ข้อสงสัยเกี่ยวกับศีล 8
#1
โพสต์เมื่อ 18 February 2006 - 10:22 PM
1.ในระหว่างช่วงเที่ยงเป็นต้นไป หากจำเป็นต้องทานอะไรลองท้อง ป้องกันโรคกระเพาะ อะไรที่ทานได้บ้าง น้ำปานะได้แก่น้ำอะไรบ้าง นมหรือ โยเกิร์ท ช้อคโกแลต ทานได้ไหมครับ
2.ยามวิกาลนับตั้งแต่กี่โมง
3.ถือศีลแปดแล้ว ดูข่าว ดูละคร ทีวี ได้หรือไม่
4.ที่นอนสูงใหญ่คืออะไร การนั่งนอนบนโซฟาผิดศีลหรือไม่
5.ถือศึลแปดแล้ว ใช้โรล ออน ระงับกลิ่นกาย ได้หรือไม่
หากมีผู้รู้ ขอความกรุณาให้ธรรมทานด้วยครับ กราบอนุโมทนาบุญครับ
#2
โพสต์เมื่อ 19 February 2006 - 03:05 AM
เอาศีลห้ามาให้ก่อนค่ะ กรุณาอ่านกระทู้ข้างบน
เดี๋ยวศีลแปดจะพยายามส่งมาทีหลังค่ะ
#3
โพสต์เมื่อ 19 February 2006 - 04:49 AM
ขอแนะนำว่า หากคุณยังมีโรคประจำตัวดังกล่าวอยู่ล่ะก็ ไม่ควรรักษาศีล ๘ นะครับ เพราะอาการของโรคนี้มันบีบบังคับขันธ์ของเราไปในตัวอยู่แล้วว่า เราต้องรับประทานและควบคุมปริมาณการบริโภคอาหารให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและเป็นสัดส่วนน่ะครับ
สำหรับสิ่งที่สามารถบริโภคได้เมื่อเลยตะวันเที่ยงไปแล้ว ได้แก่ น้ำปานะ (อันนี้รับประทานเป็นหลักเลย แต่ต้องเป็นน้ำปานะซึ่งคั้นจากผลไม้ที่มีขนาดของผลไม่เกินกำปั้นเท่านั้นนะครับ หากมีขนาดเกินกว่านั้น เช่น น้ำแตงโม น้ำส้มโอ ดังนี้ ห้ามบริโภคครับ) เช่น น้ำส้ม น้ำเสาวรส น้ำลำไย เป็นต้น ผลไม้บางชนิดที่เจตนาบริโภคเพื่อเป็นโอสถในการบำบัดรักษา หรือเป็นยาระบาย เช่น มะขาม และของหวานบางอย่างที่รับประทานแล้ว ไม่มีเจตนารับประทานเพื่อให้อิ่มท้อง ได้แก่ ไอศครีม (ไม่โรยด้วยถั่วและเนื้อของไอศครีมต้องไม่มีส่วนประกอบของผลไม้ ตลอดจนแป้งกรุบกรอบจำพวกบิสกิต) โยเกิร์ต (ไม่มีส่วนประกอบของธัญพืช วุ้นต่างๆ เช่น วุ้นมะพร้าว และเนื้อของผลไม้ เช่น ส้มและสตรอว์เบอร์รี่ เป็นต้น) และช็อกโกแลต (ไม่มีไส้ถั่ว ลูกเกด และผลไม้ต่างๆ) เป็นต้น สำหรับเยลลี่และเจเล่ไลท์ห้ามรับประทานครับ
สำหรับองค์แห่งศีลข้อที่ ๖ นั้น นับตั้งแต่ ๑๒.oo น. ไปจนกระทั่งถึง ๖.oo น. ของวันใหม่ครับ (ตัวเลขตรงนี้ ผมขอความกรุณาผู้รู้มาช่วยยืนยันให้อีกครั้งหนึ่งด้วยนะครับ) ซึ่งในสมัยโบราณนั้น จะอาศัยดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์ ซึ่งถ้าหากดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลางศีรษะพอดีจะนับเป็นเวลา ๑๒.oo น. สำหรับหลักเกณฑ์ในเริ่มรับประทานอาหารในรุ่งอรุณของวันใหม่นั้น ตามแบบโบราณให้ปฏิบัติโดยการเหยียดแขนไปจนสุดแล้วแบมือออก หากท่านเห็นลายมือบนฝ่ามือของท่านก็เป็นอันว่า ท่านสามารถรับประทานอาหารได้แล้วในเวลาเช้าของวันนั้นครับ
