1.คนรับศีล5 กับคนที่ไม่มีศีล กระทำผิดในศีลข้อเดียวกัน บาปจะเท่ากันไหมครับ
2.ถวายภัตตาหารกับพระรูปเดียว แต่ตั้งใจเป็นสังฆทาน จะถือว่าเป็น สังฆทานได้หรือไม่ครับ
3.อาราธนาศีล โดยไม่มีพระสงส์ ไม่มีพระพุทธรูป จะถือว่ารับศีล5โดยสมบูรณ์ ได้หรือไม่
4.เขาบอกว่า ห้ามเอากาแฟ ให้กับคนที่ตายแล้ว เพราะจะทำให้คนตาย ตายตาไม่หลับ จริงหรือไม่ครับ
5.จัดงานเผา ศพ พ่อแม่ ของตัวเอง อย่างใหญ่โตมีหนังมีลิเก เขาบอกว่า มันฉลองพ่อแม่มันตายกัน สรุปว่าได้บุญหรือได้บาปกันแน่ครับ
6.ถ้าเชื่อเรื่องของกรรม ทั้งหมด ลูกหนี้ที่ยืมเงินเรา แล้วไม่ให้ จะถือว่าเป็นกรรมเก่าของเรา และเราควรให้อภัยเขา แล้วดีกับเขา และพร้อมที่จะให้เขายืมเงินได้อีก เพื่อเป็นการ ชดใช้กรรม ใช่หรือไม่ครับ
ช่อยตอบให้ด้วยครับ
***หลายคำถาม คาใจ ***
Started by สาคร, May 02 2009 12:45 PM
9 replies to this topic
#2
Posted 02 May 2009 - 03:46 PM
ผมขออนุญาตตอบตามที่ผมเข้าใจนะครับ ผิดถูกเดี๋ยวคงมีผู้รู้มาย้ำชัดอีกทีครับ
คำตอบของผมแบ่งเป็น 2 กรณีครับ
๑. ในกรณีที่ความร้ายแรงเท่ากัน คนถือศีล ๕ น่ะบาปกว่า เพราะเราอาราธนาแล้วไงครับว่าจะไม่ผิดศีลทั้ง ๕ ข้อ
ถ้าเราทำผิดข้อใดข้อหนึ่งมันก็เสียสัจจะถูกมั้ยครับ ? เพราะฉะนั้นควบคุมตนเองให้ถึงที่สุดจ้า
๒.ในกรณีที่ความร้ายแรงต่างกัน ผมจะยกตัวอย่างนะครับ ข้อ 1.ห้ามฆ่าสัตว์
คนถือศีลดันไปฆ่ามด คนไม่ถือศีลไม่มีศีลไปฆ่าปลาทำอาหาร คุณคิดว่าใครจะบาปกว่าครับ ?
มันแล้วแต่กรณีครับ แล้วก็อยู่ที่เจตนาด้วย ... ( เอาเป็นว่าถือศีลเถอะครับ แล้วควบคุมให้ดี )
การถวายสังฆทานคือการภวายของให้พระโดยไม่เจาะจง ต่อให้มีพระภิกสงฆ์รูปเดียว
แต่คุณไม่ได้ถวายเจาะจง ก็ถือเป็น " สังฆทาน " นะครับ แต่บางคน อยากถวายกับ " เกจิอาจารย์ "
ทั้งที่อานิสงส์ต่างกันมากครับ เพราะฉะนั้น อย่าถวายเจาะจงเลยครับ ถวายสังฆทานไปเถอะ
ได้บุญเยอะนะครับ ( ขอแถมนิดนึงครับ เวลาถวายสังฆทานต้องเลือกของด้วยตัวเองจะดีที่สุดนะครับ
บางทีเราซื้อไปแต่เค้าเตรียมของไม่ดี เพราะฉะนั้นเลือกของไปเอง แล้วที่จำเป็นต่อพระดีที่สุดครับ )
สมบูรณ์หรือไม่ ? ถ้าถามผม ผมว่าสมบูรณ์ครับ อยู่ที่เจตนา + ความมุ่งมั่นของคุณด้วย
ต่อให้คุณอาราธนาต่อพระสงฆ์ แต่คุณก็ทำไปงั้นๆ ไม่ได้จริงจังอะไร เวลาผิดก็ผิดเต็มประตูอยู่ดี
เช่นเดียวกับที่เราอาราธนาก่อนนอน ทำให้เราไม่ไปบาปกับใคร อาราธนาคนเดียว
แต่เรามุ่งมั่นที่จะทำ มุ่งมั่นที่จะถือศีล อันนี้อานิสงส์แรงครับ ขออนุโมทนากับคนที่ทำประจำ
ไม่จริงครับ อันนี้พูดกันตรงๆนะ ในทางพระพุทธศาสนา คุณให้อะไรคนตายโดยที่ไม่กรวดน้ำ
ไม่อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ เค้ารับไม่ได้หรอกครับ เช่น
คุณเอาข้าว เอาน้ำ ไปวางไว้หน้าหลุมศพ ถามว่าเค้าลุกขึ้นมาทาน มาดื่มได้มั้ย ? ก็ไม่ได้
เพราะนั้น จะให้อะไรคนที่ล่วงลับไปแล้ว กรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลครับ
รับรอง ถ้าเค้าไม่อยู่ในนรกชั้นลึก เค้าได้รับแน่นอน เค้าอนุโมทนาคุณแน่นอนครับ
เรื่องนี้ บางคนบอกว่าเป็นประเพณี แบบมหรสพ ตัวผมมองว่า ไม่บาปนะครับ
ถามว่า จัดลิเก แล้วเราลบหลู่ท่านมั้ย ? จัดลิเกเราผิดศีลมั้ย ?
ไม่ครับ ถ้าเราไม่ลบหลู่ท่านก็ไม่ผิด เราไม่ผิดศีลด้วย แล้วก็เป็นการให้เกียรติท่าน อันนี้ก็อีกเรื่อง
อะไรที่คิดว่าดีก็ทำไปเถิดครับ อย่าคิดมาก ทำแล้วใครไม่เดือดร้อนน่ะ ทำไปเถอะ
แต่...ถ้าอะไรที่บาปในงานศพ ? พวกที่เล่นการพนันไงล่ะ ชอบไปเล่นใกล้โลงศพ
เล่นในวัดตอนมีงานศพ บางทีไม่รู้จักเจ้าของงานหรอก แต่ไปตั้งวงกัน อันนี้บาปครับ ผิดศีล
ผมว่า เรื่องเงินนี่ มีทั้งกรรมเก่า และกรรมในปัจจุบันชาติแหละครับ
อยู่ที่ว่าคุณทำอาชีพอะไร ? คุณปล่อยเงินกู้หรือเปล่า ?
ถ้าคุณปล่อยเงินกู้นี่บาปนะครับ เพราะเป็นการสร้างภาระให้คนอื่น ไปคิดดดอกเค้า
แต่ถ้ามีคนมายืมเงินคุณเฉยๆ โดยที่คุณไม่คิดดอก ให้ยืมโดยไม่คิดอะไร แต่เค้าไม่คืน
อันนี้เค้าก็บาปครับ ส่วนเราได้บุญเพราะเราช่วยเหลือจุนเจือเค้า
ผมว่าอย่าไปคิดมากเลยครับ ต่อให้คุณเชื่อเรื่องกรรม หรือไม่เชื่อเรื่องกรรม คุณก็ไม่ได้คืน
เพราะฉะนั้น อย่าไปคิดอะไรที่ทำให้ใจหมอง ทำบุญดีกว่าครับ
แล้วแผ่เมตตาให้วิบากกรรมทั้งหลาย ถ้าคุณคิดว่ามันเป็นกรรมเก่าอ่ะนะ แผ่เมตตาให้เค้าไปเถอะครับ
มันจะดีขึ้นเอง นึกถึงบุญครับ หลวงปู่บอกว่ามีแต่บุญเท่านั้นที่จะช่วยตัวได้
เพราะฉะนั้น อะไรที่ทำให้ใจหมองใจมีอคติ ก็อย่าไปคิด สบายๆไว้ครับ
ทั้งหมดผมก็ตอบตามที่ผมคิดแล้ว ไว้รอผู้รู้จริงมาตอบอีกทีแล้วกันครับ
อนุโมทนาสาธุ นะครับทุกคน
QUOTE
1.คนรับซีล ๕ กับคนไม่มีศีล ทำผิดศีลแล้วจะบาปเท่ากันมั้ย ?
คำตอบของผมแบ่งเป็น 2 กรณีครับ
๑. ในกรณีที่ความร้ายแรงเท่ากัน คนถือศีล ๕ น่ะบาปกว่า เพราะเราอาราธนาแล้วไงครับว่าจะไม่ผิดศีลทั้ง ๕ ข้อ
ถ้าเราทำผิดข้อใดข้อหนึ่งมันก็เสียสัจจะถูกมั้ยครับ ? เพราะฉะนั้นควบคุมตนเองให้ถึงที่สุดจ้า
๒.ในกรณีที่ความร้ายแรงต่างกัน ผมจะยกตัวอย่างนะครับ ข้อ 1.ห้ามฆ่าสัตว์
คนถือศีลดันไปฆ่ามด คนไม่ถือศีลไม่มีศีลไปฆ่าปลาทำอาหาร คุณคิดว่าใครจะบาปกว่าครับ ?
