ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

มหาอุบาสิกาวิสาขา


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 12 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 วัดในดวงใจ

วัดในดวงใจ
  • Members
  • 1199 โพสต์

โพสต์เมื่อ 26 September 2006 - 10:48 PM

ในเมื่อท่านทุ่มเททำบุญมากมายขนาดนั้น
ทำไมบุญไม่ส่งผลให้เกิดในสวรรค์ชั้นสูงสุด
คือชั้นประนิมมิตสวตีแต่กลับเกิดในชั้นนิมมานรดี
ซึ่งโดยความเป็นโสดาบันของท่านก็สามารถอยู่ดุสิตได้ด้วย

ไฟล์แนบ


พระพุทธเจ้ารู้
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์

#2 นักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว
  • Members
  • 2378 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้อยู่กะที่อ่ะ มาดูอารายกานอ่ะ
  • Interests:มาสร้างบารมีตามติดหมู่คณะดีกว่า

โพสต์เมื่อ 26 September 2006 - 11:47 PM

อ่ะจะออกแล้วหรอเข้าพรรษาก็คู่ นึ่ง ออกพรราก็คู่นึ่ง สุดยอดเลยอนิสงให้อย่างไรก็ได้อย่างนั้น

น่าอนุโมทนา
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ


เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี

#3 คนรักวัด

คนรักวัด
  • Members
  • 626 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 September 2006 - 12:57 AM

เคยมีทรรศนะจากวิชามโนมยิทธิของวัดท่าซุงครับ
ผู้ถาม กราบเท้าพระเดชพระคุณหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง เมื่อไม่นานมานี้ ลูกมีโอกาสไปหล่อพระประธานที่วัดอ่างทอง บุญทั้งหมดที่ได้ทำในวันนี้ลูกขออุทิศถวายเจาะจงให้แก่หลวงพ่อ ขอหลวงพ่อจงโมทนาด้วยเถิดเจ้าค่ะ
หลวงพ่อ ขออนุทโมนาด้วยความดีใจนะจ๊ะ ! โชคดีมีสุขนะ โมทนานี่เขาไม่จำกัดใครก็ได้ ดี ! เป็นบุญที่ไม่ต้องลงทุนนะ
ผู้ถาม อย่างนี้ถ้าหากว่าจะคิดเป็นเปอร์เซ็นจะได้เท่าไหร่ครับ โมทนา ?
หลวงพ่อ มันก็เท่ากับเจ้าของนะ ถ้าเจ้าของเป็นอรหันต์ชาติไหน พวกเราก็เป็นอรหันต์ชาตินั้นเหมือนกัน เท่ากัน แค่โมทนานี่นางฟ้าองค์หนึ่งอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แกมีวิมานใหญ่มาก มีทั้ง ๓ หลัง และมีสวดดอกไม้ สวนแก้วนะ และ พระโมคคัลลาน์ ขึ้นไปถามเธอว่าทำบุญอะไร แกบอกว่าแกเป็นเพื่อนของ นางวิสาขา แกไม่เคยทำบุญเลย นางวิสาขา ทำบุญแกโมทนาอย่างเดียว ผลที่สุดแกไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สายมาาก วิมานก็ใหญ่มาก และมีสวนสวย ๆ และ พระโมคคัลลาน์ ก็ถามต่อไปว่า เวลานี้ วิสาขา อยู่ที่ไหน เธอบอกว่า วิสาขา มีสิทธิอยู่ชั้นที่ ๕ นิมมานรดี
ผู้ถาม ท่านวิสาขา ผมนึกว่าจะเข้านิพพาน ยังไม่เข้านะครับ ?
หลวงพ่อ ไปนานแล้ว แต่ตอนนั้นยังไม่เข้า
ผู้ถาม ไปนานแล้วหรือครับ ?
หลวงพ่อ ไปนานแล้ว
ผู้ถาม พูดถึงท่าน วิสาขา นึกได้ว่า เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ต้องหลาย ๆ คนยก ที่ว่าหนักถึงขนาดไหนครับ ?
หลวงพ่อ เรียกว่าคนต้องมีกำลังเจ็ดช้างสาร จึงยกไหว อย่าง พระอานนท์ ที่ยกได้ นายบุญ ซึ่งเป็นทาสยกได้ นางวิสาขายกได้ ยกได้แค่ ๓ คน นี่หนักมาก เป็นทองคำล้วนตั้งแต่หัวยันตาตุ่ม บนหัวก็ยังมีนกยูงทองอีก เครื่องพระดับประดาด้วยแก้วมณี ๒๐ ทะนาน แล้วแก้วอย่างอื่นอีกมาก หนักมาก ถ้าเสื้อ นางวิสาขา ตกลงมาเวลานี้นะ ทุกคนหัวแตก แย่งกัน หัวชนไม่ใช่ตีกันหรอก

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน
นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ . . . ฯ ๑๖๐ ฯ

เราต้องพึ่งตัวเราเอง
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว
ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้แสนยาก

Oneself indeed is master of oneself,
Who else could other master be?
With oneself perfectly trained,
One obtains a refuge hard to gain

#4 จงมีสมบัตตักไม่พร่อง

จงมีสมบัตตักไม่พร่อง
  • Members
  • 57 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 September 2006 - 01:10 AM

นางวิสาขา



เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายิกา
นางวิสาขา เกิดในตระกูลเศรษฐี ในเมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ บิดาชื่อว่า ธนญชัย มารดาชื่อว่าสุมนาเทวี และปู่ชื่อเมณฑกเศรษฐี ขณะที่เธอมีอายุอยู่ในวัย ๗ ขวบ เป็นที่รักดุจแก้วตาดวงใจของเมณฑกะผู้เป็นปู่ยิ่งนัก