ตามความเห็นของผมคิดว่า หากเป็นรายการเกี่ยวกับสารคดี อาทิ National Geographic, Discovery รายการธรรมะต่างๆ อาทิ ธรรมะ คือ คุณากร (ช่อง ๑๑) ตลอดจนข่าวสารต่างๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษา (ในกรณีที่ท่านยังเป็นนักศึกษาอยู่) ดังนี้ ดูไปเถิดครับ แต่ถ้าหากเป็นละครแล้ว ก็ต้องมาพิจารณากันเป็นกรณีๆ ไปว่า ถ้าเป็นละครสอนใจให้คนเกิดการรักบุญกลัวบาปและมีกำลังใจในการสร้างบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป กรณีนี้ สามารถดูได้ครับ แต่หากเป็นละครที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเรื่องรักๆ ใคร่ๆ และมีการประโคมขับร้องเพลงที่มีเนื้อหาทางโลกด้วยแล้วล่ะก็ ดูแล้วศีลขาดเลยนะครับ ห้ามเด็ดขาด!
ที่นอนอันสูงใหญ่ คือ ที่นอนอันภายในยัดด้วยนุ่นหรือสำลีซึ่งมีขนาดสูงเกินกว่า ๑ ศอกขึ้นไปเมื่อนับจากพื้นครับ ส่วนการนั่งบนโซฟานั้น ผมคิดว่า สามารถอนุโลมตามแต่สถานการณ์ได้ (แต่หากคุณกลัวว่าศีลจะขาด นั่งเก้าอี้เสียก็หมดเรื่องครับ) สำหรับการนอนบนเตียงคนป่วยในโรงพยาบาล (หากท่านป่วยจริง) นั้น สามารถทำได้ ศีลไม่ขาดครับ แต่ถ้านอนบนโซฟาโดยไม่ป่วย (แม้ป่วยจริง ผมเองก็มีความเห็นว่า ไม่ควร ควรจะนอนบนเตียงพยาบาล หรือเตียงพักฟื้นในบ้านของเราให้เป็นกิจจะลักษณะเสียเลยจะดีกว่าครับ) นี่ ไม่ได้นะครับ
ขอแนะนำว่า หากต้องการใช้ ควรใช้แบบไม่มีกลิ่น หรือถ้าลูกทุ่งหน่อยก็ใช้สารส้มไปเลยจะดีกว่าครับ เพราะวัตถุประสงค์ของเราเพียงเพื่อกำจัดกลิ่นกายไม่ให้ก่อความรำคาญแก่ผู้อื่นแต่เพียงเท่านั้น หากเป็นการใช้ไล้ทาเพื่อย้อมใจเพศตรงข้ามให้เกิดความกำหนัดแล้วล่ะก็ ศีลขาดนะครับ
#4
โพสต์เมื่อ 19 February 2006 - 05:43 AM
ปล. ผมขออาสาสมัครที่มีความสามารถในการแปลภาษาบาลีมาช่วยถอดความที่คุณ Z ได้โพสต์เอาไว้ด้วยนะครับ แล้วผมจะช่วยในส่วนของการเรียบเรียงเป็นภาษาไทยให้ จะได้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกและผู้เยี่ยมชมทุกท่านครับ
#5
โพสต์เมื่อ 19 February 2006 - 06:10 AM
ชัดเจนค่ะ
อนุโมทนาบุญค่ะ
#6
โพสต์เมื่อ 19 February 2006 - 07:15 AM
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
กาลิก เนื่องด้วยกาล, ขึ้นกับกาล,
ของอันจะกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปซึ่งพระวินัยบัญญัติให้ภิกษุรับเก็บไว้และฉันได้ภายในเวลาที่กำหนด
จำแนกเป็น ๔ อย่าง คือ
๑. ยาวกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงของวันนั้น
เช่น ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ ขนมต่างๆ