มันแล้วแต่กรณีครับ แล้วก็อยู่ที่เจตนาด้วย ... ( เอาเป็นว่าถือศีลเถอะครับ แล้วควบคุมให้ดี )
QUOTE
2.ถวายภัตตาหารกับพระรูปเดียว แต่ตั้งใจเป็นสังฆทาน จะถือว่าเป็น สังฆทานได้หรือไม่
การถวายสังฆทานคือการภวายของให้พระโดยไม่เจาะจง ต่อให้มีพระภิกสงฆ์รูปเดียว
แต่คุณไม่ได้ถวายเจาะจง ก็ถือเป็น " สังฆทาน " นะครับ แต่บางคน อยากถวายกับ " เกจิอาจารย์ "
ทั้งที่อานิสงส์ต่างกันมากครับ เพราะฉะนั้น อย่าถวายเจาะจงเลยครับ ถวายสังฆทานไปเถอะ
ได้บุญเยอะนะครับ ( ขอแถมนิดนึงครับ เวลาถวายสังฆทานต้องเลือกของด้วยตัวเองจะดีที่สุดนะครับ
บางทีเราซื้อไปแต่เค้าเตรียมของไม่ดี เพราะฉะนั้นเลือกของไปเอง แล้วที่จำเป็นต่อพระดีที่สุดครับ )
QUOTE
3.อาราธนาศีล โดยไม่มีพระสงส์ ไม่มีพระพุทธรูป จะถือว่ารับศีล5โดยสมบูรณ์ ได้หรือไม่
สมบูรณ์หรือไม่ ? ถ้าถามผม ผมว่าสมบูรณ์ครับ อยู่ที่เจตนา + ความมุ่งมั่นของคุณด้วย
ต่อให้คุณอาราธนาต่อพระสงฆ์ แต่คุณก็ทำไปงั้นๆ ไม่ได้จริงจังอะไร เวลาผิดก็ผิดเต็มประตูอยู่ดี
เช่นเดียวกับที่เราอาราธนาก่อนนอน ทำให้เราไม่ไปบาปกับใคร อาราธนาคนเดียว
แต่เรามุ่งมั่นที่จะทำ มุ่งมั่นที่จะถือศีล อันนี้อานิสงส์แรงครับ ขออนุโมทนากับคนที่ทำประจำ
QUOTE
4.เขาบอกว่า ห้ามเอากาแฟ ให้กับคนที่ตายแล้ว เพราะจะทำให้คนตาย ตายตาไม่หลับ จริงหรือไม่ครับ
ไม่จริงครับ อันนี้พูดกันตรงๆนะ ในทางพระพุทธศาสนา คุณให้อะไรคนตายโดยที่ไม่กรวดน้ำ
ไม่อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ เค้ารับไม่ได้หรอกครับ เช่น
คุณเอาข้าว เอาน้ำ ไปวางไว้หน้าหลุมศพ ถามว่าเค้าลุกขึ้นมาทาน มาดื่มได้มั้ย ? ก็ไม่ได้
เพราะนั้น จะให้อะไรคนที่ล่วงลับไปแล้ว กรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลครับ
รับรอง ถ้าเค้าไม่อยู่ในนรกชั้นลึก เค้าได้รับแน่นอน เค้าอนุโมทนาคุณแน่นอนครับ
QUOTE
5.จัดงานเผา ศพ พ่อแม่ ของตัวเอง อย่างใหญ่โตมีหนังมีลิเก เขาบอกว่า มันฉลองพ่อแม่มันตายกัน สรุปว่าได้บุญหรือได้บาปกันแน่ครับ
เรื่องนี้ บางคนบอกว่าเป็นประเพณี แบบมหรสพ ตัวผมมองว่า ไม่บาปนะครับ
ถามว่า จัดลิเก แล้วเราลบหลู่ท่านมั้ย ? จัดลิเกเราผิดศีลมั้ย ?
