วิธีลำดับ สมณศักดิ์ พระสงฆ์ไทย
#1
โพสต์เมื่อ 20 September 2008 - 01:21 PM
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายความว่า
ยศพระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานมีหลายชั้น แต่ละชั้นมีพัดยศเป็นเครื่องกำหนด
อาจกล่าวได้ว่า
สมณศักดิ์ คือบรรดาศักดิ์ หรือยศที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่พระสงฆ์ผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบให้ดำรงมั่นอยู่ในสมณเพศ เพื่อเป็นกำลังสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาและเพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปโดยเรียบร้อย
เพราะการที่พระสงฆ์รูปใดได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ย่อมได้รับมอบหมายภาระหน้าที่ในการปกครองหมู่คณะแห่งสงฆ์ไปพร้อมกันด้วย
ความเป็นมาของสมณศักดิ์
ประเทศไทยนั้นระบบสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ เริ่มใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยในรัชสมัยพระมหาธรรมราชลิไทย
พระองค์ได้ทรงโปรดให้ราชบัณฑิตไปอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชมาจากประเทศลังกา
เพื่อให้ประกาศพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในกรุงสุโขทัย
พระมหาสามีสังฆราชคงจะได้ถวายพระพรให้พระมหาธรรมราชาลิไททรงตั้งสมณศักดิ์ถวายแด่พระสงฆ์ตามราชประเพณีที่ถือปฏิบัติในประเทศลังกา
ระบบสมณศักดิ์ในสมัยสุโขทัยไม่สลับซับซ้อนเพราะมีเพียง 2 ระดับชั้นเท่านั้น คือ พระสังฆราชและพระครู พอมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาระบบสมณศักดิ์ได้รับการปรับให้มีระดับชั้นเพิ่มขึ้นเป็น 3 ระดับคือ สมเด็จพระสังฆราช พระสังฆราชคณะหรือพระราชาคณะและพระครู
ชั้นยศสมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทยในปัจจุบัน
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 1 พระองค์
สมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ 8 รูป
พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ 19 รูป
พระราชาคณะชั้นธรรม 35 รูป
พระราชาคณะชั้นเทพ 66 รูป
พระราชาคณะชั้นราช 144 รูป
พระราชาคณะชั้นสามัญ 394 รูป
พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี-โท-เอก-พิเศษ(ไม่จำกัดจำนวน)
พระครูฐานานุกรม ตั้งได้ตามจำนวนที่ปรากฏในสัญญาบัตรของพระราชาคณะ
พระครูประทวนสมณศักดิ์ (พระครูผู้อุปการะการศึกษา)(ไม่จำกัดจำนวน)
การพิจารณาแต่งตั้งสมณศักดิ์
ในอดีต
การพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์เป็นพระราชอำนาจและเป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ เมื่อทรงเห็นหรือทรงทราบด้วยพระเนตรพระกรรณว่า พระภิกษุรูปใดมีความรู้ความเชี่ยวชาญในพระไตรปิฏก มีศิลาจารวัตรน่าเลื่อมใส มีความสามารถในการปกครองหมู่คณะให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทั้งยังเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาของประชาชนแล้วก็จะพระราชทานสมณศักดิ์เพื่อเป็นเกียรติและกำลังใจ ในการจะได้ช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนาสืบไป
ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นช่วงเวลาที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆปริณายกอยู่นั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะโปรดพระราชทานสมณศักดิ์แก่พระสงฆ์รูปใด ก็จะทรงปรึกษากับสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ก่อนทุกครั้ง ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ทรงให้พระสงฆ์ได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาเสนอความคิดเห็นได้
ปัจจุบัน เป็นหน้าที่ทางคณะสงฆ์จะช่วยกันพิจารณาให้ความเห็นชอบตามลำดับขั้น คือ จากเจ้าอาวาส เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค และเจ้าคณะใหญ่ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากเจ้าคณะผู้ปกครองตามลำดับแล้ว สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงได้เสนอเรื่องเพื่อนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานสมณศักดิ์ ตามระเบียบของทางราชการต่อไปแต่ในการพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นสูง เช่น สมเด็จพระสังฆราชหรือสมเด็จพระราชาคณะ ทางคณะสงฆ์ชอบที่จะถวายพระเกียรติแด่องค์พระมหากษัตริย์ด้วยการเสนอนามพระเถระที่เห็นสมควรขึ้นไปหลายรูปเพื่อให้ทรงพิจารณาตามพระราชอัธยาศัย เป็นธรรมเนียมปฏิบัติเสมอมา เพราะพระราชอำนาจส่วนนี้เป็นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพียงพระองค์เดียว
