติในขันธสันดานของตนให้หลุดให้พ้นไปจากกาย วาจา จิต อันเป็นกิจที่กระทำได้โดยยาก เพราะเหตุไรกระผมจึงกล่าวเช่นนี้ เพราะเหตุว่า
บุรุษนั้นย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้มีชัยชนะอันประเสริฐ
ประเสริฐยิ่งกว่าการรบชนะอริราชศัตรูในสงครามแม้ตั้งพัน"
ดังได้พรรณนามาฉะนี้
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#14
Posted 26 October 2006 - 12:08 AM
ก็ในเมื่อ มีพุทธพจน์ กล่าวรับรองว่า ธรรมทาน ชนะการให้ ทั้งปวง
ใครที่ กล่าวว่า อภัยทาน ชนะ ธรรมทาน กรุณาหาพุทธพจน์มารับรองด้วยครับ
ก็ในเมื่อ ธรรมทาน มีอานุภาพ ถึงขนาดทำให้ มนุษย์หมดกิเลสได้ จะมีอานิสงส์ น้อยกว่า ทานอื่นได้ยังไง ทานอื่น ไม่ว่าจะเป็นทานแบบไหน ล้วนส่งผลให้อยู่แต่ในโลกียะทั้งสิ้น
คิดแบบไง่ๆ นะ การที่จะเกิดอภัยทานได้ แสดงว่า ตัวเองต้องเกิดความโกรธเกิดในใจ ก่อน ถึงต้องข่มใจ ให้อภัย เป็นแค่ข่มกิเลสตัวเองไม่ให้กำเริบ แต่ก็ไม่หมดกิเลส เพราะคนที่หมดกิเลสแล้ว แบบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ ไม่จำเป็นต้องให้อภัยใคร เพราะท่านไม่มีความโกรธเหลือในใจแล้ว มีแต่ความเมตตา กรุณา ต้องการให้สรรพสัตว์ มีสุข พ้นทุกข์ เท่านั้น
พูดไปตามเนื้อผ้า และความเข้าใจ ส่วนตัว ไม่ได้ลบหลู่ผู้ใดครับ
หากเข้าใจผิด กราบขอขมาด้วยครับ
#15
Posted 26 October 2006 - 12:24 AM
ก็ในเมื่อ มีพุทธพจน์ กล่าวรับรองว่า ธรรมทาน ชนะการให้ ทั้งปวง
ใครที่ กล่าวว่า อภัยทาน ชนะ ธรรมทาน กรุณาหาพุทธพจน์มารับรองด้วยครับ
ข้อนั้นผมทราบดี แล้วคำพูดในประโยคที่ว่า "จะเรียกว่าเป็นการให้ที่เป็นปรมัตถ์อย่างหนึ่งก็ได้" นั้น ผมมิได้มีเจตนาชี้นำแบบจำเพาะเจาะจงลงไปเสียทีเดียวว่า "การให้อภัยทานเป็นการให้ที่มีอานิสงส์มากกว่าธรรมทาน" ฉะนั้น ขอความกรุณาท่านได้โปรดอ่านทบทวนดูความเห็นทั้งหมดของผมใหม่อีกสักครั้ง แล้วคุณจะเข้าใจถึงเจตนาของผมครับ ขออนุโมทนาบุญกับข้อชี้แนะของท่านด้วยนะครับ สาธุ...
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#16
Posted 26 October 2006 - 08:56 AM
แต่คำว่า "ธรรมทาน" ส่วนนี้ เป็นพุทธพจน์โดยตรง ผมไม่รู้จริงๆ เลยว่าพระองค์เคยตรัสถึงคำว่า "อภัยทาน" ไว้ตรงไหน
โปรดยกพระไตรปิฎกมาสนับสนุน เพื่อเป็นธรรมทานด้วยครับ ผมจะได้ไม่หลงประเด็น
#17
Posted 26 October 2006 - 09:06 AM
ถ้าคุณคิดว่าโทส สละได้โดยยากลองฟังนี้ดูนะครับ
โทสะ มีโทษมาก สละได้โดยง่าย
ราคะ มีโทษน้อยกว่า สละได้โดยยาก
โมหะ มีโทษมากที่สุด สละได้โดยยาก
ถ้าคุณคิดว่าโทสะสละยาก มีกิเลสตระกูลใหญ่ๆอีก ๒ ตระกูลที่สละยากกว่า
แต่ธรรมทานสามารถทำให้สละได้ทั้ง ๓ อย่างอย่างนี้นะ แต่ถ้ายังไม่หมดกิเลสแต่ก็
เป็นต้นกำเนิดเลยที่จะให้ทำอย่างอื่นทั้ง ทาน ศีล ภาวนา และเกิดทำให้ปัญญา
แยกนิดหนึ่งนะครับปรมัตถ์ พูดง่ายๆคือใช้ชีวิตเดิมพัน การสรางบารมี มี๓ ระดับนะครับ บารมี 10 ทัศจึงจะเป็น 30 ทัศการให้ธรรมทานก็มี