ไม่ครับ ถ้าเราไม่ลบหลู่ท่านก็ไม่ผิด เราไม่ผิดศีลด้วย แล้วก็เป็นการให้เกียรติท่าน อันนี้ก็อีกเรื่อง
อะไรที่คิดว่าดีก็ทำไปเถิดครับ อย่าคิดมาก ทำแล้วใครไม่เดือดร้อนน่ะ ทำไปเถอะ
แต่...ถ้าอะไรที่บาปในงานศพ ? พวกที่เล่นการพนันไงล่ะ ชอบไปเล่นใกล้โลงศพ
เล่นในวัดตอนมีงานศพ บางทีไม่รู้จักเจ้าของงานหรอก แต่ไปตั้งวงกัน อันนี้บาปครับ ผิดศีล
QUOTE
6.ถ้าเชื่อเรื่องของกรรม ทั้งหมด ลูกหนี้ที่ยืมเงินเรา แล้วไม่ให้ จะถือว่าเป็นกรรมเก่าของเรา และเราควรให้อภัยเขา แล้วดีกับเขา และพร้อมที่จะให้เขายืมเงินได้อีก เพื่อเป็นการ ชดใช้กรรม ใช่หรือไม่ครับ
ผมว่า เรื่องเงินนี่ มีทั้งกรรมเก่า และกรรมในปัจจุบันชาติแหละครับ
อยู่ที่ว่าคุณทำอาชีพอะไร ? คุณปล่อยเงินกู้หรือเปล่า ?
ถ้าคุณปล่อยเงินกู้นี่บาปนะครับ เพราะเป็นการสร้างภาระให้คนอื่น ไปคิดดดอกเค้า
แต่ถ้ามีคนมายืมเงินคุณเฉยๆ โดยที่คุณไม่คิดดอก ให้ยืมโดยไม่คิดอะไร แต่เค้าไม่คืน
อันนี้เค้าก็บาปครับ ส่วนเราได้บุญเพราะเราช่วยเหลือจุนเจือเค้า
ผมว่าอย่าไปคิดมากเลยครับ ต่อให้คุณเชื่อเรื่องกรรม หรือไม่เชื่อเรื่องกรรม คุณก็ไม่ได้คืน
เพราะฉะนั้น อย่าไปคิดอะไรที่ทำให้ใจหมอง ทำบุญดีกว่าครับ
แล้วแผ่เมตตาให้วิบากกรรมทั้งหลาย ถ้าคุณคิดว่ามันเป็นกรรมเก่าอ่ะนะ แผ่เมตตาให้เค้าไปเถอะครับ
มันจะดีขึ้นเอง นึกถึงบุญครับ หลวงปู่บอกว่ามีแต่บุญเท่านั้นที่จะช่วยตัวได้
เพราะฉะนั้น อะไรที่ทำให้ใจหมองใจมีอคติ ก็อย่าไปคิด สบายๆไว้ครับ
ทั้งหมดผมก็ตอบตามที่ผมคิดแล้ว ไว้รอผู้รู้จริงมาตอบอีกทีแล้วกันครับ
อนุโมทนาสาธุ นะครับทุกคน
" ปราบมาร "
#3
Posted 03 May 2009 - 06:14 PM
ในมุมมองของผม
1.คนรับศีล5 กับคนที่ไม่มีศีล กระทำผิดในศีลข้อเดียวกัน บาปจะเท่ากันไหมครับ
- ที่ว่ารับศีลนี่ คือตั้งใจจะรักษาศีลหรือเปล่า ปกติคนรับศีลก็ต้องตั้งใจว่าจะไม่ทำผิด ถ้าไม่ได้ตั้งใจเลย เอาแต่ฟังพระสวดผ่าน ๆ ไป ส่วนใจก็ไม่คิดจะรักษา อย่างนี้ก็เรียกว่าพระให้ศีลแต่ตัวเองไม่ได้รับ ซึ่งถ้าตั้งใจจะไม่ทำผิด แต่ก็พลาดจนได้ อย่างน้อยบุญก็เกิดจากความตั้งใจ และจะมีความละอายมากกว่าคนที่ไม่ตั้งใจเลย แต่ถ้ารับแล้วก็ยังผิดบ่อย ๆ ไม่ค่อยจะสำนึก ประมาณว่าช่างมันเดี๋ยวค่อยรับศีลใหม่ อย่างนี้คงเรียกว่ามิจฉาทิฏฐิได้ล่ะ
2.ถวายภัตตาหารกับพระรูปเดียว แต่ตั้งใจเป็นสังฆทาน จะถือว่าเป็น สังฆทานได้หรือไม่ครับ
ถ้าจำไม่ผิด อยู่ที่ว่าพระรูปนั้น สงฆ์ได้ตั้งไว้เพื่อรับสังฆทานให้แก่สงฆ์หรือเปล่า ถ้าเป็นอย่างนั้นรับแล้วก็จะนำเข้าเป็นของสงฆ์ ไม่ใช่ของส่วนตัว หากอาศัยใจอย่างเดียวก็คงทำกันได้ไม่ยาก เพราะแม้พระโสดาบันบางท่านก็ยังไม่ค่อยได้ทำสังฆทานเลย
3.อาราธนาศีล โดยไม่มีพระสงส์ ไม่มีพระพุทธรูป จะถือว่ารับศีล5โดยสมบูรณ์ ได้หรือไม่
อาราธนาศีลก็น่าจะต้องมีพระสงฆ์ เพราะเป็นการรับศีลต่อหน้าสงฆ์ แต่หากตั้งใจรักษาศีลด้วยตนเองไม่มีใครเป็นพยาน ก็เรียกว่าสมาทานศีล มีศีล 5 สมบูรณ์ได้เหมือนกัน หากตั้งใจจริง ซึ่งควรสมาทานศีลทุกวัน และควรหาโอกาสอาราธนาศีลตามกาล
