ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

กม.ใหม่ "ป.ธ.9"เทียบเท่าปริญญาเอก


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 13 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Sunshine

Sunshine
  • Members
  • 363 โพสต์

โพสต์เมื่อ 18 June 2008 - 06:54 PM




กฎหมายใหม่ “ป.ธ.9” เท่าปริญญาเอก


นายสมชาย สุรชาตรี โฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กองพุทธศาสนศึกษาเตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.การศึกษาวิชาการพระพุทธศาสนา ต่อนางจุฬารัตน์ บุณยากร ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาฯ และที่ประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) ก่อนที่จะเสนอต่อนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแล พศ. เพื่อเตรียมเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป ทั้งนี้ ในการเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว จะมีการปรับเกณฑ์ในการเทียบระดับการศึกษาให้กับผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนาใหม่ คือ หลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เป็นการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย หลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมสนามหลวง เป็นการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลีสนามหลวงชั้นเปรียญธรรม (ป.ธ.) 3 ประโยค เป็นการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับ ป.ธ. 6 ประโยค เป็นการศึกษาชั้นปริญญาตรี




โฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ กล่าวต่อว่า ระดับ ป.ธ. 8 ประโยค เป็นการศึกษาระดับปริญญาโท ระดับ ป.ธ. 9 ประโยค เป็นการศึกษาระดับปริญญาเอก ในส่วนการดำเนินงานจะกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารงาน คือ คณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์ ซึ่งจะทำหน้าที่กำหนดนโยบายแผนการจัดการศึกษาของคณะสงฆ์ วางระเบียบ ออกข้อบังคับต่างๆ ขณะเดียวกันจะกำหนดให้กองพุทธศาสนศึกษา เป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาของสงฆ์ นอกจากนี้ จะมีการกำหนดสถานภาพให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีสถานภาพเป็นพนักงานศาสนการด้วย.



ข่าวไทยรัฐ 18 มิ.ย.51




#2 Shosholoza

Shosholoza
  • Members
  • 19 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Singapore

โพสต์เมื่อ 18 June 2008 - 07:13 PM

ถ้าอย่างนั้น เราต้องเรียกคำนำหน้านามของพระที่ท่านได้ ปธ.9 ว่า "พระมหาดอกเตอร์...." สินะ เท่ห์สุดๆ
ใช่แล้ว...ก็เพราะมันคือการสร้างบารมีของเรา

#3 เด็กอนุบาลหน้าใสใจดี

เด็กอนุบาลหน้าใสใจดี
  • Members
  • 938 โพสต์

โพสต์เมื่อ 18 June 2008 - 07:29 PM

สาธุ.. สาธุ.. สาธุ.. happy.gif
ชีวิตคือการเข้ากลาง..
ที่สุดแห่งธรรมนั้นเป็นเป้าหมาย..
โลกจะสุขสันต์เมื่อท่านเข้าถึงธรรมกาย..
สว่างไสวทั่วทุกธาตุธรรม..

#4 kasaporn

kasaporn
  • Members
  • 870 โพสต์

โพสต์เมื่อ 18 June 2008 - 09:28 PM

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง.....เปรียญ 9 ยากยิ่งนักทั้งยังเป็นวิชชาที่นำไปสู่การเข้าใจชีวิตที่แท้จริง ดีจังเลยค่ะ happy.gif

#5 swo

swo
  • Meditation Admin
  • 267 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:WDC

โพสต์เมื่อ 19 June 2008 - 05:58 AM

อืมเห็นด้วยนะ happy.gif

#6 niwat

niwat
  • Members
  • 1420 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 19 June 2008 - 08:58 AM

ข่าวดี ข่าวดี smile.gif

#7 DJ.