๓ ระดับเหมือนกัน แต่ถ้าระดับเดียวกันก็เป็นดังพุทธพจน์
-----------------------------------------------------------------------
หลังอิงต้นโพธิ์
ผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว ก็ย่อมมีจิตตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งหลายฉันนั้น
(พุทธพจน์)
#18
Posted 26 October 2006 - 10:45 AM
#19
Posted 26 October 2006 - 12:11 PM
#20
Posted 26 October 2006 - 01:02 PM
ในความหมายที่พระสังฆราชว่าไว้ ไม่ได้หมายถึงการให้ที่เป็นทานนะครับ ท่านหมายถึง อภัยทาน ขยายไว้แล้วว่า ก็คือ พรหมวิหาร และเป็นบุญญกิริยาฝ่ายภาวนามัย
ส่วนการให้ ก็ยังเป็นบุญญกิริยาในส่วนของ ทานมัย พอเข้าใจไหมครับ
#21
Posted 26 October 2006 - 09:42 PM
เหตุใดศีล จึงได้บุญมากกว่าทาน เพราะบัณฑิตในกาลก่อนท่านกล่าวว่า ศีล เป็น มหาทาน (มีในพระไตรปิฎก) คือ ให้ความปลอดภัยแก่ผู้อื่น ดังนั้น การที่เราให้อภัยทานแก่ผู้อื่นนั้นคือ ตั้งใจจะไม่ไปทำร้ายเขาอีกแล้ว จึงถือว่า ให้ความปลอดภัยแก่เขา จึงได้ชื่อว่า มีศีล คือ เป็นมหาทาน นั่นเองครับ
แต่คำว่า "ธรรมทาน" ส่วนนี้ เป็นพุทธพจน์โดยตรง ผมไม่รู้จริงๆ เลยว่าพระองค์เคยตรัสถึงคำว่า "อภัยทาน" ไว้ตรงไหน
โปรดยกพระไตรปิฎกมาสนับสนุน เพื่อเป็นธรรมทานด้วยครับ ผมจะได้ไม่หลงประเด็น
นี่คุณหัดฝันครับ
และคุณtanay007
คือว่าคุณ
จะเอาอภัยทานมารวมกับศีลนั้นก็แปลกๆๆดีน่ะครับ
ดูง่ายๆๆอภัยทานก็มีคำว่าทานให้เห็นชัดๆๆอยู่แล้ว
และก็มีกล่าวในประไตรปิฎกด้วยว่า
วัตถุที่ควรให้ มี๓ อย่างคือ
อามิสทาน
อภัยทาน
และธรรมทาน
จัดอยู่ในการให้ล้วนๆๆ
สว่นที่คุณเอาไปปนกับพรหมวิหารนั้น
มันคนละเรื่องกัน
เมตตาก็ส่วนเมตตา
เมตตาต้องมีความรักใคร่ประกอบด้วยเป็นต้น
ส่วนอภัยทานก็ให้อภัยเฉยๆๆไม่ต้องรักก็ได้
และพระไตรปิฎกยังบอกอีกว่าการให้อภัยทานทำได้ง่ายเหมือนอามิสทาน
ส่วนศีลมันแปลว่าปกติใช่ไหมครับ
แล้วมันจะเกี่ยวกับอภัยทานได้ยังไง
อภัยทานเป็นเรื่องของทานอย่าเอาไปปนกับศีลน่ะครับ
ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงผมอาจจะศึกษาน้อยอยู่
ช่วยยกประไตรปิฎกมาด้วยน่ะครับ
#22
Posted 26 October 2006 - 10:02 PM
โทสะ มีโทษมาก สละได้โดยง่าย
ราคะ มีโทษน้อยกว่า สละได้โดยยาก
โมหะ มีโทษมากที่สุด สละได้โดยยาก
ถ้าคุณคิดว่าโทสะสละยาก มีกิเลสตระกูลใหญ่ๆอีก ๒ ตระกูลที่สละยากกว่า
แต่ธรรมทานสามารถทำให้สละได้ทั้ง ๓ อย่างอย่างนี้นะ แต่ถ้ายังไม่หมดกิเลสแต่ก็
เป็นต้นกำเนิดเลยที่จะให้ทำอย่างอื่นทั้ง ทาน ศีล ภาวนา และเกิดทำให้ปัญญา
๓ ระดับเหมือนกัน แต่ถ้าระดับเดียวกันก็เป็นดังพุทธพจน์
เรียนคุณ Defilement Destroyer ที่นับถือ
