ธุรกิจผ้าไหมผิดศีลข้อหนึ่งหรือไม่?
#1 *Guest*
โพสต์เมื่อ 01 May 2005 - 10:20 PM
ที่บ้านตั้งใจจะทำธุรกิจเกี่ยวกับผ้าไหม โดยไปรับซื้อผ้าไหมทอเสร็จแล้วจากชาวบ้าน แล้วจะขยายรวมไปถึงการ Design ออกแบบเอง โดยให้ชาวบ้านผลิตผ้าไหมตามแบบและจำนวนที่สั่ง จะเป็นการส่งเสริมการฆ่าหรือไม่ บาปมั๊ยคะ
#2 *lewisite*
โพสต์เมื่อ 02 May 2005 - 12:08 AM
#3 *Guest*
โพสต์เมื่อ 02 May 2005 - 06:00 AM
#4
โพสต์เมื่อ 02 May 2005 - 08:30 AM
อย่างไรหรือ
1. ร้านทำอาหารบางร้าน เวลาต้องการเนื้อสัตว์มาทำอาหาร ก็จะใช้วิธี ไปรอรับซื้อจากผู้ผลิต ตอนเช้ามืด ใครมีขายเท่าไหร่ ก็ซื้อแค่เท่านั้น เมื่อผู้ผลิตร้านนี้หมด ถ้ายังไม่พอก็ไปหาซื้อร้านอื่น ถ้าทำได้อย่างนี้ ถือว่า ทำได้ครับ
2. ร้านทำอาหารบางร้าน เวลาต้องการเนื้อสัตว์มาทำอาหาร ก็ไปสั่งจองผู้ผลิตเลยทุกๆ วัน วันพรุ่งนี้ต้องการเท่านี้ จัดหามาด้วย ให้เขาเตรียม(ฆ่า)มาให้เสร็จสรรพ อย่างนี้ ไม่ควรทำครับ ถ้าทำแล้วรวย (บุญเก่าส่งผล) ก็รวยชาติเดียว แต่จะทุกข์ทนอีกนับชาติไม่ถ้วนทีเดียว
#5
โพสต์เมื่อ 02 May 2005 - 10:18 AM
แต่เมื่อธุรกิจใหญ่ขึ้น ก็ไม่น่าพ้นนะค่ะ เพราะอย่างน้อยต้องมีขา คือ มีหน่วยผลิตให้ไงค่ะ
ถามคุณ นัดฝัน หรือท่านผู้รู้อื่นนะค่ะ
หากอยู่ในกรณี สั่งร้านหมู(เขียงหมู)ว่า เราต้องการกระดูก หรือเนื้อหมู ประมาณวันล่ะเท่าโน้นเท่านี้จะผิดมั๊ยค่ะ เพราะหากมีเขียงหมูขาประจำ ก็จะได้ในราคาส่ง จึงสงสัยว่า ผิดมี๊ยค่ะ เรื่องพวกนี้มันละเอียดอ่อน จริง ๆ ค่ะ
#6
โพสต์เมื่อ 02 May 2005 - 04:01 PM
1. มือของเราจุ่มในน้ำผงซักฟอกมา แล้วหยิบอาหารรับประทานเลย โดยไม่ล้างมือด้วยน้ำเปล่าก่อน จะเป็นอันตรายแก่เราหรือไม่ บางทีเราได้คำตอบชัดเจนเลยว่า อย่างนี้อันตราย และทุกคนย่อมหลีกเลี่ยงที่จะกระทำ ยกเว้นผู้ไม่รู้(เด็ก) ใช่มั้ยครับ
2. แต่ถ้าในภาวะปรกติ มือของเราก็ไม่ได้ไปถูกสารเคมีอะไร แต่พอถึงเวลาอาหาร ถ้าเราใช้มือนั้นหยิบอาหารเข้าปากโดยไม่ล้างมือก่อน จะเป็นอันตรายแก่เราหรือไม่
บางคนอาจเห็นว่า กังวลเกินเหตุ ไม่ร้ายแรงหรอกน่า เชื้อนิดเดียว ร่างกายเราต้านไหวอยู่แล้ว
แต่บางคนก็อาจเห็นว่า เสี่ยงแล้วนะ ถึงแม้อาจจะไม่เป็นไร แต่อย่างไร ฉันไม่ยอมเสี่ยงหรอก ทุกๆ ครั้ง ฉันต้องล้างมือก่อน
