ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 1 คะแนน

...แม้ความเป็นหนึ่งก็เป็นศูนย์...


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 12 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Roytavan

Roytavan
  • Members
  • 166 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 January 2009 - 11:22 AM

ช่วยตอบหน่อยค่ะ อันไหนผิดอันไหนถูก..อ่านแล้วก็ยัง..งง....งง...

"แม้ความเป็นหนึ่งก็เป็นศูนย์"

ศิลปะการวาดภาพแบบเซ็นนั้น อาศัยสมาธิเป็นอย่างมาก
ศิลปินจะต้องเป็นผู้ฝึกสมาธิอย่างดี
และได้พิจารณาวัตถุที่จะวาดนั้นจนเข้าใจได้ลึกซึ้ง
ปัจจัยในการวาดภาพเซ็นมี ๓ ย่าง คือ
ตัวศิลปิน พู่กัน (และหมึก) และวัตถุที่จะวาด
ศิลปินนั้นจะต้องฝึกสมาธิจนแน่วแน่ชนิดที่สามารถ
รวมปัจจัยทั้งสามเข้าเป็นหนึ่งจึงจะวาดภาพเซ็นได้อย่างสมบูรณ์

ข้าพเจ้าไม่ใช่ศิลปินเซ็น กว่าจะวาดวงกลมให้กลมเช่นนี้ได้
ก็ต้องวาดเป็นร้อยวงทีเดียว ภาพนี้ตั้งใจจะให้วงกลมนั้น
เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นหนึ่ง ในการทำสมาธิ
โดยทั่วไปเรามักจะพูดว่า "รวมจิตใจให้เป็นหนึ่ง"

แต่ในการปฏิบัติธรรม แบบเซ็น
ซึ่งยกระดับขึ้นสู่โลกุตธรรมแล้วนั้นแม้หนึ่งก็ไม่มี
เพราะถ้ายังมีหนึ่ง ย่อมหมายถึงการยึดมั่นถือมั่นในจิตอยู่
ปรัชญาเซ็นปฏิเสธการยึดมั่นแม้ในจิตนั้น

เมื่อสังฆนายกนิกายเซ็นองค์ที่ห้า
ได้ให้ลูกศิษย์แสดงความรู้ที่ได้ปฏิบัติธรรมมานั้น
ชินเชา สานุศิษย์ชั้นนำผู้หนึ่งได้เขียนโศลกว่า

"กายของเราเปรียบเหมือนต้นโพธิ์
จิตนั้นเป็นกระจกเงา
หมั่นปัดกวาดเช็ดทุกวัน
มิให้ฝุ่นละอองจับต้องได้"

เว่ยหล่างหรือฮุยเหนิง
ซึ่งต่อมาได้รับเลือกให้เป็นสังฆนายกองค์ที่หก
และเป็นอาจารย์ทีมีชื่อเสียงเป็นอันมากของนิกายเซ็น
ได้ให้เขียนโศลกที่อธิบายธรรมะที่ว่า
"แม้ความเป็นหนึ่งก็เป็นศูนย์" ไว้ดังนี้

"กายไม่ใช่ต้นโพธิ์
จิตไม่ใช่กระจกเงา
ไม่มีทั้งต้นโพธิ์และกระจกเงา
แล้วฝุ่นจะลงจับอะไร?"

โศลกอันแรกนั้นยังมีการยึดถือในจิต
จึงยังต้องมีความพากเพียรชำระจิตให้สะอาด
แต่โศลกของฮุยเหนิง ก้าวข้ามขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
โดยปฏิเสธแม้การยึดมั่นในจิต
ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวว่า

" แม้ความเป็นหนึ่งก็เป็นศูนย์ "

ไฟล์แนบ



#2 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 30 January 2009 - 12:47 PM

ตอบคุณเจ้าของกระทู้

ทั้งสองคำตอบล้วนถูกต้อง ขึ้นกับสถานการณ์น่ะครับ ยกตัวอย่างสมมุติคุณไปเที่ยวเกาะแห่งหนึ่งจนหนำใจแล้ว จึงนั่งเรือเดินทางกลับขึ้นฝั่ง เพื่อกลับบ้าน