๗ ขวบบรรลุโสดาบัน
เมื่อเมณฑกเศรษฐีได้ทราบข่าวว่า พระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนมากกำลังเสด็จมาสู่เมืองภัททิยะ ท่านเมณฑกเศรษฐี จึงได้มอบหมายให้เด็กหญิงวิสาขาพร้อมด้วยบริวาร ออกไปทำการรับเสด็จที่นอกเมือง ขณะที่พระพุทธองค์ประทับพักผ่อนพระอิริยาบถอยู่นั้น เด็กหญิงวิสาขาพร้อมด้วยบริวาร เข้าไปเฝ้ากราบถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่อันสมควรแก่ตน พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้พวกเธอฟัง เมื่อจบลงก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันด้วยกันทั้งหมด
ส่วนเมณฑกเศรษฐี เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาถึงแล้วจึงรีบเข้าไปเฝ้าได้ฟังพระธรรมเทศนาก็ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันเช่นกัน แล้วกราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ที่ติดตามเสด็จทั้งหมดเข้าไปรับอาหารบิณฑบาต ณ ที่บ้านของตนตลอดระยะเวลา ๑๕ วันที่ประทับอยู่ที่ภัททิยนครนั้นสมัย พระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งเมืองสาวัตถี และพระเจ้าพิมพิสารแห่งเมืองราชคฤห์ มีความเกี่ยวข้องกันโดยต่างก็ได้ภคินี (น้องสาว) ของกันและกันมาเป็นมเหสี แต่เนื่องจากในเมือง
สาวัตถีของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น ไม่มีเศรษฐีตระกูลใหญ่ ๆ ผู้มีทรัพย์สมบัติมากเลย และได้ทราบว่าในเมืองราชคฤห์ของพระเจ้าพิมพิสารนั้น มีเศรษฐีผู้มีทรัพย์สมบัติขนานนับไม่ถ้วนอยู่
ถึง ๕ คน ดังนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงเสด็จมายังเมืองราชคฤห์ เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารแล้วแจ้ง
ความประสงค์ที่มาในครั้งนี้ ก็เพื่อขอพระราชทานตระกูลเศรษฐีในเมืองราชคฤห์นี้ไปอยู่ในเมือง
สาวัตถีสักหนึ่งตระกูลพระเจ้าพิมพิสารได้สดับแล้วตรัสตอบว่า "การโยกย้ายตระกูลใหญ่ ๆ เพียงหนึ่งตระกูลก็เหมือนกับแผ่นดินทรุด" แต่เพื่อรักษาสัมพันธไมตรีต่อกันไว้หลังจากที่ได้ปรึกษากับอำมาตย์ทั้ง
หลายแล้ว เห็นพ้องต้องกันว่าสมควรยกตระกูลธนญชัยเศรษฐี ให้ไปอยู่เมืองสาวัตถีกับพระเจ้าป
เสนทิโกศลธนญชัยเศรษฐีได้ขนย้ายทรัพย์สมบัติพร้อมทั้งบริวารและสัตว์เลี้ยงทั้งหลายเดินทางสู่
พระนครสาวัตถีพร้อมกับพระเจ้าปเสนทิโกศล และเมื่อเดินทางเข้าเขตแคว้นของพระเจ้าปเสนทิโกศล แล้ว ขณะที่พักค้างแรมระหว่างทางก่อนเข้าเมืองธนญชัยเศรษฐีเห็นว่าภูมิประเทศบริเวณที่พักนั้นเป็นชัยภูมิเหมาะสมดี อีกทั้งตนเองก็มีบริวารติดตามมาเป็นจำนวนมาก ถ้าไปตั้งบ้านเรือนภายในเมืองก็จะคับแคบ จึงขออนุญาตพระเจ้าปเสนทิโกศลก่อตั้งบ้านเมืองลง ณ ที่นั้น และได้ชื่อเมืองใหม่นี้ว่า "สาเกต" ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองสาวัตถี ๗ โยชน์

หญิงงามเบญจกัลยาณี
ในเมืองสาวัตถีนั้น มีเศรษฐีตระกูลหนึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า มิคารเศรษฐี มีบุตรชายชื่อ ปุณณวัฒนกุมาร เมื่อเจริญวัยสมควรที่จะมีภรรยาได้แล้ว บิดามารดาขอให้เขาแต่งงานเพื่อสืบทอดวงศ์ตระกูล แต่เขาเองไม่มีความประสงค์จะแต่งเมื่อบิดามารดารบเร้ามากขึ้น เขาจึงหาอุบายเลี่ยงโดยบอกแก่บิดามารดาว่า ถ้าได้หญิงที่มีความงามครบทั้ง ๕ อย่าง ซึ่งเรียกว่า เบญจกัลยาณี แล้วจึงจะยอมแต่งงาน

เบญจกัลยาณี ความงามของสตรี ๕ อย่าง คือ
๑. เกสกลฺยาณํ ผมงาม คือ หญิงที่มีผมยาวถึงสะเอวแล้วปลายผมงอนขึ้น
๒. มงฺสกลฺยาณํ เนื้องาม คือหญิงที่มีริมฝีปากแดงดุจผลตำลึงสุกและเรียบชิดสนิทกันดี
๓. อฏฺฐิกลฺยาณํ กระดูกงาม คือหญิงที่มีฟันสีขาวประดุจสังข์ และเรียบเสมอกัน
๔. ฉวิกลฺยาณํ ผิวงาม คือหญิงที่มีผิวงามละเอียด ถ้าดำก็ดำดังดอกบัวเขียว ถ้าขาวก็ขาวดัง
ดอกกรรณิกา
๕. วยกลฺยาณํ วัยงาม คือ หญิงที่แม้จะคลอดบุตรถึง ๑๐ ครั้ง ก็ยังคงสภาพร่างกายสาวสวยดุจ
คลอดครั้งเดียว
บิดามารดาเมื่อได้ฟังแล้วจึงให้เชิญพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในด้านอิตถีลักษณะมาถามว่าหญิงผู้มีความงามดังกล่าวนี้มีหรือไม่ เมื่อพวกพราหมณ์ตอบว่ามี จึงส่งพราหมณ์เหล่านั้นออกเที่ยวแสวงหาตามเมืองต่าง ๆ พร้อมทั้งมอบพวงมาลัยและเครื่องทองหมั้นไปด้วย

ชน ๔ พวกเมื่อวิ่งจะดูไม่งาม
พวกพราหมณ์เที่ยวแสวงหาไปตามเมืองต่าง ๆ ทั้งเมืองเล็กเมืองใหญ่ จนมาถึงเมืองสาเกต ได้พบนางวิสาขามีลักษณะภายนอกถูกต้องตามตำราอิตถี ลักษณะครบทุกประการ ขณะที่นางพร้อมทั้งหญิงบริวารออกมาเที่ยวเล่นน้ำกันที่ท่าน้ำ ขณะนั้นฝนตกลงมาอย่างหนัก หญิงบริวารทั้งหลายพากันวิ่งหลบหนีฝนเข้าไปในศาลา แต่นางวิสาขายังคงเดินด้วยอาการปกติ ทำให้พวกพราหมณ์ทั้งหลายรู้สึกแปลกใจประกอบกับต้องการจะเห็นลักษณะฟันของนางด้วยจึง
ถามนางว่า "ทำไม เธอจึงไม่วิ่งหลบหนีฝนเหมือนกับหญิงอื่น ๆ" นางวิสาขาตอบว่า ชน ๔ พวก
เมื่อวิ่งจะดูไม่งาม ได้แก่
๑. พระราชา ผู้ทรงประดับด้วยเครื่องอาภรณ์พร้อมสรรพ
๒. บรรพชิต ผู้ครองผ้ากาสาวพัสตร์
๓. สตรี ผู้ชื่อว่าเป็นหญิงทั้งหลาย นอกจากจะดูไม่งานแล้วถ้าเกิดอุบัติเหตุจนเสียโฉม หรือพิการ จะทำให้เสื่อมเสียและหมดคุณค่า
๔. ช้างมงคล ตัวประดับด้วยเครื่องอาภรณ์สำหรับช้าง
พวกพราหมณ์ได้เห็นปัญญาอันชาญฉลาด และคุณสมบัติ เบญจกัลยาณี ครบทุกประการแล้ว จึงขอให้นางพาไปที่บ้านเพื่อทำการสู่ขอต่อพ่อแม่ตามประเพณี เมื่อสอบถามถึงชาติตระกูลและทรัพย์สมบัติก็ทราบว่า มีเสมอกันจึงสวมพวงมาลัยทองให้นางวิสาขาเป็นการหมั้นหมาย
และกำหนดวันวิวาหมงคลธนญชัยเศรษฐี ได้สั่งให้ช่างทองทำเครื่องประดับ ชื่อ มหาลดาปสาธน์ เพื่อมอบให้แก่ลูกสาว ซึ่งเป็นเครื่องประดับชนิดพิเศษ เป็นชุดยาวติดต่อกันตั้งแต่ ศีรษะจรดปลายเท้า ประดับด้วยเงินทองและรัตนอันมีค่าถึง ๙ โกฏิกหาปณะ ค่าแรงฝีมือช่างอีก ๑ แสน เป็นเครื่องประดับที่
หญิงอื่น ๆ ไม่สามารถจะประดับได้เพราะมีน้ำหนักมาก นอกจากนี้ ธนญชัยเศรษฐี ยังได้มอบทรัพย์สินเงินทองของใช้ต่าง ๆ รวมทั้งข้าทาสบริวารและฝูงโคอีกจำนวนมากมายมหศาล อีกทั้งส่งกุฏุมพีผู้มีความชำนาญพิเศษด้านต่าง ๆ ไปเป็นที่ปรึกษาดูแลประจำตัวอีก ๘ นายด้วย