***ขอขอบคุณสำหรับการชี้ขุมทรัพย์ให้แก่กระผม แต่ผมขอย้ำว่า สิ่งที่ผมได้แสดงความเห็นไปในโพสต์ก่อนหน้านี้นั้น เป็นการแสดงความเห็นอันเป็นทัศนคติส่วนบุคคลนะครับ แล้วอันที่จริงทัศนคติดังกล่าว เป็นทัศนคติที่แสดงโดยนำเอาสิ่งที่ได้ประสบพบเจอกับตนเองในชีวิตจริงมาแนะนำ มาแบ่งปันให้แก่เพื่อนสมาชิกในชุมชน ทั้งนี้ สิ่งที่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกกับสิ่งที่ปรากฏอย่างเห็นเป็นรูปธรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันของเรานั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันเสมอไป เป็นต้นว่า "โทสะมีโทษมาก แต่สละได้โดยง่าย" ใคร่ขอเรียนถามว่า ในชีวิตจริงของมนุษย์ปุถุชนธรรมดาสามัญนั้น สามารถตัดออกซึ่งอารมณ์รุนแรงฉุนเฉียวอันเกิดแต่ผัสสารมณ์อันไม่น่าพอใจที่เข้ามากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้โดยง่ายในชั่วพริบตาขนาดนั้นเทียวหรือ? (โดยเฉพาะคนที่เขามาทำให้เราต้องเจ็บช้ำน้ำใจ อย่างรุนแรงแสนสาหัส) แล้วคำว่า "ปรมัตถ์" ที่ผมใช้นั้น ผมมีเจตนาให้คำพูดดังกล่าวมีความสอดคล้องกับประโยคที่กระผมได้ยกมาสนับสนุนในภายหลัง ความว่า
บุรุษนั้นย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้มีชัยชนะอันประเสริฐ
ประเสริฐยิ่งกว่าการรบชนะอริราชศัตรูในสงครามแม้ตั้งพัน"
***ด้วยเหตุผลที่เหตุว่า "ชนะใดในโลกา หาประเสริฐเท่าชนะใจตนเองไม่" (หาได้เกี่ยวข้องกับบารมีขั้นอุกฤษฏ์ที่เรียกว่า "ปรมัตถบารมี" แต่อย่างใดไม่) ผมเองเป็นคนศึกษาธรรมะคนหนึ่งที่มิได้เชื่อในทุกสิ่งที่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกนะครับ เพราะโดยปกติตัวของกระผมเองเป็นบุคคลที่ไม่ได้ลงมือเชื่ออะไรอย่างง่ายๆ อยู่แล้ว แม้องค์พระบรมไตรโลกนาถศาสดาผู้เปี่ยมล้นด้วยพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นเยี่ยงเอกบุรุษผู้เป็นที่สุดในสากลจักรวาลถึงเพียงนั้น ท่านยังไม่ตรัสสอนแก่พุทธสาวกของพระองค์เลยว่า "ท่านจงเชื่อเราตถาคต" จริงไหมครับ? หากแต่องค์พุทธบิดานั้น ทรงสอนให้เชื่ออย่างมีสติ เชื่ออย่างผู้มีปัญญา ด้วยเหตุนี้ ทัศนคติดังกล่าวจึงเกิดขึ้น กระผมขอให้แง่คิดทิ้งท้ายไว้แก่ทุกท่านที่ศึกษาพระธรรมคำสอนขององค์พระบรมศาสดาว่า เราไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีความคิดเห็นที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันเสมอไป หากแต่เราสามารถมีความเห็นที่แตกต่างกันได้ หากแต่ในความแตกต่างนั้น จักต้องไม่นำไปสู่ความแตกแยกอันเป็นหัวใจหลัก คือ พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ถ้าจะอุปมาไปแล้ว เปรียบได้กับผลลัพธ์ที่มีค่าเท่ากับ ๑o ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวนั้น กำหนดให้เป็นหัวใจหลัก คือ พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งทางแห่งการได้มาของผลลัพธ์ดังกล่าวนี้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็น ๕+๕ เสมอไปใช่ไหมครับ? เป็น
-(-๑o) ได้ไหม? เป็นรากที่สองของ ๑oo ได้ไหม? ขอฝากทิ้งท้ายไว้เป็นแง่คิดด้วยเช่นกันครับ อนุโมทนาบุญซึ่งกันและกันนะครับ สาธุ... สาธุ... สาธุ...