ระหว่างที่นั่งอยู่บนเรือ คุณคิดว่า เรือมีความสำคัญมากไหมครับ ผมตอบแทนให้ก็ได้ว่า เรือย่อมมีความสำคัญ และมีความหมายต่อเราอย่างมากๆ หากเรือเป็นอะไรไป เช่น รั่วขึ้นมา หรือ คนขับขับเรือหลงทาง เราย่อมไม่มีทางกลับขึ้นฝั่งได้อย่างแน่นอน เรือจึงมีความสำคัญยิ่ง

แต่ทันทีที่คุณมาถึงชายฝั่ง คุณก้าวลงจากเรือเพื่อจะกลับบ้าน ขอถามใหม่ว่า เรือมีความสำคัญมั้ยครัีบตอนนี้
ใช่แล้ว เรือที่เมื่อสักครู่พาเราข้ามเกาะมา ตอนนี้มันมีค่าเป็นศูนย์ คือ เราไม่ต้องการมันอีกแล้ว เพราะเราขึ้นฝั่งแล้ว จะแบกเรือขึ้นฝั่งก็ใช่ที่น่ะครับ

หลักความรู้ทางพระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน ทาน ศีล ภาวนา(สมาธิ) ที่เราฝึกอยู่ก็เปรียบเสมือนเรือที่สำคัญยิ่ง ที่จะนำพาเราผู้่ปฏิบัติให้ข้ามพ้นทะเลแห่งการเวียนว่ายตายเกิด ไปสู่ฝั่ง(พระนิพพาน) แห่งความสุขที่แท้จริง เมื่อเราอยู่กลางทะเล ทาน ศีล ภาวนาย่อมสำคัญเยี่ยมยอด

แต่เมื่อเราบรรลุธรรม (เข้าถึงฝั่ง) การปฏิบัติตัวทุกสิ่งทุกสิ่งอย่างในโลกนี้ก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป เพราะพ้นโลกแล้ว ภาษาพระท่านมักจะพูดว่า กิจที่ควรทำไม่มีอีกแล้ว ภพชาติสิ้นแล้ว แต่ที่ยังคงทำทาน รักษาศีล ภาวนาอยู่ ก็เพียงเป็นตัวอย่างให้คนรุ่นหลังได้เจริญรอยตาม เท่านั้น

เพราะฉะนั้น จะจิตเปรียบเสมือนกระจก หรือ จิตไม่ใช่กระจก ล้วนถูกต้อง ขึ้นกับสภาวะที่จิตเข้าถึง

แต่ที่มีปัญหา เพราะคนบางส่วนสับสนในสภาวะจิตตัวเอง คือ ยังไ่ม่บรรลุธรรม แต่ไปคิดพูดทำเหมือนตัวเองบรรลุแล้ว ซึ่งก็เหมือน คนที่ยังติดอยู่กลางทะเลลึก ยังไม่ถึงฝั่ง แต่อุตริจะทิ้งเรือ (ทิ้งทาน ศีล ภาวนา เพราะคิดเป็นมันเป็นศูนย์ ไม่มีตัวตน)
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#3 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 January 2009 - 01:50 PM

ราวกับว่าเป็นปรัชญาเปรียบขันธ์5 รูป...กับ ไร้รูป(อรูป...)
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#4 voyager

voyager
  • Members
  • 23 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 30 January 2009 - 04:24 PM

เห็นด้วยกับคุณหัดฝัน ศึกษาพระธรรมคำสอนต้องศึกษาด้วยปัญญา จึงจะได้คุณประโยชน์จากพระธรรมนั้น ๆ

#5 Killy

Killy
  • Members
  • 8 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 January 2009 - 04:32 PM

เป็นตัวอย่างที่ดีมากครับ แต่กว่าจะพอเข้าใจก็เสียเวลาไปหลายชั่วโมงเลยทีเดียว

ตามความคิดของผมนะครับ

คำว่าแม้ความเป็นหนึ่งก็เป็นศูนย์นี้มีความหมายเดียวกับจุดมุ่งหมายสูงสุดของ
พระพุทธศาสนานั่นคือการดับทุกข์ทางใจครับ ทำอย่างไรจึงจะดับทุกข์ดังกล่าวลงได้?
คำตอบก็คือความไม่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตนของตนเองครับ
ถ้าดูแล้วจะเข้ากันกับคำกล่าวที่ว่า ละชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์สะอาดครับ

