นั่งไม่ดิ่ง นอนแล้วดิ่ง
#1
Posted 17 August 2010 - 10:22 AM
ผมชอบนั่งธรรมะตามเสียงหลวงพ่อครับ นั่งแล้ว ก็ก้าวหน้าไปตามลำดับ
เมื่อเดือน พค. ผมเจอประสบการณ์ดิ่ง ตกจากที่สูงครับ ผมนั่งสมาธิประมาณ 1 ชม ต่อจากปิดโรงเรียนฝันฯ
แล้วก็ขึ้นเตียงนอน ระหว่างหลับ มันดิ่งลงอย่างแรง ใจเบามากครับ แล้วตื่น ไม่เห็นอะไร ผมก็รู้สึกOK เพราะมันก้าวหน้าไปอีกขั้นละ
วันต่อๆมาก็เป็นอย่างนี้ ครับ 3-4 ครั้งได้ในเดือนนั้น ...
เดือน มิย. 1 ครั้ง เดือน กค. 1 ครั้ง ซึ่งทั้งหมด ดิ่งในท่านอนครับ
เดือนนี้ ไม่ดิ่งครับ แต่เห็นดวงขณะตื่นนอน ใสสวาง ใจเบา แล้ว มีร่างคล้ายองพระผุดขึ้น 3 องค์ออย่างแรงและเร็ว ท่านปลดความหนักไปเรื่อยๆครับ (สามครั้ง) ตัวยิ่งเบาขึ้น แล้วก็หายไปครับ ผมก็นั่งตื่นแผ่บุญกุศล
คำถามครับ: 1.ดิ่งในท่านอน ถูกหลักวิชชาไหมครับ
2.ทำอย่างไรถึงมีประสบการณ์ในท่านั่งครับ
3.ขอคำแนะนำในการฝึกขั้นต่อไปครับ
ขอบคุณทุกท่านครับ
ตงฟางปู้ต่ง
#2
Posted 17 August 2010 - 11:05 AM
คิดว่า คงต้องหาความพอดี ระหว่างความมีสติ กับ ความสบายน่ะค่ะ ซึ่งตรงนี้ความพอดีของแต่ละคนไม่เท่ากันและไม่เหมือนกันค่ะ
ได้อ่านแล้วรู้สึกดีค่ะ ดีใจที่มีคนนั่งธรรมะได้ดี อยากให้ทุกๆ คนได้ปฏิบัติกันอย่างนี้
อนุโมทนาบุญนะคะ
ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)
ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป
#3
Posted 17 August 2010 - 11:45 AM
แบบว่า ยิ้มในใจ
ผมไม่เชี่ยวชาญประสบการณ์ภายใน
แต่เคยทราบมาว่า
สิ่งสำคัญของการทำสมาธิอย่างหนึ่ง คือ การประกอบเหตุ {วางใจ (ที่ถูกต้อง ถูกศูนย์ฯ ถูกส่วน ,พอดี) } + สังเกตุผล
เมื่อเคยมีประสบการณ์ภายใน เช่น
เห็นความสว่าง , เห็นกายในกาย ฯล ,
ใจรวม ,
ใจดิ่งเข้าสู่สภาวะธรรมภายใน ,
เห็น จำ คิด รู้ โดนดูดเข้าสู่ความละเอียดภายใน
ต้องจำรอยเดิมและทำตาม วิธีที่เหมาะสมกับเรา
ถ้าปรับการวางใจ ได้เหมือนเดิม ก็จะเกิดผลดีเหมือนเดิม ดีกว่าเดิม
ส่วนเรื่องอิริยาบท ไหน ๆ เดิน ยืน นั่ง นอน ก็สามารถทำได้ เกิดผลดีได้
และ ไม่จำกัดกาล ( อกาลิโก )