อ้างอิง
1. พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. 9 ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด,
วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
2. เวบไซต์ธรรมะ เกตเวย์
3. เวปพระไทยเน็ต
ที่มา :
http://th.wikipedia.org/wiki/สมณศักดิ์
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ
สุนทรพ่อ
#2
โพสต์เมื่อ 20 September 2008 - 01:32 PM
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ
สุนทรพ่อ
#3
โพสต์เมื่อ 22 September 2008 - 07:06 PM
ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)
ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป
#4
โพสต์เมื่อ 25 September 2008 - 09:24 AM
สมเด็จพระราชาคณะ
1. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
2. สมเด็จพระสังฆราช
3. สมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ (ตามอาวุโสโดยสมณศักดิ์)
พระราชาคณะ
4. พระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัณยบัฏ
5. พระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นสัญญาบัตร
6. พระราชาคณะ ชั้นธรรม
7. พระราชาคณะ ชั้นเทพ
8. พระราชาคณะ ชั้นราช
9. พระราชาคณะ ชั้นสามัญ
- พระราชาคณะปลัดขวา-ปลัดซ้าย-กลาง (พระสมุหวรคณิสสรสิทธิการ วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระปลัดกลาง รูปแรก)
- พระราชาคณะ รองเจ้าคณะภาค
- พระราชาคณะ เจ้าคณะจังหวัด
- พระราชาคณะ รองเจ้าคณะจังหวัด
- พระราชาคณะ ชั้นสามัญเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
- พระราชาคณะ ชั้นสามัญเปรียญ ป.ธ.9-ป.ธ.8-ป.ธ.7-ป.ธ.6-ป.ธ.5-ป.ธ.4-ป.ธ.3
- พระราชาคณะ ชั้นสามัญเทียบเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
- พระราชาคณะ ชั้นสามัญเทียบเปรียญ
- พระราชาคณะ ชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
- พระราชาคณะ ชั้นสามัญยก
พระครูสัญญาบัตร
10. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะจังหวัด (จจ.)
11. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะจังหวัด (รจจ.)
12. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก (จล.ชอ.)
13. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ (จอ.ชพ.)
14. พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ (ทจอ.ชพ.)
15. พระครูปลัดของสมเด็จพระราชาคณะ
16. พระเปรียญธรรม 9 ประโยค
17. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท (จล.ชท.)
18. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (จอ.ชอ.)
19. พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (ทจอ.ชอ.)
20. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นตรี (จล.ชต.)
21. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท (จอ.ชท.)
22. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก (รจล.ชอ.)
23. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท (รจล.ชท.)
24. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นตรี (รจล.ชต.)
25. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ หรือเทียบเท่า (ผจล.ชพ. หรือทผจล.ชพ.)
26. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ หรือเทียบเท่า(ผจล.ชอ.วิ. หรือ ทผจล.ชอ.วิ.)
27. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก หรือเทียบเท่า (ผจล.ชอ. หรือทผจล.ชอ.)
28. พระครูปลัดของพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ
29. พระครูปลัดของพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นสัญญาบัตร
30. พระครูฐานานุกรมชั้นเอกของสมเด็จพระสังฆราช
31. พระเปรียญธรรม 8 ประโยค
32. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท หรือเทียบเท่า (ผจล.ชท. หรือทผจล.ชท.)
33. พระเปรียญธรรม 7 ประโยค
34. พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นธรรม
35. พระครูฐานานุกรมชั้นโท ของสมเด็จพระสังฆราช (พระครูปริต)
36. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (รจอ.ชอ.)
37. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท (รจอ.ชท.)
38. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จต.ชอ.วิ.)
39. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นเอก (จต.ชอ.)
40. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นโท (จต.ชท.)
41. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นตรี (จต.ชต.)
42. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก (จร.ชอ.)
43. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จร.ชท.วิ.)
44. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท (จร.ชท.)
45. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นตรี (จร.ชต.)
46. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ (รจร.)
47. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ (ผจร.)
48. พระเปรียญธรรม 6 ประโยค
49. พระเปรียญธรรม 5 ประโยค
50. พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นเทพ
51. พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นราช
52. พระครูวินัยธร
53. พระครูธรรมธร
54. พระครูคู่สวด
55. พระเปรียญธรรม 4 ประโยค
56. พระปลัดของพระราชาคณะ ชั้นสามัญ
57. พระเปรียญธรรม 3 ประโยค
58. พระครูรองคู่สวด
59. พระครูสังฆรักษ์
60. พระครูสมุห์
61. พระครูใบฎีกา
62. พระสมุห์
63. พระใบฎีกา
64. พระพิธีธรรม
อนุโมทนาครับ
#5
โพสต์เมื่อ 25 September 2008 - 04:33 PM
ได้ความรู้เพิ่มอีกมากครับ สาธุ
#6
โพสต์เมื่อ 25 September 2008 - 09:55 PM
โยมขอกราบอนุโมทนาบุญด้วยเจ้าค่ะ สาธู๊
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ
สุนทรพ่อ
#7
โพสต์เมื่อ 25 September 2008 - 10:05 PM
ข้อมูลที่โยมนำมา
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 1 พระองค์
สมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ 8 รูป
พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ 19 รูป
พระราชาคณะชั้นธรรม 35 รูป
พระราชาคณะชั้นเทพ 66 รูป
พระราชาคณะชั้นราช 144 รูป
พระราชาคณะชั้นสามัญ 394 รูป
พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี-โท-เอก-พิเศษ(ไม่จำกัดจำนวน)
พระครูฐานานุกรม ตั้งได้ตามจำนวนที่ปรากฏในสัญญาบัตรของพระราชาคณะ
พระครูประทวนสมณศักดิ์ (พระครูผู้อุปการะการศึกษา)(ไม่จำกัดจำนวน)
ข้อมูลของท่านสามเณรเสกสิทธิ์
ลำดับพัดยศสมณศักดิ์ ฐานานุกรม เปรียญในงานพระราชพิธี – รัฐพิธี
สมเด็จพระราชาคณะ
1. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
2. สมเด็จพระสังฆราช
3. สมเด็จพระราชาคณะสุพรรณบัฏ (ตามอาวุโสโดยสมณศักดิ์)
พระราชาคณะ
4. พระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัณยบัฏ
5. พระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นสัญญาบัตร
6. พระราชาคณะ ชั้นธรรม
7. พระราชาคณะ ชั้นเทพ
8. พระราชาคณะ ชั้นราช
9. พระราชาคณะ ชั้นสามัญ
- พระราชาคณะปลัดขวา-ปลัดซ้าย-กลาง (พระสมุหวรคณิสสรสิทธิการ วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระปลัดกลาง รูปแรก)
- พระราชาคณะ รองเจ้าคณะภาค
- พระราชาคณะ เจ้าคณะจังหวัด
- พระราชาคณะ รองเจ้าคณะจังหวัด
- พระราชาคณะ ชั้นสามัญเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
- พระราชาคณะ ชั้นสามัญเปรียญ ป.ธ.9-ป.ธ.8-ป.ธ.7-ป.ธ.6-ป.ธ.5-ป.ธ.4-ป.ธ.3
- พระราชาคณะ ชั้นสามัญเทียบเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
- พระราชาคณะ ชั้นสามัญเทียบเปรียญ
- พระราชาคณะ ชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
- พระราชาคณะ ชั้นสามัญยก
พระครูสัญญาบัตร
10. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะจังหวัด (จจ.)
11. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะจังหวัด (รจจ.)
12. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก (จล.ชอ.)
13. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ (จอ.ชพ.)
14. พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอำเภอ ชั้นพิเศษ (ทจอ.ชพ.)
15. พระครูปลัดของสมเด็จพระราชาคณะ
16. พระเปรียญธรรม 9 ประโยค
17. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท (จล.ชท.)
18. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (จอ.ชอ.)
19. พระครูสัญญาบัตร เทียบเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (ทจอ.ชอ.)
20. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นตรี (จล.ชต.)
21. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท (จอ.ชท.)
22. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก (รจล.ชอ.)
23. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท (รจล.ชท.)
24. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นตรี (รจล.ชต.)
25. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ หรือเทียบเท่า (ผจล.ชพ. หรือทผจล.ชพ.)
26. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ หรือเทียบเท่า(ผจล.ชอ.วิ. หรือ ทผจล.ชอ.วิ.)
27. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก หรือเทียบเท่า (ผจล.ชอ. หรือทผจล.ชอ.)
28. พระครูปลัดของพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ
29. พระครูปลัดของพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นสัญญาบัตร
30. พระครูฐานานุกรมชั้นเอกของสมเด็จพระสังฆราช
31. พระเปรียญธรรม 8 ประโยค
32. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท หรือเทียบเท่า (ผจล.ชท. หรือทผจล.ชท.)
33. พระเปรียญธรรม 7 ประโยค
34. พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นธรรม
35. พระครูฐานานุกรมชั้นโท ของสมเด็จพระสังฆราช (พระครูปริต)
36. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก (รจอ.ชอ.)
37. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท (รจอ.ชท.)
38. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จต.ชอ.วิ.)
39. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นเอก (จต.ชอ.)
40. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นโท (จต.ชท.)
41. พระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นตรี (จต.ชต.)
42. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก (จร.ชอ.)
43. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จร.ชท.วิ.)
44. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท (จร.ชท.)
45. พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นตรี (จร.ชต.)
46. พระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ (รจร.)
47. พระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ (ผจร.)
48. พระเปรียญธรรม 6 ประโยค
49. พระเปรียญธรรม 5 ประโยค
50. พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นเทพ
51. พระครูปลัดของพระราชาคณะ ชั้นราช
52. พระครูวินัยธร
53. พระครูธรรมธร
54. พระครูคู่สวด
55. พระเปรียญธรรม 4 ประโยค
56. พระปลัดของพระราชาคณะ ชั้นสามัญ
57. พระเปรียญธรรม 3 ประโยค
58. พระครูรองคู่สวด
59. พระครูสังฆรักษ์
60. พระครูสมุห์
61. พระครูใบฎีกา
62. พระสมุห์
63. พระใบฎีกา
64. พระพิธีธรรม
ตัวหนังสือ สีน้ำเงิน คือ ความต่างของข้อมูล
ตัวหนังสือ สีชมพู คือ ข้อมูลที่ท่านสามเณรเสกสิทธิ์ นำมาเพิ่มเติม
มีจุดไหน จะชี้แนะ ยินดีนะเจ้าคะ
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ
สุนทรพ่อ
#8
โพสต์เมื่อ 26 September 2008 - 03:37 PM
#9
โพสต์เมื่อ 27 September 2008 - 01:19 PM
ก็คือเมื่อไรที่มีราชวงษ์เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาแล้วมีคุณงามความดีจนถึงได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชก็จะได้เป็นสังฆราชเจ้า เช่นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ถ้าสมเด็จพระสังฆราชก็เป็นคนธรรมดา ไม่ใช่ราชวงษ์ก็เป็นสมเด็จพระสังฆราชธรรมดา
#10
โพสต์เมื่อ 27 September 2008 - 01:27 PM
________________________________________________.jpg 30.6K 423 ดาวน์โหลด
แต่ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าเป็นยังไงก็ไม่รู้เหมือนกัน ยังหาไม่เจอ แต่เขาบอกว่าแตกต่างกันตรงที่ใจกลางพัด
ถ้าของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าจะเป็นรูปมงกุฎอะไรซักอย่าง
เดี๋ยวสามเณรจะนำมาให้ดูไปเรื่อยๆเนื้องจากเป็นเน็ตต่อโทรศัพท์มือถือจึงไม่สะดวกในการอับที่ละมากๆ
อนุโมทนากับทุกๆท่านนะครับ
#11
โพสต์เมื่อ 27 September 2008 - 01:40 PM
ก็คือการเรียงลำดับสมณศักดิ์เฉยๆ เวลาที่มีงานพระราชพิธี ท่านก็จะนั่งกันตามลำดับที่เรียงไว้ข้างบนตามลำดับครับ
รูปตัวอย่างครับ
Scan08_09_14_1646.jpg 171.06K 332 ดาวน์โหลด
อนุโมทนาครับ.......สาธุ
#12
โพสต์เมื่อ 28 September 2008 - 05:13 PM
แต่โยม ปลื้มมากค่ะ ....น้ำหูน้ำตาจะเล็ดจะล่วง....