ลองคิดดูว่า นี่แค่เชื้อโรค,สารเคมี ฯลฯ ที่อาจเล่นงานเราได้ในชาตินี้เท่านั้น หลายๆ คนยังไม่ยอมเสี่ยงเลย แล้วการทำผิดศีล, ศีลด่างพร้อยอยู่ตลอด (ไม่ใช่นานๆที) ซึ่งเป็นเชื้อโรค,สารเคมี ฯลฯ ที่จะคอยมาเล่นงานเรานับภพนับชาติไม่ถ้วน จนกว่าจะหมดเวร แล้วเราจะเสี่ยงทำไม ดังนั้น เรื่องศีล ผมไม่ขอเสี่ยงครับ ส่วนการไม่ล้างมือ ก่อนรับประทานอาหาร บางทีผมยังเสี่ยง แต่เรื่องศีล ไม่เอาด้วยครับ เพราะผมจะไม่ถามว่า ผมทำผิดหรือไม่ แต่ผมจะคอยถามตัวเองว่า สิ่งที่ผมทำ อาจเป็นอันตรายต่อตัวผมเองข้ามภพข้ามชาติหรือไม่น่ะครับ
#7 *Guest*
โพสต์เมื่อ 02 May 2005 - 06:21 PM
ขออธิบายวิธีการทำผ้าไหมนะคะ
1. ผู้เลี้ยงหม่อนไหม จะเลี้ยงจนเป็นตัวดักแด้ แล้วนำมาต้ม(ทั้งเป็น) เอาเนื้อมากินหรือไม่ก็ขาย แล้วก็จะปั่นเส้นไหม ทำเป็นด้ายไหม เพื่อเอาไปขาย
2. ผู้ทอผ้า จะไปซื้อเส้นไหมจากร้านค้า แล้วนำมาทอเป็นผืน
3. ผู้ซื้อผ้าผืนที่ทอสำเร็จแล้วจากผู้ทอผ้า
ถ้าอย่างนั้นผู้ซื้อก็ไม่บาปใช่มั๊ยคะ เพราะไปซื้อจากผู้ทอ แล้วจะเป็นส่งเสริมการฆ่าหรือป่าวคะ
แล้วถ้าเราสั่ง รวมทั้ง Design กับผู้ทอ ซึ่งผู้ทอก็ทำตามแบบที่เราบอก โดยไปซื้อด้ายไหมจากร้านเพิ่ม ไม่ได้ไปสั่งโดยตรงกับผู้เลี้ยง จะเหมือนกับเจ้าของร้านอาหารที่ไปซื้อเนื้อหมูเท่าที่มีจากแผงขายหรือป่าว
ร้านค้าที่รับซื้อด้ายไหมจากผู้เลี้ยง จะบาปมั๊ยคะ
ขอบคุณค่ะ
#8
โพสต์เมื่อ 02 May 2005 - 10:21 PM
แต่ถ้าทำเป็นธุรกิจใหญ่ การสั่งแบบจำนวนมากนั้นคงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้กระมัง
หากต้องไปตามซื้อของที่เค้าขายเท่าที่มี คงจะลำบาก
ไปสั่งเค้าให้ทำมาให้ก็จะบาปและผิดศีลโดยตรงอีก (คำสั่งมีผลทำให้เกิดการฆ่า)
สรุปได้ว่า
ถ้าทำแบบเล็กๆ (ไม่มีการสั่งออเดอร์ใหญ่ๆ) ก็ทำได้ อาจจะบาปนิดๆ แต่ธุรกิจไม่ขยาย
ถ้าทำแบบยิ่งใหญ่ ธุรกิจทำกำไรมาก แต่แบกบาปไปเน็ทๆ
ตัวเลือกสุดท้ายก็คือไปทำธุรกิจอื่นครับผม ^__^
ชีวิตคนเราเลือกได้ครับ
- ไมโคร (เพลง หยุดมันเอาไว้)
"แค่หลับตา... (ลบเลือนทุกสิ่ง เหลือเพียงหนึ่งเดียว) เธอจะเห็นยามเธอหลับตา... (ใช้ใจสัมผัสและมองสิ่งนั้น) เธอจะเห็นตัวฉันเป็นอย่างที่เป็น"