การประพฤติ ปฏิบัติธรรม การบรรลุธรรม เป็นเรื่องของการประกอบเหตุ ในปัจจุบันธรรม พ้นสมมุติเรื่องมิติ กาลเวลา ยุคสมัย
ส่วนว่า อิริยาบทไหน ได้ผลดี มากที่สุด ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ
อิริยาบทนั่ง ย่อมได้ผลดีที่สุด ยาวนานที่สุด
ดังนั้นที่ถามว่า
ผมเข้าใจว่า
ไม่ผิดหลักวิชชา หรอกครับ
เพราะถ้าผิด ประกอบเหตุผิด คงไม่เกิดผล คือ ใจดิ่งได้ ในอิริยาบทนอน หรอกครับ
คำถามข้ออื่น ขอรอฟังคำตอบ ความคิดเห็น ข้อมูล จากกัลยาณมิตร ท่านอื่น
เช่น นรอ. ธาตุล้วนธรรมล้วน , นรอ. ปฏิปทา ด้วยคนนะครับ
อนุโมทนา การฝึกสมาธิ เจ้าของกระทู้ด้วยครับ
Sadhu.gif 22.04KB 3 downloads
#4
Posted 17 August 2010 - 04:02 PM
#5
Posted 17 August 2010 - 04:13 PM
#6
Posted 17 August 2010 - 05:26 PM
#8
Posted 17 August 2010 - 10:38 PM
#9
Posted 18 August 2010 - 02:14 AM
สาธุกับคำแนะนำของคุณ Dd2683 ด้วยครับ อิอิ
ขออนุญาติแนะนำบ้าง เผื่อจะเป็นประโยชน์ครับ
ถูกตามหลักวิชชาครับ เรากำหนดได้ทั้งอิริยาบท 4 เลยครับ
ถ้าใครเคยฟังเสียงหลวงปู่สดสอน ท่านสอนว่า "จะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น ใจต้องตกศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ก่อนเสมอ"
คุณครูไม่ใหญ่เอามาสอนประจำนะครับ ตรงนี้สมควรท่องเอาไว้เลยครับ อย่าอ่านผ่านๆ...
คือวิชชาธรรมกายค้นพบว่า คนเราจะเกิด จะตาย จะหลับ หรือตื่นได้ ใจต้องจรด 072 เสมอ จึงแนะนำเทคนิคว่า เมื่อเราตื่นนอนใหม่ๆ ช่วง snooz เรานึกดวงสว่างๆไว้ครับ ไม่ต้องฝืน มีสิทธิ์ที่จะเห็นดวงสว่างได้ง่ายมากครับ
และตรงนี้คือสิ่งที่ทำให้เรารับทราบว่า เรามีใจตกศูนย์กันทุกวัน เป็นไปเองตามธรรมชาติ แต่เราไม่ได้สังเกตุ หรือสังเกตุไม่ได้นั่นเอง หากเราจับจุดจับอารมณ์ได้ดี ก็จะสามารถเห็นดวงกันได้ทุกคน
3.ขอคำแนะนำในการฝึกขั้นต่อไปครับ
ถ้าใครเคยฟังเสียงหลวงปู่สด ท่านจะสอนว่า ให้เหลือกดวงตากลับขึ้นข้างบน เสมือนเด็กเล็กๆที่นอนหลับตาจะเหลือกตากลับค้างไปข้างหลัง ลองสังเกตุคนนอนหลับลึกดูนะครับ ตาจะเหลือกกลับทุกคน เห็นแต่ตาขาวๆ ผมไม่ได้พูดเองนะครับ หลวงปู่สดสอนไว้เองครับ ไปหาฟังเอาได้เลย