ธนญชัยเศรษฐีให้โอวาทลูกสาว
ก่อนที่นางวิสาขาจะไปสู่ตระกูลของสามี ธนญชัยเศรษฐีได้อบรมมารยาทสมบัติของ กุลสตรีผู้จะไปสู่ตระกูลของสามี โดยให้โอวาท ๑๐ ประการ เป็นแนวปฏิบัติ คือ
โอวาทข้อที่ ๑ ไฟในอย่านำออก หมายความว่า อย่านำความไม่ดีของพ่อผัวแม่ผัวและสามีออกไปพูดให้คนภายนอกฟัง
โอวาทข้อที่ ๒ ไฟนอกอย่านำเข้า หมายความว่า เมื่อคนภายนอกตำหนิพ่อผัวแม่ผัวและสามี
อย่างไร อย่านำมาพูดให้คนในบ้านฟัง
โอวาทข้อที่ ๓ ควรให้แก่คนที่ให้เท่านั้น หมายความว่า ควรให้แก่คนที่ยืมของไปแล้วแล้วนำ
มาส่งคืน
โอวาทข้อที่ ๔ ไม่ควรให้แก่คนที่ไม่ให้ หมายความว่า ไม่ควรให้แก่คนที่ยืมของไปแล้ว แล้วไม่
นำมาส่งคืน
โอวาทข้อที่ ๕ ควรให้ทั้งแก่คนที่ให้และไม่ให้ หมายความว่า เมื่อมีญาติมิตรผู้ยากจนมาขอ
ความช่วยเหลือพึ่งพาอาศัย เมื่อให้ไปแล้วจะให้คืนหรือไม่ให้คืน ก็ควรให้
โอวาทข้อที่ ๖ พึงนั่งให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่นั่งในที่กีดขวางพ่อผัว แม่ผัวและสามี
โอวาทข้อที่ ๗ พึงนอนให้เป็นสุข หมายความว่า ไม่ควรนอนก่อนพ่อผัวแม่ผัวและสามี
โอวาทข้อที่ ๘ พึงบริโภคให้เป็นสุข หมายความว่า ควรจัดให้พ่อผัว แม่ผัวและสามีบริโภคแล้ว ตนจึงบริโภคภายหลัง
โอวาทข้อที่ ๙ พึงบำเรอไฟ หมายความว่า ให้มีความสำนึกอยู่เสมอว่า พ่อผัว แม่ผัวและสามีเป็นเหมืองกองไฟ และพญานาคที่จะต้องบำรุงดูแล
โอวาทข้อที่ ๑๐ พึงนอบน้อมเทวดาภายใน หมายความว่า ให้มีความสำนึกอยู่เสอมว่า พ่อผัว แม่ผัว และสามีเป็นเหมือนเทวดาที่จะต้องให้ความนอบน้อม


อานิสงส์ของการทำบุญแล้วแถม
ธนญชัยเศรษฐี ให้เวลาถึง ๔ เดือนในการเตรียมทรัพย์สมบัติเพื่อมอบให้แก่นางวิสาขา สำหรับใช้สอยเมื่อไปอยู่ในตระกูลของสามี เฉพาะเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์เพียงอย่างเดียวก็ใช้เวลาทำถึง ๔ เดือน เช่นกัน เมื่อถึงกำหนดนางวิสาขาได้ออกเดินทางไปยังตระกูลของสามี
พร้อมด้วยข้าทาสบริวารทรัพย์สินเงินทองของใช้อเนกอนันต์ และโคกระบืออีกมากมายมหาศาล ที่บิดาจัดการมอบให้แม้กระนั้น โคกระบือที่อยู่ในคอกยังทำลายคอกวิ่งออกตามขบวนของนางวิสาขาไปอีกจำนวนมาก ทั้งนี้ด้วยอานิสงส์แห่งการทำบุญถวายทานที่นางทำไว้ในอดีตชาติ คือ ในครั้งที่นางวิสาขาเดิมเป็นธิดาของพระเจ้ากิกิ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ นางได้ถวายอาหารแก่พระภิกษุสามเณรเป็นประจำ และทั้ง ๆ ที่พระภิกษุสามเณรกล่าวว่า “พอแล้ว ๆ” ก็ยังตรัสว่า
"พระคุณเจ้าสิ่งนี้อร่อย สิ่งนี้น่าฉัน" แล้วก็ถวายเพิ่มขึ้นอีก ด้วยอานิสงส์แห่งการถวายเพิ่มนี้
บันดาลให้โคเหล่านั้นแม้จะมีคนห้ามมีคอกกั้นอยู่ก็ยังโดดออกจากคอกวิ่งตามขบวนของนางวิสาขาไปอีกจำนวนมาก