ไม่นึกว่าจะมีสามเณรมาโปรดถึงในกระทู้น่ะเจ้าค่ะ
คราวหลัง กราบนินมต์ ให้ความรู้ทางธรรมกับเหล่าโยมผู้เขลาปัญญาอีกนะเจ้าคะ....
สาธู๊ เจ้าค่ะ
เดี๋ยวโยมจะลองหาพัตยศของ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าดูนะเจ้าคะ ไม่รู้จะเจอหรือไม่ค่ะ
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ
สุนทรพ่อ
#13
โพสต์เมื่อ 28 September 2008 - 05:20 PM
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)
พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๕๐๑
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พระประวัติในเบื้องต้น
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
มีพระนามเดิมว่า “หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์” พระนามฉายาว่า “สุจิตฺโต”
เป็นพระโอรสใน หม่อมเจ้าถนอม และหม่อมเอม นภวงศ์
ประสูติเมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๕ ตรงกับวันศุกร์
แรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีวอก จัตวาศก จุลศักราช ๑๒๓๔ เวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกา
จึงทรงเป็นพระราชปนัดดาในรัชกาลที่ ๔
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฏพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และได้ทรงเนื่องในสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีมหาราชด้วย
เพราะกรมหมื่นมเหศวรวิลาสและพระอนุชา คือ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร
(พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ วรฤทธิราชมหามกุฏ บุรุษยรัตนราชวโรรส)
ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย ซึ่งเป็นธิดาของพระอินทรอไภย (เจ้าฟ้าทัศไภย)
โอรสของสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีมหาราช
(ราชพัสดุของสมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรีมหาราช
บางอย่างที่ทรงได้รับสืบต่อมา เช่น พระแท่นหินอ่อนยังอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร)
ส่วนหม่อมเอมเป็นธิดาพระยาดำรงค์ราชพลขันธ์ (จุ้ย)
ซึ่งเป็นบุตรเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ)
บุตรเจ้าพระยามหาโยธา (พญาเจ่ง) ต้นสกุลคชเสนี
หม่อมเจ้าถนอม ทรงมีโอรสธิดากับหม่อมเอม คือ
๑. ม.ร.ว.ชุบ (พระยานครภักดีศรีนครนุรักษ์)
๒. ม.ร.ว.ชื่น (สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ)
๓. ม.ร.ว.เณร
๔. ม.ร.ว.หญิงหนู
๕. ม.ร.ว.กมล (พระยาวิเศษภักดี)
๖. ม.ร.ว.ถกล (หลวงประสานคดี)
๗. ม.ร.ว.หญิงรอด
สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ประสูติที่ตำหนักท่านบิดา
ซึ่งอยู่ในวังพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิวิลาส
(คือบริเวณตลาดนานา บางลำภู พระนคร ในเวลานี้)
เมื่อทรงพระเยาว์
เมื่อทรงพระเยาว์ก่อนบรรพชา ได้ทรงศึกษาอักขรสมัยที่วังพระบิดา
ครูผู้สอนที่เคยรับสั่งเล่าชื่อครูชม (ส่วนพระยาวิเศษภักดีเล่าว่า ครูผู้สอนชื่อจำเริญ
เป็นการสมัครเรียนเอง และครูก็ได้สมัครสอนให้
มิได้มีการบังคับให้เรียนหรือให้สอนจนอ่านหนังสืออก)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ (ชั้น ๔) พระองค์เจ้าประดิษฐาสารีได้ทรงเล่าพระประวัติตอนนี้
ตามที่พระสนตยากโร (พลตรีพระยาเสนาสงคราม ม.ร.ว.อี๋ นภวงศ์) บันทึกมาว่า
เมื่อมีพระชนมายุพอจะเป็นมหาดเล็กได้ ก็ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กราชวัลลภ
ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ สยามกุฏราชกุมาร
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ได้เป็น “คะเด็ด” ทหารม้า ในกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภ
มีหน้าที่ตามเสด็จรักษาพระองค์ ทำนององครักษ์
เวลาอยู่ประจำการตามหน้าที่ ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน ได้พำนักอยู่
ณ ตำหนัก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ (ชั้น ๔) พระองค์เจ้าศรีนาคสวาสดิ
ซึ่งทรงเป็นผู้อุปการะและอบรมสั่งสอน
(ส่วนพระยาวิเศษภักดีเล่าว่า ทรงอยู่ที่ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ (ชั้น ๔)
พระองค์เจ้าโสมาวดีศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ)
ซึ่งเป็นพระเชษฐภคนี ร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกัน (เจ้าจอมมารดาเที่ยง)
กับพระเจ้าบรมวงษ์เธอ พระองค์เจ้าศรีนาคสวสดิ)
จึงทรงได้รับการศึกษาอบรมจากราชสำนักฝ่ายในมาแต่ทรงพระเยาว์
ทรงบรรพชา
เมื่อมีพระชนมายุเจริญขึ้นแล้ว ได้ทรงออกจากวังและได้บรรพชาเป็นสามเณร
ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมี พระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตฺโต) วัดบรมนิวาส
เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๘ ในขณะที่ทรงบรรพชาเป็นสามเณรนั้น
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ยังทรงพระชนม์อยู่
แต่ปรากฏในหนังสือตำนานวัดบวรนิเวศวิหารว่า
ในระยะหลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
ไม่ค่อยได้ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ แม้ในวัดนี้ก็ไม่ทรงรับเป็นพระอุปัชฌาย์
แต่ก็ทรงโปรดฯ ให้บวชอยู่ในวัดได้ต้องถือพระอุปัชฌาย์อื่น
ในระหว่างที่ทรงเป็นสามเณร ได้ตามเสด็จ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ไปประทับอยู่ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม
ซึ่งในขณะนั้น ม.ร.ว.ชุบ นภวงศ์ (พระยานครภักดีศรีนครนุรักษ์)
ผู้เป็นพี่ชายได้อุปสมบทอยู่ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม
และต่อมาได้ตามเสด็จ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
กลับมาประทับยังวัดบวรนิเวศวิหาร
ในปลายสมัย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
ได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
และทรงศึกษาจากพระอาจารย์อื่นบ้าง เช่น หม่อมเจ้าพระปภากร,
พระสุทธสีลสังวร (สาย) ได้ทรงเข้าสอบไล่ครั้งแรกที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ สอบไล่ได้เปรียญ ๕ ประโยค เมื่อยังทรงเป็นสามเณร
ทรงอุปสมบท
ได้ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร
โดยมี พระพรหมมุนี (แฟง กิตฺติสาโร) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระอุปัชฌาย์
และ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
เมื่อทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นพระกรรมวาจาจารย์
เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๕ มีพระนามฉายาว่า “สุจิตฺโต”
การอุปสมบทในครั้งนี้ และทั้งการบรรพชาในครั้งก่อน
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
ได้ทรงจัดพระราชทาน และได้พระราชทานพระอุปถัมภ์ตลอดมา
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
เมื่อทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่น ได้ทรงครองวัดนี้ต่อมา