ดังนั้นถ้าท่านคุ้นเคยกับการนอนแล้วดิ่ง เวลานั่งก็ลองเหลือกตากลับดูนะครับ จะช่วยให้ใจดิ่งได้ดีครับ
แต่สำหรับบางท่านก้ไม่ต้องเสมอไป เพราะอาจจะกลายเป็นการเกร็งตาจนปวดได้ ขอให้เป็นไปตามธรรมชาติจะดีกว่า
(ลองสังเกตุคุณครูไม่ใหญ่ผ่านหน้าจอ dmc เวลาท่านนั่งสมาธิ เปลือกตาท่านจะกระพริบๆๆๆๆ นั่นแหละครับ ของจริง ผู้ที่นั่งสมาธิแล้วตาจะเหลือกกลับโดยอัตโนมัติ จนมองเห็นเปลือกตากระพริบๆๆๆ แต่ก็ไม่ทุกคนนะครับ เท่าที่ผมเห็นครูอาจารย์ระดับเก่งๆเปลือกตาท่านจะกระพริบกันเกือบทุกท่าน)
จากการสังเกตุการณ์
การเห็นดวงนั้น เมื่อเราทำตามหลักวิชชาคือ นึกดวงสว่าง ที่ 072 กำหนดจุดเล็กใสตรงกลางของกลาง กำหนดลมหายใจผ่านและกระทบดวงแก้ว และท่องภาวนา"สัมมาอะระหัง" หลังจากนั้นต้องรู้จักปล่อยวาง แล้วมันจะปล่อยวางไปเอง เหมือนลืมๆไป สักครู่หนึ่งจะมีสติขึ้นมา รับรู้ว่า แสงสว่าง ดวงสว่าง หรือกายสว่าง ได้ปรากฎขึ้นแล้ว ช่วงนั้นจะรู้สึกได้ว่าใจหวิวๆเสมือนตกจากที่สูงด้วยแล้วก็จะเข้าสู่สภาวะสงบนิ่งต่อๆไป
นั่งบ่อยๆครับ อย่างต่อเนื่อง กำหนดจุดเล็กใสบ่อยๆ ช่วงเวลาที่เหมาะก็คือช่วงตื่นนอน ตื่นแล้วก็อาบน้ำล้างหน้า มานั่งสมาธิซักหนึ่ง ชม. ก่อนไปพจญโลกของแต่ละวันครับ ออ อย่าลืมโยนิโสมนสิการธรรมะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และแผ่เมตตาด้วยนะครับ ต่อไปเข้าถึงธรรมเมื่อไรก็จะได้มีอุปนิสัยที่พัฒนาไปเป็นวิปัสสนาที่แท้จริงเต็มกำลัง
ดีแล้วครับ บางทีเห็นง่ายเกินไปก็ไม่เข้าใจอาการและอารมณ์ของผู้อื่นๆ ผู้ที่ต้องฝันฟ่าอุปสัคการปฏิบัติมากๆ ก็จะสามารถมีประสบการณ์และสอนผู้อื่นได้ดีครับ
......................
เดือนนี้ ไม่ดิ่งครับ แต่เห็นดวงขณะตื่นนอน ใสสวาง ใจเบา แล้ว มีร่างคล้ายองพระผุดขึ้น 3 องค์ออย่างแรงและเร็ว ท่านปลดความหนักไปเรื่อยๆครับ (สามครั้ง) ตัวยิ่งเบาขึ้น แล้วก็หายไปครับ ผมก็นั่งตื่นแผ่บุญกุศล
ลองอ่าน วิธีมีสติในความฝันโพสต์ล่างประกอบดูนะครับ V
ละธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ
ธัมมะกาโย อะหัง อิติปิ
เราตถาคต คือธรรมกาย
#10
Posted 18 August 2010 - 02:30 AM
วิธีมีสติในความฝัน
1.พยายามมีสติเตือนตนเองบ่อยๆว่า เราตื่นอยู่ หรือเราฝันอยู่