4.เขาบอกว่า ห้ามเอากาแฟ ให้กับคนที่ตายแล้ว เพราะจะทำให้คนตาย ตายตาไม่หลับ จริงหรือไม่ครับ
ถ้าคนตายลุกขึ้นมากินได้ก็คงต้องตอบว่า "จริง"
5.จัดงานเผา ศพ พ่อแม่ ของตัวเอง อย่างใหญ่โตมีหนังมีลิเก เขาบอกว่า มันฉลองพ่อแม่มันตายกัน สรุปว่าได้บุญหรือได้บาปกันแน่ครับ
- จะได้บุญอีท่าไหนยังนึกไม่ออก
6. ถ้าเชื่อเรื่องของกรรม ทั้งหมด ลูกหนี้ที่ยืมเงินเรา แล้วไม่ให้ จะถือว่าเป็นกรรมเก่าของเรา และเราควรให้อภัยเขา แล้วดีกับเขา และพร้อมที่จะให้เขายืมเงินได้อีก เพื่อเป็นการ ชดใช้กรรม ใช่หรือไม่ครับ
- ถ้าให้เขายืมไปเรื่อย ๆ โดยเขาไม่เคยคืน นอกจากจะมีกรรมเรื่องหนี้แล้ว ยังมีกรรมเรื่องโง่ด้วย แน่นอนว่าควรให้อภัยเขา แต่ไม่ใช่ส่งเสริมให้เขามีนิสัยอย่างนี้ติดตัว เหมือนให้เงินลูกแต่ไม่เคยสอนวิธีใช้ ลูกก็เอาไปผลาญ บางทีอนาคตดับวูบ อย่างนี้มันไม่ใช่สงสาร แต่เขาเรียกสับสน สับสนระหว่างเรื่องกรรมกับเรื่องคุณธรรม เรื่องเขาไม่คืนก็เรื่องหนึ่ง เรื่องจะจัดการอย่างไรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าเรายอมรับกรรมทั้งหมดที่เคยทำมาแบบไหลตามน้ำ ป่านนี้คงยังไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดเป็นแน่
1.คนรับศีล5 กับคนที่ไม่มีศีล กระทำผิดในศีลข้อเดียวกัน บาปจะเท่ากันไหมครับ
- ที่ว่ารับศีลนี่ คือตั้งใจจะรักษาศีลหรือเปล่า ปกติคนรับศีลก็ต้องตั้งใจว่าจะไม่ทำผิด ถ้าไม่ได้ตั้งใจเลย เอาแต่ฟังพระสวดผ่าน ๆ ไป ส่วนใจก็ไม่คิดจะรักษา อย่างนี้ก็เรียกว่าพระให้ศีลแต่ตัวเองไม่ได้รับ ซึ่งถ้าตั้งใจจะไม่ทำผิด แต่ก็พลาดจนได้ อย่างน้อยบุญก็เกิดจากความตั้งใจ และจะมีความละอายมากกว่าคนที่ไม่ตั้งใจเลย แต่ถ้ารับแล้วก็ยังผิดบ่อย ๆ ไม่ค่อยจะสำนึก ประมาณว่าช่างมันเดี๋ยวค่อยรับศีลใหม่ อย่างนี้คงเรียกว่ามิจฉาทิฏฐิได้ล่ะ
2.ถวายภัตตาหารกับพระรูปเดียว แต่ตั้งใจเป็นสังฆทาน จะถือว่าเป็น สังฆทานได้หรือไม่ครับ
ถ้าจำไม่ผิด อยู่ที่ว่าพระรูปนั้น สงฆ์ได้ตั้งไว้เพื่อรับสังฆทานให้แก่สงฆ์หรือเปล่า ถ้าเป็นอย่างนั้นรับแล้วก็จะนำเข้าเป็นของสงฆ์ ไม่ใช่ของส่วนตัว หากอาศัยใจอย่างเดียวก็คงทำกันได้ไม่ยาก เพราะแม้พระโสดาบันบางท่านก็ยังไม่ค่อยได้ทำสังฆทานเลย
3.อาราธนาศีล โดยไม่มีพระสงส์ ไม่มีพระพุทธรูป จะถือว่ารับศีล5โดยสมบูรณ์ ได้หรือไม่
อาราธนาศีลก็น่าจะต้องมีพระสงฆ์ เพราะเป็นการรับศีลต่อหน้าสงฆ์ แต่หากตั้งใจรักษาศีลด้วยตนเองไม่มีใครเป็นพยาน ก็เรียกว่าสมาทานศีล มีศีล 5 สมบูรณ์ได้เหมือนกัน หากตั้งใจจริง ซึ่งควรสมาทานศีลทุกวัน และควรหาโอกาสอาราธนาศีลตามกาล
4.เขาบอกว่า ห้ามเอากาแฟ ให้กับคนที่ตายแล้ว เพราะจะทำให้คนตาย ตายตาไม่หลับ จริงหรือไม่ครับ
ถ้าคนตายลุกขึ้นมากินได้ก็คงต้องตอบว่า "จริง"