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#23
Posted 26 October 2006 - 10:58 PM
ให้เอาคำของพุทธองค์มาอ้าง และยึดไว้เป็นหลักนะครับ คุณเคยอ่านพระไตรปิฏกไหมครับ
จะมีส่วนพุทธพจน์ ส่วนชั้นอรรถกถา ชั้นฎีกา คุณบอกไม่เชื่อสิ่งที่ปรากฎในไตรปิฎกในส่วนพุทธพจน์
แต่ผมขอบอกว่าถ้าผมจะเชื่ออะไรซักอย่างผมจะเชื่อสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัส เพราะผมยังเป็นผู้
มีธุลีในตามากอยู่ผมพยายามยกพระไตรปิฏกมาอ้างไม่เอาความเห็นส่วนตัวเพราะผมรู้ผมยังโง่อยู่
ยกมามากมาย แม้หลวงปู่ท่านยังต้องอ้างพระไตรปิฎก หลวงพ่อ คุณเข้าวัดมานานคุณเคยเอาเป็นตัวอย่างไหมครับ
ที่พูดผมไม่อยากเอาชนะอะไร แต่เพียงอยากบอกว่าถ้าจะขยายธรรมกายไปทั่วโลก แค่คิดเองจะขยายได้ไหมครับ
คุณน่าจะรู้ดีนะครับ ตีความไปเองถ้าเกิดไปเบือนพุทธพจน์อานิสงค์มากนะครับ อันนี้ครูบาอาจารย์สอนมาลอง
ตรองดูนะครับ ผมว่าถ้าให้ดีคุณลองไปถามหลวงพ่อ ผมรู้ว่าทุกคนทีทิฎฐิกันทั้งนั้นแต่ มันไม่ช่วยให้ไปนิพพานนะครับ
ลดๆลงไปถามหลวงพ่อคุณอาจพระจ่างมากขึ้น
-------------------------------------------
ธรรมะทุกข้อจะไม่มีประโยชน์เลย ถ้าไม่นำไปปฏิบัติ
ผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว ก็ย่อมมีจิตตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งหลายฉันนั้น
(พุทธพจน์)
#24
Posted 26 October 2006 - 11:38 PM
สมองกับหัวใจ อะไรสำคัญกว่ากันครับ
ตามหลักความจริง
ถ้าขาดสมองเราจะอยู่ได้มั๊ยครับ
ถ้าขาดหัวใจเราจะอยู๋ได้มั๊ยครับ
มีใครตอบได้มั๊ยครับอะไรสำคัญกว่ากัน^^
-----------------
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.
#25
Posted 27 October 2006 - 12:57 AM
ให้เอาคำของพุทธองค์มาอ้าง และยึดไว้เป็นหลักนะครับ คุณเคยอ่านพระไตรปิฏกไหมครับ
จะมีส่วนพุทธพจน์ ส่วนชั้นอรรถกถา ชั้นฎีกา คุณบอกไม่เชื่อสิ่งที่ปรากฎในไตรปิฎกในส่วนพุทธพจน์
แต่ผมขอบอกว่าถ้าผมจะเชื่ออะไรซักอย่างผมจะเชื่อสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัส เพราะผมยังเป็นผู้
มีธุลีในตามากอยู่ผมพยายามยกพระไตรปิฏกมาอ้างไม่เอาความเห็นส่วนตัวเพราะผมรู้ผมยังโง่อยู่
ยกมามากมาย แม้หลวงปู่ท่านยังต้องอ้างพระไตรปิฎก หลวงพ่อ คุณเข้าวัดมานานคุณเคยเอาเป็นตัวอย่างไหมครับ
ที่พูดผมไม่อยากเอาชนะอะไร แต่เพียงอยากบอกว่าถ้าจะขยายธรรมกายไปทั่วโลก แค่คิดเองจะขยายได้ไหมครับ
คุณน่าจะรู้ดีนะครับ ตีความไปเองถ้าเกิดไปเบือนพุทธพจน์อานิสงค์มากนะครับ อันนี้ครูบาอาจารย์สอนมาลอง
ตรองดูนะครับ ผมว่าถ้าให้ดีคุณลองไปถามหลวงพ่อ ผมรู้ว่าทุกคนทีทิฎฐิกันทั้งนั้นแต่ มันไม่ช่วยให้ไปนิพพานนะครับ
ลดๆลงไปถามหลวงพ่อคุณอาจพระจ่างมากขึ้น
น้องครับ นี่แปลว่า พี่ไม่มีสิทธิ์ในการแสดงทัศนคติอันเป็นความเห็นส่วนตัวของพี่เลยใช่ไหมครับ? จากคำกล่าวที่ว่า