2.แลดูมือของตนบ่อยๆว่าเห็นลายมือชัดไหม ถ้าไม่ชัดคือเราฝันอยู่
3.พยายามนึกว่าเรายืนอยู่ในสถานที่นี้ได้อย่างไร สามารถกำหนดหนทางมาได้หรือไม่ ถ้ากำหนดไม่ได้ แสดงว่าเราฝันอยู่
4.เขียนกระดาษโน้ตแปะไว้ทั่วบ้านว่า "ตื่น" เพื่อเตือนสติอยู่ว่าเราฝันอยู่หรือไม่
หากเรารู้ตัวว่าเรากำลังฝันอยู่แล้ว ให้เราลองทดสอบความฝัน เพื่อที่จะหลุดออกจากสิ่งรบกวนคือ
1.กระโดดขึ้นไปบนท้องฟ้า ให้เราเหาะลอยอยู่บนท้องฟ้านิ่งๆ เราจะอัศจรรย์มาก เราทำได้ เพราะมันคือความฝัน
2.แล้วให้นึกดวงแก้ว หรือองค์พระ นั่งสมาธิในความฝันกลางท้องฟ้านั้น แล้วจะเห็นตามใจปราถนาทันที
สิ่งที่มักจะเกิดตามมาคือ
1.สามารถเห็นดวงสว่าง หรือองค์พระ ได้ในความฝัน
2.เมื่อเราเริ่มมีสติในความฝัน เราจะตื่นนอน หรือเมื่อเราเริ่มเห็นแสงสว่างเราจะตื่นนอน
(เพราะสติมาแล้วหนิครับ ก็จะเริ่มหลุดออกจากความฝัน เข้าทาง "จะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น ใจต้องจรดศูนย์ก่อนเสมอ")
3.สามารถหลับได้ลึกภายในเวลาที่คุ้นเคยอย่างใช้เวลาไม่นาน และตื่นตรงเวลา และสามารถกำหนดสติตื่นได้ทันที่ที่ปราถนา
4.อาจจะพบความฝันซ้อนความฝัน ซึ่งเป็นอาการที่ซับซ้อน เป็นบททดสอบสติของเราได้ดี
(เช่น รู้สึกตัวว่าตื่นแล้ว แต่ความจริงฝันอยู่ หรือฝันว่ากำลังฝันอยู่)
5.เราสามารถจะจินตนาการอะไรก็ได้ในความฝัน อย่าสนุกจนเพลิดเพลินกันไปล่ะครับ อิอิ
6.จะทำให้เราเป็นผู้มีสติแม้ในความฝัน เป็นผลจากการฝึกสติ และสมาธิ ของผู้ฝึกจิตมาอย่างแท้จริง
(ทำให้พอจะเข้าได้ใจว่า การที่พระอรหันต์ท่านไม่ฝันนั้นน่าจะเป็นอย่างไรบ้าง)
7.ทำให้ฝันแต่เรื่องดีๆ เช่นฝันถึงครูบาอาจารย์
แนะนำเป็นปกิณณกะไว้เพื่อหวังเป็นธรรมทานนะครับ จากประสบการณ์จริง
สาธุๆๆๆๆ
ละธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ
ธัมมะกาโย อะหัง อิติปิ
เราตถาคต คือธรรมกาย
#12
Posted 18 August 2010 - 09:45 AM
ที่ผ่านมากำลังปรับให้อยู่ในท่านั่งครับ ในท่านั่งจะมีอาการสะดุ้งครับ ในเวลาที่ใจรวม สงบ เงียบ ซึ่งสังเกตมาประมาณปีนึงแล้ว ..ก็คงต้องค่อยๆปรับกันไป