5.จัดงานเผา ศพ พ่อแม่ ของตัวเอง อย่างใหญ่โตมีหนังมีลิเก เขาบอกว่า มันฉลองพ่อแม่มันตายกัน สรุปว่าได้บุญหรือได้บาปกันแน่ครับ
- จะได้บุญอีท่าไหนยังนึกไม่ออก
6. ถ้าเชื่อเรื่องของกรรม ทั้งหมด ลูกหนี้ที่ยืมเงินเรา แล้วไม่ให้ จะถือว่าเป็นกรรมเก่าของเรา และเราควรให้อภัยเขา แล้วดีกับเขา และพร้อมที่จะให้เขายืมเงินได้อีก เพื่อเป็นการ ชดใช้กรรม ใช่หรือไม่ครับ
- ถ้าให้เขายืมไปเรื่อย ๆ โดยเขาไม่เคยคืน นอกจากจะมีกรรมเรื่องหนี้แล้ว ยังมีกรรมเรื่องโง่ด้วย แน่นอนว่าควรให้อภัยเขา แต่ไม่ใช่ส่งเสริมให้เขามีนิสัยอย่างนี้ติดตัว เหมือนให้เงินลูกแต่ไม่เคยสอนวิธีใช้ ลูกก็เอาไปผลาญ บางทีอนาคตดับวูบ อย่างนี้มันไม่ใช่สงสาร แต่เขาเรียกสับสน สับสนระหว่างเรื่องกรรมกับเรื่องคุณธรรม เรื่องเขาไม่คืนก็เรื่องหนึ่ง เรื่องจะจัดการอย่างไรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าเรายอมรับกรรมทั้งหมดที่เคยทำมาแบบไหลตามน้ำ ป่านนี้คงยังไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดเป็นแน่
#4
Posted 03 May 2009 - 10:17 PM
QUOTE
1.คนรับศีล5 กับคนที่ไม่มีศีล กระทำผิดในศีลข้อเดียวกัน บาปจะเท่ากันไหมครับ
- ผลบาปขึ้นกับเจตนา...หากเป็นกรรมรูปแบบ(วาระ)เดียวกัน...คนรับศีลแล้วมีเจตนาละเมิด...ย่อมถูกประนามว่า...เสียศีล...เสียบุญกิริยาวัตถุ...หากยังละเมิดเป็นอาจิณกรรม...ศีลบารมีย่อมไม่งอกงาม...เสียทั้งเวลาและโอกาส...บารมีอื่นๆไม่งอกเงย....จึงเสื่อมต่อเส้นทางอริยมรรคได้ง่าย...เพราะศีล เป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย และ เป็นประธานแห่งธรรมทั้งปวงนั่นเอง
QUOTE
2.ถวายภัตตาหารกับพระรูปเดียว แต่ตั้งใจเป็นสังฆทาน จะถือว่าเป็น สังฆทานได้หรือไม่ครับ
- หากผู้ให้ปรารถนาถวายภัตตาหารโดยไม่เจาะจงสงฆ์ใด แม้เพียงรูปเดียว ย่อมอนุโลมว่าเป็นสังฆทานได้QUOTE
3.อาราธนาศีล โดยไม่มีพระสงฆ์ ไม่มีพระพุทธรูป จะถือว่ารับศีล5โดยสมบูรณ์ ได้หรือไม่
- ได้...สำคัญที่การรักษา...ลืมแล้วหรือว่า...มีพระภายในตัวQUOTE
4.เขาบอกว่า ห้ามเอากาแฟ ให้กับคนที่ตายแล้ว เพราะจะทำให้คนตาย ตายตาไม่หลับ จริงหรือไม่ครับ
5.จัดงานเผา ศพ พ่อแม่ ของตัวเอง อย่างใหญ่โตมีหนังมีลิเก เขาบอกว่า มันฉลองพ่อแม่มันตายกัน สรุปว่าได้บุญหรือได้บาปกันแน่ครับ
- เขา? น่ะใคร?...พิจารณา....โยนิโสมนสิการ...5.จัดงานเผา ศพ พ่อแม่ ของตัวเอง อย่างใหญ่โตมีหนังมีลิเก เขาบอกว่า มันฉลองพ่อแม่มันตายกัน สรุปว่าได้บุญหรือได้บาปกันแน่ครับ
QUOTE
6.ถ้าเชื่อเรื่องของกรรม ทั้งหมด ลูกหนี้ที่ยืมเงินเรา แล้วไม่ให้ จะถือว่าเป็นกรรมเก่าของเรา และเราควรให้อภัยเขา แล้วดีกับเขา และพร้อมที่จะให้เขายืมเงินได้อีก เพื่อเป็นการ ชดใช้กรรม ใช่หรือไม่ครับ
- อาจเป็นกรรมเก่า กรรมใหม่ได้ทั้งหมด- กรรมใหม่นั้นมาจาก...การคบคนพาล...ขาดความรู้เท่าทันเหลี่ยมคูผู้คน....ทำให้ต้องมาตกอยู่ในวงจรอุบาทว์ของหนี้สิน...
