ทำบุญกับช้างข้างถนน
#1
โพสต์เมื่อ 15 August 2008 - 01:45 PM
ทำดีได้กับตัว ทำชั่วไม่ได้ดี
#2
โพสต์เมื่อ 15 August 2008 - 04:27 PM
เรื่องของการคิด หากคิดไม่ดี ยังไงก็มีปัญหา 108 ล่ะครับ ผมจะยกตัวอย่างให้ก็ได้
การตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่ดี ทำให้สรรพสัตว์พ้นทุกข์มากมายมหาศาล
แต่ถ้าเป็นเจอพวกที่คิดพิเรน เขากลับคิดว่า การตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ดี ทำให้พวกเดียรถีย์(นักบวชนอกศาสนา)ต้องเสื่อมลาภ เพราะผู้คนหันมานับถือพระพุทธศาสนา ในที่สุดพวกเดียร์ถีย์ต้องทำบาป โดยคอยไปหาวิธีกลั่นแกล้งพระพุทธเจ้า ดังนั้น การตรัสรู้ธรรมไม่ดี เพราะ่ส่งเสริมให้คนทำบาป
ถ้าน้องเจ้าของกระทู้ เจอคนพูดแบบนี้ น้องจะทำยังไงครับ จะรู้สึกเป็นตามเขาพูดมั้ยครับ
#3
โพสต์เมื่อ 15 August 2008 - 05:43 PM
แต่เราทำบุญกับคนเลี้ยงช้างต่างหาก เพราะว่าเงินที่เราซื้อกล้วยให้ช้างนั้น จะช่วยให้คนเลี้ยงช้างมีรายได้ไปเลี้ยงตนเอง
และครอบครัว แต่แน่นอน คนเลี้ยงช้างส่วนใหญ่ไม่ได้รักษาศีลห้า และตามวิธีบูชาครูของคนเลี้ยงย่อมมีสุราเป็นเครื่อง
เซ่นไหว้ ดังนั้น เงินที่เราช่วยซื้ออาหารให้ช้าง ส่วนหนึ่งถูกนำไปซื้อปัจจัยสี่เพื่อเลี้ยงดูคนเลี้ยงช้างและครอบครัว(รวม
ช้างด้วย)และส่วนหนึ่งจะถูกนำไปซื้อบุหรี่และสุราเสพ และบูชาครูตามความเชื่อของหมอประกัม(ควาญช้างอาวุโส)
ได้บุญหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ไปคิดเอาเองนะครับ
อ้อ!! ทราบมั้ยครับว่าช้างโตเต็มวัยต้องทานอาหารวันละประมาณ 170 กิโลกรัม ดังนั้นช้างจึงต้องกินทั้งวัน
การเอาช้างมาเดินขอความเมตตาจากผู้ใจบุญคอยซื้อกล้วยให้บนถนนที่ร้อนและเต็มไปด้วยไอเสีย
ทำให้ช้างต้องทนหิว และเหนื่อยล้า และอาหารที่เราซื้อให้ช้างกินนั้นก็ไม่พอให้อิ่มได้หรอก
กล้วยสองหวีสำหรับช้างนั้น เหมือเรากินข้าวแค่คำเดียวเท่านั้น
#4
โพสต์เมื่อ 15 August 2008 - 05:47 PM
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น
ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส
อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
[/color]
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒
"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"
"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"
#5
โพสต์เมื่อ 15 August 2008 - 06:34 PM
ลำดับของผลแห่งทานตามนี้นะครับ
๑. ทานที่ให้กับสัตว์เดรัจฉาน มีอานิสงน้อยที่สุด (กี่ภพชาติไม่แน่ใจ)
๒. ทานที่ใ้ห้กับคนทุศีล (คนใม่มีศีล) มีอานิสงเพิ่มขึ้นจากข้อ ๑
๓. ทานที่ให้กับผู้มีศีล มีอานิสงมากตามกำลังศีลของผู้ปฏิบ้ติ
๔. ทานที่ใ้ห้กับผู้มีญาณสมาบัติ มีอานิสงมากอสงไขยตามญาณของผู้ได้สมาบัติ
(ได้ปฐมมรรค-ธรรมกายละเอียด ๆ)
๕. ทานที่ใ้ห้กับพระผู้มีพระภาคเจ้า มีอานิสงไม่มีประมาณมากขึ้นไปอีก
๖. ทานที่ใ้ห้เป็นหมู่สงฆ์ (สังฑทาน) มีอานิสงมากยิ่งกว่า (เพราะสืบอายุพระศาสนา)
๗. ทานที่ให้ไว้ในพระศาสนา (สร้างโบถส์ วิหาร ฯลฯ) มีอานิสงมากยิ่งขึ้นไปอีก (วัตถุถาวรใช้ประโยชน์ได้นาน)