ช่วงที่มีประสบการณ์ดิ่งบ่อย นั่งๆไป จะรู้เลยครับ ว่า เบามากละ เดี๋ยวดิ่งละ ก็จะเอนนอน ปล่อยให้ดิ่ง (แต่ไม่เห็นอะไร) แต่หลังๆจะพยายามไม่เอนครับ ทำในท่านั่งบ้าง แต่ติดที่สะดุ้งก็ต้องปรับกันไปสังเกตกันไป
ขอขอบคุณคุณธาตุล้วน ธรรมล้วน คุณ db2683 ความเห็นของท่านจะนำไปใช้ในโอกาสที่เหมาะสมครับ
อนุโมทนาบุญซึ่งกันและกันครับ สาธุ สาธุ
ตงฟาง
#13
Posted 18 August 2010 - 09:54 AM
ตงฟาง
#14
Posted 18 August 2010 - 10:11 AM
#15
Posted 18 August 2010 - 12:04 PM
ช่วงที่มีประสบการณ์ดิ่งบ่อย นั่งๆไป จะรู้เลยครับ ว่า เบามากละ เดี๋ยวดิ่งละ ก็จะเอนนอน ปล่อยให้ดิ่ง (แต่ไม่เห็นอะไร) แต่หลังๆจะพยายามไม่เอนครับ ทำในท่านั่งบ้าง แต่ติดที่สะดุ้งก็ต้องปรับกันไปสังเกตกันไป
น่าจะเป็นเพราะคุณมี สติ มากกว่าสมาธิ นะครับ บางคนก็มีปัญญามากกว่าสมาธิ ก็เลยฟุ้ง สมาธิคือการตั้งมั่นในอารมณ์และปล่อยวาง
ในอินทรีย์ 5 คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ต้องสมดุลกัน ศรัทธา คู่ ปัญญา วิริยะ คู่ สมาธิ ทั้งหมดมี สติ คุม เมื่ออินทรีย์แก่กล้ามากขึ้นจะพัฒนาไปเป็น พละ
ดังนั้นเวลานั่งสมาธิ นอกจากใจที่ตั้งมั่น มีสติโดยรอบแล้ว ต้องรู้จักปล่อยวาง มันจะปล่อยวางไปเอง เราอย่ากำหนดสติมากไปครับ
ช่วงนั้นจะเสมือนลืมๆ เราก็ปล่อยวาง นิ่ง ดิ่งไปเลย อย่าไปสังเกตุ หรือกำหนดสติมาก
บางท่านสติสัมปชัญญะไวมาก ปราสาทสัมผัสไวมาก จะเกิดอาการสะดุ้ง ผมทราบดีเพราะผมก็เคยเป็น บางครั้งช่วงเคลิ้มๆจะนอนหรือนั่งสมาธิ สติเราตื่นตัวมากไปจนสะดุ้งอย่างแรง บางทีมือไม้ก็ไปด้วย อิอิ เข้าใจครับ ผมก็เคยเป็น เป็นมาตั้งแต่ตอนยังไม่เคยนั่งสมาธิแล้ว
อาจจะเป็นวาสนาเก่า หรือกรรมไม่ดีบางอย่าง หรือมีประสาทสัมผัสที่ไวมากเหมือนพวกสัตว์ เราสังเกตุพวกสัตว์เช่น สุนัข แมว เสือ ฯลฯ เวลาเขากำลังจ้องอะไรอยู่ ถ้ามีอะไรแทรกเข้ามา เขาจะสะดุ้งทันที
ก็ไม่เป็นปัญหาอะไรครับ นั่งบ่อยๆ ครับ แล้วมารับบุญบ่อยๆ มาขัดวิมาน สถานที่ปฏิบัติธรรม ฯลฯ บ่อยๆ ล้วนมีส่วนทำให้การปฏิบัติธรรมดีขึ้นกว่านั่งอย่างเดียวครับ อย่าลืมการบ้าน 10 ข้อ 5 ห้องสร้างนิสสัย และเทคนิคการปฏิบัติธรรม 5 ข้อ นะครับ
ตงฟา
.............
