Jump to content


Photo
- - - - -

ธรรมชนะข้าศึกทั้งปวง


  • You cannot start a new topic
  • Please log in to reply
7 replies to this topic

#1 นักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว
  • Members
  • 2,378 posts
  • Gender:Male
  • Location:รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้อยู่กะที่อ่ะ มาดูอารายกานอ่ะ
  • Interests:มาสร้างบารมีตามติดหมู่คณะดีกว่า

Posted 22 September 2006 - 10:05 PM

ธรรมชนะข้าศึกทั้งปวง


บุคคลผู้มีหลักธรรม 4 ประการ ย่อมชนะข้าศึกได้ คือ 1. สัจจะ ความจริง 2. ธรรม ความประพฤติชอบ 3. ธิติ ความเพียร 4. จาคะ ความเสียสละ



--------------------------------------------------------------------------------

1. สัจจะ ได้แก่ ความจริงแบ่งเป็น 2 อย่าง คือ

1. ความจริงใจ

จริงใจ นั้น ได้แก่ การตั้งใจมั่น คือ มีจิตจำนงที่จะทำการสิ่งใด ก็พยายามทำไปจนการสิ่งนั้นสำเร็จสมประสงค์แม้จะมีอุปสรรคอันใดเข้ามาขัดขวาง ก็ไม่ย่อท้อ หวาดหวั่นต่ออุปสรรคอันตรายนั้นๆ ดุจภูเขาศิลาล้วนมีแท่งทึบ ไม่หวั่นไหว เพราะลมและแดด ฉะนั้น ลักษณะเช่นนี้ ชื่อว่า ความจริวใจ


2. จริงวาจา

ส่วน จริงวาจา นั้น คือ เจรจาแต่คำจริง ไม่นำเอาสิ่งเท็จมาหลอกลวงให้ชาวโลกลุ่มหลง เจรจาคำใดไปแล้วก็มั่นคงไม่กลับกลอก เป็นวาจาที่คงที่ อันที่จริงการเจรจาถ้อยคำจริงนั้น ง่ายกว่าการพูดเท็จ ไม่ต้องกลัวจะผิด แต่การพูดเท็จนั้นต้องระวังตัว เพราะว่ากลัวเขาจะจับพิรุธได้ คนที่ชอบพูดเท็จมักจะเอาตัวไม่รอด สักวันหนึ่งเขาต้องจับได้ ต่อไปก็ไม่มีใครเชื่อถือ ยิ่งคำเท็จนั้นเป็นการหลอกลวงให้ผู้อื่นเสื่อมเสียจากประโยชน์ด้วยแล้ว ก็จะทำให้ผู้คนหมดความเคารพนับถือคุณธรรมใดๆ ที่เคยมีอยู่ ก็จะพลอยสูญสิ้นไปด้วยเพราะตนเองขาดสัจจะคือความจริง วาจาสัตย์เช่นนี้ เป็นวาจาที่ดี มีรสหวาน ไม่มีสิ่งใดจะลบล้างได้ ดีกว่ารสหวานทั้งปวง



--------------------------------------------------------------------------------

2. ธรรมะ แปลว่า สภาพผู้ทรงไว้ คือทรงผู้ปฏิบัติไว้ผู้ใดประพฤติธรรม ธรรมก็ย่อมรักษาผู้นั้นไว้ ไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ความจริง คำว่า ธรรม นั้น เป็นคำกลางๆ มีมาแล้วแต่ โบราณกาล หากแต่ขาดผู้ปรีชาญาณเลือกสรรเอามาใช้ เป็นได้ทั้งส่วนดีและส่วนชั่ว ถ้าต้องการหมายความข้างดีก็เติมคำว่ากุศล เข้าเป็นกุศลธรรม หมายถึงธรรมส่วนข้างดี เมื่อกล่าวโดยทางธรรมก็คือสุจริต เช่น ความประพฤติชอบด้วยกาย วาจา และใจ ถ้าต้องการหมายความข้างชั่ว ก็เติมคำว่า อกุศลเข้าเป็นอกุศลธรรม หมายถึงธรรมส่วนข้างชั่ว เมื่อกล่าวโดยทางธรรม ก็คือ ทุจริต เช่น ความประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา และใจ


--------------------------------------------------------------------------------

3. ธิติ แปลว่า ความเพียรเป็นเครื่องตั้งมั่น อันได้แก่ความพยายาม ความบากบั่น ความก้าวหน้า บุคคลผู้พากเพียรเพื่อจะตั้งตัวในทางใดทางหนึ่ง ถ้ายังไม่ทันได้ลุถึงสิ่งนั้น ไม่ควรถอยหลัง ควรพยายามต่อไป เพราะมีบางท่านว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่นเมื่อพยายามทำไปแล้วแม้จะไม่สำเร็จผลที่หมายก็ยังได้รับความสบายใจว่า ตนเองได้ทำจนสุดกำลังความสามารถแล้ว

ผู้ปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน เมื่อได้สมาทานศีลอย่างเคร่งครัดแล้วบำเพ็ญ ปฏิบัติ ภาวนาอย่างแข็งแรงแล้ว ก็ไม่ควรละการสมาทานนั้นๆ ควรพากเพียร บากบั่นต่อไป ประพฤติให้ยั่งยืนจนกว่าจะได้รับผล