นางวิสาขาตำหนิพ่อผัว
เมื่อนางวิสาขา เข้ามาสู่ตระกุลของสามีแล้ว เพราะความที่เป็นผู้ได้รับการอบรมสั่งสอน
เป็นอย่างดีตั้งแต่วัยเด็ก และเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีน้ำใจเจรจาไพเราะ ให้ความเคารพผู้
ที่มีวัยสูงกว่าตน จึงเป็นที่รักใคร่และชอบใจของคนทั่วไป ยกเว้นมิคารเศรษฐีของสามี ซึ่งมีจิต
ฝักใฝ่ในนักบวชอเจลกชีเปลือย โดยให้ความเคารพนับถือว่าเป็นพระอรหันต์ และนิมนต์ให้มา
บริโภคโภชนาหารที่บ้านของตนแล้ว สั่งให้คนไปตามนางวิสาขามาไหว้พระอรหันต์ และให้มา
ช่วยจัดเลี้ยงอาหารแก่อเจลกชีเปลือยเหล่านั้นด้วยนางวิสาขาผู้เป็นพระอริยสาวิกาชั้นโสดาบันพอได้ยินคำว่า อรหันต์ ก็รู้สึกปีติยินดีรีบมายังเรือนของมิคารเศรษฐี แต่พอได้เห็นอเจลกชีเปลือย ก็ตกใจจึงกล่าวว่า "ผู้ไม่มีความละอาย เหล่านี้ จะเป็นพระอรหันต์ไม่ได้"พร้อมทั้งกล่าวติเตียนมิคารเศรษฐีแล้วกลับที่อยู่ของตน
ต่อมาอีกวันหนึ่ง ขณะที่มิคารเศรษฐีกำลังบริโภคอาหารอยู่ โดยมีนางวิสาขาคอยปรนนิบัติอยู่ใกล้ ๆ ได้มีพระเถระเที่ยวบิณฑบาตผ่านมาหยุดยืนที่หน้าบ้านของมิคารเศรษฐี นางวิสาขาทราบดีว่าเศรษฐีแม้จะเห็นพระเถระแล้วก็ทำเป็นไม่เห็น นางจึงกล่าวกับพระเถระว่า
"นิมนต์พระคุณเจ้าไปข้างหน้าก่อนเถิด ท่านเศรษฐีกำลังบริโภคของเก่าอยู่"เศรษฐี ได้ฟังดังนั้นแล้วจึงโกรธเป็นที่สุด หยุดบริโภคอาหารทันทีแล้วสั่งให้บริวารมาจับและขับไล่นางวิสาขาให้ออกจากบ้านไปแต่ก็ไม่มีใครกล้าเข้ามาจับนางวิสาขาขอชี้แจงแก่
กุฎุมพี ๘ นายที่คุณพ่อได้ส่งมาช่วยดูแลนางก่อน และเมื่อมิคารเศรษฐีให้คนไปเชิญกุฎุมพีมาแล้วแจ้งโทษของนางวิสาขาให้ฟัง ซึ่งนางก็แก้ด้วยคำว่า "ที่ดิฉันกล่าวอย่างนั้น หมายถึง มิคารเศรษฐีบิดาของสามีกำลังบริโภคบุญเก่าอยู่มิใช่บริโภคของบูดเน่าอย่างที่เข้าใจ” กุฎุมพีทั้ง ๘ จึงกล่าวกับเศรษฐีว่า "เรื่องนี้นางวิสาขาไม่มีความผิด"

พ่อผัวยกย่องนางวิสาขาในฐานะมารดา
เมื่อมิคารเศรษฐี ฟังคำชี้แจงของลูกสะใภ้แล้วก็หายโกรธขัดเคือง และกล่าวขอโทษนาง พร้อมทั้งอนุญาตให้นางนิมนต์พระบรมศาสดาพร้อมภิกษุสงฆ์มารับอาหารบิณฑบาตในเรือนของตนขณะที่นางวิสาขาจัดถวายภัตตาหารแด่พระบรมศาสดาและภิกษุสงฆ์อยู่นั้น ก็ได้ให้คนไปเชิญมิคารเศรษฐีมาร่วมถวายภัตตาหารด้วย แต่เศรษฐีเมื่อมาแล้วไม่กล้าที่ออกไปสู่ที่เฉพาะ
พระพักตร์พระศาสดา เพราะไม่มีศรัทธาเลื่อมใสจึงแอบนั่งอยู่หลังม่าน เมื่อเสร็จภัตกิจแล้วพระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาส่วนมิคารเศรษฐีแม้จะหลบอยู่หลังม่านก็มีโอกาสได้ฟัง
ธรรมด้วยจนจบและได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันบุคคลในพุทธศาสนาเป็นสัมมาทิฎฐิบุคคลตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ทันใดนั้นมิคารเศรษฐีได้ออกมาจากหลังม่านแล้วตรงเข้าไปหานางวิสาขาใช้ปากดูดถันของลูกสะใภ้และประกาศให้ได้ยินทั่วกัน ณ ที่นั้นว่า “ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปขอเธอจงเป็นมารดาของข้าพเจ้า” และตั้งแต่นั้นมานางวิสาขาก็ได้นามว่า "มิคารมารดา" คนทั่วไปนิยมเรียกนางว่า "วิสาขามิคารมารดา

คุณสมบัติพิเศษประจำตัวนางวิสาขา
ในบรรดาอุบาสิกาทั้งหลาย นางวิสาขานับว่าเป็นผู้มีบุญสั่งสมมาตั้งแต่อดีตชาติมากเป็น
พิเศษกว่าอุบาสิกาคนอื่น ๆ หลายประการ เช่น
๑. ลักษณะของผู้มีวัยงาม คือ แม้ว่านางจะมีอายุมาก มีลูกชาย-หญิง ถึง ๒๐ คน ลูกเหล่านั้นแต่งงานมีลูกอีกคนละ ๒๐ คน นางก็มีหลานนับได้ ๔๐๐ คน หลานเหล่านั้นแต่งงานมีลูกอีกคนละ ๒๐ คน นางวิสาขามีเหลนนับได้ ๘๐๐๐ คน ดังนั้น คนจำนวน ๘๔๒๐ คน มีต้นกำเนิดมาจากนางวิสาขา นางมีอายุยืนได้เห็นหลานได้เห็นเหลนทุกคน แม้นางมีอายุถึง ๑๒๐ ปี แต่ขณะเมื่อนางนั่งอยู่ในกลุ่มของลูก หลาน เหลน นางจะมีลักษณะวัยใกล้เคียงกับคนเหล่านั้น
คนพวกอื่นจะไม่สามารถทราบได้ว่านางวิสาขาคือคนไหน แต่จะสังเกตได้เมื่อเวลาจะลุกขึ้นยืน ธรรมดาคนหนุ่มสาวจะลุกได้ทันที แต่สำหรับคนแก่จะต้องใช้มือยันพื้นช่วยพยุงกาย และจะยกก้นขึ้นก่อน นั่นแหละจึงจะทราบว่านางวิสาขาคือคนไหน
๒. นางมีกำลังมากเท่ากับช้าง ๕ เชือกรวมกัน ครั้งหนึ่งพระราชามีพระประสงค์จะทดลองกำลังของนางจึงรับสั่งให้ปล่อยช้างพลายตัวที่มีกำลังมากเพื่อให้วิ่งชนนางวิสาขา นางเห็นช้างวิ่งตรงเข้ามา จึงคิดว่า "ถ้ารับช้างนี้ด้วยมือข้างเดียวแล้วผลักไป ช้างก็จะเป็นอันตรายถึงชีวิต เราก็จะเป็นบาป ควรจะรักษาชีวิตช้างไว้จะดีกว่า"นางจึงใช้นิ้วมือเพียงสองนิ้วจับช้างที่งวงแล้วเหวี่ยงไปปรากฏว่าช้างถึงกับล้มกลิ้งแต่ไม่เป็นอันตราย
ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวนี้ชนทั้งหลายเมื่อขจัดงานมงคลในบ้านเรือนของตนจึงพากันเชิญนางวิสาขาให้ไปเป็นประธานในงาน มอบให้นางเป็นผู้นำในพีธีต่าง ๆ แม้แต่อาหารก็ให้นางทานก่อน เพื่อความเป็นสิริมงคล จนนางวิสาขาไม่มีเวลาดูแลปฏิบัติพระภิกษุที่มาฉันในบ้านของตน ต้องมอบให้ลูก ๆ หลาน ๆ ดำเนินการให้