ยาวกาลิก ของที่อนุญาตให้ฉันได้ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน;
๒. ยามกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือก่อนอรุณของวันใหม่
ได้แก่ ปานะ คือ น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต
ยามกาลิก ของที่ให้ฉันได้ ชั่วระยะวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง;
๓. สัตตาหกาลิก รับประเคนไว้แล้วฉันได้ภายในเวลา ๗ วัน
ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕
สัตตาหกาลิก ของที่รับประเคนเก็บไว้ ฉันได้ชั่ว ๗ วัน
ได้แก่เภสัชทั้ง ๕ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
๔. ยาวชีวิก รับประเคนแล้ว ฉันได้ตลอดไปไม่จำกัดเวลา
ได้แก่ ของที่ใช้ปรุงเป็นยา นอกจากกาลิก ๓ ข้อต้น
(ความจริงยาวชีวิก ไม่เป็นกาลิก แต่นับเข้าด้วยโดยปริยาย เพราะเป็นของเกี่ยวเนื่องกัน)
ยาวชีวิก ของที่ให้ฉันได้ไม่จำกัดเวลาตลอดชีวิต;
ปานะ เครื่องดื่ม, น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็นยามกาลิก
ท่านแสดงไว้ ๘ ชนิด คือ
๑. อมฺพปานํ น้ำมะม่วง
๒. ชมฺพุปานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า
๓. โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด
๔. โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด
๕. มธุกปานํ น้ำมะทราง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร)
๖. มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทร์หรือองุ่น
๗. สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล
๘. ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่
นิยมเรียกว่า อัฏฐบาน หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)
วิธีทำปานะที่ท่านแนะไว้ คือ ปอกหรือคว้านผลไม้เหล่านี้ที่สุก เอาผ้าห่อ บิดให้ตึงอัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้า เติมน้ำลงให้พอดี (จะไม่เติมน้ำก็ได้เว้นแต่ผลมะทรางซึ่งท่านระบุว่าต้องเจือน้ำจึงควร) แล้วผสมน้ำตาลและเกลือเป็นต้นลงไปพอให้ได้รสดี
ข้อจำกัดที่พึงทราบคือ
๑. ปานะนี้ให้ใช้ของสดห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ
(ข้อนี้พระมติสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่าแม้สุกก็ไม่น่ารังเกียจ)
๒. ต้องเป็นของที่อนุปสัมบันทำ จึงควรฉันในเวลาวิกาล
(ถ้าภิกษุทำถือเป็นเหมือนยาวกาลิก เพราะรับประเคนมาทั้งผล)
๓. ของประกอบเช่นน้ำตาลและเกลือ ไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนไว้มาใช้
(แสดงว่ามุ่งให้เป็นปานะที่อนุปสัมบันทำถวายด้วยของของเขาเอง)
เภสัช ยา, ยารักษาโรค, ยาแก้โรค เป็นอย่างหนึ่งในปัจจัย ๔,