--------------------------------------------------------------------------------

4. จาคะ ได้แก่ การบริจาคทรัพย์ ธรรมดาผู้คนอยู่ด้วยกันเป็นหมู่ ต้องมีการสงเคราะห์เกื้อกูลกันตามฐานะ ในตระกูลอันหนึ่ง มารดาบิดากับบุตร สามีกับภรรยา ญาติกับญาติ มิตรกับมิตร ยังต้องเจือจานกันด้วยการให้สิ่งของ การให้อย่างนี้นับว่าการสงเคราะห์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน เพราะบุคคลผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้ ส่วนความเหนียวแน่นหวงแหนเสียดายทรัพย์สมบัติของตน ไม่ปรารถนาที่จะแบ่งปันให้คนอื่น ที่สุดตนเองก็เบียดเบียนตนเอง เรียกว่า ความตระหนี่ ซึ่งตรงกันข้ามกับจาคะ ธรรมดาคนตระหนี่ ย่อมไม่ต้องการที่จะเจือจานสงเคราะห์ใคร มีแต่เห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คนเช่นนี้ย่อมกลัวความหมดเปลือง ไม่ประสงค์จะคบค้าสมาคมกับใคร มีอัธยาศัยคับแคบ เมื่อการงานเกิดขึ้น ย่อมต้องทนทำแต่ผู้เดียว ไม่ค่อยมีใครช่วยเหลือ ถึงบางครั้งต้องเสื่อมจากประโยชน์นั้นๆ

ธรรมทั้ง 4 ประการนี้ คือ สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ นี้ เมื่อมีใคบุคคลผู้ใด ย่อมทำให้บุคคลผุ้นั้น เป็นผู้มีความสัตย์ มีธรรมเมื่อจะประกอบกิจการใดๆ ก็ตั้งใจทำจริไม่ย่อท้อ มีความพากเพียรพยายามไปจนกว่าประโยชน์จะสำเร็จ บุคคลเช่นนี้ ย่อมไม่เป็นที่รังเกียจของใครๆ แม้ผู้ที่เป็นศัตรูอยู่ก่อนเมื่อได้ประสบอัธยาศัยอันดีงาม ย่อมละจากความเป็นศัตรู มีแต่จะอุปถัมภ์ค้ำชูให้ได้รับบความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป



--------------------------------------------------------------------------------

ผู้ที่ได้ยึดถือประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมนี้ จึงได้ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัตธรรม สมควรแก่ธรรมแล

ติลมตฺตํ ปเรสํ ว อปฺปโทสญฺจ ปสฺสติ
นาฬิเกรํปิ สโทสํ ขลชาโต น ปสฺสติ


คนเรามักจะมองเห็นแต่โทษของคนอื่น
ส่วนโทษของตนมองไม่เห็น
โทษคนอื่นเพียงเท่าเม็ดงา ก็ยกขึ้นมาว่ากล่าวไม่รู้จบ
ส่วนความเลวของตนใหญ่เท่าลูกมะพร้าว มองไม่เห็น

กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ


เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี

#2 วัดในดวงใจ

วัดในดวงใจ
  • Members
  • 1,199 posts

Posted 23 September 2006 - 10:20 AM

สาธุ
พระพุทธเจ้ารู้
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์

#3 iMac24

iMac24
  • Members
  • 437 posts
  • Location:Dmoc
  • Interests:เกิดมาสร้างบารมี

Posted 24 September 2006 - 10:43 AM

อนุโมทนาบุญนะครับ
จงสู้และอย่าท้อ ลูกเอย
ต้องถึงธรรมอย่างเสบย แน่แท้
ให้ทำอย่างที่เคย สอนสั่ง
นั่ง บ่ มีข้อแม้ จักได้ธรรมครอง

สุนทรพ่อ

มาร่วมกันสร้างสันติสุขให้กับโลกกันเถอะ

#4 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3,579 posts

Posted 24 September 2006 - 12:40 PM

สาธุ...

ฆราวาสธรรม4
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#5 cheterk

cheterk
  • Members
  • 314 posts
  • Interests:พระนิพพาน

Posted 24 September 2006 - 05:29 PM

สาธุครับ

#6 Chadawee

Chadawee
  • Members
  • 299 posts
  • Gender:Female

Posted 25 September 2006 - 12:43 AM

อนุโมทนาบุญค่ะ

เปิ้ล
Ple

#7 น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

    เราคือ นักรบกล้าอาสาสมัคร กองทัพธรรม

  • Members
  • 1,961 posts
  • Gender:Female
  • Interests:ช่วยงานบุญที่วัด ให้ถึงที่สุดกำลัง ตราบวันที่ชีวิตจะสิ้นลมหายใจ

Posted 23 October 2006 - 04:18 PM

อนุโมทนาคะ
"ด้วยใจกล้าอาสา พัฒนาไม่หยุดยั้ง"

น้ำฝนลูกพระธัมฯ

#8 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4,109 posts
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

Posted 27 March 2007 - 11:56 AM

สาธุ