ในส่วนของข้อความในส่วนที่ขีดเส้นใต้นั้น พี่มีเจตนาแสดงว่า พี่ประพฤติปฏิบัติตนโดยเดินตามหลักของกาลามสูตร ซึ่งจะเชื่อก็ต่อเมื่อได้นำมาประพฤติปฏิบัติกระทั่งสามารถรู้แจ้งเห็นจริงได้ด้วยตนเอง เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงได้ด้วยตนเองแล้ว จึงทำการเทียบรู้เทียบเห็นนั้น กับพระบรมศาสดา กับคุณครูบาอาจารย์ว่าตรงกันหรือไม่? ถ้ารู้เห็นของเราตรงกันกับท่านเมื่อใดแล้ว เมื่อนั้นจึงจะปลงใจเชื่ออย่างแน่นแฟ้นน่ะครับ พี่ไม่ได้บอกว่า พี่ไม่ได้จะไม่เชื่อในสิ่งที่พระพุทธองค์สอนไปเสียทั้งหมด แต่พี่มีเจตนาที่จะบอกกับทุกคนว่า หากจะศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ต้องศึกษาอย่างผู้มีสติ อย่างผู้มีปัญญา ซึ่งคำว่า ผู้มีสติ ผู้มีปัญญาในที่นี้ก็คือ ท่านพึงน้อมนำเอาคำสอนเหล่านั้น มาประพฤติปฏิบัติให้เห็นแจ้งเห็นจริงด้วยปัญญาของตนเองเสียก่อน แล้วจึงปลงใจเชื่อน่ะครับ แต่มิได้มีเจตนาชี้นำว่า "ไม่ให้ปลงใจเชื่ออะไรเลย" แล้วสิ่งที่พี่ได้แสดงทัศนคติไปนั้น ก็มิได้มีเจตนาที่จะบิดเบือนพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เช่นกัน หากแต่พี่เอาประสบการณ์ที่พบเจออยู่จริงในการดำเนินชีวิตของพี่มาพูดก็เท่านั้นเอง คือ เจตนาจะพูดเพื่อเปิดปัญญาให้เห็นในโลกในแง่ของความเป็นจริงว่า มนุษย์ทุกชีวิตที่ยังไม่เป็นผู้สิ้นกิเลสนั้น ยากยิ่งที่จะสลัดตนให้พ้นจากกองเพลิงทั้งสามกองอันเปรียบได้ดั่งเพลิงแห่งโลก คือ เพลิงราคะ เพลิงโทสะ และเพลิงโมหะ จริงอยู่ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า โทสะมีโทษมาก แต่คลายเร็ว พระพุทธวจนะนี้พี่ทราบดีและขอยกไว้เหนือเศียรเกล้า แต่ถ้าเราดูจากชีวิตจริงของมนุษย์ปุถุชนที่ยังมีดวงจิตหนาแน่นหมักดองไปด้วยกิเลสเครื่องเศร้าหมองนั้น มีบ้างไหมเล่าที่ผูกพยาบาทฆาตพยาเวรกันข้ามภพข้ามชาติ? ดังตัวอย่างเช่น กรณีศึกษาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระเทวทัต ในสมัยที่ยังทรงเสวยพระชาติเป็นพระบรมโพธิสัตว์ ท่านได้เคยลวงน้องชายของท่านให้ไปที่หน้าผาแล้วกลิ้งหินลงมาทับน้องชายตนเองถึงแก่ความตาย นับแต่อัตภาพนั้นเป็นต้นมา ทั้งสองท่านก็จองเวรเข่นฆ่ากันมาจนกระทั่งถึงภพชาติปัจจุบัน นี่ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งโทสะหรือ? ที่ทำให้ทุกอย่างต้องลงเอยกันมาเป็นเวลายาวนานนับภพนับชาติไม่ถ้วนเช่นนี้? ลองไปตรองดูให้ดีๆ ก่อนก็แล้วกันนะครับ บทสรุปก็คือ พระพุทธวจนะนั้นคงไว้ ส่วนคำพูดที่ว่า ทั้งนี้ สิ่งที่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกกับสิ่งที่ปรากฏอย่างเห็นเป็นรูปธรรมในการดำเนินชีวิตประจำวันของเรานั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันเสมอไป หมายความว่า กรณีที่ศึกษาที่นอกเหนือไปจากสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ คือ กรณีศึกษาที่โทสะมีโทษมาก แล้วคลายยากนั้นก็มีอยู่ ดังที่ได้สาธกยกตัวอย่างไปแล้ว หากแต่ในบางขณะสมัยพระพุทธองค์ก็มิได้ทรงตรัสไว้เป็นอีกพระพุทธวจนะหนึ่ง (แต่ถึงแม้มิได้ตรัสไว้ พระพุทธองค์ย่อมทราบถึงเหตุนี้ (หมายถึง กรณีศึกษาที่โทสะมีโทษมาก แล้วคลายยาก) ดีด้วยพระสัพพัญญุตญาณอันไม่มีประมาณของพระองค์) เท่านั้นเองครับ
ลดๆ ลงไปถามหลวงพ่อคุณอาจพระจ่างมากขึ้น
คุณรู้ได้อย่างไรว่าในชีวิตจริงพี่เป็นคนที่ประพฤติตนเยี่ยงนั้น? พึงอย่าลืมว่า นี่คือโลกแห่ง cyberspace นะครับ มิใช่โลกแห่งความเป็นจริง แล้วการที่คุณเอามาตรฐานของตนเองมาเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินคนอื่น โดยที่ตัวคุณเองก็ยังไม่เคยรู้จักหรือร่วมคบหากับเขามาก่อนเลยในชีวิตจริงของคุณนั้น มันเป็นการกระทำที่ถูกต้องและยุติธรรมสำหรับผู้อื่นแล้วหรือครับ?