เภสัช ๕ ที่เป็นสัตตาหกาลิก รับไว้ฉันได้ตลอด ๗ วัน คือ
๑. สัปปิ เนยใส
๒. นวนีตะ เนยข้น
๓. เตละ น้ำมัน
๔. มธุ น้ำผึ้ง
๕. ผาณิต น้ำอ้อย;
ส่วนยาแก้โรคที่ทำจากรากไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ เป็นต้น จัดเป็นยาวชีวิก คือรับประเคนไว้แล้ว เก็บไว้ฉันได้ตลอดชีวิต
เภสัชชขันธกะ ชื่อขันธกะที่ ๖ แห่งคัมภีร์มหาวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องเภสัชคือ ยาบำบัดโรค ตลอดจนเรื่องยาคู
อุทิสสมังสะ กัปปิยะอกัปปิยะ และกาลิก ๔
มธุกะ มะทราง, น้ำคั้นมะทรางเจือน้ำแล้ว เรียกมธุกปานะ เป็นสัตตาหกาลิกอย่างหนึ่ง;
ประเภทและความหมายของเภสัช
กสาวเภสัช น้ำฝาดเป็นยา, ยาที่ทำจากน้ำฝาดของพืช เช่น น้ำฝาดของสะเดา น้ำฝาดกระดอม น้ำฝาดบรเพ็ด
ชตุเภสัช พืชที่มียางเป็นยา, ยาทำจากยางพืช เช่น มหาหิงคุ์ กำยาน เป็นต้น
มูลเภสัช มีรากเป็นยา, ยาทำจากรากไม้ เช่น ขมิ้น ขิง ว่านน้ำ ข่า แห้วหมู เป็นต้น
ปัณณเภสัช พืชมีใบเป็นยา,
ยาทำจากใบพืช เช่น ใบสะเดา ใบมูกมัน ใบกระดอม ใบกะเพรา เป็นต้น
ผลเภสัช มีผลเป็นยา, ยาทำจากลูกไม้ เช่น ดีปลี พริก สมอไทย มะขามป้อม เป็นต้น
แถมท้ายด้วยหมวดที่กล่าวอ้างถึง ปานะ และ เภสัช ค่ะ
มหาวรรค ชื่อคัมภีร์อันเป็นหมวดที่ ๓ ใน ๕ หมวด แห่งพระวินัยปิฎก คือ อาทิกัมม์ ปาจิตตีย์ มหาวรรค จุลวรรค บริวาร,
มหาวรรค มี ๑๐ ขันธกะ (หมวด ตอน หรือบท) คือ
๑. มหาขันธกะ (ว่าด้วยการบรรพชาอุปสมบท เริ่มแต่เหตุการณ์หลังตรัสรู้ใหม่ๆ และการประดิษฐานพระศาสนา)
๒. อุโปสถขันธกะ (ว่าด้วยอุโบสถและสีมา)
๓. วัสสูปนายิกขันธกะ (ว่าด้วยการเข้าพรรษา)
๔. ปวารณาขันธกะ (ว่าด้วยปวาณา)
๕. จัมมขันธกะ (ว่าด้วยเครื่องหนัง เช่น รองเท้าและเครื่องลาด)
๖. เภสัชชขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องยาตลอดจนเรื่องกัปปิยะ อกัปปิยะ และกาลิกทั้ง ๔)
๗. กฐินขันธกะ (ว่าด้วยกฐิน)
๘. จีวรขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องจีวร)
๙. จัมเปยยขันธกะ (ว่าด้วยข้อควรทราบบางอย่างเกี่ยวกับนิคคหกรรมต่างๆ)
๑๐. โกสัมพิกขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี วิวาทกันและสังฆสามัคคี);
มหาปเทส ข้อสำหรับอ้างใหญ่ (ในทางพระวินัย) หลักอ้างอิงสำหรับเทียบเคียง ๔ คือ
๑. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากับสิ่งเป็นอกัปปิยะ ขัดต่อสิ่งเป็นกัปปิยะ สิ่งนั้นควร
๒. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งเป็นกัปปิยะ ขัดต่อสิ่งเป็นอกัปปิยะ สิ่งนั้นควร
๓. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งเป็นอกัปปิยะ ขัดต่อสิ่งเป็นกัปปิยะ สิ่งนั้นไม่ควร