ในการปฏิบัติธรรมนั้นขั้นแรกคือเราต้องสำรวจตัวเองก่อนแล้วรู้ให้ได้ว่าอันไหนเป็นสิ่งชั่ว
ไม่ดี และพยายามละ ลด สิ่งเหล่านั้นเสีย
หลังจากนั้นจึงค่อยๆประกอบการทำดีควบคู่กันไป เช่น การทำบุญกิริยา 10 ซึ่ง
การทำบุญนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นการบริจาคทานให้กับทางวัดอย่างเดียวก็ได้
แต่สามารถทำบุญได้อีกหลายวิธีในชีวิตประจำวันของเรา เช่น การให้ความรู้เป็นทานแก่เพื่อน,
การให้อภัยกับสิ่งต่างๆที่ทำให้เราไม่พอใจ, การมีสติแก่ตนเองเสมอ โดยการทำบุญที่จะทำให้
ได้บุญมากนั้นคือ การทำบุญโดยคิดว่าเป็นการช่วยบำบัดทุกข์คนอื่น และเป็นการทำเพื่อ
ละกิเลสในใจเราพร้อมๆกันครับ

เมื่อเราทำได้ถึงขั้นนี้ก็จะเป็นเหมือนกับในเรื่องของเซ็นดังกล่าวคือเราได้ทำการสร้าง
ความเป็นหนึ่งขึ้นมาแล้ว เช่น ตัวอย่างของชินเชาที่บอกว่าจิตเหมือนกระจกต้องปัดกวาด
ทุกวัน นั่นก็คือเราต้องหมั่นสำรวจใจตนเองและทำดีเพื่อเป็นการปัดกวาดกิลสเหล่านั้นเสมอ

แต่ถ้าเกิดความคิดเราหยุดอยู่แค่นั้นแล้วจะไม่สามารถเป็นการดับทุกข์ ทางใจได้ทั้งหมด
เนื่องจากเรายังมีความอยาก (ตัณหา) ที่จะทำบุญเพื่อชำระจิตใจเราอยู่ดี จึงต้องมีความคิด
ในขั้นถัดไปของเว่ยหลาง ที่บอกว่าไม่มีทั้งตั้นโพธิ์ และกระจกเงา นั่นก็เพราะเราจะต้อง
ทำดีให้ได้เป็นนิสัย และทำได้เองโดยไม่ต้องนึกถึงผลแห่งบุญที่ได้ทำแล้ว (ทำได้เองโดยอัตโนมัติ)
หรือแปลว่าการทำบุญไปโดยไม่นึกว่าทำเพื่อตนเองโดยสิ้นเชิง เพราะในสภาพวะที่ดับทุกข์ได้แล้ว
นั้นไม่มีทั้งจิต และกายของตัวเองอยู่เลย มันเป็นสิ่งที่เราปรุงแต่งขึ้นมาทั้งสิ้น

ดังนั้นคำว่า แม้ความเป็นหนึ่งก็เป็นศูนย์ ได้อธิบายความหมายของพระพุทธศาสนาไว้ลึกซื้งทีเดียวครับ

happy.gif

#6 ตำรวจรักบุญ

ตำรวจรักบุญ
  • Members
  • 985 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 January 2009 - 09:25 PM

สัพเพ ธัมมา อนัตตา คำสอนทั้งหลายทั้งปวงของตถาคต ก็มิใช่ตัวตน(ที่ต้องยึดไว้ตายตัว)

หมายความว่า หากปฏิบัติด้วยวิธีใด แล้วบรรลุธรรมได้ หมดกิเลสได้ นั่นถูกต้องแล้ว ไม่จำเป็นต้องทำเหมือนที่พุทธองค์

ทรงแสดง หรือ ยึดมั่นกับคำสอนจนเกิดอัตตา(ความยึดมั่นถือมั่น) ที่ควรทำเวลาปฏิบัติธรรมคือ

ปล่อยวางทุกสิ่ง หยุดนิ่งเฉยๆ ตามแนวทาง แต่อย่าไปยึดกับแนวทาง

เหมือนพุทธองค์ชี้ให้เดินไปตามถนน พอถึงทางโค้งดันไม่ยอมเลี้ยว(เพราะไม่ตรงทิศที่ชี้)ฉะนั้น