ถนนมีไว้เดิน
เด๋วคืนนี้จะขอลองเอาวิธีของคุณธาตุล้วนธรรมล้วนไปลองปฏิบัติดูครับ อนุโมทนาบุญกับทุกท่านและคุณธาตุล้วนธรรมล้วนด้วยครับ
ถ้าเป็นเรื่องช้อนตากลับไปข้างบน หลวงปู่สดสอนไว้เองครับ ไปหาฟังเสียงท่านได้เลยครับ ท่านว่าเป็นการทำให้เห็น จำ คิด รู้ กลับไปข้างใน
แต่มีข้อควรระวังคือ ถ้าทำแล้วปวดตา เกร็งตา อย่าไปทำ ให้เป็นไปตามธรรมชาติดีกว่าครับ
แล้วลองสังเกตุคุณครูไม่ใหญ่ใน DMC ช่วงนั่งสมาธิใกล้ๆเสร็จแล้ว จะเห็นเปลือกตาท่านกระพริบๆๆๆๆ นั่นแหละครับ มักจะเป็นแบบนั้นโดยธรรมชาติ
ถ้าเป็นเรื่องมีสติในฝัน ก็ได้เรียนรู้มาจากประสบการณ์ และหลายๆท่านลองทำก็ได้ผลครับ
ละธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ
ธัมมะกาโย อะหัง อิติปิ
เราตถาคต คือธรรมกาย
#16
Posted 18 August 2010 - 10:41 PM
ปล.ตอนที่บอกว่าดิ่ง สติอยู่ที่ไหนครับ
#17
Posted 19 August 2010 - 12:57 AM
แล้วซักพักมันจะปล่อยวางไปเอง แม้สติก็ต้องวาง มิได้ให้ไร้สติ แต่ให้วางใจเป็นกลางวางเฉย มองดูนิ่งๆ
เป้าหมายคือเพียงความสงบเป็นเอกัคตารมณ์ หรือที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ให้กิเลศนิวรณ์ระงับนั่นเอง คือจิตประภัสสร ผ่องใส
สำหรับหลายๆท่านควรนั่งบ่อยๆ อะไรๆก็จะดีไปเอง แต่การนั่งบ่อยๆก็มิใช่เอาแต่เพ่งนิมิตเอาเป็นเอาตาย ก็จะไม่ใช้หนทางนะครับ
สำหรับการรู้การเห็น เราอธิษฐานไว้เลย ว่าให้เห็น แต่เมื่อเราปล่อยวางไปถึงระดับหนึ่ง สภาวะธรรมนั้นจะปรากฎให้เราเห็นเอง
ง่ายๆ สบายๆ ครับ
สำหรับท่านที่สงบ ก่อนเลิกก็ควรพิจารณาธรรมะที่เรียกว่าโยนิโสมนสิการ พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของสรรสิ่งที่เป็นโลกิยะนี้ และแผ่เมตตา อธิษฐานจิตตามที่เราจะให้บุญส่งผลตามปราถนานะครับ
สำหรับท่านที่เห็นดวงปฐมมรรคแล้วก็ควรไปหาพระอาจารย์เพื่อให้ท่านต่อวิชชาที่สูงๆต่อไป เพื่อความเชี่ยวชาญและเป็นวสีของจิต และเพื่อการเจริญวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐาน 4 อย่างแท้จริง เต็มขั้น สืบต่อไปครับ
บางท่านนั้นนั่งแช่อิ่มเป็นสิบๆชั่วโมงได้นั้นถือว่าเก่งมาก แต่ว่าสมควรที่จะเจริญโลกุตระปัญญาบนฐานของสมาธินั้น เพื่อคุณธรรมที่สูงๆยิ่งๆขึ้นไปครับจึงจถือว่าเป็นสัมมาสมาธิ และเป็นการยังไตรสิกขาให้สมบูรณ์
ปัญญาทางธรรมหากเราสามารถเข้าใจได้ เราก็รู้สึกเบาสบายและเป็นอิสระแล้วครับ ดังคำที่ว่า แค่เปลี่ยนความคิด ชีวิตก็เปลี่ยน
