สมาธิ คืออะไร
1.1.1 กาย
การปฏิบัติสมาธิ แม้จะเป็นเรื่องของการอบรมทางจิตใจ แต่ก็ยังมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับทางกาย ทั้งนี้หากจะกล่าวโดยทั่วไปนั้น คนเราจะมีส่วนประกอบใหญ่ๆ อยู่ 2 ส่วนคือ กายกับใจ
กาย คือ ส่วนที่เป็นเนื้อ หนัง กระดูก ปอด ตับ หัวใจ ไต ฯลฯ ตามที่เรา เห็นกันอยู่แล้ว ประกอบขึ้นด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ส่วนหนึ่งของร่างกาย ประกอบด้วยธาตุส่วนที่ละเอียดมาก เรียกว่า ประสาทมีอยู่ 5 ส่วนด้วยกันคือ ประสาทตาใช้ดู ประสาทหูใช้ฟัง ประสาทจมูกใช้ดม ประสาทลิ้นใช้ลิ้มรส ประสาท กายใช้สัมผัส (รูปภาพ)
1.1.2 ใจ
ดวงใจ คือธาตุกายสิทธิ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งครองอยู่ในร่างกายคนที่ยังมีชีวิตอยู่ ใจไม่ใช่หัวใจ เพราะหัวใจเป็นกล้ามเนื้อส่วนหนึ่งของร่างกาย แต่ใจอยู่ในลักษณะของพลังงาน จัดเป็นนามธรรมมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นและไม่สามารถใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ค้นหาได้ ใจอาศัยอยู่ในกาย สามารถทำงานได้ด้วยการคิดอย่างคล่องแคล่วไปทีละเรื่อง และคิดไปได้ไกลๆ ตลอดจนสามารถบังคับควบคุมกายให้ทำกิริยาอาการต่างๆ ได้ โดยมีฐานที่ตั้งถาวรอยู่ที่ศูนย์กลางกาย
ใจมีอำนาจรู้ได้ ทำหน้าที่ประสานงานกับประสาททั้ง 5 นั้น ด้วยการ
1) บังคับใช้ประสาททั้ง 5 (ประสาทตา หู จมูก ลิ้น กาย)
2) รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นกับประสาททั้ง 5 ด้วยอาการ 4 อย่าง คือ
เห็น ได้แก่ รับภาพ รับเสียง รับกลิ่น รับรส รับโผฏฐัพพะ (สิ่งแตะต้องกาย) รับอารมณ์ที่กระทบ ผ่านมาทางประสาททั้ง 5 แล้วเปลี่ยนสิ่งที่มากระทบเหล่านั้นทั้งหมดให้เป็นภาพ
จำ ได้แก่ บันทึกภาพต่างๆ ที่ผ่านมาแล้วนั้นไว้อย่างรวดเร็วเหมือนภาพที่ถูกบันทึกไว้ในฟิล์ม ภาพยนตร์เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลต่อไป
คิด ได้แก่ ใคร่ครวญพิจารณาข้อมูลต่างๆ ที่จำได้แล้วนั้น ไปในทำนองว่า ดี ชั่ว ชอบ ชัง หรือเฉยๆ
รู้ ได้แก่ ตัดสินใจเชื่อหรือรับทราบสภาพสิ่งต่างๆ (ที่มากระทบกับประสาททั้ง 5 ก่อนที่จะรับ และจำได้ ) ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
การที่มนุษย์ประกอบด้วยกายและใจนี้เอง จึงได้ชื่อว่าเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เพราะหากมนุษย์ขาดร่างกายมีแต่เพียงใจ หรือดวงจิต เราก็เรียกมนุษย์ผู้นั้นว่า อมนุษย์ เช่น ผี สาง เปรต อสุรกาย เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากผู้นั้นมีแต่ร่างกาย แต่ไม่มีจิตใจ ท่านก็เรียกว่า คนตาย ดังนั้นทั้งร่างกายและใจ จึงได้ชื่อว่าเป็นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ เมื่อเป็นมนุษย์ก็สามารถฝึกสมาธิได้ ซึ่งต่างจากสัตว์ทั่วไปที่อยู่ในโลกที่แม้มีทั้งร่างกายและจิตใจ แต่ก็ไม่สามารถจะฝึกสมาธิได้