#7 ใสๆ

ใสๆ
  • Members
  • 95 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 January 2009 - 10:24 AM

การจะเข้าใจเรื่องราวของนิกายเซ็นให้ได้ดีนั้น สิ่งหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้คือประวัติศาสตร์ของนิกายนี้

คำว่าเซ็น禅/禪เป็นภาษาญี่ปุ่น /มาจากคำภาษจีนว่า "ฉาน" 禅 ซึ่งย่ิอมาจากคำว่า禅那 (อันเป็นการทับเสียงสันสกฤตในยุคนั้นอีกที/หรือภาษาบาลีคำว่า"ฌาณ"

นิกายเซ็นเป็นนิกายที่เน้นการเจริญสมาธิภาวนา

ในยุคที่นิกายเซ็นเริ่มขึ้นโดยท่านโพธิธรรม(พระตั๊กม้อ)นั้น แนวคิดเรื่องศูนยตายังไม่เด่นชัดมาก

แต่เมื่อนิกายเซ็นสืบทอดมาถึงท่านหุ้ยเหนิง แนวคิดเรื่องศูนยตาจึงเริ่มสำคัญในนิกายนี้มากขึ้น

เพราะท่านหุ้ยเหนิงนั้นมีพื้นฐานความรู้ใน"พระสูตรวัชรปรัชญาปารมิตาหฤทัย"(จินกังจิง)เป็นทุนเดิม(พระสูตรนี้เน้นศูนยตา) เพราะท่านเคยศึกษาด้านนี้มาก่อน

ดังนั้นจึงไม่แปลกว่าทำไมนิกายเซ็นรุ่นต่อๆมาจึงเน้นหนักไปที่ความปล่อยวาง ไร้การยึดมั่นถือมั่นในสรรพสัตว์สรรพสิ่งใดๆ


หากพิจารณาตามตัวอักษรของเซ็นแล้วมันก็อาจจะงงๆสักหน่อย สำหรับหลายคน

แต่เราต้องจับหลักให้ได้ว่าเซ็น(รุ่นหกเป็นต้นมา)เน้นการปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นในทุกสิ่ง




การปล่อยวางจะเข้าใจได้ดีเมื่อลงมือนั่งธรรมะจริงๆ และเรื่องการปล่อยวางนี้มันก็ไม่ใช่อะไรใหม่สำหรับลูกพระธรรม

เพราะเวลาหลวงพ่อนำนั่ง จะสังเกตุได้ว่าในขั้นต้นหลวงพ่อจะแนะนำให้เราปลดปล่อยวางเรื่องราวต่างๆ(ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ)ไว้ก่อน การปล่อยวางนี้แหละจะทำให้ใจคลายจากความยึดมั่นถือมั่นใดๆ

เมื่อใจปล่อยวางแล้ว ใจก็คลายจากพันธนาการต่างๆ แล้วจะสงบนิ่ง เข้าถึงเอกคตารมณ์ คือความเป็นหนึ่งแห่งใจ(ภาษาจีนเรียกว่า "อีซิน") ใจจะไม่ซัดซ่ายไปมาแล้ว

เมื่อใจเป็นหนึ่ง(ความสว่างจะเกิด)เราก็นิ่งๆ เฉยๆ ต่อไป ตามสูตรที่ครูไม่ใหญ่บอกคือ "หยุด นิ่ง เฉย" อย่างเดียวตั้งแต่ต้นจนจบ ธรรมก็จะก้าวหน้าต่อไป


แต่ให้ระวังความสับสนว่าในความหมายที่นำไปใช้ เพราะบางคนบอกว่าการปล่อยวางนี่ คือไม่เอาอะไรเลย

ความเห็นของคุณหัดฝันให้ความกระจ่างใด้ดี


นิกายนี้ก็กล่าวถึงการเข้าถึงพุทธภาวะภายในของตน(ธรรมกาย)เหมือนกัน

ที่สุดของเซ็น ไม่ต้องไปหาที่ไหน แต่มันอยู่ที่ "เข้าสิบแล้วเห็นศูนย์" นั่นเอง

ดังนั้นมาเจอหมู่คณะแล้ว ให้ดีใจไว้เถิด การจะหาครูดีแบบนี้(คุณครูไม่ใหญ่) หาไม่ง่ายในโลก

ไฟล์แนบ


....อนุบาลฝันในฝันวิทยา แหล่งความรู้ที่ล้ำหน้ากว่าฮาร์วาร์ด....

