ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ขอความรู้จากเพื่อนสมาชิกค่ะ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 6 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 JJS

JJS
  • Members
  • 17 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 February 2009 - 09:28 AM

การที่เราอยู่กับนักเรียนทุกวันเมื่อเราได้ปลูกฝังคุณธรรมความเคารพให้แก่พวกเขา

เราก็สามารถสังเกตเห็นได้ว่าเด็ก ๆ มีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีอย่างไร

แต่หากต้องการจะวัดความเคารพด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์

(คือ ข้อมูลหลักฐานทางเอกสารประกอบและเป็นเครื่องยืนยัน)

เครื่องมือวัดคุณธรรมความเคารพสำหรับนักเรียนชั้นม.1 ควรจะเป็นอย่างไร

จึงอยากจะขอความรู้ทุกท่านใน 3 ประเด็นค่ะว่า


ความเคารพและไม่เคารพ นั้นประกอบด้วยคุณลักษณะใด

และคุณลักษณะนั้นควรมีการวัดการประเมินอย่างไรจึงจะเหมาะสมคะ


(อาจเป็นการสะท้อนความรู้สึกนึกคิด หรือพฤติกรรมทางกาย ทางวาจา หรือ เช่น

ไม่เคารพทางคำพูด มีลักษณะ คือ เคยพูดล้อเลียนครูลับหลัง เคยพูดล้อเลียนครูต่อหน้า

บ่นว่าครูลับหลัง บ่นว่าครูต่อหน้า ด่าครูด้วยถ้อยคำไม่สุภาพลับหลัง ฯลฯ )

บางคำถามอาจให้นักเรียนประเมินตนเอง หรือบางคำถามมีครูเป็นผู้ประเมิน
หรือเพื่อนให้คะแนนเพื่อนด้วยกันเอง หรือเป็นแบบวัดที่สะท้อนความรู้สึกนึกคิดของเด็ก ๆ


ขอบพระคุณทุกท่านค่ะ



#2 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 10 February 2009 - 03:02 PM

ความเคารพ ก็คือ เห็นในคุณความดีของผู้อื่นน่ะครับ ซึ่งจะทำให้เราเกิดปัญญา
ตัวอย่าง พี่สาวฉัน ทำอาหารเก่งจังเลย สักวันหนึ่งฉันจะเรียนรู้จากพี่สาว นี่คือ เคารพหรือเห็นในความสามารถของพี่สาวว่า ทำอาหารเก่ง ต่อไปก็จะตั้งใจเรียนรู้สิ่งนั้น แล้วปัญญาก็จะเกิด

ความไม่เคารพ ก็คือ เห็นแต่ข้อบกพร่องของผู้อื่นน่ะครับ ซึ่งจะทำให้ปัญญาเราไม่พัฒนา หรือ เรียกอีกอย่างว่า น้ำล้นถ้วย
ตัวอย่าว พี่สาวฉัน ไม่มีข้อดีเลย กินก็จุ อ้วนเหมือนหมู เมื่อเห็นแต่ข้อบกพร่องของคนอื่น ก็จะไม่มีสิ่งใดเป็นต้นแบบในการที่่เราจะพัฒนาตัวต่อไปเลยน่ะครับ เหมือนถ้วยที่มีน้ำเต็มถ้วยแล้ว พอใส่น้ำใหม่เข้าไป น้ำก็ล้นถ้วยน่ะครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#3 DJ.

DJ.
  • Members
  • 1212 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 February 2009 - 03:52 PM

ให้นักเรียนเขียน "ความดี,ข้อดีเด่น,ความสามารถพิเศษ,พรสวรรค์,จุดที่ดีแม้เล็กๆน้อยๆ" ของคุณครู "ทุกคน" และเพื่อน "ทุกคน" คนละ ๑ หน้า, ๕๐คน ๕๐หน้า

โดยให้นักเรียนไป "สัมภาษณ์" เพื่อนๆ "ทุกคน", สัมภาษณ์ซึ่งกันและกัน, ให้เขียนข้อดีเท่านั้น, ใครเขียนข้อเสียหรือเขียนข้อดีแบบประชดประชันแดกดัน จะถูกหักคะแนน

เช่น เขียนว่า ข้อดีของสมศรีคือ อ้วนเหมือนตุ่มมังกร ฟันไม่เข้า(ฟันเหยิน) ผิวหลายสีเทคนิคคัลเลอร์(ผิวตกกระใฝฝ้ากระดำกระด่าง) แต่เวลาใส่ชุดพละ ก็กลายเป็นตุ่มมังกรแหนมป้าย่นที่น่ารักที่ซู๊ด(ตัวตลก) เป็นที่เบิกบานใจ(หัวเราะเยาะ)และเจริญวาทะศิลป์(หยอกล้อล้อเล่นล้อเลียน)ของเพื่อนๆที่มั่นใจในตัวเองเกินล้าน(พวกสก๊อยตัวแสบ) ซึ่งสมศรีจะร้องไห้ด้วยความดีใจ(เสียใจ)เมื่อเพื่อนๆกล่าวชื่นชม(หลอกด่า).