๔. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งเป็นกัปปิยะ ขัดต่อสิ่งเป็นอกัปปิยะ สิ่งนั้นควร
กัปปิยะ สมควร, ควรแก่สมณะบริโภค, ของที่สมควรแก่ภิกษุบริโภคใช้สอย
คือพระพุทธเจ้าอนุญาตให้ภิกษุให้หรือฉันได้
เช่น ข้าวสุก จีวร ร่ม ยาแดง เป็นกัปปิยะ
แต่สุรา เสื้อ กางเกง หมวก น้ำอบ ไม่เป็นกัปปิยะ
สิ่งที่ไม่เป็นกัปปิยะ เรียกว่า อกัปปิยะ
หวังว่าคงจะพอเป็นประโยชน์บ้างนะคะ
#7
โพสต์เมื่อ 19 February 2006 - 07:20 AM
#8
โพสต์เมื่อ 19 February 2006 - 07:35 AM
๑. ปัญหาคาใจในการรักษาศีล ๘
๒. ศีล ๘ และอุโบสถศีล
#9
โพสต์เมื่อ 19 February 2006 - 03:37 PM
แล้วยังสามารถนำไปแนะนำผู้อื่นที่สงสัยเช่นเดียวกันได้ คือบางครั้งอยากให้เขาลองถืดศีลแปดบ้าง จะได้บุญมากขึ้น
แต่ก็ไม่อยากให้เขารู้สึกว่ามันยุ่งยาก หมดกำลังใจไปเสียก่อน ผมได้พบหนังสือชื่อว่า "คู่มือเตรียมสอบ บทท่องสอบผ่านสนามหลวง เบญจศีล เบญจธรรม อุโบสถศึล อุปสมบทวิธี " โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง มีข้อมูลเกี่ยวกับที่นอนสูงใหญ่ในศีลแปดดังต่อไปนี้ เผื่อสมาชิกผู้รู้
ท่านใดอาจช่วยขยายความ ให้เข้าใจง่ายๆ อย่างน้อยๆก็เพื่อประดับความรู้
ที่นอนสูง
ที่นอนสูง หมายเอาเตียงและตั่งที่ถักทอด้วยหวาย ตอก หรือผูกด้วยผ้าทำด้วยไม้กระดาน มีทั้งแบบเท้าคู้ และเท้าตรง มีสันฐานรี สี่เหลี่ยม
หรือกลม ส่วนเท้าเตียงนั้น กำหนดให้สูงเพียง 8 นิ้วพระสุคต (10 นิ้วกับ 3กระเบียดช่างไม้) ต่ำกว่านั้นท่านไม่ห้าม สูงกว่านั้นไม่สมควร
ถ้าเป็นตั่งสี่เหลี่ยม แม้จะมีเท้าสูงเกิน 8 นิ้วพระสุคตก็ใช้ได้ ถ้าเตียงทำพนักข้างทั้งสามด้าน แม้สูงกว่าประมาณที่กำหนดก็ใช้ได้ เตียง
หรือตั่งมีเท้าสูงเกินประมาณ ติดตั้งอยู่กับที่ยกไปไหนไม่ได้ก็ไม่ควร ถ้าเป็นเตียงไม่มีพนักพิง ทำให้สูงได้อีกนิดหน่อย คือเอาไม้รองเท้าได้อีก สูง 8 นิ้วช่างไม้เท่านั้นจึงควร การห้ามมิให้ใช้ที่นั่งนอนสูงนั้น ก็เพราะไม่ต้องการให้เป็นของโอ่โถงยั่วยวนให้เกิดราคะความกำหนัดยินดี
ที่นอนใหญ่
ที่นอนใหญ่ที่เขาตกแต่งหรือปูลาดด้วยของไม่สมควรนั้น ท่านจัดไว้ 19 อย่างคือ
๑ บัลลังก์สำหรับนั่ง ที่ประดับด้วยรูปสัตว์ มีเสือหรือจระเข้ เป็นต้น
๒ ผ้าขนสัตว์ใหญ่มีขนยาว (คือขนผ้านั้นยาว 4 นิ้ว)
๓ เครื่องปูลาด ทำด้วยขนแกะที่วิจิตรด้วยลายเย็บปัก
๔ เครื่องปูลาดทำด้วยขนแกะมีลายเป็นแผ่น
๕เครื่องปูลาดทำด้วยขนแกะมีลายดอกไม้แน่นเนื่องกัน
๖ เครื่องปูลาดทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ต่างๆ
๗เครื่องปูลาดทำด้ยขนแกะ มีขนขึ้นทั้งสองด้าน