- ความประมาท...ขาดวิจารณญาน...ทำให้จิตละโมภครอบงำ...บดบังปัญญา....จึงง่ายต่อการถูกหลอกลวง...
- กรรมเก่า...วิบากกรรมส่งผล...โดยมีเชื้อโลภะนี้ฝังอยู่ในใจ...
- ถ้าเชื่อกรรม...ต้องประเทืองปัญญา...ออกจากวงจรมิจฉาเหล่านี้...ฆ่าความตระหนี่ออกจากใจ....คบบัณฑิตไว้ไม่เสียหลาย...
- เรื่องที่ผ่านมา....อาจหาทางออกตามขั้นตอน...เริ่มที่การเจรจาด้วยจิตเมตตา...หากลูกหนี้หลีกเลี่ยงก็ต้องใช้กฎหมายบังคับหนี้ตามกติกาสังคม..จะหน่วยงานไกล่เกลี่ย ปรับคดีเป็นมโนสาเร่ หรือฟ้องแพ่งก็แล้วแต่
- การให้อภัยเป็นสิ่งดี แต่ควรนำมาศึกษาเรียนรู้ให้เป็นอุทาหรณ์มิให้เกิดอีก หากเป็นไปได้ควรทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรแนะนำประโยชน์ชี้ทางสว่างให้โอกาสเขาสำนึกกลับใจนั้นยิ่งเป็นกุศลอย่างสูงสุด
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC
#5
Posted 04 May 2009 - 08:23 PM
เยี่ยมจริงๆ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร
#6
Posted 04 May 2009 - 10:08 PM
สุดยดเลยครับ
สา...ธุ
สา...ธุ
------------------------------------------
ขออนุโมทนา
กับทุกรอยยิ้ม
เพื่อการสร้างบารมี
-------------------------------------------
ขออนุโมทนา
กับทุกรอยยิ้ม
เพื่อการสร้างบารมี
-------------------------------------------
#7
Posted 04 May 2009 - 10:51 PM
เคยได้ยินเรื่องที่ว่าบิดาของนางมหาอุบาสิกาวิสาขา ได้กล่าวสอนนางวิสาขาเมื่อแต่งงานออกเรือนไปแล้วและได้ไปเยี่ยมนางตอนหนึ่งว่า "ให้ไม่ให้ก็ให้ให้ ที่ให้ไม่ให้ไม่ให้ให้" คือสำหรับผู้มีบุญคุณแล้วถึงแม้ว่าเราให้เขายืมแต่เขาไม่คืน และเมื่อต่อมาจะมาขอยืมอีกอย่างไรเสียก็ต้องให้ แต่หากบุคคลอื่นที่เขามาขอยืมเราแล้วเขาไม่คืนต่อไปก็ไม่ให้ให้เขาอีก" ให้ที่ว่าคือให้ยืมสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน และรวมถึงทรัพย์สิน
สำหรับรายละเอียดของเรื่องจำได้ไม่หมดนะ เอาแค่ว่าตอนสำคัญที่น่าจะใช้ตอบคุณสาครได้จ้ะ จริง ๆ ถ้าเราหมั่นศึกษาพุทธประวัติ และบุคคลสำคัญในยุคที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังพระชนม์ชีพอยู่นั้นเราจะได้เรียนรู้วิถีชีวิต การดำเนินชีวิตที่เป็นแบบอย่างที่ดีสามารถใช้ได้ทุกกาลสมัยไม่ล้าหลัง ตัวอย่างก็เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐี นางมหาอุบาสิกาวิสาขา เป็นต้น
สำหรับรายละเอียดของเรื่องจำได้ไม่หมดนะ เอาแค่ว่าตอนสำคัญที่น่าจะใช้ตอบคุณสาครได้จ้ะ จริง ๆ ถ้าเราหมั่นศึกษาพุทธประวัติ และบุคคลสำคัญในยุคที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังพระชนม์ชีพอยู่นั้นเราจะได้เรียนรู้วิถีชีวิต การดำเนินชีวิตที่เป็นแบบอย่างที่ดีสามารถใช้ได้ทุกกาลสมัยไม่ล้าหลัง ตัวอย่างก็เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐี นางมหาอุบาสิกาวิสาขา เป็นต้น
แม้มืดตื้อมืดมิดก็มีสิทธิเข้าถึงธรรม
#8
Posted 05 May 2009 - 05:00 PM
สาธุ ค่ะ
เกิดมาทำพระนิพพานให้แจ้ง แสวงบุญ สร้างบารมี
#9
Posted 05 May 2009 - 08:08 PM
ถ้าไม่รู้ว่า "ของนั้นร้อน" , จะจับ "เต็มมือ" กว่าคนที่รู้ .