หัดประณีประนอมเสียบ้าง หัดดำเนินชีวิตอยู่บนหนทางสายกลางเสียบ้างก็ดีนะครับ โลกแห่ง cyberspace นี่ จริงใจได้ แต่อย่างจริงจังจนเกินไป เพราะไม่ก่อให้เกิดผลดีกับจิตใจของตัวคุณเองเลยนะครับ คุณชี้ขุมทรัพย์ให้พี่ พี่ก็ขอขอบคุณและอนุโมทนา ตัวพี่เองทราบดีว่า พระพุทธวจนะของพระพุทธองค์นั้น เป็นความจริงแท้ อันเป็นปรมัตถสัจจะไม่คืนคาย ตรัสไว้เช่นไร ย่อมเป็นเช่นนั้น ขอขอบพระคุณที่คุณได้ช่วยปกป้องภัยในอบายภูมิให้แก่พี่ เกรงว่าพี่คิดจะบิดเบือนพระพุทธวจนะ แต่ถ้าหากลองสอบถามจากเพื่อนสมาชิกในชุมชนแห่งนี้ หรือดูจากโพสต์เก่าๆ ที่พี่ได้เคยโพสต์ไปแล้ว และตรองคำพูดทุกประโยคทุกถ้อยคำดูให้ดีๆ ให้ลึกซึ้งแล้วจะพบว่า พี่เป็นคนที่ประพฤติตนในแบบที่คุณเข้าใจหรือไม่? อย่างไร? และในการนี้พี่เองก็ขอเป็นฝ่ายชี้ขุมทรัพย์ให้คุณทิ้งท้ายไว้ด้วยเช่นกัน หวังว่าคงจะไม่ขุ่นเคืองกันนะครับ อนุโมทนาบุญซึ่งกันและกันอีกครั้งครับ สาธุ... สาธุ... สาธุ...
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#26
Posted 27 October 2006 - 08:28 AM
แต่เรื่องนี้มันเป็นพุทธพจน์บางทีผมก็แรงแต่เพื่อพระพุทธศาสนา ผมก็รู้ว่าพี่ก็หวังดี
ถ้าพี่อยากรู้จักผมมากขึ้นก็คุยกันทาง MSN ได้นะครับแลกเปลี่ยนความรู้กัน
ผมไม่ได้เคืองพี่นะครับ แต่การยกพุทธพจน์ขึ้นมามันละเอียดอ่อน
อนุโมทนาบุญครับ
สาธุ สาธุ สาธุ
ผู้ที่ทำนิพพานให้แจ้งแล้ว ก็ย่อมมีจิตตั้งมั่น
ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้งหลายฉันนั้น
(พุทธพจน์)
#27
Posted 27 October 2006 - 08:55 AM
การให้ "อภัยทาน" แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียว
อันนี้ข้อความจากกระทู้น่ะครับ
รู้สึกประเด็นมันเริ่มเปลี่ยนไปน่ะครับ
ไม่เห็นมีใครบอกได้เลยว่าข้อความข้างบนเป็นความจริงที่พอจะมีหลักฐานกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกให้เห็นเด่นชัด
ผมขอความกระจ่างในธรรมที่ผู้รู้จะมาบอกด้วย
คือผมเห็นว่ามันขัดกันกับพุทธพจน์
เลยสงสัย
ดังที่ผมได้แสดงเหตุผลมาแล้ว
#28
Posted 27 October 2006 - 09:07 AM
ผมศึกษาจากตัวอย่างน่ะครับ เพราะยอมรับว่า ไม่มีหลักฐานกล่าวตรงๆ ว่า อภัยทาน หรือ ธรรมทานดีกว่า แต่คำพูดว่า อภัยทาน ก็มีในพระไตรปิฎก ผมจึงได้ศึกษาตัวอย่างพบว่า ผู้ที่อภัย ศีลของเขาสมบูรณ์ไม่พร่องโดยอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเช่น
ทีฆาวุกุมาร เดิมคิดแก้แค้นแทนพ่อ ถ้าเขาลงมือ ศีลของเขาย่อมถูกทำลาย แต่ในที่สุดเขากลับใจให้อภัยทาน ศึลของเขาย่อมบริบูรณ์
พระเวสสันดร ตอนชูชกมาขอลูก พอท่านยกให้ ชูชกก็เฆี่ยนลูกต่อหน้าท่านเลย ท่านโกรธ ชักพระขรรค์มา หมายฆ่าชูชูก แต่แล้วกลับใจให้อภัยออกไป ศีลของท่านย่อมบริบูรณ์
ขันติวาทีดาบส ถูกพระราชา ทรมาณร่างกาย ตัดหู ตัดจมูก ตัดแขน ตัดขา กระทืบอก แต่เจริญเมตตาสมาธิข่มไว้ อภัยในสิ่งที่พระราชาทำกับท่าน ถือว่า ศีลของท่านบริบูรณ์ และยังทำภาวนาเจริญเมตตาพรหมวิหารอีกด้วย อภัยทานข้อนี้ จัดเป็นได้ทั้งศีล และภาวนา
ดาบสพ่อแม่สุวรรณสาม แม้ทราบว่า พระราชายิงลูกศรใส่สุวรรณสาม แต่ไม่โกรธเคืองพระราชาเลย นึกอภัยให้ ศีลของท่านย่อมบริบูรณ์