สมาธิคืออะไร
เริ่มโดย จีวร, Jul 01 2010 01:45 PM
มี 3 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 01 July 2010 - 01:45 PM
#2
โพสต์เมื่อ 01 July 2010 - 10:24 PM
1.3 สมาธิคืออะไร
การอธิบายความหมายของสมาธิ สามารถอธิบายได้ทั้งในเชิงลักษณะผลของสมาธิที่เกิดขึ้นและอธิบาย
ในลักษณะในเชิงการปฏิบัติ เช่น สมาธิคือวามสงบ สบาย และความรู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งที่มนุษย์สามารถ
สร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นข้อควรปฏิบัติเพื่อการดำรงชีวิตทุกวันอย่างเป็นสุข ไม่ประมาท เต็มไปด้วย สติ
สัมปชัญญะ อันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่าย ๆ
1.3.1 ความหมายในเชิงลักษณะผลของสมาธิ
.........สมาธิ คืออาการที่ใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวอย่างต่อเนื่อง หรืออาการทีใจหยุดนิ่งแน่วแน่ไม่
สัดส่ายไปมา เป็นอาการที่ใจสงบรวมเป็นหนึ่ง มีแค่วามบริสุทธ์ผ่องใส สว่างไสวผุดขึ้นในใจ จนกระทั่ง
สามารถเห็นความบริสุทธิ์นั้นด้วยใจตนเอง อันจะก่อให้เกิดทั้งกำลังใจ กำลังขวัญ กำลังปัญญาและความสุข
แก่ผู้ปฏิบัติในเวลาเดียวกัน
1.3.2 ความหมายในเชิงลักษณะการปฏิบัติ
.........กล่าวอีกนัยหนึ่งในเชิงลักษณะการปฏิบัติ สมาธิแปลว่า ความตั้งมั่นของจิต หรือภาวะที่จิตแน่วแน่
ต่อสิ่งที่กำหนด หรือการที่จิตกำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน
1.3.3 ความหมายในเชิงปฏิบัติเพื่อเข้าถึงธรรมกาย
.........พระราชภาวนาวิสุทธิ ได้ให้ความหมายของการทำสมาธิภาวนาในเชิงของการปฏิบัติว่าการทำสมาธิ
ก็คือการทำใจของเราให้หยุดนิ่งอยู่ภายในกลางกายของเรา กล่าวคือการดึงใจกลับเข้ามาสู่ภายใน อยู่กับ
เนื้อกับตัวของเราในอารณ์ที่สบาย เป็นการดึงใจที่ซัดส่ายไปมาในอารมณ์ต่าง ๆ ในความคิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะ
เป็นเรื่องครอบครัว ธุรกิจการงาน การศึกษาเล่าเรียน เรื่องสนุกสนานเฮฮา หรื่อเรื่องอไรที่นอกเหนือจากนี้
ก็ตาม ดึงกลับมาไว้อยู่กับตัวของเราให้ มามีอารณ์เดียว ใจเดียว ซึ่งพระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้อ้างอิงถึงพระ
มงคลเทพมุนี(หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ) ซึ่งท่านอธิบาย การทำสมาธิว่า คือการทำให้ความเห็น
ความจำ ความคิด ความรู้ รวมหยุดเป็นจุดเดียว หรือให้รวมหยุดเป็นจุดเดียวในอารมณ์ที่สบาย
ที่กลางกายของเรา ซึ่งวิธีทำให้เกิดสมาธิ คือฝึกใจให้หยุดให้นิ่งอยู่ภายใน
........................................