#8 สุภาพบุรุษ072

สุภาพบุรุษ072
  • Members
  • 597 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 January 2009 - 07:03 PM

อนุโมทนาบุญครับ สาธุ

#9 ขันติธรรม

ขันติธรรม
  • Members
  • 132 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 January 2009 - 10:43 PM

สาธุค่ะ

#10 Roytavan

Roytavan
  • Members
  • 166 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 February 2009 - 01:05 AM

ขอขอบพระคุณทุกท่านนะคะ ที่มาร่วมอธิบายและมาอนุโมทนาบุญ....

โดย เฉพาะ คุณ ใสใส ....

ดูสำนวนแล้วคล้ายหลวงพี่ที่เคารพ หลายรูปนะคะ...

May be ...V. Thammavipralo ...or... V. Thanawutto...V. Tritep...

Thank you so much for your explain..& I 'll practice for 冥想 agian..


Best Regards,

Kanmunee [ Roytavan]

[email protected]

ไฟล์แนบ


แก้ไขโดย Roytavan 01 February 2009 - 02:28 AM


#11 Sareochris

Sareochris
  • Members
  • 207 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:-
  • Interests:-

โพสต์เมื่อ 01 February 2009 - 04:46 PM

นิกาย นี้ ภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า "เสี่ยมจง" แต่เนื่องด้วยคนไทยเราทราบชื่อนิกายนี้ตามภาษาญี่ปุ่นมาว่า "เซ็น" ซึ่งเป็นมูลศัพท์เดียวกัน จึงขอเรียกตามญี่ปุ่นไปด้วย

นิกาย นี้เป็นนิกายที่สำคัญยิ่งนิกายหนึ่ง ซึ่งมีความเจริญแพร่หลายอยู่ทุกยุคทุกสมัย คำว่า "เซ็น" มาจากศัพท์ว่า "ธฺยาน" หรือ "ฌาน" หมายถึงนิกายที่ปฎิบัติทางวิปัสสนา

ตาม ประวัติเล่ากันว่า ในสมัยพุทธกาล ณ ท่ามกลางประชุมบริษัท ๔ พระศาสดาได้ทรงชูดอกหนึ่ง มิได้ตรัสเทศนาว่าอย่างไร ที่ประชุมไม่มีผู้ใดเข้าใจความหมาย นอกจากพระมหากัสสปเถระรูปเดียวเท่านั้น ที่ยิ้มน้อยๆ อยู่ พระศาสดาจึงตรัสว่า "ดูก่อน กัสสปะ ตถาคตมีธรรมจักษุครรถ์อันถูกต้องและนิพพานจิต ลักษณะที่แท้จริงย่อมไม่มีลักษณะได้มอบไว้ให้แก่เธอแล้ว" เพราะฉะนั้น นิกายนี้จึงนับถือพระมหากัสสปเถระว่าเป็นปฐมาจารย์และถือว่าเป็นนิกาย วิปัสสนาโดยเฉพาะ ไม่ต้องอาศัยตัวหนังสือหรือปริยัติธรรมใดๆ ไม่อยู่ในกรอบแห่งคำพูดใดๆ แต่ชี้ตรงไปยังจุดของจิตใจ เพราะฉะนั้น บางทีจึงมีนามเรียกว่า "การเผยแผ่นอกคำสอน" นิกายเซ็นนับตั้งแต่พระมหากัสสปเถระ ได้มีเกจิอาจารย์สืบทอดมาอีก ๒๘ องค์ จนถึงสมัยท่านโพธิธรรม (ตั๊กม่อโจวซือ) จึงได้นำคติของนิกายนี้มาสั่งสอนในประเทศจีน ในสมัยพระเจ้าเหลียงบูเต้ จักรพรรดิแห่งราชวงศ์เหลียง แล้วต่อแต่นั้นมาก็มีคณาจารย์จีนสืบทอดมาอีก ๕ องค์ จึงนับว่าท่านโพธิธรรมผู้จาริกมาสู่ประเทศจีนในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๐ เป็นปฐมาจารย์แห่งนิกายเซ็นในประเทศจีน คณาจารย์ฮุ่ยค้อเป็นองค์ที่ ๒ ท่านฮุ่ยค้อได้มอบธรรมให้แก่คณาจารย์เจ็งชั้งเป็นองค์ที่ ๓ และท่านเจ็งชั้งได้มอบให้แก่คณาจารย์เต้าสิ่งเป็นองค์ที่ ๔ นิกายเซ็นแบ่งออกเป็น ๒ สำนัก คือ สำนักของคณาจารย์ฮ่งยิ่มเรียกว่า "สำนักอึ้งบ้วย" ซึ่งถือกันว่าเป็นสำนักที่สืบเนื่องมาโดยตรง และสำนักของคณาจารย์ฮวบย้ง เรียกชื่อว่า "สำนักงู่เท้า" ซึ่งเป็นสำนักแฝงเท่านั้น คณาจารย์ฮ่งยิ่มแห่งสำนักอึ่งบ้วยนับเป็นปฐมาจารย์ของนิกายเซ็นที่แยกสาขา ออกมา