ยิ่งเป็นปัญญาที่สัมมาสมาธิอบรมดีแล้ว ยิ่งจะเป็นอริยธรรมที่เราสัมผัสได้อย่างเป็นบรมสุข และสมควรกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมในธรรมนั้น ทั้ง รู้ เห็น เข้าถึง เข้าใจ หลุดพ้น ปล่อยวาง เป็นแต่ธรรมล้วนๆไม่เจือปนด้วยสมมติ
นิพพานัง ปรมัง สุขัง
ละธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ
ธัมมะกาโย อะหัง อิติปิ
เราตถาคต คือธรรมกาย
#18
Posted 19 August 2010 - 10:05 AM
ช่วงนั้นจะเสมือนลืมๆ เราก็ปล่อยวาง นิ่ง ดิ่งไปเลย อย่าไปสังเกตุ หรือกำหนดสติมาก
ช่วงแรกๆฝืนครับ แล้วรู้สึกถูกบีบหัว ดิ่งแบบปวดๆ (รู้สึกตัวว่ากายเคลื่อนถูกดันขึ้นไปชนหัวเตียง)จนต้องคลายครับ คลาย ปล่อยมันไปเลย จะไปไหนก็เรืองของมันช่างมัน ความโปร่งโล่งสบายก็เข้า
ตอบไม่ได้ครับ ไม่รู้อย่ไหนครับ กำลัง in อยู่ในขณะดิ่งว่าจะมีอะไรต่อไป
ขอขอบคุณทุกท่านครับ จะทำความเพียรต่อไป
ตงฟาง
#19
Posted 19 August 2010 - 04:09 PM
นั่นแหละครับ ปล่อยวางซะบ้าง ว่างๆ เบาๆ สบายๆ
ใจควรนึกกำหนดจุดเล็กใส ตรงกลางของกลางไว้ หลวงปู่สดสอนว่า "ให้นึกจุดเล็กใสเท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไซร" จุดเล็กใสตรงกลางของกลางดวงแก้วนั้นสำคัญกว่าดวงแก้วอีกนะครับ
ตงฟาง
สาธุครับ เจริญภาวนาบ่อยๆ อะไรๆก็จะลงตัวเองครับ
สำหรับคุณตงฟางก็จะมีอุปสัคส่วนตัวที่ไม่เหมือนใคร ก็ไม่ต้องคิดอะไรมากครับ ทำความเพียรต่อไป เท่าที่สังเกตุคุณตงฟางก็อย่าเคร่งมากไปนะครับ
อย่าลืมโยนิโสมนสิการธรรมะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มากๆนะครับ แล้วมารับบุญบ่อยๆ บางทีเวลาเราไม่จริงจังมาก อยู่ๆอาจจะเห็นสภาวะธรรมคือดวงปฐมมรรคได้เองครับ แต่อย่าลืมเป้าหมายเบื้องต้น หวังแค่ความสงบ กิเลศนิวรณ์ระงับเป็นพอ อย่ามุ่งว่าอยากเห็น
ในสมัยพุทธกาลก็มีหลายท่าน ไม่ได้นั่งเคร่งครัดจริงจัง โยนิโสมนสิการธรรมะไปเรื่อยๆจิตดิ่งบรรลุฌาน บางท่านกวาดๆอุโบสถอยู่เห็นแสงเทียนจิตดิ่งบรรลุฌาน วิปัสสนาเจริญขึ้นบนฐานสัมมาสมาธินั้นบรรลุธรรมทันที ก็มีเยอะแยะไปครับ อย่างพระอานนท์ท่านบรรลุอรหัต ตอนกำลังจะเอนตัวนอนครับ
ละธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ
ธัมมะกาโย อะหัง อิติปิ
เราตถาคต คือธรรมกาย
#20
Posted 19 August 2010 - 08:38 PM
#21
Posted 21 August 2010 - 09:46 AM
ผมเปลี่ยนชื่อแล้วนะครับ เพื่อให้เหมาะสมกับ dmc
ตงฟาง
#22