ยังมีอีกหลายตัวอย่างมากมายครับ
#29
Posted 27 October 2006 - 02:32 PM
สั้น ๆ คือ
การให้ธรรมทาน
สามารถทำให้ผู้รับ
เป็นสัมมาทิฎฐิบุคคลเป็นเบื้องต้น
นำไปสู่การละชั่ว ทำดี กลั่นใจให้ใส ในเบื้องกลาง
และนำไปสู่การบรรลุ มรรค ผล นิพพาน ในเบื้องปลายที่สุด
เพราะการทำให้บรรลุมรรค ผล นิพพาน นี่แหละ
บัณฑิตทั้งหลายจึงยกให้
ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง
อีกอย่าง การให้ธรรมทาน จะให้ได้
ก็ต้องมีธรรมอันบริสุทธิ์ หรือ วิสุทธิธรรม
นั่นหมายความว่า ต้องมีการอุบัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เท่านั้น
ซึ่งการอุบัติขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้น ไม่ได้เกิดง่าย ๆ
ต้องสร้างบารมีอย่างน้อย 20 อสงไขย + กำไรแสนกัป
และไม่ได้มีพระสัพพัญญูพุทธเจ้าีทุกกัป
ส่วนการให้อภัยทานนั้น
แม้ไม่มีการบังเกิดขึ้น ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก็สามารถให้อภัยทาน ได้นะครับ
ส่วนอภัยทาน นั้นมีผลโดยตรงที่สุด ต่อผู้ให้อภัยทานเองเป็นหลัก
อภัยทาน นั้นมีผลต่อผู้รับ ( คู่กรณี ) เป็นรอง
ผลที่มีกับผู้ให้อภัยทาน
การให้อภัยทาน ชำระใจผู้ให้ สะอาด ปราศจากโทสะ และพยาบาท ในเบื้องต้น
ตัดวงจร การจองเวร ตามล้างผลาญกับคู่กรณีในสังสารวัฎฏ์ ในเบื้องกลาง
ส่วนว่าถ้าคู่กรณี ยังจองเวรเราอยู่ ก็ทำอันตรายเราได้น้อยนิด
เหมือนปรบมือข้างเดียว
เหมือน ถ่มน้ำลายรดฟ้า
หรือ ให้ทุกข์ก็ท่าน เดี๋ยวทุกข์นั้นก็ถึงตัวเขาเอง
เปรียบเหมือน ผู้ให้ อภัยทาน มีเกราะเพชรแก้ว คุ้มครองตน
หรือ มีเสื้อเกราะกันกระสุน แม้มีใครยิง ก็ไม่ถึงตาย แค่ฟกช้ำเท่านั้น
แค่อุปมานะครับ ไม่ถูกต้องทั้งหมด
สรุปว่า
การให้ธรรมทานและการให้อภัยทาน เป็นสิ่งที่ประเสริฐ
จัดเป็น กุศล ไม่ใช่ อกุศล
เป็นเรื่องที่ คนดี ต้องกระทำ
ไม่ใช่ เรื่องที่ต้องมาถกกัน ให้ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ นะครับ
**** มีข้อคิดเกี่ยวกับการตั้งและการตอบกระทู้นี้ ดังนี้ครับ
ผมว่ากระทู้ลักษณะนี้ ดูผิวเผินก็เป็นเหตุให้เกิดปรับความเข้าใจถูกในธรรมะ ก็จริงอยู่
แต่ประเด็นคือ
1 ) ผู้ตอบกระทู้ไม่ควรยึดมั่นในความเห็นของตน มากนัก
จนไปดูหมิ่นความเห็นท่านอื่น
เพราะถ้าเรายังไม่ตรัสรู้ธรรม มีสัพพัญญุตญาณ
ความเห็น ความเข้าใจของกายมนุษย์หยาบ ที่มีอวิชชา
มันก็มีโอกาสมากที่ความเข้าใจถูก และคำตอบของเรา
จะไม่ถูกต้องสมบูรณ์ 100 %
คือ ที่ตอบๆกันก็ไม่มีใครผิด หรือ ใครถูก 100 %
ยิ่งถ้านำบางส่วนในพระสูตรมาวิเคราะห์ ยิ่งมีโอกาสขัดแย้งกันได้
เพราะ หลายครั้งเป็นคำสอนที่เฉพาะกาละ เทศะ เฉพาะจริตบุคคล
2 ) กระทู้แบบนี้เสี่ยงต่อการปรามาส อย่างมาก
เพราะถ้ายึดพระพุทธพจน์ที่ว่า
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
สพฺพํ รสํ ธมฺมรโส ชินาติ
สพฺพํ รตึ ธมฺมรตี ชินาติ
ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ . . . ฯ ๓๕๔ ฯ
ธรรมทาน ชนะทานทุกอย่าง ( ทั้งปวง )
รสพระธรรม ชนะรสทุกอย่าง
ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทุกอย่าง
ความสิ้นตัณหา ชนะทุกข์ทุกอย่าง( ทั้งปวง )
ก็อาจมีใครมาอ่านเจอ จะกล่าวหาว่าเรา หมิ่นเหม่ต่อคำสอนในหนังสือของสมเด็จพระสังฆราช