DJ.
  • Members
  • 1212 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 June 2008 - 10:42 AM

สาธุ สาธุ สาธุ

#8 Kodomo_kung

Kodomo_kung
  • Members
  • 323 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 19 June 2008 - 11:06 AM

เห็นด้วย ทำให้การศึกษาพุทธศาสนาเป็นสากลยิ่งขึ้นนะ

#9 ต้มข่าไก่

ต้มข่าไก่
  • Members
  • 193 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 June 2008 - 11:46 AM

ข่าวดีจัง แต่น่า จะมีเที่ยบเท่ากับ ป.โทด้วยนะ จะได้ครบกับวุฒิทางโลก
ไม่ต้องมาแจงกันใหม่ครับ เตรียมไว้เลย สาธุครับ



#10 usr23724

usr23724
  • Members
  • 120 โพสต์

โพสต์เมื่อ 19 June 2008 - 04:28 PM

ข่าวดีมากๆเลยครับ สาธุ

#11 suppy001

suppy001
  • Members
  • 2210 โพสต์

โพสต์เมื่อ 20 June 2008 - 03:21 PM

smile.gif

#12 somchet

somchet
  • Members
  • 900 โพสต์

โพสต์เมื่อ 20 June 2008 - 06:18 PM

เห็นด้วยครับ

แต่หวังว่าไม่ทำให้พระปธ.9สึกไปเป็นฆราวาสเยอะขึ้นนะ

#13 CoffeePrinces

CoffeePrinces
  • Members
  • 18 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 June 2008 - 08:51 AM

ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นเป็นการส่วนตัวนะครับ เนื่องจากอยู่ในแวดวงการศึกษามาพอสมควรโดยระดับบัณฑิตศึกษา
อันที่จริงแล้ว ต้องบอกว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก ที่มีความพยายามในการเทียบคุณวุฒิทางธรรมกับคุณวุฒิทางโลกอยู่เนือง แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ของผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่มีต่อผู้ศึกษาในทางธรรมอย่างเต็มที่

แต่อย่างไรก็ตาม ผมยังคงเห็นว่า การศึกษาในทางธรรมจะให้ไปเทียบเคียงกับทางโลกนั้นเห็นจะเป็นการยาก เพราะแม้ว่าจะมีวิธีการศึกษาที่คล้ายๆกัน แต่ก็ไม่ได้เหมือนกันทีเดียว อีกทั้งเป้าประสงค์สำคัญก็ยังแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ผมจึงสันนิษฐานเองว่า เหตุที่ต้องมีการเทียบวุฒิให้นั้นอาจจะเป็นการเอื้ออำนวยให้ผู้ที่เคยอยู่ในเส้นทางธรรม(เคยเป็นบรรพชิตมาก่อน)สามารถเรียนต่อหรือสามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติเหมือนฆราวาสทั่วไป หากท่านยังคงดำรงเพศภาวะของนักบวชอยู่ก็ไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องไปเทียบเคียงคุณวุฒิทางโลก ด้วยเหตุทีการศึกษาทางธรรมเป็นทางแห่งอริยะที่สูงส่งและสูงสุดอยู่แล้ว ไม่ต้องว่าได้บาลีประโยคไหนหรอกครับ แม้จดจำอักขรธรรมในพระบาลีได้นิดหน่อย แต่เอามาใช้พัฒนาตน พัฒนาคนได้ ก็มีค่าเกินกว่าคำว่า ปริญญาเอก เป็นไหนๆ

กลับเข้าสู่ประเด็นสำคัญคือ การให้เปรียญธรรมเก้าประโยคเทียบเท่าปริญญาเอก ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก หลายท่านที่จบปริญญาเอกก็คงจะทราบว่า การเรียนระดับนี้ต้องอาศัยการทำวิจัยระดับลึกหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆให้กับวงการวิชาการ บางท่านใช้เวลาสามปี สี่ปี เป็นสิบๆปีก็ยังมีอยู่ คงต้องถามสำนักงานอุดมศึกษาบ้านเราว่า ให้คำจำกัดความของคำว่า ปริญญาดุษฎีบัณฑิตเอาไว้แคบกว้างขนาดไหน หรือ มีทัศนะอย่างไรต่อประเด็นนี้ เพราะปัจจุบันแม้การเรียนปริญญาเอกให้หลายๆที่ก็เกือบจะเป็นการซื้อขายมากกว่าจะเป็นการเรียนการสอน

ทางเลือกที่ดีคือการยกย่องให้เป็นปริญญากิตติมศักดิ์ หรือให้สิทธิพิเศษในการทำวิจัยหรือผลงานทางวิชาการเพื่อยื่นขอปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ได้ทันทีโดยไม่ต้องเข้าเรียน คล้ายๆกับการเรียนปริญญาเอกแบบวิจัยในหลายๆหลักสูตร เพราะชึ้นชื่อว่าเป็นดุษฎีบัณฑิตแล้ว ไม่ใช่มีแต่เพียงสายตาคนในประเทศที่มองอยู่ แต่ยังมีสายตาจากชาวต่างชาติมากมายที่จับจ้องการศึกษาบ้านเราอยู่เช่นกัน