Posted 22 August 2010 - 12:58 AM
ดีครับ ปล่อยวาง ง่ายๆ สบายๆ
(การบ้าน 10 ข้อ ทำได้จะเจ๋งมากๆ ฝึกโยนิโสมนสิการด้วย 5 ห้องสร้างนิสัย และตั้งแนวคิดด้วยคำแนะนำเทคนิคในการปฏิบัติธรรม 5 ข้อ)
การทำความรู้สึกเป็นองค์พระฯ ศัพท์วิชชาธรรมกายเรียกว่าวิธีการแบบนี้ว่า การ "ดับหยาบไปหาละเอียด"
คือการทำใจเป็นกลางปล่อยวางจากอารมณ์และร่างกายเดิม ไปเป็นสภาวะของใจของกายใหม่ที่ละเอียดๆกว่าเดิม
และไม่เป็นการยึดติดนิมิต ไม่เป็นการติดความสงบให้แช่อิ่มอยู่กับที่ แต่ต้องเข้าไปเป็นสภาวะธรรมนั้น แล้วก็ปล่อยวางไปเรื่อยๆ ก็จะสงบ ละเอียดไปเรื่อยๆๆๆ เราเจริญสมถะและพิจารณาวิปัสสนาตามแนวสติปัฏฐาน 4 จนกว่าจะบรรลุธรรมที่ละเอียดๆต่อๆไป ให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
การเข้าตรงกลางๆของกลางจุดเล็กใส ศัพท์วิชชาธรรมกายเรียกว่า "เข้านิโรธ" คือการเข้าไปในไส้กลางของธาตุธรรม ตรงกลางๆของกลางจุดเล็กใสเท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทรนั่นเอง ห้ามวางใจไปเข้าข้างนอก ออกนอกเด็ดขาด ซึ่งจะไม่ถูกมัชฌิมาปฏิปทา
ครับ จากที่สังเกตุการณ์ ตอนเช้าหลังจากนอนหลับพักผ่อนมาดีแล้ว สวดมนต์ นั่งสมาธิ จะดีมากเลยครับ ดีกว่าช่วงเวลาอื่นมาก เพราะร่างกายเบา สบาย สงบ และจิตใตยังไม่วุ่นวายด้วยเรื่องราวต่างๆประจำวันครับ
ละธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ
ธัมมะกาโย อะหัง อิติปิ
เราตถาคต คือธรรมกาย
#23
Posted 22 August 2010 - 07:56 PM
#24
Posted 01 September 2010 - 09:01 AM
#25
Posted 04 September 2010 - 04:08 PM
#26
Posted 18 September 2010 - 07:44 PM
ดีใจครับที่มีคนนอนแล้วชอบดิ่งเหมือนกัน (อยากทราบว่าดิ่งแบบจะออกนอกโลกบ้างหรือเปล่าครับ ผมเป็นบ่อยไม่ทราบต้องแก้อย่างไร)
เป็นเหมือนท่านเจ้าของกระัทู้เลยครับ ช่วงก่อนหน้านี้ผมดิ่งประจำครับ แต่กลัวมากพยายามบอกให้ตัวเองตื่นเพราะกลัวความสูง แต่เวลาก่อนหลับผมชอบนอนปรับอารมณ์ครับให้เบา ๆ เหมือนจะลอยได้ บางครั้งก็ปรับใจเบาให้เหมือนเหาะได้ ก็เหาะได้จริง ๆ แหละครั่ว แต่พอช่วงไหนปรับใจเบาได้ไม่มากก็เหาะเลียด ๆ พื้นก็บ่อยครับ ช่วงก่อนตื่นก็ชอบเห็นแสงจ้าอยู่ สามสี่ครั่งจ้าแบบสว่างโพลงก็มี บางทีก็เห็นเป็นดวงกลม ๆ เล็กบ้างใหญ่บ้าง
ดีใจครับที่มีคนนอนแล้วชอบดิ่งเหมือนกัน (อยากทราบว่าดิ่งแบบจะออกนอกโลกบ้างหรือเปล่าครับ ผมเป็นบ่อยไม่ทราบต้องแก้อย่างไร)