และได้ทรงจัดการวางระเบียบการปกครองวัดขึ้นใหม่หลายอย่าง
ดังที่ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร”
(พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พิมพ์เมื่อปี พ.ศ ๒๔๖๕
โดยพระบรมราชโองการในงานถวายพระเพลิงสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ)
ในปีต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
และ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ได้ทรงจัดตั้ง มหามกุฏราชวิทยาลัย ขึ้นเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖
เป็นที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูง และเป็นที่ประชุมแปลสอบไล่
เรียกว่าเป็นส่วนวิทยาลัยแผนกหนึ่งจัดโรงเรียนขึ้นตามพระอาราม
เป็นสาขาของวิทยาลัยอีกแผนกหนึ่ง
พัดยศสำหรับพระสมณศักดิ์ที่
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
pic01.jpg 20.16K 176 ดาวน์โหลด
โยมเคยได้ยินมาว่า พระองค์ ได้อธิษฐานของเป็นอัครฝ่ายขวาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไปเจ้าค่ะ
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ
สุนทรพ่อ
#14
โพสต์เมื่อ 28 September 2008 - 05:34 PM
pic01.jpg 20.16K 183 ดาวน์โหลด
พัดยศสมณศักดิ์ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส
เป็นพัดแฉกตาดพิเศษ ด้ามงาต่อกลาง มีลวดลายปักที่ใจกลางพัดกับบัวและยอดงา แกะเป็นเครื่องหมายแสดงคุณวุฒิ ที่สำคัญของท่านผู้นั้น ถือว่าเป็นการเพิ่มเกียรติยศ เกียรติศักดิ์ให้สูงขึ้นอีก พัดปักแฉก ลายพิเศษนี้น่าจะเริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากไม่พบหลักฐานมาก่อนหน้านี้
pic02.jpg 23.41K 164 ดาวน์โหลด
พัดยศสมณศักดิ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
เป็นพัดแฉกตาดพิเศษ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างถวายเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๒๒ ลักษณะเป็น พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ พื้นตาดเงินสลับตาดทองปักดิ้นเลื่อม เช่นเดียวกับพัดยศสำหรับตำแหน่งสกลมหาสังฆปริณายกตามธรรมดา เพียงแต่ลายกลางปักเป็นรูปอุณาโลม ซึ่งเป็นตราประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งปักเป็นรูปฉัตร ๕ ขั้น ยอดงาแกะสลักเป็นฉัตร ๗ ชั้น ด้ามเป็นงา
pic03.jpg 22K 161 ดาวน์โหลด
พัดยศสมณศักดิ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส และสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ทำพัดยศ ถวายในงานพระราชพิธีมหาสมณุตตมาภิเศก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ลักษณะเป็นพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ พื้นตาดขาวลูกคั่นลายสลับ พื้นตาดทอง ปักลายกนกด้วยดิ้นเลื่อม ลายกลางปักเป็นรูป พระมหามงกุฎ ด้ามเป็นงา ที่คอแกะเป็นรูปพรหม ส้นแกะสลักเป็น บัวกลุ่ม ยอดงาแกะเป็นรูปพระมหามงกุฎ
pic04.jpg 23.13K 168 ดาวน์โหลด
พัดยศสมณศักดิ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
เป็นพัดแฉกตาด ใจกลางปักเป็นรูปประสาท อันเป็นตราประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ยอดงา แกะเป็นฉัตร ๕ ชั้น ด้ามเป็นงา คอแกะเป็นรูปเทพนม ส้นแกะเป็นรูปบัวกลุ่ม
pic06.jpg 25.04K 175 ดาวน์โหลด
พัดยศสมณศักดิ์ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