ที่มา: MD 101 :หนังสือสมาธิ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมาธิ ( DOU)
การอธิบายความหมายของสมาธิ สามารถอธิบายได้ทั้งในเชิงลักษณะผลของสมาธิที่เกิดขึ้นและอธิบาย
ในลักษณะในเชิงการปฏิบัติ เช่น สมาธิคือวามสงบ สบาย และความรู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งที่มนุษย์สามารถ
สร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นข้อควรปฏิบัติเพื่อการดำรงชีวิตทุกวันอย่างเป็นสุข ไม่ประมาท เต็มไปด้วย สติ
สัมปชัญญะ อันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่าย ๆ
1.3.1 ความหมายในเชิงลักษณะผลของสมาธิ
.........สมาธิ คืออาการที่ใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวอย่างต่อเนื่อง หรืออาการทีใจหยุดนิ่งแน่วแน่ไม่
สัดส่ายไปมา เป็นอาการที่ใจสงบรวมเป็นหนึ่ง มีแค่วามบริสุทธ์ผ่องใส สว่างไสวผุดขึ้นในใจ จนกระทั่ง
สามารถเห็นความบริสุทธิ์นั้นด้วยใจตนเอง อันจะก่อให้เกิดทั้งกำลังใจ กำลังขวัญ กำลังปัญญาและความสุข
แก่ผู้ปฏิบัติในเวลาเดียวกัน
1.3.2 ความหมายในเชิงลักษณะการปฏิบัติ
.........กล่าวอีกนัยหนึ่งในเชิงลักษณะการปฏิบัติ สมาธิแปลว่า ความตั้งมั่นของจิต หรือภาวะที่จิตแน่วแน่
ต่อสิ่งที่กำหนด หรือการที่จิตกำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน
1.3.3 ความหมายในเชิงปฏิบัติเพื่อเข้าถึงธรรมกาย
.........พระราชภาวนาวิสุทธิ ได้ให้ความหมายของการทำสมาธิภาวนาในเชิงของการปฏิบัติว่าการทำสมาธิ
ก็คือการทำใจของเราให้หยุดนิ่งอยู่ภายในกลางกายของเรา กล่าวคือการดึงใจกลับเข้ามาสู่ภายใน อยู่กับ
เนื้อกับตัวของเราในอารณ์ที่สบาย เป็นการดึงใจที่ซัดส่ายไปมาในอารมณ์ต่าง ๆ ในความคิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะ
เป็นเรื่องครอบครัว ธุรกิจการงาน การศึกษาเล่าเรียน เรื่องสนุกสนานเฮฮา หรื่อเรื่องอไรที่นอกเหนือจากนี้
ก็ตาม ดึงกลับมาไว้อยู่กับตัวของเราให้ มามีอารณ์เดียว ใจเดียว ซึ่งพระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้อ้างอิงถึงพระ
มงคลเทพมุนี(หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ) ซึ่งท่านอธิบาย การทำสมาธิว่า คือการทำให้ความเห็น
ความจำ ความคิด ความรู้ รวมหยุดเป็นจุดเดียว หรือให้รวมหยุดเป็นจุดเดียวในอารมณ์ที่สบาย
ที่กลางกายของเรา ซึ่งวิธีทำให้เกิดสมาธิ คือฝึกใจให้หยุดให้นิ่งอยู่ภายใน
........................................
ที่มา: MD 101 :หนังสือสมาธิ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมาธิ ( DOU)
#3 *ผู้มาเยือน*
โพสต์เมื่อ 27 April 2011 - 09:45 PM
อยากเข้ามาร่วมรับฟังต้องทำอย่างไรครับ เพราะอยากมีความรู้บ้างครับ
#4 *SANDY*
โพสต์เมื่อ 06 August 2011 - 09:52 PM
ขออนุญาตินำไปเผยแผ่ต่อค่ะ ขอบคุณค่ะ