ความคิดเห็นของผมนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวในเชิงการศึกษานะครับ ไม่มีเจตนาจะดูเบาการศึกษาพระบาลีแม้แต่น้อย อีกประการหนึ่งก็ใช่ว่าคนจบปริญญาเอกจะมีความรู้ความสามารถสูงกว่าคนจบปริญญาตรีหรือคนที่ไม่มีปริญญา ด้วยสิ่งสำคัญกว่าการเรียนก็คือประสบการณ์และการฝึกฝนตลอดชีวิตนั่นเองครับ



#14 kritkata

kritkata
  • Members
  • 20 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 June 2008 - 04:44 PM

เห็นด้วยกับคุณ coffee prince นะครับ ไม่ได้ดูถูกดูแคลนภาษาบาลีนะครับเพราะว่าสุดยอดวิชาคือ ปธ 9 อยู่แล้ว และแม้เพียงหัวข้อธรรมเดียวก็สามารถพาล่วงข้ามวัฏฏสงสารได้ นี่ยืนยันว่าดีจริง แต่การเรียนบาลีนั้นตามที่ผมเข้าใจนะครับว่าเป็นการท่องจำเสียส่วนใหญ่ ซึ่งกว่าจะได้ก็เห็นว่าพระเณรแทบตายเหมือนกัน แต่ยังเป็นความรู้ในระดับท่องจำเสียส่วนใหญ่ ดังนั้นควรจะให้เป็นปริญญาโทที่ ปธ9 ปริญญาตรีที่ ปธ6 ส่วนด๊อกเตอร์ หรือ Ph.D. นั้น ตามตัวอักษรเต็มๆ ว่า Philosophus docterus นั้น หรือ doctor of philosophy นั้น (ไม่รู้สะกดถูกหรือเปล่านะครับ) แปลง่ายๆ ว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ที่ตนรัก คำว่าผู้เชี่ยวชาญนั้น ต้องมีการวิจัยเป็นพื้น ซึ่งศาสนาพุทธสุดยอดการวิจัยนั้นไม่ใช่การค้นตำรา แต่เป็นการค้นตัวเอง 84,000 พระธรรมขันธ์นั้นเกิดขึ้นและจบหลักสูตรที่ควงไม้พระศรีมหาโพธิ์คือการตรัสรู้ แต่ว่าเราคงยังไม่มีอะไรไปวัดว่าท่านนั้นท่านนี้เป็นอริยบุคคล ดังนั้นด๊อกเตอร์ทางบาลีควรจะเป็นการศึกษาวิจัยซึ่งทำตลอดชีวิต ตลอดชีวิตนะครับย้ำ เพราะคนไทยชอบเห่อด๊อกเตอร์เหลือเกิน คนที่จะใช้คำว่าด๊อกเตอร์ได้นั้นไม่ใช่แค่จบปริญญาเอก แต่ต้องมีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องในเรื่องนั้นๆ เห็นง่ายๆ ว่า ปธ 9 บ้านเราบางองค์จบปั๊บสึกมั่งล่ะ หรือไปเป็นสมภารเจ้าคุณ ซึ่งเป็นการบริหารเสียส่วนใหญ่ ก็ไม่ค่อยเกี่ยวกะการศึกษา แล้ว Ph.D นั้นยังกินความว่าทำงานในศาสตร์ที่ตนรัก นั่นเลยฮะ จบ ปธ 9 แล้วสึก มันจะเรียกว่าด๊อกเตอร์ได้เหรอฮะ
อันความเห็นนี้ดูรุนแรงหน่อยแต่ขอฟันธงว่า ประโยค 9 ไม่ควรให้ด๊อกเตอร์ ประโยค 9 ต้องเรียน ประโยค 10 ก่อน ศึกษาความรู้ในตัวซึ่งได้ทั้งความรู้ใบไม้ในกำมือและใบไม้ในป่า จะได้เป็นด๊อกเตอร์ทั้งในและนอกครับ