๘เครื่องปุลาดทำด้วยขนแกะมีขนขึ้นข้างเดียว
๙เครื่องปูลาดเป็นชั้น เขาเย็บด้วยหนังเสือ
๑๐ เครื่องปูลาดมีเพดานแดงคาดข้างบน
๑๑ เครื่องปูลาดบนหลังช้าง
๑๒ เครื่องปูลาดบนหลังม้า
๑๓ เครื่องปูลาดบนรถ
๑๔ เครื่องปูนอนทอด้วยด้ายทอง ในระหว่างด้ายไหมขลิบด้วยทอง
๑๕ เครื่องปูลาดทอด้วยไหมขลิบทอง
๑๖ เครื่องปูนอน ทำด้วยขนแกะ ขนาดใหญ่พอนางฟ้อน ๑๖ คนยืนรำได้
๑๗ เครื่องปูนอนอย่างดี ทำด้วยหนังชะมด
๑๘ ที่นอนมีหมอนแดงทั้ง๒ ข้างเตียง
๑๙ ฟูกเบาะยัดนุ่นอย่างเดียว
เครื่องปูลาดทั้ง ๑๙ อย่างนี้เรียกว่าที่นอนใหญ่ คนรักษาอุโบสถศีลไม่ควรนำมาใช้ในขณะรักษาอุโบสถ ที่นอนใหญ่
หมายความตรงๆว่าที่นอนซึ่งนอนได้ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป อันเป็นที่นอนของคนคู่ ผู้รักษาอุโบสถซึ่งเป็นผู้งดเว้นจาก
การเป็นอยู่แบบคนคู่แล้ว ไม่ควรนอนที่นอนเช่นนั้น
#10
โพสต์เมื่อ 19 February 2006 - 06:46 PM
#11
โพสต์เมื่อ 19 February 2006 - 08:27 PM
#12
โพสต์เมื่อ 19 February 2006 - 09:52 PM
#13
โพสต์เมื่อ 20 February 2006 - 12:19 AM
ท่านแสดงไว้ ๘ ชนิด คือ
๑. อมฺพปานํ น้ำมะม่วง
๒. ชมฺพุปานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า
๓. โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด
๔. โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด
๕. มธุกปานํ น้ำมะทราง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร)
๖. มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทร์หรือองุ่น
๗. สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล
๘. ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่
นิยมเรียกว่า อัฏฐบาน หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)
ที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นปานะที่มีสรรพคุณทางยาทั้งสิ้น ฉะนั้น จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "เภสัชอัฐบาน" ครับ
#14
โพสต์เมื่อ 20 February 2006 - 10:44 PM
น้าจี้
#15
โพสต์เมื่อ 21 February 2006 - 11:36 AM
#16
โพสต์เมื่อ 21 February 2006 - 04:05 PM
#17
โพสต์เมื่อ 21 February 2006 - 09:33 PM
อ้าว
ไม่ใช่ตี5เหรอคะ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
#18
โพสต์เมื่อ 07 March 2006 - 11:50 AM
#19
โพสต์เมื่อ 13 April 2006 - 12:57 AM
ผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็งที่สุด ย่อมเป็นผู้ที่สุภาพนุ่มนวลที่สุด
#20
โพสต์เมื่อ 13 April 2006 - 12:40 PM
#21
โพสต์เมื่อ 23 February 2007 - 10:21 AM
#22
โพสต์เมื่อ 23 February 2007 - 10:51 AM