นิกาย นี้ถือว่าสัจจภาวะนั้น ย่อมอยู่เหนือการพูดการคิด เราจะค้นสัจธรรมในหนังสือพระไตรปิฎกย่อมไม่พบ นอกจากเราจะต้องหันมาบำเพ็ญดูจิตใจของตนเอง เพราะความจริงเราจะหาได้ภายในตัวเรานี้เอง จะไปค้นหาภายนอกไม่ได้ จึงมีคำขวัญประจำนิกายนี้ว่า "ปุกลิบบุ่งยี่ ติกจี้นั่งซิม เกียงแส่เซ่งฮุก" แปลว่า ไม่ต้องอาศัยตัวหนังสือ แต่ชี้ตรงไปยังจิตใจของคน ให้เห็นแจ้งในภาวะที่แท้จริง แล้วบรรลุเป็นพุทธะ



ดัง นั้น นิกายนี้จึงสอนว่า "สรรพสัตว์มีพุทธภาวะหรือธรรมกายรุ่งเรืองสุกใสอยู่ด้วยกันทุกๆ คน" คำพูดหรือตัวหนังสือหาเพียงพอที่จะอธิบายถึงสัจจะภาวะอันนี้ไม่ เพราะฉะนั้น บางคราวจำเป็นต้องอาศัยปริศนาธรรมและคำพูดที่เสียดแทงเข้าไปถึงหัวใจ ช่วยพาไปให้รู้จัก วิธีนี้นิกายเซ็นเรียกว่า "โกอาน" ซึ่งแปลว่า ปริศนาธรรม สำหรับมอบให้ศิษย์นำไปขบคิด ผู้ใดขบคิดปัญหาโกอานแตกผู้นั้นก็ดวงตาเห็นธรรมได้ ปริศนาเหล่านี้ สะพานไหล น้ำไม่ไหล, ก่อนพ่อแม่ให้กำเนิดเรา หน้าตาดั้งเดิมของเราเป็นอย่างไร, สิ่งทั้งหลายรวมไปที่หนึ่ง หนึ่งนั้นคืออะไร ฯลฯ

และกระทู้นี้ก้เป็นหนึ่งใน "โกอาน" ดังกล่าว

QUOTE
ที่สุดของเซ็น ไม่ต้องไปหาที่ไหน แต่มันอยู่ที่ "เข้าสิบแล้วเห็นศูนย์" นั่นเอง


#12 yama

yama
  • Members
  • 43 โพสต์

โพสต์เมื่อ 01 February 2009 - 04:54 PM

ไม่ถูก แต่ก็ไม่ผิด ปรัชญาชีวิต ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น


http://www.khunsamatha.com/


#13 Roytavan

Roytavan
  • Members
  • 166 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 February 2009 - 03:50 PM

เรียนคุณ Sareochris
ขอบคุณมากเลนะคะที่มาช่วยอธิบาย รวมทั้งเพื่อน ๆ หลาย ๆ ท่าน ความรู้ที่ตอบมาทั้งหมด ต้องขออนุญาตนำไป edit แล้วแปลงเป็นบทความขึ้นมาใหม่นะคะ

ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านอีกครั้งค่ะ

Roytavan