Jump to content


dhammarama

Member Since 18 Jul 2013
Offline Last Active Private
-----

Posts I've Made

In Topic: ความประมาทของผู้นั่งสมาธิ 11 ประการ

31 July 2013 - 10:09 PM

copy and paste    www.google.com

 

มันเป็นข้อความจาก สรุปจากความเห็นส่วนตัว  

จึงไม่สามารถอ้างอิงได้เพราะไม่ได้ copy ทั้งพระสูตร

มีตรงไหนคลาดเคลื่อน  ก็ชี้แนะได้ จักเป็นพระคุณยิ่ง


In Topic: ความประมาทของผู้นั่งสมาธิ 11 ประการ

31 July 2013 - 08:54 PM

วิจิกิจฉาแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็วิจิกิจฉาเป็นเหตุสมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ 
 
อมนสิการแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็อมนสิการเป็นเหตุสมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป
 
ถีนมิทธะเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้
 
ความหวาดเสียวเป็นเหตุสมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป
 
ความตื่นเต้นเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้
 
ความชั่วหยาบแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความชั่วหยาบเป็นเหตุสมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหาย
ไปได้ 
 
ความเพียรที่ปรารภเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ 
 
ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้
 
ตัณหาที่คอยกระซิบแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ตัณหาที่คอยกระซิบเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและ
การเห็นรูปจึงหายไปได้
 
 ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ 
 
ดูกรอนุรุทธ เรานั้นผู้ไม่ประมาท ฯลฯ ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มีความรู้ ดังนี้ว่า ความสำคัญสภาวะว่าต่างกันแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็ความสำคัญสภาวะว่าต่างกันเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้วแสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เรานั้นจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา อมนสิการถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ และความสำคัญสภาวะว่าต่างกันขึ้นแก่เราได้อีก ฯ
 
 
 
สมัยใด เราไม่ใส่ใจนิมิตคือรูป ใส่ใจแต่นิมิตคือแสงสว่าง สมัยนั้น เราย่อมรู้สึกแสงสว่างอย่างเดียวแล แต่ไม่เห็นรูป ส่วนสมัยใดเราไม่ใส่ใจนิมิตคือแสงสว่าง ใส่ใจแต่นิมิตคือรูป สมัยนั้น เราย่อมเห็นรูปอย่างเดียวแล แต่ไม่รู้สึกแสงสว่าง ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้าง ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง ฯ
 
 
 
สมัยใด เรามีสมาธินิดหน่อย สมัยนั้นเราก็มีจักษุนิดหน่อย ด้วยจักษุนิดหน่อย เรานั้นจึงรู้สึกแสงสว่างเพียงนิดหน่อยเห็นรูปได้นิดหน่อย ส่วนสมัยใด เรามีสมาธิหาประมาณมิได้ สมัยนั้น เราก็มีจักษุหาประมาณมิได้ ด้วยจักษุหาประมาณมิได้ เรานั้นจึงรู้สึกแสงสว่างหาประมาณมิได้ และเห็นรูปหาประมาณมิได้ ตลอดกลางคืนบ้าง ตลอดกลางวันบ้างตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันบ้าง ฯ

In Topic: ความประมาทของผู้นั่งสมาธิ 11 ประการ

31 July 2013 - 08:47 PM


นิวรณ์, นิวรณธรรม       มี ๕ อย่าง คือ
           ๑. กามฉันท์ พอใจในกามคุณ
           ๒. พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น
           ๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ซึมเซา
           ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ
           ๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

In Topic: ความประมาทของผู้นั่งสมาธิ 11 ประการ

31 July 2013 - 11:13 AM

 [๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
 [๕๓๖] ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความไม่
พยาบาท เป็นสมาธิ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่ง
อาโลกสัญญา เป็นสมาธิ ฯลฯ 
 [๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ
 [๕๓๘] ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไปอย่างไร ฯ
 [๕๔๐] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความเป็นธรรม
ละเอียดอย่างไร ฯ
 [๕๔๑] ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กัน ด้วยความไม่มีอาสวะ
อย่างไร ฯ
 
[๕๔๓] เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ฯลฯ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นทุกข์ เมื่อภิกษุมนสิการรูปโดยความเป็นอนัตตา
เมื่อภิกษุมนสิการเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา โอภาส
ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ อุเบกขา นิกันติย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนึกถึงความพอใจว่า ความพอใจเป็นธรรม เพราะนึกถึงความ
พอใจนั้น จึงมีความฟุ้งซ่านเป็นอุทธัจจะ ภิกษุมีใจอันอุทธัจจะนั้นกั้นไว้ ย่อมไม่ทราบชัดตามความเป็นจริง ซึ่งชราและมรณะอันปรากฏโดยความเป็นอนัตตา
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่ามีใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้ สมัยนั้น จิตที่ตั้งมั่นสงบ
อยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯลฯ มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯลฯ ย่อมละสังโยชน์ อนุสัยย่อม
สิ้นไป อย่างนี้
 