นางวิสาขาร้องไห้อาลัยหลาน
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระวิหารบุพพาราม ซึ่งนางวิสาขาเป็นผู้สร้างถวายใกล้กรุงสาวัตถีขณะนั้นหลานสาวชื่อว่าสุทัตตีผู้เป็นที่รักเป็นที่พอใจอย่างยิ่งของนางได้ถึง
แก่กรรมลง ทำให้นางเศร้าโศกเสียใจ ร้องไห้รำพันถึงหลานรัก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคทั้ง ๆ ที่กำลังร้องไห้อยู่ด้วยพระพุทธองค์ตรัสถามเหตุแห่งความเศร้า ทรงทราบโดยตลอดแล้ว จึงตรัส
ถามว่า
"ดูก่อนวิสาขา ในพระนครสาวัตถีนี้ เธอต้องการบุตรหลานสักกี่คน ?"
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ต้องการบุตรหลานในพระนครนี้ทั้งหมด พระเจ้าข้า"
"ดูก่อนวิสาขา ก็ในพระนครสาวัตถีนี้ มีคนตายวันละเท่าไร ?"
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในพระนครสาวัตถีนี้ มีคนตายวันละ ๑ คนบ้าง ๒ คนบ้าง ถึงวัน
ละ ๑๐ คนบ้าง พระเจ้าข้า"
"ดูก่อนวิสาขา ถ้าคนเหล่านั้นเป็นบุตรหลานของเธอจริง เธอก็คงมีหน้าเปียกชุ่มด้วยน้ำ
ตาโดยไม่มีวันแห้งเหือด วิสาขา คนในโลกนี้ ผู้ใดมีสิ่งเป็นที่รัก ๑๐๐ ผู้นั้นก็จะมีทุกข์ถึง ๑๐๐ ผู้
ใดมีสิ่งเป็นที่รัก ๕๐ ผู้นั้นก็จะมีทุกข์ถึง ๕๐ เช่นกัน
"ดูก่อนวิสาขา เราขอบอกเธอว่า ความทุกข์ ความเศร้าโศก ความพิไรรำพัน ที่คนทั้ง
หลายประสบกันอยู่ในโลกนี้ ก็เพราะอาศัยสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รัก ถ้าไม่มีสัตว์หรือสัตว์อัน
เป็นที่รักแล้ว ความทุกข์ ความเศร้าโศก ความพิไรรำพันเหล่านั้นก็ไม่มี ผู้นั้นก็จะมีแต่ความสุข
ดังนั้น ผู้ปรารถนาความสุขให้กับตนเอง ก็ไม่ควรทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รัก"
นางวิสาขา เมื่อได้ฟังพระพุทธดำรัสตรัสสอนจบลงแล้ว ก็คลายจากความเศร้าโศก แต่
เพราะความที่นางมีลูกหลานหลายคน ซึ่งต่อจากนั้นอีกไม่นานนักหลานสาวอีกคนหนึ่ง ที่นางได้
มอบหมายหน้าที่การปฏิบัติดูแลพระภิกษุสงฆ์ซึ่งนิมนต์มาฉันที่บ้านเป็นประจำก็ได้ถึงแก่ความ
ตายลงอีก นางวิสาขาก็ต้องเสียน้ำตาร่ำไห้ด้วยความรักความอาลัยต่อหลานสาวเป็นครั้งที่สอง
และพระพุทธองค์ก็ทรงเทศนาโปรดนางให้คลายความเศร้าโศกลงดุจเดียวกับครั้งก่อน


นางวิสาขาสร้างวัด
โดยปกตินางวิสาขาจะไปวัดวันละ ๒ ครั้ง คือ เช้า-เย็น และเมื่อไปก็จะไม่ไปมือเปล่า ถ้า
ไปเวลาเช้าก็จะมีของเคี้ยวของฉันเป็นอาหารไปถวายพระ ถ้าไปเวลาเย็นก็จะถือน้ำปานะไปถวาย
เพราะนางมีปกติทำอย่างนี้เป็นประจำ จนเป็นที่ทราบกันดีทั้งพระภิกษุสามเณร และอุบาสก
อุบาสิกาทั้งหลาย แม้นางเองก็ไม่กล้าที่จะไปวัดด้วยมือเปล่า ๆ เพราะละอายที่พระภิกษุหนุ่ม
สามเณรีน้อยต่างก็จะมองดูที่มือว่านางถืออะไรมา และก่อนที่นางจะออกจากวัดกลับบ้าน นางจะ
เดินเยี่ยมเยือนถามไถ่ความสุข ความทุกข์ และความประสงค์ของพระภิกษุสามเณร และเยี่ยม
ภิกษุไข้จนทั่วถึงทุก ๆ องค์ก่อนแล้วจึงกลับบ้าน
วันหนึ่งเมื่อนางมาถึงวัด นางได้ถอดเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ มอบให้หญิงสาวผู้
ติดตามถือไว้ เมื่อเสร็จกิจการฟังธรรมและเยี่ยมเยือนพระภิกษุสามเณรแล้ว ขณะเดินกลับบ้าน
นางได้บอกให้หญิงรับใช้ส่งเครื่องประดับให้ แต่หญิงรับใช้ลืมไว้ที่ศาลาฟังธรรม นางจึงให้กลับ
ไปนำมา แต่สั่งว่าถ้าพระอานนท์เก็บรักษาไว้ก็ไม่ต้องเอาคืนมาให้มอบถวายท่านไปเลย เพราะ
นางคิดว่าจะไม่ประดับเครื่องประดับที่พระคุณเจ้าถูกต้องสัมผัสแล้ว ซึ่งพระอานนท์ท่านก็มักจะ
เก็บรักษาของที่อุบาสกอุบาสิกาลืมไว้เสมอ และก็เป็นไปตามที่นางคิดไว้จริง ๆ แต่นางก็กลับคิด
ได้อีกว่า “เครื่องประดับนี้มีประโยชน์แก่พระเถระ” ดังนั้นนางจึงขอรับคืนมาแล้วนำออกขายใน
ราคา ๙ โกฏิ กับ ๑ แสนกหาปณะ ตามราคาทุนที่ทำไว้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดมีทรัพย์พอที่จะซื้อไว้ได้
นางจึงซื้อเอาไว้เอง ด้วยการนำทรัพย์เท่าจำนวนนั้นมาซื้อที่ดินและวัสดุก่อสร้างดำเนินการสร้าง
วัดถวายเป็นพระอารามประทับของพระบรมศาสดา และเป็นที่อยู่อาศัยจำพรรษาของพระภิกษุ
สงฆ์สามเณร พระบรมศาสดารับสั่งให้พระมหาโมคคัลลานะ เป็นผู้อำนวยการดูแลการก่อสร้าง
ซึ่งมีลักษณะเป็นปราสาท ๒ ชั้น มีห้องสำหรับพระภิกษุพักอาศัยชั้นละ ๕๐๐ ห้อง โดยใช้เวลาใน
การก่อสร้างถึง ๙ เดือน และเมื่อสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นามว่า
“พระวิหารบุพพาราม”