ที่กล่าวมาทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงความบริสุทธิของผู้รับทาน
หากต้องการอานิสงมากยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกตัวเราเองที่เป็นผู้ใ้ห้พึงเป็นผู้มีศีลบริสุุทธิให้มาก ๆ เป็นผู้ฝึกสมาธิจนได้ธรรมกายอานิสงที่ท่านทำทุกอานิสงย่อมมีผลมากไม่มีประมาณ
สาธุ ๆ ๆ
ไฟล์แนบ
#6
โพสต์เมื่อ 15 August 2008 - 11:45 PM
#7
โพสต์เมื่อ 16 August 2008 - 07:14 AM
และถ้าจำไม่ผิด น่าจะมีอีกตอนที่กล่าวถึง "การให้สตางค์ขอทาน" ด้วย เพราะเนื้อหาจะเข้ากันพอดี ใครอยากได้คำตอบที่ชัดเจนเอาไว้ไปตอบคนอื่นก็ลองศึกษาดูนะครับ
อนุโมทนาบุญด้วยครับ
#8
โพสต์เมื่อ 16 August 2008 - 09:43 AM
- โดยอุดมคติก็ควรไถ่ชีวิตเขากลับสู่ผืนป่า เพราะเขาเป็นสัตว์ป่า...แต่บังเอิญถูกเลี้ยงมาทำให้สัญชาตญานเลือนไป...แถมช้างมักจะผูกพันธ์กับควาน...จึงเป็นการยากที่จะไถ่ตัวช้างจากควานช้าง...จะเลี้ยงช้างให้อิ่มคงต้องใช้ทรัพย์มหาศาลแถมต้องเลี้ยงควานช้างอีกด้วย
- ทางแก้ก็ทำกันอยู่...แต่คงไม่ทั้งหมด...ตราบเท่าที่เรื่องปากท้องในชนบทยังคงเป็นปัญหา...ย่อมส่งผลกระทบกับคนกรุง
#9
โพสต์เมื่อ 16 August 2008 - 10:03 AM
ผมเคยคิดว่าหากผมมีสมบัติจักรพรรดิ์ ผมจะซื้อป่าสักผืนซื้อจังหวัดสักจังหวัดทำเป็นป่า ล้อมรั้วอย่างดี เห็นช้างเดินตามถนนที่ไหนผมจะซื้อช้างนั้นแล้วนำไปปล่อยในที่ๆเตรียมไว้ แต่สุดท้ายผมก็ได้แต่ฝันอยู่อย่างนั้น
ทานที่ให้ไม่ว่าจะให้แก่สัตว์เดรัจฉานหรือคนพาลก็ตาม แม้จะน้อยนิดแค่ไหน หากมีจิตคิดจะให้ ให้ไปเถอะครับ เพราะจุดมุ่งหมายของการให้ทานก็คือการตัดความตระหนี่ออกจากใจเรา ทรัพย์ที่เราให้ไปเขาจะเอาไปทำอะไรเรื่องของเขา เพราะไม่เกี่ยวกับเราแล้ว เพียงแต่ให้ไปแล้วไม่เดือดร้อนเราก็พอ จะเป็นบาปหรือไม่นั้นมันไม่เกิดกับเราแต่เกิดกับผู้รับที่จะนำทรัพย์ที่เราให้ไปใช้ยังไงต่อต่างหากครับ เราคิดแต่จะให้เพื่อตัดความตระหนี่ในใจของเรา ดังนั้นไม่เป็นการสนับสนุนแต่อย่างใดครับ
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย
#10
โพสต์เมื่อ 16 August 2008 - 05:50 PM
#11
โพสต์เมื่อ 16 August 2008 - 10:11 PM
Scan จากหนังสือ อยู่ในบุญ เดือน มีนาคม 2550 พระธรรมเทศนา หลวงพ่อตอบปัญหา หน้า 36
คลิกดาวน์โหลดหนังสือได้ที่
http://www.dmc.tv/do...oon_2550_03.pdf
ไฟล์แนบ
เวลาทำอะไรพลาด อย่าคิดนำไปก่อน เพราะมารจะเข้าแทรกผัง ให้เราคิดได้เป็นเรื่องเป็นราวทันที ยิ่งคิด ยิ่งมีผลเสียแก่ตัวเราเอง ถ้าคิดอย่างนี้แล้วใจจะตก มารจะแทรกผังสำเร็จใส่ทันที ทำให้เรื่องที่ยังไม่มีอะไร กลับกลายเป็นเรื่องร้ายทันที ยิ่งคิดจะยิ่งเสีย ฉะนั้น เมื่อเกิดเรื่อง ให้เราทำใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายอย่างเดียว (ขุมทรัพย์จากคุณยาย)
#12
โพสต์เมื่อ 16 August 2008 - 10:22 PM
ทำดีได้กับตัว ทำชั่วไม่ได้ดี
#13
โพสต์เมื่อ 16 August 2008 - 10:47 PM
#14
โพสต์เมื่อ 17 August 2008 - 07:38 PM
คิดว่าที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อทัตตะชีโวท่านได้กล่าวเทศน์เอาไว้คงพอจะเป็นคำตอบให้กับทุกคนได้นะครับ
อนุโมทนาบุญด้วยครับ