เวลาเกิดอุบัติเหตุรถชนกัน , ถ้าเหยียบเบรคช่วย , จะชนรุนแรง "น้อยกว่า" ไม่เหยียบเบรคเลย .
คนที่ขับรถด้วยวินัย จะเกิดอุบัติเหตุ "น้อยครั้ง" กว่า คนที่ไม่มีวินัย(ศีล)ในการขับรถ(ดำเนินชีวิต) .
คำว่า "คนไม่มีศีล" , ใช้เรียก "พาลชน" คนที่ผิดศีลเป็นอาจิณกรรม , เช่น ดื่มเหล้าทุกวันทุกคืน .
ส่วนคนที่รับศีล(กัลยาณชน) อาจจะมีผิดศีลบ้างตามวิสัย "ปุถุชน" (ซึ่งยังไม่เป็นพระอริยบุคคล) แต่มีหิริโอตตัปปะ ,
ซึ่งหิริโอตตัปปะนี้ จะเหมือนเบรคที่ทำให้บาปน้อยลง เพราะอย่างน้อยก็เชื่อในกฎแห่งกรรม เป็นสัมมาทิฐิ ,
ส่วนคนที่ไม่มีศีลเลยนั้น จะไม่รู้สึกผิดอะไรเลย ซึ่งจะบาปเต็มๆ เพราะไม่เชื่อกฎแห่งกรรมเลย เป็นมิจฉาทิฐิ.
ถ้า "คนรับศีล" ทำผิดศีลแล้ว บาปมากกว่า "คนไม่มีศีล" ทำผิดศีล , แล้วต่อไปใครเล่าจะรับศีลจากพระสงฆ์ .
เวลาเกิดอุบัติเหตุรถชนกัน , ถ้าเหยียบเบรคช่วย , จะชนรุนแรง "น้อยกว่า" ไม่เหยียบเบรคเลย .
คนที่ขับรถด้วยวินัย จะเกิดอุบัติเหตุ "น้อยครั้ง" กว่า คนที่ไม่มีวินัย(ศีล)ในการขับรถ(ดำเนินชีวิต) .
คำว่า "คนไม่มีศีล" , ใช้เรียก "พาลชน" คนที่ผิดศีลเป็นอาจิณกรรม , เช่น ดื่มเหล้าทุกวันทุกคืน .
ส่วนคนที่รับศีล(กัลยาณชน) อาจจะมีผิดศีลบ้างตามวิสัย "ปุถุชน" (ซึ่งยังไม่เป็นพระอริยบุคคล) แต่มีหิริโอตตัปปะ ,
ซึ่งหิริโอตตัปปะนี้ จะเหมือนเบรคที่ทำให้บาปน้อยลง เพราะอย่างน้อยก็เชื่อในกฎแห่งกรรม เป็นสัมมาทิฐิ ,
ส่วนคนที่ไม่มีศีลเลยนั้น จะไม่รู้สึกผิดอะไรเลย ซึ่งจะบาปเต็มๆ เพราะไม่เชื่อกฎแห่งกรรมเลย เป็นมิจฉาทิฐิ.
ถ้า "คนรับศีล" ทำผิดศีลแล้ว บาปมากกว่า "คนไม่มีศีล" ทำผิดศีล , แล้วต่อไปใครเล่าจะรับศีลจากพระสงฆ์ .