แต่ถ้ายึดมั่นว่าคำสอนในหนังสือ ถูกต้อง 100 %
ก็เข้าข่ายปรามาส ปัญญาในการตรัสรู้ธรรม ของพระบรมศาสดา
ผมว่ากระทู้ที่มีแนวโน้ม
อาจก่อให้เกิดการแบ่งฝ่ายทางความคิด แบบเอาผิดเอาถูก ข้าถูก เอ็งซิผิด
หรือกระทบ ลบหลู่ พระรัตนตรัย หรือ คำสอนของพระมหาเถระ
ผู้ที่จะตั้งและตอบกระทู้ที่มีแนวโน้ม ขัดแย้งแบบ เอาชนะด้วยเหตุผล ควรระมัดระวังให้มากนะครับ
เช่น
ตั้งหรือตอบกระทู้ว่า หลวงปู่องค์นั้นสอนมาแบบนี้ ทำไมหลวงปู่อีกองค์สอนแบบนี้
แล้วถามว่า คำสอนไหนถูกต้องมากกว่ากัน หรือ ใครสอนผิด สอนถูก
โดยเฉพาะถกกันเรื่อง
สามัญผลในระดับพระอริยบุคคล
หรือ ปฏิเวธของการปฏิบัติธรรม แบบเอาผิดเอาถูก
เอ็งผิด ข้าถูก
อาจารย์เอ็งผิด อาจารย์ข้าถูก
เพราะสิ่งเหล่านี้ รู้ได้เฉพาะตน
และมีวิธีมากมาย ที่เหมาะสมตามแต่จริตมนุษย์ ที่เป็นลักษณะ
นานาจิตตัง ครับ
ป.ล.
ธมฺมปีติ สุขํ เสติ
วิปฺปสนฺเนน เจตสา
อริยปฺปเวทิเต ธมฺเม
สทา รมติ ปญฺฑิโต . . . ฯ ๗๙ ฯ
ผู้ดื่มรสพระธรรม มีใจสงบ
ย่อมอยู่เป็นสุข
บัณฑิตย่อมยินดีในธรรม
ที่พระอริยเจ้าแสดงไว้เสมอ
He who imbibes the Dharma
Lives happily with the mind at rest.
The wise man ever delights
In the Dharma revealed by the Noble.
Attached Files
#30
Posted 27 October 2006 - 03:49 PM
บทว่า เอตทคฺคํ ตัดบทเป็น เอตํ อคฺคํ แปลว่า (ธรรมทานนี้
เป็นเลิศ) บทว่า ยทิทํ ความว่า บรรดาทานสองอย่างเหล่านี้ ธรรมทาน
ที่กล่าวแล้วนี้นั้น เป็นเลิศคือประเสริฐสุด ได้แก่สูงสุด อธิบายว่า บุคคล
จะหลุดพ้นจากอนัตถะทั้งปวง คือก้าวล่วงทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นได้ ก็เพราะอาศัย
ธรรมทาน อันเป็นอุบายเครื่องยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน. ก็ธรรมทานที่เป็น
โลกิยะ เป็นเหตุแห่งทานทุกอย่าง คือเป็นรากเง่าของสมบัติทั้งปวง ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
รสแห่งพระธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง
ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
ทุกข์ทั้งปวง ดังนี้
ในอธิการนี้ อภัยทานพึงทราบว่า ทรงสงเคราะห์เข้ากันด้วยธรรมทาน
นั่นเอง การไม่บริโภคปัจจัยทั้งหลายเสียเอง แต่ปัจจัย ๔ อันตนพึงบริโภค
แล้วแจกจ่ายแก่คนเหล่าอื่น โดยมีความประสงค์ จะเผื่อแผ่แก่คนทั่วไป ชื่อว่า
อามิสสํวิภาโค (แจกจ่ายอามิส) ความเป็นผู้ไม่มีความขวนขวายน้อย แสดง
อ้างธรรมที่ตนรู้แล้ว คือบรรลุแล้วแก่คนเหล่าอื่น โดยมีความประสงค์จะ
เผื่อแผ่ธรรมแก่คนทั่วไป ชื่อว่า ธมฺมสํวิภาโค (แจกจ่ายธรรม). การ
อนุเคราะห์ การสงเคราะห์คนเหล่าอื่น ด้วยปัจจัย ๔ และด้วยสังคหวัตถุ ๔
ชื่อว่า อามิสานุคฺคโห (อนุเคราะห์ด้วยอามิส) การอนุเคราะห์ การสงเคราะห์
คนเหล่าอื่น ด้วยธรรม โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ชื่อว่า ธมฺมานุคฺคโห
(อนุเคราะห์ด้วยธรรม) คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วทั้งนั้น.
ผมยกมาให้ดูกันทั้งหน้าก็แล้วกัน แล้วไตร่ตรองดูเอง ยังไงๆ ผมก็ยังเชื่อในภูมิของพระโบราณาจารย์อยู่ดี
แต่ถ้าอยากจะตีความให้ดูฉลาด ดูน่าเชื่อถือมากกว่าท่าน ก็ตามใจ