- อุ๊ หฤทัย (เพลง แค่หลับตา)
#9
โพสต์เมื่อ 03 May 2005 - 08:09 AM
ปาณาติบาต มาจากคำว่า "ปาณะ" รวมกับ "อติปาตะ" โดยปาณะนั้น ในที่นี้หมายถึง สัตว์ทั้งหลายที่มีชีวิต (มาจากรากศัพท์ของคำว่า "ปาณ" ที่แปลว่า ลมหายใจ) อติ แปลว่า เร็ว แปลว่า ก้าวล่วง ส่วนคำว่า ปาต/ปาตะ นั้นหมายถึง ตกไป หรืออีกนัยหนึ่งแปลว่า "เหว" ก็ได้ สิริรวมแล้วคำว่า "ปาณาติบาต" หมายถึง การยังให้ชีวิตของสัตว์นั้นตายก่อนเกณฑ์กำหนดอายุของตน
จริงอยู่ว่า... ธุรกิจผ้าไหมนั้น เมื่อพิจารณาจากมิจฉาวณิชชา ๕ ประการอันประกอบด้วย การค้าอาวุธ การค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่า การค้ามนุษย์เพื่อนำไปเป็นทาส การค้ายาพิษ และการค้าสุรายาเสพติดแล้ว พบว่า ไม่อยู่ในขอบข่าย แต่หากมาพิจารณาที่กระบวนการผลิตแล้วล่ะก็ "การต้มตัวดักแด้หม่อนไหม" เนี่ยสิ เป็นการทำปาณาติบาตอย่างแน่นอนครับ ทั้งนี้องค์แห่งปาณาติบาตนั้น ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการดังต่อไปนี้ คือ
๑) ปาโณ สัตว์นั้นมีชีวิต
๒) ปาณสญฺญิตา รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
๓) วธกจิตฺตํ มีจิตคิดจะฆ่า
๔) ปโยโค ประกอบความเพียรเพื่อทำให้สัตว์นั้นตกล่วง (ล้ม/ตาย)
๕) เตนมรณํ สัตว์นั้นตายลงด้วยความเพียรนั้น
เมื่อการกระทำครบองค์ทั้ง ๕ ประการนี้เมื่อใด เรียกได้ว่าล่วงกรรมบถ (ไม่ว่าจะเป็นการลงมือกระทำด้วยตนเอง (สาหัตถิกะปโยคะ) และ/หรือการใช้ให้ผู้อื่นกระทำ (อาณัติกะปโยคะ) ก็ดี หากขึ้นชื่อว่ามี "เจตนา" และได้ยังการกระทำในไตรทวารให้บริบูรณ์พร้อมแล้ว แม้จะรู้หรือมิรู้ก็ตาม ชื่อว่าล่วงกรรมบถทั้งสิ้น) หากขาดไปเพียงข้อใดข้อหนึ่งไม่ถือว่าก้าวล่วงกรรมบถ
สำหรับความหนักเบาของวิบากผลที่จะได้รับจากการก้าวล่วงในกรรมบถข้อนี้นั้น ขึ้นอยู่กับ
๑) ความพยายามในการฆ่า
๒) ขนาดร่างกายของสัตว์
๓) คุณธรรมและคุณประโยชน์ในตัวสัตว์
ข้อที่ว่า ด้วยความพยายามในการฆ่า เป็นที่แน่นอนครับว่า หากใช้ความเพียรเป็นอย่างมากในการทำให้สัตว์นั้นล้ม/ตาย ย่อมมีโทษมาก