เพราะพระเปลือยกายจึงถวายผ้าอาบน้ำฝน
โดยปกตินางวิสาขา จะกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์มาเสวยและฉันภัตตาหารที่บ้านของนางเป็นประจำ เมื่อการจัดเตรียมภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยพร้อมแล้ว ก็จะให้สาวใช้ไปกราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ให้เสด็จไปยังบ้านของนาง
วันหนึ่ง สาวใช้ได้มาตามปกติเหมือนทุกวัน แต่วันนั้นมีฝนตกลงมาพระสงฆ์ทั้งหลาย จึงพากันเปลือยกายอาบน้ำฝน เมื่อสาวใช้มาเห็นเข้าก็ตกใจเพราะความที่ตนมีปัญญาน้อยคิดว่าเป็น
นักบวชชีเปลือย จึงรีบกลับไปแจ้งแก่นางวิสาขาว่า"ข้าแต่แม่เจ้า วันนี้ที่วัดไม่มีพระอยู่เลย เห็นมีแต่ชีเปลือยแก้ผ้าอาบน้ำ กันอยู่"นางวิสาขาได้ฟังคำบอกเล่าของสาวใช้แล้ว ด้วยความที่นางเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน เป็นมหาอุบาสิกา เป็นผู้มีปัญญาศรัทธาเลื่อมใส มีความใกล้ชิดกับพระภิกษุสงฆ์ จึงทราบ เหตุการณ์โดยตลอดว่า พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้พระภิกษุมีผ้าสำหรับใช้สอยเพียง ๓ ผืน คือ ผ้าจีวรสำหรับห่ม ผ้าสังฆาฎิสำหรับห่มซ้อน และผ้าสบงสำหรับนุ่ง ดังนั้นเมื่อเวลาพระภิกษุจะอาบน้ำจึงไม่มีผ้าสำหรับผลัดอาบน้ำ ก็จำเป็นต้องเปลือยกายอาบน้ำ
อาศัยเหตุนี้ เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จมาประทับที่บ้านและเสร็จภัตกิจแล้ว นางวิสาขา จึง
ได้เข้าไปกราบทูลขอพร เพื่อถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์ พระพุทธองค์ประทานอนุญาต
ตามที่ขอนั้น และนางวิสาขาก็เป็นบุคคลแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่พระภิกษุสงฆ์

พระภิกษุคิดว่านางเป็นบ้า
นางวิสาขา ได้ชื่อว่าเป็นมหาอุบาสิกาผู้ยิ่งใหญ่ เป็นยอดแห่งอุปัฏฐายิกา ทะนุบำรุงพระ
พุทธศาสนาด้วยวัตถุจตุปัจจัยไทยทานต่าง ๆ ทั้งที่ถวายเป็นของสงฆ์ส่วนรวม และถวายเป็นของ
ส่วนบุคคลคือแก่พระภิกษุแต่ละองค์ ๆ การทำบุญของนางนับว่าครบถ้วนทุกประการตามหลัก
บุญกิริยาวัตถุ ดังคำที่นางเปล่งอุทานในวันฉลองวิหาร คือ วัดบุพพาราม ที่นางสร้างถวายนั้นด้วย
คำว่า
"ความปรารภนาใด ๆ ที่เราตั้งไว้ในกาลก่อน ความปรารถนานั้น ๆ ทั้งหมดของเราได้
สำเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์ทุกประการแล้ว
ความปรารถนาเหล่านั้น คือ
๑. ความปรารถนาที่จะสร้างปราสาทฉาบด้วยปูนถวายเป็นวิหารทาน
๒. ความปรารถนาที่จะถวายเตียง ตั่ง ฟูก หมอน และเสนาสนภัณฑ์
๓. ความปรารถนาที่จะถวายสลากภัตเป็นโภชนาทาน
๔. ความปรารถนาที่จะถวายผ้ากาสาวพัสตร์ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย เป็น จีวรทาน
๕. ความปรารถนาที่จะถวายเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นเภสัชทาน
ความปรารถนาเหล่านั้นของนางวิสาขาสำเร็จครบถ้วนทุกประการ สร้างความเอิบอิ่มใจ
แก่นางยิ่งนัก นางจึงเดินเวียนรอบปราสาทอันเป็นวิหารทานพร้อมทั้งเปล่งอุทานดังกล่าว
พระภิกษุทั้งหลายได้เห็นกิริยาอาการของนางวิสาขาแล้ว ต่างก็รู้สึกประหลาดใจ ไม่
ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นกับนาง จึงพร้อมใจกันเข้าไปกราบทูลถามพระบรมศาสดาว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญตั้งแต่ได้พบเห็นและรู้จักนางวิสาขาก็เป็นเวลานานพวกข้าพระ
องค์ทั้งหลาย ไม่เคยเห็นนางขับร้องเพลงและแสดงอาการอย่างนี้มาก่อนเลย แต่วันนี้ นางอยู่ใน
ท่ามกลางการแวดล้อมของบรรดาบุตรธิดาและหลาน ๆ ได้เดินเวียนรอบปราสาทและบ่นพึมพำ
คล้ายกับร้องเพลง เข้าใจว่าดีของนางคงจะกำเริบ หรือไม่นางก็คงจะเสียจริตไปแล้วหรืออย่างไร
พระเจ้าข้า ?"
พระพุทธองค์ตรัสแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า
"ภิกษุทั้งหลาย ธิดาของเรามิได้ขับร้องเพลงหรือเสียจริตอย่างที่พวกเธอเข้าใจหรอก แต่ที่
ธิดาของเราเป็นอย่างนั้นก็เพราะความปีติยินดีที่ความปรารถนาของตนที่ตั้งไว้นั้นสำเร็จลุล่วง
สมบูรณ์ทุกประการ นางจึงเดินเปล่งอุทานออกมาด้วยความอิ่มเอมใจ
ด้วยเหตุที่นางวิสาขาได้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์ และได้ถวายวัตถุจตุปัจจัยในพระ
พุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ดังกล่าวมา พระผู้มีพระภาคจึงได้ทรงประกาศยกย่องนางใน
ตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลายในฝ่าย ผู้เป็นทายิกา"



ขอกราบอนุโมทนาบุญกับทุกบุญที่ท่านทำมานะครับ สาธุ สาธุ

#5 คนรักวัด

คนรักวัด
  • Members
  • 626 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 September 2006 - 01:33 AM