เป็นพัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ พื้นตาดเหลือง สลับตาดขาว ปักดิ้นเลื่อมทองแร่ง ลายก้ามปูรักร้อยใบเทศ ใจกลางปักเป็นช่อใบเทศแฉก ๙ กลีบ ด้ามงา คอแกะเป็นรูปเทพนม ส้นแกะเป็นบัวกลุ่ม ยอดแกะเป็นฉัตร ๓ ชั้น
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉายพระรูปคู่กับ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
พระอุปัชฌาย์ เมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร
250px__E0_B8_AA_E0_B8_A1_E0_B9_80_E0_B8_94_E0_B9_87_E0_B8_88_E0_B8_9E_E0_B8_A3_E0_B8_B0_E0_B8_AA_E0_B8_B1_E0_B8_87_E0_B8_86_E0_B8_A3_E0_B8_B2_E0_B8_8A_E0_B9_80.jpg 14.38K 166 ดาวน์โหลด
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ
สุนทรพ่อ
#15
โพสต์เมื่อ 30 September 2008 - 04:54 PM
_________________________________________________________.jpg 15.98K 396 ดาวน์โหลด
อนุโมทนาครับ
#16
โพสต์เมื่อ 30 September 2008 - 05:59 PM
พระผุดผ่านทุกวัน สะอาดเกลี้ยง
นิวรณ์หมดสุขสันต์ สดชื่น
ชีพรื่นธรรมหล่อเลี้ยง ผ่องทั้งกายใจ
สุนทรพ่อ
#17 *ผู้มาเยือน*
โพสต์เมื่อ 07 April 2011 - 05:17 PM
#18 *ผู้มาเยือน*
โพสต์เมื่อ 07 July 2011 - 01:25 PM
ท่านนำมาลงที่เป็นของสมเด็กสังฆราชเจ้านั้นที่ไม่เหมือนกันเพราะว่าพระเจ้าอยู่หัวในสัยนั้น ทรงพระราชทานเป็นการส่วนพระองค์ ครับ
#19 *ผู้มาเยือน*
โพสต์เมื่อ 22 November 2011 - 08:57 PM
สมณศักดิ์ของพระสงฆ์ไทย มี 9 ชั้น และ 21 อันดับ ดังนี้
ชั้น 1 สกลมหาสังฆปรินายก เป็นตำแหน่งสังฆราช
1. สมเด็จสังฆราช สกลสังฆปรินายก
ชั้น 2 มหาสังฆนายก เจ้าคณะใหญ่ ชั้นสุพรรณบัตร
2. สมเด็จพระราชาคณะ มี 4 ตำแหน่ง คือ พระพุทธโฆษาจารย์ พระวันรัต พระพุทธาจารย์ และมหาวีรวงศ์
ชั้น 3 พระราชาคณะชั้นธรรม มี 2 อันดับ คือ
3. พระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัตร
4. พระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นสัญญาบัตร
ชั้น 4 พระราชาคณะชั้นธรรม
5. พระราชาคณะชั้นธรรม มีราชทินนามว่า "ธรรม" นำหน้านาม เช่น พระธรรมปิฏก พระธรรมกิตติโสภณและพระธรรมวิสุทธาจารย์ เป็นต้น
ชั้น 5 พระราชาคณะชั้นเทพ
6. พระราชาคณะชั้นเทพ มีราชทินนามว่า "เทพ" นำหน้านาม เช่น พระเทพวิสุทธิโสภณ พระเทพสังวรญาณ และพระเทพวิสุทธิเมธี เป็นต้น
ชั้น 6 พระราชาคณะชั้นราช
7. พระราชาคณะชั้นราช มีราชทินนามว่า "ราช" นำหน้า เช่น พระราชศิริธรรมเมรี พระราชนันทาจารย์ และพระราชมงคลมุนี เป็นต้น
ชั้น 7 พระราชาคณะชั้นสามัญ
8. พระราชาคณะชั้นสามัญ ไม่มีราชทินนามนำหน้า เช่น พระวิเชียรโมลี พระชัยนาทมุนี และพระกวีรญาณ เป็นต้น
ชั้น 8 พระครู เป็นตำแหน่งรองจากพระราชาคณะชั้นสามัญ ใช้คำว่าพระครูนำหน้านาม เช่น พระครูพิศาลสังฆโสภณ พระครูวิเศษบุญญากร และ
พระครูวิสุทธิ์วุฒิคุณ เป็นต้น สมณศักดิ์ชั้นพระครูมี 10 อันดับ ดังนี้
9. พระครูชั้นสัญญบัตรชั้นพิเศษ 10. พระครูชั้นสัญญาบัตรชั้นเอก
11. พระครูสัญญาบัตรชั้นโท 12. พระครูสัญญาบัตรชั้นตรี
13. พระครูปลัด 14. พระครูธรรมธร
15. พระครูวินัยธร 16. พระครูคู่สวด
17. พระครูสมุห์ 18. พระครูใบฎีกา
ชั้น 9 ชั้นฐานานุกรม ไม่มีราชทินนามนำหน้า แต่ใช้ตำแหน่งนำหน้า เช่น พระสมุห์ .....และพระใบฎีกา ..... มีทั้งหมด 3 อันดับ
19. พระปลัด 20. พระสมุห์ 21. พระใบฏีกา
--------------------------------------------------------------------------------
โดย : นางสาว พรวิจิตร ชาติชำนาญ, คอนสารวิทยาคม, วันที่ 28 มีนาคม 2545