ข้อที่ว่า ด้วยขนาดของร่างกาย เพราะหากเป็นการฆ่าสัตว์ใหญ่แล้ว "ชีวิตนวกลาป" (หมายถึง เซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่เป็นองค์ประกอบ/หน่วยย่อยเล็กๆ ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย) ย่อมถูกทำลายลงเป็นจำนวนมาก ฉะนั้น วิบากโทษที่จะเกิดขึ้นตามมา ย่อมมีมากเป็นเงาตามตัว แต่ถ้าเป็นสัตว์เล็ก เช่น มดและยุง เป็นต้น ก็มีโทษน้อย
ส่วนในเรื่องของคุณธรรมหรือความดี มีศีลธรรมของสัตว์ที่ถูกฆ่านั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากสัตว์ที่ถูกฆ่านั้นมีคุณธรรมมาก วิบากโทษอันจะเกิดมีแต่ผู้ประพฤติก้าวล่วงในกรรมบถข้อนี้ก็ย่อมมากไปตามส่วน อาทิ ในระหว่างสัตว์เดรัจฉานกับมนุษย์ การฆ่ามนุษย์ย่อมมีโทษมากกว่าสัตว์เดรัจฉาน เพราะมนุษย์นั้นเป็นสัตว์ประเสริฐ มีความรู้ผิดชอบ-ชั่วดีมากกว่า เป็นต้น
จากที่กระผมได้อธิบายมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทำความรู้จักกับ "อกุศลกรรม" ทุกชนิดอย่างถี่ถ้วน (รู้แต่เพียงทฤษฎีก็พอนะครับ) ไม่เฉพาะแต่ปาณาติบาตเท่านั้น เพราะหากว่าเราไม่รู้จักและไม่ทำการระวังป้องกันกาย วาจา และใจจากมัน ด้วยกรอบแห่ง "กุศลกรรมบถ โยนิโสมนสิการ (การพิจารณาไตร่ตรองเหตุและผลด้วยสัมมาปัญญาอย่างแยบคาย) และความมีกัลยาณมิตร" แล้ว อกุศลกรรมทั้งหลายเหล่านี้ ก็ย่อมจะข่มเหงเราได้ตามชอบใจ (โดยมีอำนาจฉุดคร่าเหล่าสัตว์ให้ไปปฏิสนธิในกำเนิดแห่งจตุราบายทั้ง ๔) อีกทั้งในเรื่องของวิบากกรรมและการให้ผลของกรรมนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรรมฝ่ายกุศล อกุศล และอัพยากฤตก็ตาม ล้วนแต่เป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้กระผมขอเสนอว่า การเลือกประกอบอาชีพนั้น นอกจากเราจะต้องคำนึงถึงหลักศีลธรรมและจรรยาบรรณทางสังคมแล้ว เรามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเอาหลักพิจารณาในเรื่องของ "กฎแห่งกรรม" เข้ามาประกอบด้วย เพราะเพียงแต่คำว่า "ถูก-ผิด" นั้นยังไม่พอนะครับ (ด้วยเหตุผลที่ว่า การกระทำบางอย่างนั้น บางสังคมถือว่าเป็นสิ่งที่ผิด ส่วนอีกสังคมหนึ่งถือเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เช่น เรื่องของการทำแท้งเสรี ที่พระเดชพระคุณฯ ท่านยกตัวอย่างบ่อยๆ เป็นกรณีศึกษาในโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา เป็นต้น) ต้องเพิ่มคำว่า "(อะไร) ดี-(อะไร) ชั่ว" ผนวกเข้าไปด้วยครับ เพราะ 2 คำหลังนี้ สามารถระบุได้อย่างชัดเจนและชี้ขาดลงไปเลยว่า สิ่งนั้นควรกระทำหรือไม่ ท้ายนี้ กระผมใคร่ฝากถ้อยพระพุทธดำรัสแห่งองค์สมเด็จพระชินสีห์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงประทานต่อพระราหุลพุทธชิโนรส ความว่า ดูกร! ราหุล ท่านจะคิดสิ่งใด พูดสิ่งใด แลทำสิ่งใด ก็ขอให้ท่านจงไตร่ตรองดูให้ดีเสียก่อนหนา หากร้อนเขา ร้อนเรา ร้อนทั้งเขาทั้งเรา ราหุลอย่าคิด อย่าพูด อย่าทำ หากไม่ร้อนเขา ไม่ร้อนเรา ไม่ร้อนทั้งเขาทั้งเรา ท่านก็จงคิด จงพูด และจงทำเถิด โดยสรุปก็คือ การที่เราจะทำอะไรก็ตามต้อง "คิดก่อนพูดและทำ" เสมอ (ไม่เพียงแต่เรื่องของการประกอบอาชีพ) และต้องยึดหลักที่ว่า "ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และไม่ทำให้ตนเองเดือดเนื้อร้อนใจในภายหลัง" ที่สำคัญ สิ่งอันควรสำเหนียกและต้องคำนึงถึงอยู่เสมอก็คือ "สิ่งที่ถูกต้องคือ "ถูกต้อง" แม้ไม่มีผู้ใดทำสิ่งนั้น และสิ่งที่ผิด (ต่อศีลธรรมและกฎแห่งกรรม) ก็คือ "ผิด" แม้ทุกคนทำสิ่งนั้น"
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#10
โพสต์เมื่อ 26 September 2005 - 03:03 AM
๑) สาหัตถิกะ หมายถึง ความพยายามที่กระทำด้วยตนเอง (มาจากคำว่า สะ แปลว่า พร้อม หัตถะ แปลว่า มือ รวมความว่า พร้อมด้วยมือของตน) อาทิ การฟัน/แทงด้วยมีดให้ตาย
๒) นิสสัคคิยะ หมายถึง ความพยายามด้วยการปล่อยอาวุธ (นิสสัคคิยะ แปลว่า การสละ การปล่อยออก) มีการขว้างปาและยิงด้วยอาวุธ เป็นต้น
สำหรับในส่วนของการพยายามลงมือฆ่าด้วยตนเอง (สาหัตถิกปโยคะ) และการฆ่าโดยการปล่อยอาวุธ (นิสสัคคิยปโยคะ) แบ่งออกเป็นอย่างละ ๒ ประการ คือ
การฆ่าโดยเจาะจง (อุททิสสะ) หมายถึง การตั้งใจฆ่าสัตว์นั้นๆ โดยเฉพาะ ในกรณีที่การกระทำนั้น เกิดการพลาดพลั้ง คือ สัตว์นั้นไม่ตาย (รอดชีวิตและไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด) แต่สัตว์อื่นตายแทน การฆ่าในลักษณะนี้ ย่อมไม่ครบองค์ปาณาติบาต ไม่ถือเป็นการก้าวล่วงกรรมบถ หากแต่จะมีบาปก็คือ บาปที่กระทำโดยไม่มีเจตนาเท่านั้น
การฆ่าโดยไม่เจาะจง (อนุททิสสะ) อาทิ การยิงปืนเข้าไปในฝูงนก โดยไม่เจาะจงว่าเป็นตัวใด ขอให้เพียงตัวใดตัวหนึ่งตายเป็นใช้ได้ ดังนี้ เมื่อมีนกตัวใดตายลง จัดเป็นการก้าวล่วงกรรมบถทั้งสิ้น