นิทานพื้นบ้าน ส่วนใหญ่เป็นนิทานลาว มีหลายเรื่องด้วยกัน เป็นเรื่องในอดีตชาติของนางวิสาขา
เรื่องนางผมหอม เรื่องมีอยู่ว่า พระโพธิสัตว์ เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นลูกท้าวพระยา ในอดีตกาลมีเมืองนครศรี พระราชาและพระมเหสีมีธิดารูปงามชื่อนางสีดา เมื่ออายุได้ ๑๖ ปี ได้ไปเที่ยวป่าแล้วพลัดหลงจากพวกนางสนมกำนัล รอนแรมในป่าอยู่หลายวัน ได้ไปดื่มน้ำที่รอยเท้าช้าง และรอยเท้ากระทิง ต่อมาเมื่อนางกลับถึงเมืองก็ตั้งครรภ์ อันเนื่องมาจากการดื่มน้ำครั้งนั้น ได้ประสูติเป็นธิดาสององค์คือนางผมหอม และนางลุน นางผมหอมนั้นมีผมหอมเหมือนเกสรดอกไม้นานาชนิด เมื่อทั้งสองนางเจริญวัย ก็พยายามไต่ถามมารดาถึงบิดาของตน แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน แต่ในที่สุดนางสีดาก็เล่าเรื่องให้ลูกทั้งสองฟัง เมื่อธิดาทั้งสองเจริญวัยได้ ๑๓ ปี ทั้งสองนางได้ขออนุญาตมารดาไปตามหาบิดา
ครั้นได้พบพระยาช้างผู้พ่อของนางผมหอม พระยาช้างก็ทำการเสี่ยงทายว่าถ้าเป็นเชื่อสายก็จะสามารถไต่ตามงาขึ้นไปนั่งบนหลังช้างได้ นางลุมไม่สามารถทำได้เพราะนางเป็นลูกกระทิง จึงถูกจับกินเป็นอาหาร นางผมหอมเสียใจมากที่พระยาช้างฆ่าน้องของตน แต่ต้องจำใจไปกับพระยาช้าง พระยาช้างให้ฝูงช้างสร้างปราสาทเสาสูงให้นางผมหอมอยู่ และพระยาช้างได้แสวงหาเครื่องใช้ของมนุษย์ อาหารการกินและจับหญิงชาวบ้านมาให้เป็นคนรับใช้นางผมหอม
เมื่อนางผมหอมอายุได้ ๑๖ ปี คิดอยากมีคู่ครองจึงนำผมของตนใส่ผอบลอยน้ำไปพร้อมกับเสี่ยงทายว่า หากคู่ครองของนางอยู่ที่ใด ก็ขอให้ผอบทองลอยน้ำไปถึงที่นั่น โดยที่นางได้ใส่สารแจ้งความจำนงของนางไปด้วย
มีเมืองหนึ่งเจ้าเมืองมีโอรสอายุได้ ๑๖ พรรษา จึงได้จัดทำพิธีให้เจ้าชายเลือกคู่ โดยได้สั่งให้หัวเมืองต่าง ๆ ส่งพระธิดามาให้เจ้าชายเลือกเป็นนคู่ครอง ในงานพิธีนั้นเสนาอำมาตย์ได้พบผอบทองเสี่ยงทายของนางผมหอมจึงนำมาถวายเจ้าชาย เมื่อเจ้าชายเปิดดูพบสารเสี่ยงทายและเส้นผมก็เกิดความคลั่งไคล้นางผมหอมมาก จึงออกไปติดตามนางได้เดินทางผ่านเมือง นางผีโพง นางได้แปลกายเป็นนางผมหอมแต่เจ้าชายจับได้ จากนั้นก็ได้เดินทางต่อไปจนถึงแดนพระยาช้าง และได้พบนางผมหอม นางได้ซ่อนเจ้าชายไว้บนปราสาทสูงจนมีโอรสธิดาสององค์ โอรสชื่อ สีลา ธิดาชื่อ ชาดา
ต่อมาเจ้าชายและนางผมหอมคิดจะกลับเมืองจึงพาโอรสธิดาหนีพระยาช้างไป พระยาช้างรู้เรื่องเข้าก็โกรธ และออกติดตามจนมาทันที่ภูเขาลูกหนึ่ง พระยาช้างอ้อนวอนให้นางผมหอมลงมาหา แต่นางผมหอมไม่ยอมลงมา ก่อนตายพระยาช้างได้บอกให้เอางาของตนไป งาขวาเป็นอาวุธทำลายศัตรูได้ทุกประการ ส่วนงาซ้ายสามารถใช้เป็นพาหนะได้ทุกชนิดตามที่ต้องการ
เจ้าชายกับนางผมหอม พร้อมทั้งโอรสธิดาได้เดินทางกลับเมืองโดยใช้งาพระยาช้างเป็นเรือ ระหว่างทางต้องผ่านเขตเมืองนางผีโพง นางผีโพงหาโอกาส ผลักนางผมหอมแล้ว แปลงตนเป็นนางผมหอม ส่วนนางผมหอมพยายามร้องเรียกให้ช่วย แต่เจ้าชายไม่ได้ยิน เพราะถูกเวทมนตร์ของนางผีโพง แต่โอรสธิดาได้ยินก็อ้อนวอนให้บิดาจอดเรือคอยมารดา แต่นางผีโพงแปลงขู่จะทำร้าย ในที่สุดเจ้าชายก็พานางผีโพงกลับเข้าเมือง
โอรสธิดาทั้งสองพากันหนีไปตามหามารดา นางผมหอมได้ไปอาศัยอยู่กับฝูงลิงกัง เมื่อพบแล้วก็พากันกลับเมือง เจ้าชายทราบเรื่องแล้วจึงพากันไปประพาสป่า และพบนางผมหอมจึงพากลับเมือง แล้วกำจัดนางผีโพงแสียแล้ว ทั้งสี่จึงพากันเข้าเมืองและอยู่กันมาด้วยความปกติสุข
ตอนท้ายเรื่องได้กล่าวถึงการประชุมชาดกไว้ด้วยคือ นางสีดากลับชาติมาเกิดเป็นนางปชาบดีโคตมี นางลุนเป็น นางวิสาขา พระยาช้างเป็น พระโมคคัลลานะ เจ้าชายเป็น พระพุทธองค์ นางผมหอมเป็น นางพิมพา ฯลฯ
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน
นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ . . . ฯ ๑๖๐ ฯ

เราต้องพึ่งตัวเราเอง
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว
ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้แสนยาก

Oneself indeed is master of oneself,
Who else could other master be?
With oneself perfectly trained,
One obtains a refuge hard to gain

#6 ~ รั ก บุ ญ ~

~ รั ก บุ ญ ~
  • Members
  • 98 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Thailand
  • Interests:^-^ กรุณา เผื่อแผ่ เหลียวแลเอื้อ ^-^<br />^-^หวังช่วยเหลือ เพื่อนยาก ลำบากขันธ์^-^<br />^-^เห็นเพื่อนทุกข์ ทุกข์ด้วย เข้าช่วยพลัน^-^<br />^-^ให้เพื่อนนั้น พ้นทุกข์ ได้สุขใจ ฯ^-^

โพสต์เมื่อ 27 September 2006 - 07:51 AM

QUOTE
ในเมื่อท่านทุ่มเททำบุญมากมายขนาดนั้น
ทำไมบุญไม่ส่งผลให้เกิดในสวรรค์ชั้นสูงสุด
คือชั้นประนิมมิตสวตีแต่กลับเกิดในชั้นนิมมานรดี
ซึ่งโดยความเป็นโสดาบันของท่านก็สามารถอยู่ดุสิตได้ด้วย