สรุปคือ ความดีที่ตนเองไม่อยากมีไว้ในตนเอง แต่ขอมอบ(ผลักไส)ให้คนอื่น นั่นคือ ไม่ดี

แล้วคุณครูก็เอาทั้งหมดมาอ่านประกาศข้อดีของทุกคนให้ทุกคนได้รับรู้

โครงการนี้จะทำให้คุณครูได้แปลกใจว่า

(๑) มีนักเรียนหลายๆคนที่มีพรสวรรค์แปลกๆที่ดี,น่าส่งเสริมให้ทุน และรู้ถึงสภาพทางบ้านของนักเรียน

(๒) เพื่อนๆกันเองก็จะพบ"ช้างเผือก"ในกลุ่ม ก่อให้เกิดความนับถือซึ่งกันและกัน, แล้วจะไม่ตีกัน

(๓) เด็กๆแต่ละคนๆ ที่พอใครๆได้รู้ว่า ตัวเขา"มีดี"อะไรบ้าง, ก็จะเกิด "self esteem" คือความนับถือตนเอง (ซึ่งเป็นสิ่งที่นักจิตวิทยาทั่วโลก พยายามหาวิธีปลูกฝังให้กับเยาวชน) แล้วเด็กจะไม่ทำชั่ว เพื่อรักษาชื่อเสียง นี่คือข้อดีของการประกาศความดี

(๔) จะพบเด็กบางคนหลงผิดคิดว่า ฉันเป็นตัวฉันเอง ฉันยึดมั่นถือมั่นในตัวฉัน ฉันจะไม่เอาความดีใหม่ๆมาใส่ตัว จะดีจะชั่ว ตัวฉันก็จะเป็นอย่างนี้ ใครจะคบก็คบแบบนี้ ไม่คบก็ไปไกลๆ เด็กต่อต้านสังคมแบบนี้ มีแนวโน้มอันตราย ไม่ดีสุดๆไปเลยก็ตรงข้าม ส่วนใหญ่จะตรงข้าม แต่โครงการนี้จะแก้ปัญหาได้ เพราะเมื่อสังคม"ยอมรับ"ความสามารถพิเศษของเขา เขาจะพยายามรักษาชื่อเสียง แล้วเมื่อมีใครมาขอความรู้พิเศษ(เช่นแกะสลักไม้) เขาก็จะเกิด self esteem , และจะเริ่ม "พฤติกรรมเลียนแบบ" คือ จะขอศึกษาข้อดีของคนอื่นมาใส่ตนเองบ้าง

(๕) step ต่อไปคือ วัดผลว่านักเรียน เคารพแค่ระดับความคิด หรือถึงขั้นการกระทำเลียนแบบ โดยเทอมที่สองให้ทำรายงานว่า ได้ไปฝึกเรียนข้อดีจากเพื่อนๆได้กี่คน,ได้มากี่อย่าง, แล้วให้ทั้งคู่ present หน้าห้อง, เด็กทั้งคู่จะภูมิใจและรักกันไม่หมั่นไส้กัน นี่คือวิธีสร้างความสามัคคี (ภาษาจีนกับอังกฤษไม่มีคำว่าหมั่นไส้)

ขงจื้อกล่าวว่า สามคนเดินมา ทั้งสามเป็นครูของกันและกันได้

#4 1081900

1081900
  • Members
  • 16 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 February 2009 - 11:48 PM





#5 JJS

JJS
  • Members
  • 17 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 February 2009 - 12:06 AM

ขอบคุณคุณหัดฝันและคุณ DJมากนะคะ
เป็นคำแนะนำที่ดีมากเลย
จะนำไปทดลองใช้นะคะ
ถ้าได้ผลอย่างไร
แล้วจะนำมาเล่าให้คุณ DJ และคุณหัดฝันต้นบุญทั้งสองฟัง
ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
สาธุ

#6 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 11 February 2009 - 10:40 PM

QUOTE
ความเคารพนั้นประกอบด้วยคุณลักษณะใด
-ตามนิยาม
ความเคารพ คือ การตระหนักในคุณงามความดีของผู้ควรเคารพ และก็หาโอกาสแสดงความเคารพนอบน้อมต่อผู้ที่เราเคารพนั้นด้วยความจริงใจ และด้วยจิตที่เลื่อมใสศรัทธาจริงๆ ทั้งทางกาย วาจา ใจ ทำจนเป็นปกติทั้งต่อหน้า และลับหลัง ทำจนคุ้นเคยชินเป็นปกติ
QUOTE
คุณลักษณะนั้นควรมีการวัดการประเมินอย่างไร
Indicators นามธรรม คงต้องประเมินจากคนรอบข้าง
- บิดามารดา หรือ ผู้ปกครอง
ซึ่งจะถามตรงจากวันพบผู้ปกครอง ร่วมกับ Quesionare
- ครู อาจารย์ ประเมินโดยตรงได้ การแสดงออกทางอารมณ์ วาจา ท่าทาง
- เพื่อนนักเรียน สุ่มให้ประเมินกันเอง แต่ต้องแนะหลักการประเมินก่อนเสมอ
- ความเคารพในสถาบัน สังเกต กิริยา มารยาท เคารพธงชาติ สวดมนต์ ทำความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ การแต่งกายตามระเบียบยังถือเป็นความเคารพในสถาบัน

ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#7 JJS

JJS
  • Members
  • 17 โพสต์

โพสต์เมื่อ 12 February 2009 - 10:32 PM

ขอบคุณนะคะคุณWish
สาธุสาธุค่ะ