๓) อาณัตติกะ หมายถึง ความพยายามที่เกิดขึ้น โดยการใช้ให้ผู้อื่นกระทำ (อาณัติ แปลว่า บังคับ) อาทิ ใช้กิริยา วาจา การเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ตลอดจนการให้อาณัติสัญญานต่างๆ มีการพยักหน้า ขยิบตา เคาะเสียง ชี้มือ เป็นต้น
๔) ถาวระ หมายถึง ความพยายามด้วยการสร้างเครื่องประหารไว้อย่างถาวร อาทิ การขุดหลุมพรางไว้ เพื่อให้คน/สัตว์ตกลงไปตาย รวมไปถึงการวางกับระเบิดสังหาร ตลอดจนการสร้างอาวุธต่างๆ อันเป็นไปเพื่อการฆ่า ได้แก่ หอก ธนู แหลน หลาว เป็นต้น ในกรณีนี้ แม้ผู้สร้างมิได้เป็นผู้ลงมือฆ่าด้วยตนเอง แต่หากมีผู้หนึ่ง ผู้ใดนำศาสตรานั้นไปใช้ แล้วทำให้การฆ่าเกิดขึ้นและสำเร็จลง ผู้สร้างนั่นเอง ย่อมได้รับโทษมีความผิดฐานกระทำปาณาติบาตด้วย ทั้งนี้เพราะข้องเกี่ยวด้วยถาวรปโยคะ
๕) วิชชามยะ หมายถึง ความพยายามด้วยการใช้วิชาอาคม ตลอดถึงการใช้ไสยเวทย์ต่างๆ อาทิ การลงยันต์ ชื่อ วัน เดือน ปีเกิด ของศัตรู แล้วนำไปเผา ฝัง เฆี่ยน ตี กระทั่งทำให้ผู้นั้นล้มเจ็บถึงตาย การปั้นรูป-ปั้นรอย หรือใช้ให้ภูต ผี ปีศาจ ไปรังควานจนถึงตาย เป็นต้น
๖) อิทธิมยะ หมายถึง ความพยายามโดยการใช้อิทธิฤทธิ์ อาทิ บางคนมีฤทธิ์โดยการถลึงตา ทำให้ผู้ถูกถลึงตาถึงกับอกแตกตาย เป็นต้น
อนึ่ง ผู้กระทำปาณาติบาตนั้น ผู้ที่รู้อยู่ว่าการกระทำเช่นนี้เป็นอกุศล ย่อมมีโทษน้อยกว่าผู้ที่ไม่รู้ว่าเป็นอกุศล เป็นเพราะผู้รู้ย่อมกระทำได้ไม่แรงกล้า เหมือนผู้ไม่รู้ซึ่งเป็นผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ จึงลงมือกระทำด้วยความเต็มใจ อุปมาได้ดั่งการจับถ่านไฟ ซึ่งผู้ไม่รู้นั้น ย่อมจับลงไปเต็มที่โดยไม่มีการยั้งมือ ย่อมได้รับโทษมาก ส่วนผู้รู้ว่า สิ่งนั้นเป็นของร้อน ย่อมจับโดยระมัดระวังมากกว่า จึงได้รับโทษน้อย ดังนี้
#11
โพสต์เมื่อ 27 November 2005 - 05:01 PM
หากเราไม่ซื้อเขาแล้ว
จะมีคนอื่นซื้อหรือไม่
เขาจะยังทำอยู่ไหม
เขาจะฆ่าน้อยลงหรือไม่
ถ้าเราไม่ซื้อแล้วเขายังทำเหมือนเดิม เท่าเดิม แล้ว ก็ถือว่าเราไม่บาป
แต่ก็ยังไม่ควรทำอยู่ดีค่ะ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
#12
โพสต์เมื่อ 31 January 2007 - 08:23 AM