ใจที่นึกถึงความพอใจอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้อย่างนี้ ฯ จิตย่อมกวัดแกว่งหวั่นไหวเพราะโอภาส ญาณ ปีติ ปัสสัทธิ
สุข อธิโมกข์ ปัคคาหะ อุปัฏฐานะ ความวางเฉยจากความนึกถึงอุเบกขา และนิกันติ ภิกษุนั้นกำหนดฐานะ ๑๐ ประการนี้ ด้วยปัญญาแล้ว
ย่อมเป็นผู้ฉลาดในความนึกถึงโอภาสเป็นต้นอันเป็นธรรมฟุ้งซ่าน และย่อมไม่ถึง
 ความหลงใหล จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง และเคลื่อนจาก จิตภาวนา จิตกวัดแกว่ง เศร้าหมอง ภาวนาย่อมเสื่อมไป
 จิตบริสุทธิ์ ไม่เศร้าหมอง ภาวนาย่อมไม่เสื่อม จิตไม่ ฟุ้งซ่าน ไม่เศร้าหมอง และไม่เคลื่อนจากจิตภาวนาด้วย
ฐานะ ๔ ประการนี้ ภิกษุย่อมทราบชัดซึ่งความที่จิตกวัด แกว่งฟุ้งซ่าน ถูกโอภาสเป็นต้นกั้นไว้ ด้วยฐานะ ๑๐ ประการ                          ฉะนี้แล ฯ

In Topic: ต้องการทราบข้อมูลประวัติของ พระมหาสิริราชธาตุ และมหาสุวรรณนิธิสิริมังคลาธิษฐา...

25 July 2013 - 09:34 PM

     อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด ในมหาสมุทรมีรัตนะเหล่านี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ
เงิน ทอง ทับทิม มรก
ต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด ในมหาสมุทรนั้นมีรัตนะ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้ว
ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๗ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึง
อภิรมย์อยู่ ฯ

 

 

 

 

ครั้นพระปัจเจกโพธิได้รับนิมนต์แล้ว สองคนพ่อลูกตั้งปฏิธานความปรารถนา ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากทุกข์ยากไร้เข็ญใจ และขอให้ข้าพเจ้าทั้งสองนี้ได้เป็นพระอรหันต์ขีณาสพผู้ประเสริฐองค์หนึ่งเถิด พระปัจเจกโพธิก็รับอนุโมทนาซึ่งบุญ นายช่างสองคนพ่อลูกอยู่จนสิ้นอายุขัยแล้วก็ทำกาลกริริยาตายไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีวิมานทองเป็นที่รองรับ และเทพอัปสรแวดล้อมเป็นบริวาร เสวยทิพย์สมบัติอยู่ในสวรรค์สิ้นกาลช้านานจุติจากสวรรค์นั้นแล้วก็ไปบังเกิดเป็นราชบุตรของ
พระเจ้าสุโรธิบรมกษัตริย์ในเมืองมิถิลามหานคร ทรงพระนามว่ามหาปนาทกุมาร ๆ เจริญวัยขึ้นได้เสวยราชสมบัติ เป็นพระยาจักรพรรดิราช ด้วยอานิสงส์ที่ได้สร้างกุฎีวิหารถวายเป็นทานแก่พระปัจเจกโพธิ ครั้นตายจากชาติเป็นพระยามหาปนาทแล้ว ก็เวียนว่ายตายเกิดในมนุษย์สมบัติสวรรค์สมบัติ แล้วก็มาเกิดเป็นเศรษฐีมีทรัพย์ ๘๐ โกฎิอยู่ในภัททิยนคร ชื่อว่า ภัททชิ ก็ได้ปราสาท ๓ หลัง อยู่ใน ๓ ฤดู ครั้นเจริญวัยได้บวชในศาสนาสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ในศาสนาของตถาคตดังนี้แล ส่วน
เทพบุตรองค์พ่อนั้น ยังเสวยทิพย์สมบัติอยู่ในสวรรค์ช้านานจนถึงศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย์ลงมาตรัสสัพพัญญู เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในมนุษย์โลก ได้จุติลงมาปฏิสนธิในครรภ์ พระอัครมเหสีสมเด็จพระเจ้ากรุงเกตุมวดี ทรงพระนามว่าสังขกุมาร ครั้นเจริญวัยแล้วก็ขึ้นครองราชย์สมบัติ ทรงพระนาม
ว่าสมเด็จพระเจ้าสังขจักรบรมกษัตริย์ มีทวีปน้อยใหญ่เป็นบริวาร พระองค์จึงได้สละราชสมบัติบ้านเมืองออกไปบรรพชา ในสำนักพระศรีอริยเมตไตรย์ กับทั้งบริวาร ๑ โกฎิ ก็ได้ถึงอรหันต์ได้เป็นอัครสาวกเบื้องขวา ทรงพระนามอโสกเถระ ก็ด้วยอานิสงส์ได้สร้างกุฎีให้เป็นทานนั้นแล อันเป็นบุญให้ถึงความสุข ๓ ประการ คือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