ตอบ ถ้าจะให้ลองสันนิษฐานดู
1.มหาอุบาสิกาวิสาขา ท่านมีบุญมาก และได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ท่านคงจะสามารถเลือกได้ว่าต้องการจะอยู่สวรรค์ชั้นไหน และก็อาจจะเป็นความคุ้นเคยที่ท่านเคยบังเกิดในสวรรค์ชั้นนิมานนรดีมาก่อนนี้แล้ว เมื่อสิ้นชีวิตลงท่านจึงเลือกที่จะบังเกิดในชั้นนิมมานรดี
2.สวรรค์ชั้นปรนิมมิตสวตีเป็นสวรรค์ชั้นสูงและเป็นที่อยู่ของเหล่าเทพที่มีบุญมากก็จริงอยู่ แต่เท่าที่จำได้ การเสพเมถุนธรรมของเหล่าเทวดาในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตสวตีนั้น เป็นการเสพเมถุนธรรมที่ละเอียด เพราะเพียงแค่มองตากัน เทวดาก็สามารถสำเร็จกามกิจของตนเองได้ ด้วยเหตุที่มหาอุบาสิกาวิสาขานั้น เป็นอุบาสิกาคนสำคัญ ที่ช่วยดูแลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายในครั้งที่ท่านยังเป็นมนุษย์อยู่ อีกทั้งยังเป็นพระอริยบุคคล เมื่อท่านสิ้นชีวิตลง ได้บังเกิดเป็นเทพธิดา ข้าพเจ้าคิดว่า อาจจะเป็นการไม่สมควรที่จะบังเกิดในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตสวตี เพราะเหตุแห่งการเสพเมถุนธรรมของเทวดาชั้นปรนิมมิตสวตีนั้นละเอียดเกินไป เพียงแค่มองตากันก็สำเร็จกามกิจได้ จึงเป็นการง่ายที่เทพบุตรบนชั้นปรนิมมิตสวตีจะล่วงเกินมหาอุบาสิกาวิสาขา ด้วยเหตุนี้ท่านจึงไปบังเกิดในชั้นนิมานนรดีแทน


ผิ ด พ ล า ด ป ร ะ ก า ร ใ ด

ก็ ต้ อ ง ข อ อ ภั ย

ท่ า น ผู้ รู้ ทุ ก ท่ า น ม า ณ ที่ นี้ ด้ ว ย ค รั บ

_/|\__/|\__/|\_

ส า ธุ ส า ธุ ส า ธุ

อ นุ โ ม ท น า บุ ญ ค รั บ

* * * * * * * * * * * * * * * * *

ใ ค ร ช อ บ. . .ใ ค ร ชั ง. . .ช่ า ง เ ถิ ด
ใ ค ร เ ชิ ด. . .ใ ค ร ชู. . .ช่ า ง เ ข า
ใ ค ร เ บื่ อ. . .ใ ค ร บ่ น. . .ท น เ อ า
ใ จ เ ร า. . .ร่ ม เ ย็ น. . .เ ป็ น พ อ
. . .|2@|<_|3( )( )|\| @ |-|()T/\/\@I|_.C()/\/\. . .


#7 Tanay007

Tanay007
  • Members
  • 616 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 September 2006 - 09:28 AM

จริงๆ แล้ว ถ้าจำไม่ผิด เรื่อง"นางผมหอม" จะเอามาจากปัญญาสชาดก ซึ่งว่ากันเป็นวรรณกรรมตามคติพุทธศาสนาของล้านนา แม้แต่เรื่อง พระรถ-เมรี, พระสุธนต์-มโนรา ก็เอามาจากปัญญาสชาดก (แปลว่าชาดก 50 เรื่อง)

#8 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 27 September 2006 - 12:45 PM

สวรรค์ชั้นนิมมานรดี ส่วนใหญ่ เป็นสวรรค์ที่ผู้ที่ตั้งความปรารถนาเป็นเลิศ(ในทางที่ดี) อย่างใดอย่างหนึ่งไปอยู่น่ะครับ ซึ่งนางวิสาขาท่านเคยปรารถนายอดอุปัฏถากมาแล้วในอดีต

ส่วนเรื่องมองตาของสวรรค์ชั้นที่ 6 นั้น ผมว่า ต้องมีความพึงพอใจด้วยกันทั้งสองฝ่ายครับ ไม่ใช่ว่า เทพธิดาบนชั้นนี้ ต้องคอยระวังตัว ว่าเทพบุตรองค์ไหนจะมามองตา แล้วสำเร็จกิจ

เพราะถ้าเป็นเช่นนี้ แม้อยู่สวรรค์ชั้นที่ 5 ก็ไม่ปลอดภัย เพราะสวรรค์ชั้นที่ 5 แค่จับมือ ก็สำเร็จกิจ ถ้าอย่างนี้ เทพธิดามิต้องระวังตัวแจ เพราะการสบตานั้น แค่เทพธิดาพยายามเบือนหน้าไม่สบตา ก็เป็นอันเรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าชั้นที่ 5 เทพบุตรคอยพุ่งจู่โจมจับมือกระทันหัน แล้วสำเร็จกิจได้ อย่างนี้มิย่ำแย่หรือ

ดังนั้น มันต้องเป็นการสบตา หรือจับมือ ด้วยความพอใจของทั้งสองฝ่ายด้วยครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#9 คนรักวัด

คนรักวัด
  • Members
  • 626 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 September 2006 - 02:42 PM


QUOTE
สวรรค์ชั้นนิมมานรดี ส่วนใหญ่ เป็นสวรรค์ที่ผู้ที่ตั้งความปรารถนาเป็นเลิศ(ในทางที่ดี



เห็นด้วยครับ สาธุ

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน
นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ . . . ฯ ๑๖๐ ฯ

เราต้องพึ่งตัวเราเอง
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว
ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้แสนยาก

Oneself indeed is master of oneself,
Who else could other master be?
With oneself perfectly trained,
One obtains a refuge hard to gain

#10 น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

    เราคือ นักรบกล้าอาสาสมัคร กองทัพธรรม

  • Members
  • 1961 โพสต์
  • Gender:Female
  • Interests:ช่วยงานบุญที่วัด ให้ถึงที่สุดกำลัง ตราบวันที่ชีวิตจะสิ้นลมหายใจ

โพสต์เมื่อ 27 September 2006 - 06:13 PM

พอพูดถึงมหาอุบาสิกาวิสาขาแล้ว หนูกำลังรับบุญถอดไฟร์อยุ่นเลยค่ะ เอาบุญมาให้ด้วยนะคะสาธุ
"ด้วยใจกล้าอาสา พัฒนาไม่หยุดยั้ง"

น้ำฝนลูกพระธัมฯ

#11 จงมีสมบัตตักไม่พร่อง

จงมีสมบัตตักไม่พร่อง
  • Members
  • 57 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 September 2006 - 06:21 PM

สาธุ ครับ

#12 บุญเท่านั้น

บุญเท่านั้น
  • Members
  • 55 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 September 2006 - 09:29 AM

ถ้านางวิสาขาลงมาเกิดอีกจะเป็นชายหรือหญิงค่ะ

#13 คนรักวัด

คนรักวัด
  • Members
  • 626 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 September 2006 - 11:52 AM

ท่านไปนิพพานแล้ว ไม่เกิดอีกแล้ว
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน
นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ . . . ฯ ๑๖๐ ฯ

เราต้องพึ่งตัวเราเอง
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว
ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้แสนยาก

Oneself indeed is master of oneself,
Who else could other master be?
With oneself perfectly trained,
One obtains a refuge hard to gain